เผยภาพรวม ‘ตลาดแรงงานไทย’ ครึ่งปีแรก 2564 ว่างงานต่ำสุดในรอบ 5 ปี แต่จบสิ้นปี ประเมิน GDP +1.8%

  • 12
  •  
  •  
  •  
  •  

แน่นอนว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โควิด-19 กระทบต่อการว่างงานของประเทศไทย และกระทบกับภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความหวังเลย หลายอย่างก็ยังบ่งบอกว่ามีโอกาสที่สถานการณ์จะดีขึ้น หากปัจจัยประกอบอย่าง การระบาดระลอก 4 ควบคุมได้ และการแจกจ่ายวัคซีนเป็นไปตามเป้า ดังนั้นในสิ้นปีนี้อาจจะมีแสงสว่างรวมไปถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้นในปีหน้าด้วย อย่างไรก็ตาม เข้าสู่ครึ่งปีหลังของปี 2564 แล้ว ลองมาดูภาพรวมของตลาดแรงงานว่าสถานการณ์เป็นอย่างไรเพื่อที่จะปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งรวบรวมโดย “จ๊อบส์ ดีบี” แพล็ตฟอร์มแถวหน้าของการหางานและจ้างงาน

 

อัตราการว่างงานปี 2564 สูงสุดในรอบ 5 ปี แต่คาดว่า GDP +1.8%

จ๊อบส์ ดีบี ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ตลาดแรงงานไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ระลอกที่ 3 และ 4 ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 พบว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 อัตราการว่างงานรายไตรมาสในประเทศไทยสูงสุดเมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลัง และ สูงที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด อยู่ที่ 1.96%

อัตราการว่างงาน กระทบกับ GDP ไทย โดยคาดการณ์กันว่า แม้สถานการณ์ตัวเลขจะยังสูงในช่วงนี้ แต่ก็ยังดีกว่าต้นปี 2563 เพราะปีนั้นถือว่าไทยแพนิคสูงกว่า ก่อนจะไต่ระดับมาดีขึ้นในช่วงการระบาดระลอก 3 เพราะภาคธุรกิจเริ่มที่จะปรับตัวรับมือได้ ดังนั้นคาดการณ์ว่า GDP ไทย ปี 2564 จะเป็นบวก โดยอยู่ที่ +1.8%  โดยมีปัจจัยเรื่องของการฉีดวัคซีนที่ทั่วถึง และตัวเลขระลอก 4 ที่จะต้องลดลง ก็จะทำให้แตะบวกตามคาดการณ์

 

การประกาศงานออนไลน์ มีแนวโน้มลดลง ตามสถานการณ์ Wave โควิด

สำหรับจำนวนการประกาศงานออนไลน์ ในประเทศไทย ซึ่งรวมทั้ง Marketplace และแบบ Aggregaotor พบว่ามีแนวโน้มลดลง ซึ่งคาดว่ามาจากปัจจัยการปิดกิจการ และการลดต้นทุนเพื่อประคองธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเลือกที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริษัทหรือองค์กร หรือโยกย้ายตำแหน่ง หรือเลือกลดเวลาการทำงานก่อนที่จะตัดสินเลิกจ้าง ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้าย

 

ในขณะที่ จำนวนความต้องการแรงงาน ในประเทศไทย ทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 ฟื้นขึ้นมา 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 โดยจากข้อมูลจำนวนประกาศงานบน จ๊อบส์ ดีบี ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พบว่า

 

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากโรคระบาด

ในขณะที่ “ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด” ได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว คิดเป็น 51%
  • กลุ่มธุรกิจบริการเฉพาะกิจ คิดเป็น 22%
  • กลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็น 21%

 

งาน IT ยังฮ็อต เป็นสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด

สายงาน” ที่เป็นที่ต้องการ “สายงานที่มีการประกาศจ้างงาน” มากที่สุด

กลุ่ม “สายงาน” ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่

  • สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 15.3%
  • สายงานไอที คิดเป็น 14.8%
  • สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 10.0%

ในขณะที่ กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงาน เติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่

  • สายงานการจัดซื้อ คิดเป็น +43.0%
  • สายงานขนส่ง คิดเป็น +37.4%
  • สายงานประกันภัย คิดเป็น +36.4%

อย่างไรก็ตาม จ๊อบส์ ดีบี มีกำหนดจัดมหกรรมหางานออนไลน์ ในช่วงเดือนกันยายน ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งอาจจะทำให้การจ้างงานดีขึ้นได้

 

กลุ่มธุรกิจที่ประกาศต้องการแรงงานมากที่สุด

ในด้านการฟื้นตัวของภาคธุรกิจโดยพิจารณาจำนวนความต้องการแรงงาน พบว่า ธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจไอที คิดเป็น 6%
  • กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 2%
  • กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง คิดเป็น 5%

 

และธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็น +6%
  • กลุ่มธุรกิจประกันภัย คิดเป็น +0%
  • กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น +7%

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการแข่งขันลดลงในเชิงจำนวนอยู่ที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน และยอดจำนวนใบสมัครงานเพิ่มขึ้น 12%

 

ไทยติดอันดับ 35 ของโลก เป็นประเทศที่คนต่างชาติอยากมาทำงาน

แรงงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พุ่งความสนใจมาทำงานให้บริษัทไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยติดอันดับ 35 ของโลก ที่คนต่างชาติอยากจะเดินทางมาทำงานมากที่สุด โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน

มากไปกว่านั้นยับพว่า แรงงานไทยพร้อมที่จะไหลออก โดยแรงงานไทยเกินครึ่งอยากไปทำงานต่างประเทศในเกือบทุกสายงาน โดยเฉพาะสายงานมีเดีย ไอที ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ และวิศวะ

 

 

ผลกระทบจาก โควิด-19 ต่อตลาดแรงงานในประเทศไทย

โควิด-19 ส่งผลกระทยโดยตรงต่อตลาดแรงงานในไทย และกระทบต่อรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป

  • 18% ถูกเลิกจ้าง
  • 78% ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือถูกให้รับหน้าที่อื่น
  • 4% เพิ่มเวลาการทำงานใหมากขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

  • 51% การเดินทางท่องเที่ยว
  • 22% ธุรกิจบริการเฉพาะกิจ
  • 21% สินค้าอุตสาหกรรม

 

ทั้งนี้ สิ่งที่ธุรกิจทำเพื่อปรับตัวจากโควิดก็คือ จะยังไม่ใช้วิธีเลิกจ้างเป็นอันดับแรก เพราะต้องการรักษาพันกงานไว้ก่อน แต่จะใช้วิธีปรับกลยุทธ์ภายใน หรือโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่

นอกจากนี้ยังพบว่า 4% แรงงานไทย ถูกให้เพิ่มเวลาทำงาน แต่จุดนี้ก็พบว่ายังน้อยกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซ๊ย อินโดนียเดซีย ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง

 

เทรนด์การทำงานยุคใหม่ หลัง “โควิด-19” 

จากรายงานพบว่า หลังวิกฤตโควิด คนทำงานเปลี่ยนความคิดเรื่องวิถีในการเลือกสถานที่ทำงาน โดยคนทำงานสามารถปรับตัวกับการทำงานระยะไกลได้ดีขึ้น

  • กว่า 73% ของคนทำงานเลือกที่จะทำงานแบบผสมผสานระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศสลับกับการทำงานระยะไกล
  • ความต้องการในการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลา ลดลงเหลือเพียงแค่ 7%

 

นอกจากนี้ ปัจจัยหลักที่คนทำงานให้ความสำคัญมากที่สุด ในการเข้าทำงานหลังวิกฤตโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ในอดีตให้ความสำคัญเรื่องความสำคัญของงาน แต่หลังโควิดแล้วพบว่า คนให้ความสำคัญเรื่องค่าตอบแทนมากขึ้น ดังนี้

  • อัตราเงินเดือนและผลตอบแทน
  • ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน
  • ความรู้สึกภาคภูมิใจกับงาน

 

คนรุ่นใหม่ชอบทำงานกับ องค์กรที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

รวมถึงยังพบว่าคนทำงานรุ่นใหม่จำนวน 53% จะไม่เลือกเข้าทำงานกับองค์กรที่ไม่มีค่านิยมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามที่คาดหวัง และคนทำงานในภาพรวมจำนวน 63% จะไม่เลือกเข้าทำงานกับองค์กรที่ไม่สนับสนุนเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศและวัฒนธรรมความเชื่อ

 

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลระบุว่า คนรุ่นใหม่ หรือ GenZ ยังคงต้องการทำงานประจำมากกว่า แต่มุมมองในการเลือกบริษัทเปลี่ยนไป โดยทองว่า บริษัท ไม่ใชเพียงแค่สถานที่ทำงาน แต่จะต้องรวมไปถึงการเป็นสถานที่ของความสุขด้วย มีบรรยากาศของการทำงานที่ดี สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและหัวหน้า และการทำงานจะต้องมี Work-Life Balance ที่ดี เป็นที่ๆ สามารถ Upskill Reskill ทักษะตัวเองได้ ยื่นหยุ่นในการทำงานแบบ Remote Working องค์กรต้องมีความก้าวหน้าในอาชีพ หน้าที่ความรับผิดชอบต้องชัดเจน สะดวกสบายด้วยรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดิน เพราะส่วนใหญ่ไม่ชอบเดินทางด้วยรถส่วนตัว

 

ให้ความสำคัญต่อการ Upskill ด้านดิจิทัลมากขึ้น

จากผลกระทบและการ Disruption ของเทคโนโลยี พบว่ามีสายงานที่พร้อมจะ Upskill ตัวเองขึ้นมาอย่างเต็มที่

  • 100% งานช่างและงานการผลิต ที่พร้อม Upskill ด้าน IT มากที่สุด
  • 88% งานสื่อและสารสนเทศ เพราะว่าถูก Disruption ด้วยเทคโนโลยี ส่งผลให้ต้องรีบเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
  • 87% งานขาย เริ่มต้องปรับเปลี่ยนเรียนรู้กับการขายงานผ่านออนไลน์ต้องทำให้ได้ต้องทำให้เป็น

อีกจุดที่น่าสนใจคือ หลังโควิดคลี่คลายคนทำงานที่ต้องเปลี่ยนงานมีแนวโน้มจะย้ายไปทำสายงานที่รู้สึกคุ้นเคยและมีความเสี่ยงน้อยลง กลับกันคนทำงานในอุตสาหกรรดิจิทัล ก็เริ่งที่จะพัฒนาทักษะด้านไอทีเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อรองรับตลาดแรงงาน โอกาสความก้าวหน้าและค่าตอบแทนที่สูงขึ้น

 

คนไทยเปิดรับการ Upskill – Reskill มากขึ้น 71%

ในส่วนของการเปิดรับต่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่เพิ่มเติม พบว่า 71% ของคนไทยในช่วงอายุ 21 – 40 ปี มีความพร้อมในการพัฒนาทักษะเดิมและการสร้างทักษะสำหรับบทบาทงานใหม่ โดยสายงานที่ต้องการฝึกอบรมทักษะใหม่ อาทิ  สายงานช่างและการผลิต สายงานสื่อและสารสนเทศ สายงานขาย

ด้านช่องทางการเรียนรู้ที่คนทำงานในประเทศไทยใช้ในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพมากที่สุด ได้แก่

  • การสอนงานขณะปฏิบัติงาน
  • การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • สถาบันการศึกษาออนไลน์

ยิ่งไปกว่านั้นจากวิกฤตโควิด-19 ยังได้ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนดัชนีเชิงบวกในการทำงาน ได้แก่

  • การใช้เครื่องมือดิจิทัล อยู่ในระดับ 0.80 คะแนน
  • ความร่วมมือภายในทีม อยู่ในระดับ 0.46 คะแนน
  • ความยืดหยุ่นในการทำงาน อยู่ในระดับ 0.44 คะแนน

 

สรุปภาพรวม “การจ้างงาน” ปี 2564

ครึ่งปีแรก จะเห็นการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมหลายส่วน ถึงแม้ว่าโควิด-19 เข้าสู่ระลอก 3 (เข้ามาในช่วงเดือน เมษายน 2564) แต่ภาคธุรกิจเริ่มจับทิศทางในการปรับตัวได้ก็ทำให้ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ และตัวเลขยังไม่สูงเท่าปัจจุบัน แต่กับผลกระทบที่เกิดขึ้นเริ่มชัดเจนในการระบาดระลอก 4 ซึ่งมีความรุนแรงมากที่สุดกับการจ้างงาน ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19

ดังนั้น จึงการคาดการณ์การจ้างงานในปี 2564 จึงมองว่า อาจจะมีการจ้างงานลดลง ยาวไปจนถึงปี 2564 (เดือนธันวาคม) ซึ่งเป็นช่วงโลว์ซีซันของฤดูกาลการจ้างงานแล้ว ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่จะเรียกความเชื่อมั่นคืนมาได้ ก็ต้องเกิดจากจำนวนผู้ติดเชื้อจะมากขึ้นหรือลดลง ซึ่งอาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้

น่าสนใจว่า “สายงานไอที” ยังคงเป็นสายงานเดียวที่โควิด ไม่ส่งผลกระทบความต้องกาเลย แม้เข้าสู่การระบาดระลอก 4 ยังคงเป็นที่ต้องการตลอดเวลา


  • 12
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!