มารู้จัก Startup Business Model ที่ธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที

  • 81
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำธุรกิจหรือกิจกรรมทางการตลาดนั้น จำเป็นต้องมีการวางโครงสร้างว่าจะหารายได้อย่างไรออกมา ยิ่งในทุกวันนี้มีธุรกิจมากมายที่เกิดและผู้บริโภคมีทางเลือกมากมาย การเข้าใจ Business Model ที่จะสามารถสร้างผู้ใช้ หรือลูกค้าขึ้นมาได้ การมี Business Model ที่ดี ย่อมทำให้องค์กรนั้นเติบโตได้มากยิ่งขึ้นไป และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ซึ่งกระบวนการสร้าง Business Model ที่สามารถโตได้อย่างรวดเร็วนั้น นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจสามารถเรียนรู้ได้จากกลุ่มธุรกิจหนึ่ง นั้นคือ กลุ่มธุรกิจ Start Up ที่สามารถสร้างรายได้ และหากลุ่มผู้ใช้ของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และบริษัทโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งในบทความนี้จะแนะนำ Business Model ที่นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจ สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีกับธุรกิจของตัวเองขึ้นมาในการหารายได้ และยอดคนใช้งาน

1. Freemium business model เป็นโมเดลธุรกิจ ที่ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาลองใช้งานฟรี โดยสามารถใช้คุณสมบัติได้อย่างจำกัด เช่น พวก basic features ต่าง ๆ ข้อดีคือทำให้ผู้ใช้ได้ลองเล่นก่อนได้จนติดใจ และเมื่ออยากใช้อะไรที่มากขึ้น หรืออยากได้  feature เพิ่มขึ้น มากขึ้น ก็เก็บเงิน

2. Subscription business model เป็นโมเดลที่ให้จ่ายรายเดือนหรือรายปี เพื่อให้ได้รับบริการที่ครบถ้วน ซึ่งเป็นบริการอยากใช้หรือจำเป็น ข้อดีคือได้เงิน รายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอแน่นอน โดยสามารถเอาไปผสมกับ Freemium ได้

3. Pay-as-you-go business model จ่ายตามที่ใช้ ธุรกิจแบบนี้จะเจอได้กับธุรกิจประเภท Cloud Service ที่ให้ผู้ใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานที่ใช้ไป

4. Marketplace business model  เป็นธุรกิจแบบ E-commerce ที่จะให้คนมาซื้อสินค้า และบริการ โดย Platform นั้นจะหักค่าบริการของ Platform ต่าง ๆ ออกไป เหมือนค่า GP ของห้าง

5. Fee-for-service (FFS) business model คือธุรกิจที่จะหารายได้จากการหักค่าบริการ และตามปริมาณการใช้งานด้วยกัน เช่น พวกบริการการจ่ายเงินต่าง ๆ จะมีค่าบริการ ต่อ Transaction เป็นราคา xx และบวกค่าบริการ Platform อีก xx % ของการโอนนั้น ๆ ขึ้นมา

6. Transactional business model เป็นธุรกิจที่เห็นได้โดยทั่วไปในทุกวันนี้ โดยการได้รายได้มาจากการขายสินค้าต่างๆ

7. Ad-based business model เป็นโมเดลธุรกิจ ที่ได้รายได้จากการขายยอดสถิติต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน โดยการขายพื้นที่และข้อมูล เพื่อให้บริษัทต่าง ๆ เอาไปทำโฆษณามานำเสนอบน Platform ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งสามารถเห็นได้จากพวก Website หรือ Social Media ที่มีโฆษณาขึ้นให้เราเห็น

8. Hidden revenue business model เป็นการหารายได้ทั้ง 2 ทาง โดยการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายและผู้ซื้อ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากโมเดลธุรกิจนี้คือ เว็บไซต์หางานบางเว็บไซต์ ที่เรียกเก็บค่าบริการจากทั้ง  HR ที่หาพนักงานที่ต้องจ่ายเงินเพื่อโปรโมทตำแหน่งงานหรืออ่านเรซูม่ และเรียกเก็บจากคนที่สมัครงานที่อยากให้เรซูเม่ตัวเองเด่นเตะตากับ HR ทั้งหลายด้วย

9. Franchisee business model ธุรกิจโมเดลแบบ Franchise คือการขายสิทธิ์ให้ตัวแทนไปจัดจำหน่าย โดยตัวแทนจะได้การใช้เครื่องหมายการค้า แบรนด์ และวิธีการทำธุรกิจจากบริษัทแม่ที่ขาย Franchise ไป และต้องทำตามข้อกำหนดของบริษัทแม่ต่าง ๆ ด้วย เช่น KFC

10. Razor blade business model เป็นโมเดลธุรกิจที่ขายสินค้าตัวใดตัวหนึ่งถูก แต่ต้องซื้อสินค้าที่ต้องใช้งานประจำและหมดไปแพง ตัวอย่างง่าย ๆ คือ พวกมีดโกนหนวด ที่ผู้บริโภคซื้อมีดโกนในราคาถูกอย่างมาก แต่ต้องซื้อใบมีดโกนที่แพงมาก หรือPrinter ที่เครื่องปรินต์นั้นราคาถูกไม่แพงอย่างมาก แต่พวกหมึกพิมพ์ต่าง ๆ นั้นมีราคาสูงมากนั้นเอง ซึ่งข้อดีคือลูกค้าไม่มีทางเลือกต้องจ่ายเงินแน่ ๆ กำไรสูง และสามารถสร้าง upselling, cross selling ได้ นอกจากนี้คือมีรายได้ตลอดเวลา

ทั้งหมดนี้เป็น Business Model ที่น่าสนใจ ที่แบรนด์และนักกาาตลาดสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการได้ทันที ลองดูว่าสินค้าของตัวเองเหมาะกับการหาเงินและลูกค้าด้วยวิธีไหนขึ้นมา


  • 81
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ