จากร้านสะดวกซื้อ 24 ชม. สู่ต้นแบบเทรนด์ร้านออร์แกนิค สินค้า และตลาดในอนาคต เมื่อคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

  • 2.6K
  •  
  •  
  •  
  •  

จากร้านสะดวกซื้อ 24 ชม. สู่ต้นแบบเทรนด์ร้านออแกร์นิค สินค้า และตลาดในอนาคต เมื่อคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

เมื่อเทรนด์การกินอยู่ของคนรุ่นใหม่เน้นการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พฤติกรรมการจับจ่ายและการการบริโภคของคนรุ่นใหม่ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

Maru/Matchbox บริษัทวิจัยด้านการตลาดเคยเผยผลวิจัยในปี 2017 ไว้ว่า คนรุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกากว่า 68% ยินดีจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้ออาหารออร์แกนิค และกว่า 66% ยอมเพิ่มเงินเพื่อซื้อสินค้าที่สนับสนุนความยั่งยืน นั่นเป็นที่มาของเทรนด์การเปิดร้าน Mini Mart สำหรับสินค้าออร์แกนิคในสหรัฐฯ

The Goods Mart

The Goods Mart เมืองลอสแองเจลีส ขายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแล้วล้อม เช่น เครื่องดื่มปั่นออร์แกนิคบรรจุในถ้วยแก้วกระดาษ และสินค้าทำความสะอาดเพื่อความยั่งยืนอื่น ๆ นอกจากนี้ โมเดลการขายสินค้ายังนำเอาโมเดลการขายสินค้าแบบเดิมๆ ของร้าน 7-Eleven มาปรับใหม่ โดยเน้นให้เกิดการตระหนัก และรับรู้เรื่องของความยั่งยืนมากขึ้นในสังคมของร้านสะดวกซื้อ

The Goods Mart, Los Angeles
The Goods Mart, Los Angeles

Rachel Krupa ผู้ออกแนวคิดของร้าน The Goods Mart  เล่าว่า ทุกวันนี้ ไม่มีร้านสะดวกซื้อไหนที่ตอบโจทย์ได้ทุกอย่างในเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน ดังนั้น The Goods Mart จึงเกิดขึ้น และขายสินค้าที่ตอบทุกโจทย์ในแบบที่ลูกค้าต้องการ

The Goods Mart ขายสินค้าจากธรรมชาติทั้งหมดในราคาที่ไม่แพง โดยทางร้านจะเป็นพาร์ทเนอร์กับเกษตรกรท้องถิ่น เมนูเด็ด ๆ ก็เช่น กาแฟ La Colombe ขนาด 8 ออนซ์ ราคาเพียง 1.25 เหรียญเท่านั้น ซึ่งราคาก็พอ ๆ กับน้ำดื่มบรรจุกล่อง ส่วนผักและผลไม้ออร์แกนิคที่มีรูปลักษณ์ธรรมดาก็ราคาแค่ชุดละ 50 เซนต์เท่านั้น บนกำแพงร้านมีไอแพดติดอยู่เพื่อให้ข้อมูลลูกค้าว่าสินค้าที่วางในร้านมาจากไหน และให้ข้อมูลที่มาที่ไปของแต่ละแบรนด์สินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อได้รับข้อมูลเรื่องการบริโภคที่ยั่งยืนมากขึ้น

The Goods Mart, Los Angeles
The Goods Mart, Los Angeles

The Good Mart, Los Angeles

The Good Mart, Los Angeles

Rachel Krupa ผู้ก่อตั้ง The Goods Mart บอกว่า ร้านสะดวกซื้อสมัยก่อนไม่ได้ใส่ใจในเรื่องความเป็นอยู่ที่ทันสมัยมากขึ้น ร้านสะดวกซื้อที่ทันสมัยและยั่งยืนจะเน้นให้คนเดินเข้ามาสัมผัสบรรยากาศในร้าน ได้พูดคุยกันเพื่อให้ได้ข้อมูลระหว่างช้อป และเลือกซื้อตามใจชอบ ก่อนออกจากร้านไป นอกจากนี้ The Goods Mart ยังได้จัดจุดทางออกหน้าร้านให้ลูกค้าได้หย่อนทิปเพื่อให้เงินนี้กลับไปสนับสนุนเกษตรกรที่นำสินค้ามาฝากขาย และทางร้านก็มีกิจกรรมแจกอาหารที่ใกล้หมดอายุให้กับคนไร้บ้านฟรี ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ร้านยังจัดเลี้ยงมื้อเย็นให้กับลูกค้า โดยอาหารก็ปรุงกันเองจากฝีมือพ่อครัวในท้องถิ่น

The Good Mart, Los AngelesThe Good Mart, Los Angeles

Choice Market

หากชอบพวกอาหารกินเล่นหรือสแน็คแปรรูป และยังเน้นสมดุลเพื่อสุขภาพดีด้วยแล้ว ที่ Choice Market มีทุกอย่างให้นักกินสายนี้ได้ลิ้มลอง Choice Market เปิดตัวในเมืองเดนเวอร์ในเดือนตุลาคม 2018 จำหน่ายสลัดค้อบบ์ออร์แกนิค และสาหร่ายทะเลเป็นแพ็ค ๆ วางใกล้กับโดริโตส์ และเอ็มแอนด์เอ็มส์

Choice Market
Choice Market

Mike Fogarty ผู้ก่อตั้ง Choice Market เล่าว่า วิธีการคัดสินค้าเข้ามาวางในร้านของ Choice Market คือต้องตระหนักเสมอว่า หลายคนยังอยากกินช็อกโกแลตสนิกเกอร์ และอาจอยากดื่มไดเอ็ทโค้กไปด้วย ส่วนในร้านมีสินค้ากว่า 70% เป็นสินค้าออร์แกนิค และอีก 30% ที่เหลือเป็นสินค้าที่ให้ใครหลายคนกินแล้วทำให้นึกถึงวันเก่า ๆ ที่อยากจะตามใจท้องและปากกันบ้าง

Choice Market
Choice Market

Fogarty ยังบอกอีกว่า กลุ่มเป้าหมายของ Choice Market ไม่ได้มีแค่ผู้บริโภคสายออร์แกนิค แต่ยังมีผู้ซื้อจำนวนหนึ่งที่มักช้อปในร้านสะดวกซื้อแบบดั้งเดิม ที่ราคาสินค้าไม่ได้ไฮเอ็นด์ และสินค้ายังเป็นธรรมชาติอยู่ ส่วนราคาของสินค้านั้นสำคัญมากเพราะสินค้าออร์แกนิค 100% มักราคาสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของผู้บริโภครอบ ๆ ร้าน ซึ่ง Choice Market เป็นอีกหนึ่งทางเลือกจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคที่ราคาไม่แพง

 

Hank’s Mini Market

ในปี 1997 นักธุรกิจ Hank Jackson ได้เปิดตลาดขายแอลกอฮอล์ในพื้นที่ทางตอนใต้ของลอสแองเจลีส โดยจำหน่ายสินค้าประเภทเหล้า เบียร์ และกับแกล้มกินพร้อมเหล้า เช่น ชีโตส ภายใต้ชื่อ Hank’s Mini Market และเมื่อปีที่ผ่านมา Hank’s Mini Market ตัดสินใจนำธุรกิจเดินตามเทรนด์สุขภาพ จับมือกับกลุ่มร้านขายสลัด Sweetgreen และ LA Food Policy Council เพื่อพลิกโฉม Hank’s Mini Market ให้เป็นตลาดขายสินค้าเพื่อสุขภาพ เช่น ผักและผลไม้สด

Hank’s Mini Market
Hank’s Mini Market

Jackson ได้รับคำแนะนำที่ดีในเรื่องของซัพพลายเชนและการออกแบบร้านที่ทำให้ร้านดูดีและสร้างสรรมากขึ้น และนอกจากนี้ Hank’s Mini Market ยังได้รับคำแนะนำในเรื่องของการคัดเลือกสินค้ามาวางในร้านและการทำพาร์ทเนอร์ชิปกับผู้มีส่วนใด้ส่วนเสียต่าง ๆ Hank’s Mini Market ยังจัดเป็นอีกหนึ่งแหล่งชุมชนให้บรรดาครอบครัวได้มานั่งอิ่มอร่อยกับอาหารเพื่อสุขภาพกันถ้วนหน้า

 

New Deli

เมื่อตลาดคนกินมังสวิรัติเติบโตขึ้น Matthew Kenny ผู้ก่อตั้งร้าน New Deli ตัดสินใจเปิดร้าน New Deli ในลอสแองเจลีส โดยภายในร้านจำหน่ายสินค้าที่ทำจากพืชเท่านั้น

New Deli เปิดให้บริการและขายสินค้าแก่คนกินมังสวิรัติแบบครบวงจร ด้านหลังของร้านเป็นพื้นที่โล่งที่ให้ลูกค้าได้นั่งอิ่มอร่อยกับกลุ่มเมนูซุปเปอร์ฟู้ดลาเต้ และชีสเค้กสำหรับคนกินมังสวิรัติ และเค้กนี้ไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถซื้อของกินของใช้เอากลับไปปรุงเองที่บ้าน

The Future Market กับเทคโนโลยี

ในขณะที่ร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ทอื่นเน้นขายสินค้าสุขภาพตามเทรนด์คนรุ่นใหม่ หลายร้านก็นำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยให้การทำงานของพนักงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้ง ช่วยเสริมประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้นอีกด้วย Mike Lee ก่อตั้งห้องแลป The Future Market เพื่อศึกษาว่า ผู้ผลิตจะผลิตอาหารอย่างไร และนักชอปจะยังมีพฤติกรรมเดิมไหมในอีก 25 ปีข้างหน้า The Future Market มอบประสบการณ์การทานมื้อค่ำแบบอนาคต และสร้างเวิร์กชอปแบรนด์ ตลอดจน ให้ลูกค้าของออกแบบและผลิตสินค้าประเภทของกินของใช้เชิงคอนเซ็ปต์

The future market ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต
The future market ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต

The future market ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต

Lee เล่าว่า The Future Market มีมุมให้ลูกค้าได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ใกล้เคียงกับภาพบรรจุภัณฑ์ที่ตัวเองอยากได้ ทั้งนี้ มุมนี้จะช่วยให้ลูกค้าได้ประเมินสินค้า ราวกับว่า สินค้าจากจินตนาการของลูกค้ามีอยู่จริงในร้านโดยที่ไม่ต้องนึกภาพที่จับต้องไม่ได้

 

ตัวอย่างสินค้าที่ออกแนวอนาคตแบบไปไกลมาก

ระบบวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับตัวผู้บริโภค ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำงานกับ AnayzeMe ที่เป็นเม็ดยาเล็ก ๆ ที่จะเข้าไปวัดปริมาณแบคทีเรียลำไส้ในไมโครไบโอม และส่งผ่านข้อมูลออกมาเป็นคำแนะนำ ให้กับผู้เข้าร่วมการวิเคราะห์ในแต่ละคน ในขณะที่อาหารขยะมีกันมานานมากยังเป็นที่ถกเถียงในแง่ของระเบียบวิธีวิจัย และนอกจากนี้ The Future Market ยังนำระบบการลดของเสีย อาหารที่ทำมาจากจุลชีพเชิงเดี่ยว และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

Blue Hill at Stone Barns

Blue Hill at Stone Barns ร้านอาหารและศูนย์อาหารและการเกษตร ในเมืองนิวยอร์ค เป็นร้านอาหารสุขภาพที่เน้นเรื่องของความยั่งยืนมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเน้นอาหารจำพวกสดจากไร่ แต่การจะขยายธุรกิจด้วยโมเดลนี้ออกไปไม่ได้ง่ายเลย Blue Hill at Stone Barns เปิดตัวศูนย์อาหารและการเกษตร Stone Barns ในนิวยอร์กในปี 2004 นอกจากจะผลิตสินค้าที่เน้นในเรื่องของความยั่งยืนแล้ว ยังเน้นให้ความรู้ผู้ประกอบการอื่นและประชาชน ในเรื่องของผลจากการเลือกอาหารในทุก ๆ วัน อีกด้วย

Blue Hill at Stone Barns
Blue Hill at Stone Barns – Popcorn on the cob. โดย The Washington Post
Blue Hill at Stone Barns - The red peper egg โดย The Washington Post
Blue Hill at Stone Barns – The red peper egg โดย The Washington Post

เมื่อเกิดแรงกดดันอย่างหนักในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างการรับรู้ที่ว่าด้วยความสามารถในการทำให้ยั่งยืน ผู้บริโภคได้เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดจากร้านค้าแบบดั้งเดิม ไปสู่อะไรที่ออร์แกนิคและเน้นความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่นำเทรนด์นี้ ได้ป่วนอุตสาหกรรมอาหารอยู่พอสมควร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ รายงานการบริโภคโปรตีนเนื้อสัตว์ในปี 2017 ของ Mintel หนึ่งในบริษัทที่ทำวิจัยการตลาด ที่บอกว่า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลกว่า 36% เริ่มพึ่งพาเนื้อโปรตีนทางเลือกมากขึ้น และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์กว่า 14% ก็หันมาบริโภคโปรตีนที่เป็นเนื้อสัตว์ทางเลือกนี้  

เมื่อโปรตีนทางเลือกเกิดมากขึ้น อุตสาหกรรมทางด้านอาหารจะต้องปรับตัวกันมากขึ้น มองดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องที่ห่างไกล แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าอุตสาหกรรมใดในตอนนี้ ใครกระโดดเข้าสู่ธุรกิจก่อนย่อมได้เปรียบ เพราะเมื่อเทรนด์กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้บริโภคเริ่มใช้ในชีวิต ธุรกิจจะปรับตัวเข้าสู่โอกาสใหม่นี้ได้ลำบากกว่าผู้นำเทรนด์

 

Source:  JWT Intelligence


  • 2.6K
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ