สัมภาษณ์ Web Wednesday กับ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

รายการ สุรนันทน์วันนี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 ก.ย. โดยมี คุณทิวา ยอร์ค  กรรมการผู้จัดการ บริษัท Admax Network และ คุณกรณิการ์ กลีบแก้ว ที่ปรึกษาด้านดิจิตอล มาร่วมสนทนาถึง การตั้งกลุ่มเว็บเวนส์เดย์ (Web Wednesday) ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของคนในแวดวงธุรกิจออนไลน์

wwth

สุรนันทน์: วันนี้ผมอยู่กับชาวเว็บ ชาวดิจิตอล อยู่กับคุณทิวา ยอร์ค กรรมการผู้จัดการ Admax Network และคุณกรณิการ์ กลีบแก้วหรือคุณนานา เป็น Digital Consultant ถามคุณนานาก่อนว่าการเป็น Digital Consultant คืออะไร ที่ปรึกษาด้านดิจิตอล

กรณิการ์: จริงๆเป็นเรื่องของสื่อดิจิตอล ซึ่งถ้าเกิดมองหลายคนอาจจะนึกถึงแค่เว็บไซต์ การลงแบนเนอร์ในเว็บไซต์ แต่ในความเป็นจริงมันมีมากกว่านั้น สื่อดิจิตอลสามารถทำประกอบไปกับสื่อโทรศัพท์มือถือก็ได้ จริงๆวิธีการคิดทำสื่อดิจิตอลทำเฉพาะสื่อดิจิตอลอย่างเดียวไม่ประสบความ สำเร็จต้องคิดรวมกับสื่อประเภทอื่นด้วย

สุรนันทน์: แล้วคุณทิวาทำอะไร

ทิวา: บริษัทเราทำระบบที่จะทำให้แบนเนอร์โฆษณา ขึ้นเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น จริงๆผมทำงานด้านโฆษณามาตลอดเป็นโฆษณาทองออนไลน์โดยเฉพาะ

สุรนันทน์: สื่อดิจิตอลมันจะเกิดขึ้นอะไรกับโลกนี้

กรณิการ์: จริงๆคนหลายคนอาจจะบอกว่าโลกดิจิตอล ฟังแล้วพูด 01 01 01 01 กันหรือเปล่า ความจริงแล้วโลกดิจิตอลง่ายกว่านั้นแล้วก็วันนี้เด็กหลายๆคนก็เกิดมาพร้อม กับโลกดิจิตอล มันเป็นสื่ออันใหม่ที่จะมาเพิ่มทางเลือกให้กับคน คนที่เคยดูทีวีเคยฟังวิทยุ เคยอ่านหนังสือพิมพ์ เคยใช้สื่ออื่นๆ ก็จะค่อยมารับสื่อดิจิตอล ซึ่งจริงๆมันก็เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ที่มันเกิดขึ้นแล้วคนชอบ คนติดใจหลงไหลเป็นเพราะว่าเราเลือกเองได้ สื่ออื่นๆเป็นสื่อที่เข้ามา แต่ว่าสื่อดิจิตอลเป็นสื่อที่เราเรียกเอง

สุรนันทน์: อย่างธุรกิจของคุณทิวา ผมเลือกได้ผมก็ไม่เลือกดูโฆษณาได้

ทิวา: คือโฆษณาเป็นอะไรที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจด้านออนไลน์ ถ้าไม่มีโฆษณาคนที่ทำออนไลน์ก็ไม่มีเงินที่จะทำ

สุรนันทน์: แล้วเมืองไทยจะเป็นโลกดิจิตอลทั้งเมืองหรือเปล่า

ทิวา: ระบบตรงนี้ก็ไม่ต่างกับทีวี จริงๆอยู่ที่ผู้ชมเว็บไซต์ ก็มีคนที่ทำธุรกิจในด้านนี้ คนที่สร้างข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ อย่างเช่นเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ แล้วก็มีสินค้าที่จะลงโฆษณาในเว็บไซต์ต่างๆ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็มีหลายแบบแต่ว่าในเมืองไทยก็แล้วแต่ช่วงอายุของแต่ละ กลุ่ม เช่นถ้าพูดถึงวัยรุ่นคนที่อายุ 15-24 ปี พฤติกรรมของคนพวกนี้คือจะเล่นเกมส์เยอะ เขาจะเล่นแชทกับเพื่อนๆ เขาจะเข้าไปคุยในเกมส์ เขาจะดาวน์โหลดเพลงอะไรต่างๆ ส่วนวัยทำงานเขาจะใช้อีเมล เขาจะใช้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับงานของเขา ใช้พวกกูเกิล ใช้พวกเว็บข่าว เพื่อที่จะได้อะไรที่มีประโยชน์กับชีวิตตัวเอง ตอนนี้ที่กำลังมาแรงสำหรับวัยทำงานคือเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ส่วนใหญ่คนจะคิดว่าโซเชียล มีเดีย อยู่กับเด็กๆแต่จริงๆอยู่ที่วัยทำงาน

สุรนันทน์: แล้วคิดว่าสภาพแวดล้อมถ้ามองจากเมืองไทยวันนี้ แล้วที่คุณมีความรู้จากต่างประเทศ สภาพแวดล้อมของเมืองไทยมันจะเปลี่ยนไปอย่างไร การสื่อสารของเมืองไทยมันจะเปลี่ยนไปขนาดนั้นด้วยหรือ

กรณิการ์: โดยทั่วๆไปคนที่ต่างอายุก็จะมีความสนใจที่ไม่เหมือนกัน แต่ว่าในความเป็นจริงคนอาจจะมีความสนใจอีกประเภทหนึ่ง อย่างเช่นคนรักหมาเหมือนกัน คนชอบเทคโนโลยีเหมือนกัน คนชอบขี่จักรยานเหมือนกัน ชอบออกกำลังกายเหมือนกัน จริงๆคนพวกนี้เขาแทรกอยู่ในทุกกลุ่ม และนี่คือสื่อดิจิตอลจะทำให้คนที่มีความสนใจที่แตกต่างกัน คนเล่นกล้องคุยกับคนเล่นกล้อง คนเล่นนาฬิกาคุยกับคนเล่นนาฬิกา เขาหากันเจอด้วยสื่ออินเตอร์เน็ต เราจะคุยกับคนทั่วโลกก็ได้หรืออยากจะได้คนใกล้บ้านคนที่อยู่ในกรุงเทพฯด้วย กัน สมมติว่ามีปัญหาเรื่องเลี้ยงหมาก็ช่วยกันแก้ปัญหา ที่โดยปกติก็ถามพ่อแม่พี่น้อง ถามญาติ หรือไปถามสัตวแพทย์ ตอนนี้เรามีความเห็นจากเพื่อ

ทิวา: คือจริงๆอินเตอร์เน็ตตรงนี้ เป็นวิธีการที่เราจะสื่อสารระหว่างคนได้ง่ายขึ้น

สุรนันทน์: ในเมื่อเขาเจอกันเอง ผมไปเจอกับเพื่อนในเฟซบุ๊กที่มีความสนใจคล้ายๆกัน แต่คุณทิวาจะไปจับตรงนี้เป็นรูปแบบธุรกิจที่คุณทิวาไปโฆษณาได้อย่างไรใน เมื่อผมเจอกันเอง

ทิวา: สมมติผมเป็นสินค้ากล้องถ่ายรูปแบรนด์หนึ่ง ผมก็อยากดึงกลุ่มที่เล่นกล้องมาอยู่ในแบรนด์ของผม เพราะฉะนั้นผมอาจจะลงโฆษณากับกลุ่มนี้เลย อาจจะลงแบนเนอร์ หรือเข้าไปคุยเรื่องกล้องมากขึ้น คุยเรื่องแบรนด์ของตัวเองเผื่อจะได้ให้เขามีความสนใจกับแบรนด์ของผม

กรณิการ์: หรือเอามาเปรียบเทียบกันระหว่างกล้องรุ่นนี้ที่ทุกคนกำลังชอบอยู่ เดี๋ยวมีรุ่นใหม่ที่เป็นคู่แข่งลองเอามาเปรียบเทียบกัน หรือต่อไปสื่อที่เป็นโซเชียลมีเดียมันจะสามารถทราบได้ว่าแต่ละคนมีความชอบ แตกต่างกันอย่างไร แบนเนอร์หรือโฆษณาที่เป็นโฆษณาธรรมดาสามารถเลือกเจาะกลุ่มลงได้

สุรนันทน์: แล้วจะทำอย่างไรถึงจะได้เงินจากแบรนด์ เห็นบอกว่าคลิกครั้งหนึ่งได้เงินแล้ว

ทิวา: ก็มีหลายแบบ คลิกเป็นหนึ่งแบบ หรืออีกแบบที่แค่ตัวโฆษณาโผล่ขึ้นมา คนเห็นโฆษณาตัวนี้ก็จะได้เงินตรงนั้นเหมือนกัน

สุรนันทน์: ยากหรือเปล่าที่จะให้คนคลิกเข้ามา ยากแค่ไหน

ทิวา: คนที่คลิกแบนเนอร์ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 0.1 %

กรณิการ์: ทีนี้การที่ทำให้คลิกมันยาก เพราะฉะนั้นคอนเทนต์ที่เราโฆษณาจะต้องให้ตรงกับสิ่งที่เขาสนใจ ถ้าสมติเราเอาโฆษณาคนรักหมาโฆษณาหมาเอามาขายในกลุ่มคนเล่นกล้อง ก็คงยากที่จะมีคนคลิก หรือถ้าเกิดเราเอากล้องรุ่นใหม่ล่าสุด มาพูดกับคนที่ชอบกล้องโอกาสที่จะมีคนคลิกก็ไม่ได้ยาก

สุรนันทน์: เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่การนำเสนอด้วย สมมติผมเข้าไปคุณจะรู้เลยว่านายสุรนันทน์ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มันก็มีคนเป็นห่วงเรื่องสิทธิส่วนบุคคล

กรณิการ์: จริงๆแล้วเรื่องสิทธิส่วนบุคคล มีกฎหมายรองรับค่อนข้างชัดเจน แต่ว่าอาจจะยังไม่ได้เข้มแข็งมาก แต่ในฐานะที่เราเป็นผู้ใช้เราต้องระวังตัวเอง ถ้ารอให้คนอื่นระวังอาจจะลำบาก เพราะฉะนั้นการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะข้างนอกต้องระวัง เวลาเราอ่านหลังจากเราสมัครอะไรก็แล้วแต่ เราจะเลือกโชว์อะไรไม่โชว์อะไรต้องระวังทั้งหมด

สุรนันทน์: แล้วทั้งสองคนไปตั้งกลุ่มเว็บ เวนส์เดย์ เจอกันในเฟซบุ๊ก เจอกันในโซเชียล เน็ตเวิร์ค เจอกันทั้งวันแล้วต้องไปคุยกันอีกหรือ

ทิวา: คือถ้าเกิดวงการนี้ไม่เจอกันจะไม่มีวันที่อุตสาหกรรมตรงนี่มันจะโตได้ การที่เราได้เจอกันเราจะได้คุยกันในประเด็นอะไรต่างๆ หรือสำหรับคนที่ไม่รู้จักวงการตรงนี้ให้มารู้จักเพิ่มขึ้น คือวิธีการที่จะสื่อสารผ่านเน็ต เป็นสังคมที่จะได้เจอกันผ่านทางอินเตอร์เน็ต มันแทนที่จะเจอตัวจริงกันไม่ได้ครับ

สุรนันทน์: อย่างไรก็ต้องเจอกันความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอยู่

ทิวา: เรายังต้องมีเครือข่ายที่เป็นจริง เจอกันทั้งโลกความเป็นจริงและโลกดิจิตอล

กรณิการ์: คือส่วนหนึ่งที่เราคิดคือจริงๆเรารู้จักคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่มีความรู้ เรื่องดิจิตอล แล้วเราก็รู้ปัญหาของอุตสาหกรรมนี้เหมือนกัน ถ้าเราจับกลุ่มรวมกันแล้วมาเล่าให้กันฟังว่าลูกค้ายังไม่เข้าใจว่าทำไมต้อง ใช้สื่อดิจิตอล เอเจนซี่บางเอเจนซี่ไม่เข้าใจ หรือใช้ดิจิตอลที่เป็นแบบโบราณมาก พวกเราก็แบ่งปันความรู้กันซึ่งแต่ละคนก็มีความรู้ที่ไม่เหมือนกัน เรามานัดเจอกันแล้วเราก็มาลองคิดดูว่าวันนี้เราจะแบ่งปันความรู้ให้คนอื่น ที่เขาอาจจะยังเข้าใจโลกดิจิตอลไม่ดีพอได้อย่างไรบ้าง เราก็เลยคิดว่าเราจัดทุกวันพุธต้นเดือน เรามาเจอกันโดยการที่เราหาประเด็นที่จะเสริมสร้างให้อุตสาหกรรมนี้โตขึ้น ให้มีคนเข้าใจวงการดิจิตอลว่าจะใช้สื่อโฆษณาดิจิตอลได้อย่างไร เอาไปใช้กับแบรนด์ได้อย่างมีเหตุผลได้อย่างไร นอกจากนั้นเรายังมีโอกาสให้บางคนที่ยังไม่เคยเจอกันตัวเป็นๆมาเจอกัน เพราะเรามักจะเจอกันในโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพราะว่าการเจอกันในโซเชียล เน็ตเวิร์ค จะพูดในเรื่องบางเรื่องที่เป็นเรื่องสั้นๆ แต่ว่าพอเจอตัวจริงบางทีมันมีหลายอย่าง

ทิวา: เราได้คุยกันมา 2 รอบแล้ว เดือนหน้าก็จะมีอีก

สุรนันทน์: เพราะฉะนั้นถ้ามองไปในอนาคตแต่ละกลุ่มแต่ละคนที่เข้ามาใช้โลกดิจิตอลก็อาจจะ ต้องมีงานอย่างนี้ ในเชิงภาพรวมที่เป็นสังคมก็ดูดี แต่ภาพรวมทางธุรกิจจะเป็นอย่างไรต่อไป

กรณิการ์: มันจะมีการแยกเป็นกลุ่มๆมากขึ้น เพราะฉะนั้นคนที่เป็นสื่อไม่สามารถจะทำ Mass Media ต่อไปได้อีกแล้ว คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือว่าเป็นเจ้าของแบรนด์ สมมติกล้องถ่ายรูปไม่สามารถลงโฆษณาทีวีอย่างเดียว หรือลงเม็กกาซีนอย่างเดียว ต่อไปต้องลงเจาะกลุ่ม

ทิวา: ซึ่งแบรนด์เขาจะลงเพราะเขาอยากจะเจอเฉพาะกลุ่ม  เราเจาะกลุ่มลึกลงไป คือเราส่งออกไปทางสื่อทีวีหรือว่าบิลบอร์ด คนที่จะเห็นคือจะเป็นทุกคนที่ผ่านมาแต่ถ้าอยู่ในอินเตอร์เน็ตเราสามารถบอก ได้ว่ากลุ่มนี้เขาจะของคอนเทนต์ประเภทไหน เขาสามารถเจาะลึกลงไปได้มากขึ้น แล้วก็แต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกันบางแบรนด์คือต้องการให้แบรนด์เฉพาะ บางแบรนด์ต้องการให้เป็นลูกค้าโดยตรง

สุรนันทน์: เพราะฉะนั้นเจ้าของกิจการก็ต้องรู้จักลูกค้าของตัวเอง

ทิวา: ใช้ครับ แต่ใช้วิธีการที่จะเจาะกลุ่มคนละแบบ เพราะฉะนั้นจะมีหลายทางที่จะดึงให้คนมาสนใจแบรนด์ของเขามากขึ้น

กรณิการ์: ที่เราคุยกันเมื่องานเว็บ เวนส์เดย์คราวที่แล้วเราได้พูดค่อนข้างชัดเลยว่าเจ้าของสินค้าไม่สามารถ ปฏิเสธได้เลยว่าคนจะพูดถึงแบรนด์คุณไม่ว่าในทางที่บวกหรือลบในโซเชียลมีเดีย เพราะฉะนั้นต้องระวังเมื่อเราเป็นเจ้าของสินค้า ถ้าเขาพูดไปในทางดีก็เป็นโชคดีของเราเพราะเหมือนได้โฆษณาฟรี เพราะว่าผู้บริโภคเชื่อผู้บริโภคด้วยกันมากกว่าโฆษณา แต่ถ้าเขาพูดไปในทางไม่ดีเขาต้องมีวิธีการกลับลำ จะปล่อยให้พูดไปไม่ดีก็จะไปกันใหญ่ มันจะอันตรายแล้ว เพราะฉะนั้นเขาต้องลงมาดูว่าผู้บริโภคในโซเชียลมีเดียพูดอะไรกัน เพราะนี่คือผู้บริโภคตัวจริง แบรนด์ต้องกลับมาคุยกับผู้บริโภค

สุรนันทน์: ในที่สุดการซื้อขายจริงๆมันจะเกิดขึ้นบนเว็บ

กรณิการ์: มันจะค่อยๆเปลี่ยน แต่ตอนนี้ยังคงเป็นหน้าร้าน แต่ว่าของบางอย่างอาจจะเป็นหนังสือหรือซีดีเพลงอาจจะเหมาะกับสื่อดิจิตอล แล้วต่อไปคนจะค่อยๆเชื่อมั่นในโลกดิจิตอลมากขึ้น เหมือนความเคยชินอยู่กด้วยกันมานานๆก็เริ่มไว้ใจกัน เริ่มรู้วิธีการที่จะซื้อสินค้าบนออนไลน์อย่างปลอดภัย เริ่มรู้ว่าสินค้าประเภทไหนควรซื้อออนไลน์ ในเมืองนอกเขาบอกเลยว่าสินค้าบางประเภทอาจจะต้องไปโพสต์ในอินเตอร์เน็ตก่อน เรทติ้งได้เท่าไหร่แล้วค่อยเอากลับมาโฆษณา เหมือนกับผู้บริโภคเป็นคนการันตีเลยว่ามันดี

Source:  Posttoday
ชมรายการย้อนหลังของ สุรนันทน์วันนี้ได้ที่ www.SuranandLive.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •