3 ความผิดพลาดที่สร้างหายนะให้กับแบรนด์

  • 140
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำแบรนด์นั้นเป็นดาบ 2 คม เพราะสามารถสร้างให้แบรนด์ทะยานเข้าสู่จุดสูงสุดเหนือคู่แข่งขึ้นมาได้ เข้าไปอยู่ในใจของกลุ่มเป้าหมาย และทำให้ตำแหน่งของแบรนด์ในตลาด นั้นมั่นคงอย่างมาก แต่เช่นเดียวกันการทำแบรนด์ไม่ดีก็ทำให้แบรนด์เสียหายหนักได้อย่างมาก จนหายไปจากตลาดได้เลย การทำแบรนด์ถ้าทำด้วยความละเอียดรอบคอบจะกลายเป็นทรัพย์สินที่ดีอย่างมากต่อองค์กร เพราะจะมีมูลค่าของแบรนด์ขึ้นมา แต่ถ้าทำผิดนอกจากมูลค่าไม่มีแล้วก็ยังทำให้ติดลบไปอีกด้วย

สำหรับคนที่เพิ่งจะสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะ Startup หรือ เจ้าของกิจการนั้น การสร้างแบรนด์คือการลงทุนด้านความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เพราะถ้าทำถูกตั้งแต่ครั้งแรก แบรนด์คุณจะสามารถเติบโตหรือได้รับความนิยมได้อย่างรวดเร็วมาก ๆ แต่ถ้าผิดพลาดแล้วละก็ คุณอาจจะต้องวนเวียนกับการทำแบรนด์ รีแบรนด์ อยู่ในเขาวงกตของการที่ต้องแก้แบรนด์ไปมาที่ไม่รู้จบอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว ยังเสียทรัพยากรอย่างมากมาย เสียเงินในการลงทุนอีกด้วย ในบทความนี้จะพาคนที่กำลังทำแบรนด์ไปรู้จัก 3 หายนะ ที่อาจจะพาแบรนด์คุณลงเหวได้โดยไม่รู้ตัวและ หนทางที่จะทำให้แบรนด์ของคุณเกิดได้ขึ้นมา

หายนะที่ 1. ไม่สนใจในการทำวิจัยก่อน : การทำวิจัยทางการตลาด หรือ Market research นั้นเรียกได้ว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเหมือนเข็มทิศในการทำงานในการสร้างแบรนด์เลยว่า กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นั้นเป็นใครกันแน่ มีความต้องการ ความอยาก ไลฟ์สไตล์ในชีวิตอย่างไร การไม่สนใจการทำการวิจัยทางการตลาดเรียกได้ว่า ล่องเรือโดยไม่มีเข็มทิศ ไม่มีแผนที่เลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุของการไม่ทำการวิจัยก่อนก็เกิดจาก 1.มีความมั่นใจในสินค้าและบริการตัวเองมากเกินไป ว่าคนต้องใช้หรือกลุ่มคนของตัวเองคือกลุ่มนี้ 2. มีปัญหาเรื่องการเงิน ทำให้การวิจัยนั้นไม่ได้เพราะคิดว่าเปลืองเงิน 3. เวลาที่มีกำหนดต้องออกสินค้าและบริการทำให้ละเลยการวิจัยและ 4. ขาดทักษะการวิจัยการตลาดเลยไม่ได้ทำขึ้นมา

หนทางแก้ไข คือการเริ่มทำวิจัยการตลาดก่อนจะเริ่มลงมือทำสินค้าและบริการขึ้นมา และมองว่าคือการลงทุนอย่างหนึ่ง ในการที่จะทำ ถ้าทำไม่เป็นก็หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยหรือลองศึกษาด้วยตัวเองจากออนไลน์ เพื่อให้สามารถเจาะได้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายของคุณ และถ้ามีทรัพยากรที่จำกัดก็เลือกวิธีที่ใช้งบน้อยที่สุดแต่ได้ผลที่สุดขึ้นมา

หายนะที่ 2. ไม่มีความ Consistency และไม่สนใจ brand message : การมีความสม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องมากกว่าการใช้ Logo แค่เป็นการเน้นย้ำแบรนด์ขึ้นมาในทุก ๆ Touchpoint ให้สื่อสารกันเหมือนกันตลอดเวลา หรือใช้ Brand Message เดียวกันการไม่สนใจทำให้แบรนด์สื่อสารในแต่ละครั้งที่ไม่เหมือนกันแล้วสามารถสร้างความสับสนให้กลุ่มเป้าหมายจนแบรนด์ไม่เกิดได้ความเข้าใจผิดนี้เกิดจากการที่เข้าใจว่า แบรนด์เป็นแค่ Logo และ Tagline การมีคนทำงานที่เกี่ยวกับแบรนด์ที่หลายคนและต่างคนต่างทำมากเกินไป และสุดท้ายคือการไม่มี Guideline ที่จะบังคับ นอกจากนี้ยังเกิดจากการที่จะขายมากเกินไป จนไม่ได้สื่อสารแบรนด์ ขาดกลยุทธ์ในการสื่อสาร และไม่เข้าใจว่าการไม่สื่อสาร Brand Message ออกไปจะส่งผลเสียอย่างไรต่อการสร้างแบรนด์ขึ้นมา

หนทางแก้ไข คือการเข้าใจกระบวนการทำแบรนด์จริง ๆ ว่ากระบวนการทำแบรนด์นั้นมีองค์ประกอบอย่างไรบ้างและสำคัญอย่างไร ตั้งแต่ Brand Message จนถึง customer interaction จากนั้นคือการลงทุนในการทำ Brand Guidelines เพื่อให้ทุก ๆ คนนั้นสื่อสารให้เหมือนกัน ใช้งานให้ตรงกัน และมีกฏการใช้งานในการสื่อสารแบรนด์ขึ้นมา นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการเทรนพนักงานทุกคนให้เข้าใจแบรนด์ให้ตรงกันว่า แบรนด์ของตัวเองนั้นคืออะไร เพื่อให้ทุกคนสามารถสื่อสารแบรนด์ได้ตรงกันขึ้นมา

หายนะที่ 3. ทำการลอกคู่แข่งมา : หลาย ๆ ครั้ง หายนะที่เกิดกับแบรนด์นั้นก็เกิดจากการที่ทำงานโดยไม่รอบคอบ หรือคิดน้อยไป ใช้ทางลัดในการทำแบรนด์ โดยการลอกแบรนด์คู่แข่งมาทำงาน ซึ่งการทำเช่นนี้เรียกได้ว่า ตีตั๋วเที่ยวเดียวสู่จุดจบเลยทีเดียว เพราะอะไรที่คนอื่นทำแล้วได้ผลนั้น ไม่ได้หมายความแบรนด์ของเราทำแล้วจะได้ผลตาม นอกจากนี้ยังส่งผลเสียตามมาเพราะกลุ่มเป้าหมายจะไม่สามารถจำแบรนด์คุณได้เลย แต่จะไปจำแบรนด์คู่แข่งของคุณที่เป็นต้นแบบมาแทน สาเหตุที่เกิดคือ ขาดความเป็น Original ของตัวเอง การกลัวความเสีย สนใจแต่ผลในระยะสั้น และ ขาดวิศัยทรรศน์ในการทำงาน

หนทางแก้ไขคือการ unique value proposition ของตัวเองออกมาให้ได้ และสื่อสารตรงนี้ อย่าลืมการทำ Competitive analysis เพื่อหลีกเลี่ยงการสื่อสารแบบเดียวกับคู่แข่งหรือสื่อสารแล้วด้อยกว่า มีแผนในระยะยาวในการทำแบรนด์ และการสนใจในความเป็นตัวของตัวเองมากกว่าคู่แข่ง


  • 140
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ
CLOSE
CLOSE