ก้าวสำคัญของ Tencent กับการนำ WeChat Pay ขยายบริการในต่างประเทศ ไทยเป็นหนึ่งใน Roadmap

  • 199
  •  
  •  
  •  
  •  

ความสำเร็จและความก้าวหน้าของประเทศจีนจาก Made in China สู่ Trend Setter ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม นั้นถือเป็นที่เรื่องยอมรับกันในทุกประเทศ เหล่าผู้บริหารระดับสูงต่างจับตาดูการพัฒนาการของจีน เพื่อเรียนรู้ที่จะใช้ Transform บริษัทของตนเพื่อไม่ให้ถูก Disrupt

Tencent เป็นหนึ่งใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่ของ BAT (Baidu, Alibaba และ Tencent) บริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคตที่ยิ่งใหญ่ของจีน   ซึ่ง Tencent ถือเป็นเจ้าแรกที่ปฏิวัติพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนจีนทั้งประเทศ สู่ eWallet หรือการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน   ดังที่เราได้เห็นและรับรู้ว่าคนจีนทุกวันนี้มีชีวิตที่เป็น real digital ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างต้องการเดินตามทางความสำเร็จนี้

เมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสรับเชิญไปร่วมงาน Money 20/20 ที่เมือง หางโจงประเทศจีน และนอกจากได้รับฟัง Keynote Speech ของ Royal Chen, Vice President of Financial Technology, ในหัวข้อ The Evolution of Cross Boarder แล้วยังได้มีโอกาสพูดคุยกับ Chen นอกรอบถึงธุรกิจของ WeChat Pay ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศจีนและกำลังจะขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้บริหารสาย Fintech ของไทย ให้ได้เห็นถึงพัฒนาการของ WeChat Pay ในวันนี้และอนาคต

Royalchen-tencent

ความสำเร็จอันลือลั่นของ Tencent ที่เปลี่ยนพฤติกรรมคนจีนให้หันมาแจกอั่งเป่าผ่าน WeChat Pay มีมูลค่าถึงหลักพันล้าน และการใช้ WeChat Pay ในทุกหนแห่งของจีน

WeChat Red Packet หรือ การให้อั่งเปาผ่าน WeChat Pay แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เปิดตัวให้บริการครั้งแรกในประเทศจีน ในเทศกาลตรุษจีนปี 2014   คนจีนทั่วประเทศตอบรับการให้อั่งเปาผ่าน WeChat Pay กันทั่วประเทศ มีจำนวนผู้ใช้ที่มีจำนวนเงินมากขึ้นทุกๆปี ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นการใช้ mobile payment ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนจีนสู่การใช้ e-Wallet อย่างไม่รู้ตัว

ตัวเลขผู้ใช้งานและจำนวนเงินที่ถูกส่งผ่าน WeChat Pay ในเทศกาลตรุษจีนปีล่าสุด 2018 ที่ผ่านมา เพียง 1 สัปดาห์ มียอดการให้อั่งเปาเป็นจำนวนเงินถึง 768 ล้านหยวน หรือ 3,624 ล้านบาท เป็นเหตุให้อุตสาหกรรมการเงินและเทคโนโลยีทั่วโลกต่างตื่นตัวกับพฤติกรรมการใช้ e-Wallet ของจีนจนถึงทุกวันนี้

WeChat Red Packet

wechat-pay-number-1-700

wechat-pay-merchant-700

ปัจจุบัน WeChat Pay มีผู้สมาชิกทั้งหมด 800 ล้านสมาชิกซึ่งเป็นตัวเลขของ active users หรือสมาชิกที่ใช้งานประจำ   ทุกวันนี้ WeChat Pay ถูกขยายการใช้งานครอบคลุมมากถึง 80 อุตสาหกรรม ทั้ง รีเทล ซุปเปอร์มาเก็ต โรงแรม ร้านอาหาร ร้านข้างทาง การขนส่ง และอีกมาก หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกอย่างที่ต้องใช้เงินในประเทศจีน นอกจากนี้ร้านค้าท้องถิ่นในกว่า 40 ประเทศทั่วโลกได้มีการรับชำระผ่าน WeChat Pay แล้ว

 

การเปิดตัว WeChat Pay ในฮ่องกงและประเทศมาเลเซีย

Tencent เลือกเปิด WeChat Pay ที่ฮ่องกง และประเทศมาเลเซียเป็นพื้นที่นอกเขตเมืองจีนเป็นที่แรกๆ  โดยเปิด WeChat Pay ที่ฮ่องกงในปี 2016 และล่าสุดเดือนสิงหาคม 2018 ที่ประเทศมาเลเซีย

การเปิดให้บริการ WeChat Pay ที่ฮ่องกงสร้างความสำเร็จให้กับ Tencent ไม่น้อย มีการใช้งานเพิ่มขึ้นหลัก 10 เท่า และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆต่อจากนี้   ก่อนหน้านี้ คนฮ่องกงจะไม่สามารถโอนเงินไปที่เมืองอื่นของจีนผ่าน WeChat Pay ได้ แต่หลังจากเปิดให้บริการได้เพียง 2 เดือน ทาง Tencent ได้พันธมิตรกับ Union Pay ทลายกำแพงการโอนชำระเงินระหว่างฮ่องกงและเมืองต่างๆของจีน   ทำให้คนจีนและคนฮ่องกงสามารถทำธุรกิจหรือซื้อสินค้าและบริการระหว่างกันได้ผ่าน WeChat Pay โดยไม่ต้องห่วงเรื่องค่าเงินแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ   จากความสำเร็จนี้ และเพื่อให้เกิดการซื้อขายกันมากขึ้น   Tencent มีแผนเพิ่มการใช้งาน WeChat Pay กับจำนวนร้านค้าเพื่อให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้้นมากที่สุด

สำหรับ WeChat Pay ในประเทศมาเลเซีย Tencent ให้ชื่อว่า WeChat Pay My เป็นประเทศแรกในเอเชียที่เปิดให้บริการ WeChat Pay  ซึ่งฟีเจอร์การใช้งานนั้นไม่ต่างจากจีนและฮ่องกง คนมาเลเซียสามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการ และการโอนเงินผ่าน WeChat Pay   สำหรับตัวเลขหลังจากการเปิดใช้งานในประเทศมาเลยเซีย Royal Chen ยังไม่ได้เปิดเผย แต่บอกว่าเติบโตเร็วเกินคาด และมีความมั่นใจว่า การใช้ e-Wallet ในประเทศมาเลเชียจะมีการเติบโตเร็วกว่าที่ฮ่องกง

wechat-pay-hk3

 

ก้าวต่อไปของ Tencent คือการนำบริการ WeChat Pay ขยายการใช้งานและเปิดตัวในประเทศอื่นๆ

Royal Chen มีการพูดถึงกลยุทธ์การขยายพื้นที่การใช้ WeChat Pay ไปยังต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย ว่ามี 3 ช่องทางด้วยกัน ดังนี้

ช่องทางที่ 1: การขยายบริการการชำระเงินผ่าน WeChat Pay ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในต่างประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว ด้วยการประสานงานกับพันธมิตรร้านค้าท้องถิ่นให้เปิดรับการรับชำระเงินด้วย WeChat Pay ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้ร้านค้าเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่สะดวกขึ้นแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าคนจีนให้ช้อปที่ร้านมากขึ้น

ช่องทางที่ 2: เปิดบริการ WeChat Pay ให้กับคนท้องถิ่นในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ ในอนาคต

ช่องทางที่ 3: Tencent มีแผนเปิดแพลตฟอร์มผ่านพันธมิตรธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย   ซึ่งด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายหลายๆทาง ทาง TenCent ได้วางแผนจะบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี เป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินและโอนเงิน และจะสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้กับพันธมิตรที่สนใจ ซึ่งปัจจุบันได้มีพูดคุยกับพันธมิตรบางรายของไทยบางรายแล้ว และยังคงเปิดโอกาสให้กับพันธมิตรรายอื่นๆ โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมการเงิน และอุตสาหกรรมอื่นๆที่เห็นช่องทางการทำ eWallet และ Mobile Payment

wechat-pay-channel-700

 

หลายคนอาจสงสัยว่ามีบัตรเครดิตอยู่แล้ว จะใช้ WeChat Pay ทำไม

  • อย่างแรกคือการยกระดับการใช้ชีวิต สู่ชีวิตดิจิทัล WeChat Pay จะทำให้ภาพลักษณ์ของคนใช้งานดูไฮเทคขึ้น
  • ลดการพกพาเงินสด บัตรเครดิต เศษเหรียญ และกระเป๋าสตางค์
  • ไม่ต้องเสียเวลาเซ็นชื่อ ไม่ต้องกลัวบัตรเครดิตหาย
  • สามารถใช้จ่ายกับสินค้าและบริการทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนมาก หรือเงินจำนวนน้อย เช่น ชำระค่าตั๋วเครื่องบิน ที่จอดรถ ค่าอาหาร ซื้อผลไม้ริมทาง หรือซื้อตั๋วชมภาพยนต์
  • ก่อนชำระเงิน ยังสามารถตรวจสอบรับส่วนลดจากพันธมิตรร้านค้าของ WeChat Pay ได้อีก

wechat-pay

 

ธุรกิจของ Tencent ในประเทศไทย

เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย)  คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและบริการด้านเนื้อหา หรือ “Content Platforms and Services” ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคออนไลน์ แบ่งผลิตภัณฑ์และการให้บริการออกเป็น 3 ประเภทได้แก่  News and Portal ได้แก่ Sanook! และ NoozUP,  Entertainment & Multimedia Platforms ได้แก่ JOOX, Game และ Services ได้แก่ Topspace, Tencent Social Ads และ WeChat OA

 

เขียนโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับประสบการณ์การทำงานในแวดวง Digital มากกว่า 15 ปี ในธุรกิจคอนเทนท์ ธุรกิจออนไลน์ และการตลาดดิจิทัล

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก

Copyright© MarketingOops.com


  • 199
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ