ทำไมกลยุทธ์ Sonic Branding ยังเป็นมาร์เก็ตติ้งที่กระตุ้นยอดขายได้ในยุคนี้?

  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การตลาดในยุคใหม่มักจะมุ่งไปที่ การตลาดผ่านวิดีโอ’ เป็นหลัก เหตุผลก็เพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมเสพคอนเทนต์ที่เป็นทั้งภาพและเสียง ดังนั้นจึงเกิดเป็นความสงสัยขึ้นมาว่า แล้วการตลาดที่ใช้แค่เสียงสำหรับยุคนี้ละ? คำตอบคือยังได้รับความนิยมเหมือนกัน โดยบทความของ MarketingWeek ระบุว่า การตลาดหรือการทำแบรน์ดิ้งด้วยเสียงมีโอกาสเพิ่มยอดขายได้อย่างคาดไม่ถึง

ส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำแบรนด์ดิ้งด้วยเสียง หรือที่เรียกว่า Sonic Branding (ซึ่งจะเป็นเสียงหรือเพลงที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ) โดยยังได้รับความนิยมแม้ว่าใครๆ ก็พูดว่า Video เป็นสิ่งสำคัญของการตลาดของยุคนี้ แต่เมื่อมาดูที่เทรนด์ของการเสพ podcast ในปัจจุบันที่ยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการฟังเพลงแบบ music steaming ที่เป็นกิจกรรมหลักของผู้บริโภค ทั้งยังเปิดฟังได้ทุกที่ในเวลาไหนก็ได้ที่ต้องการ

นอกจากนี้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีแบบใหม่ทำให้ผู้บริโภคเริ่มเปิดใจรับสิ่งประดิษฐ์มากมาย เช่น ลำโพงอัจฉริยะ หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อประเภทอื่นที่มีอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องขับรถถึงจะฟังวิทยุได้เหมือนในสมัยก่อน

ดังนั้น การตลาดที่ใช้เสียงจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น โดยข้อมูลของ MarketingWeek ระบุว่า ฟังก์ชั่นที่เพิ่มเข้ามาใน smart tools ไม่ว่าจะเป็นลำโพง, โทรศัพท์, นาฬิกา ฯลฯ มีส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมคนอีกครั้ง โดยพวกเขาจะมีเวลาพิมพ์น้อยลง, ดูน้อยลง แต่จะใช้กับเวลาไปกับ ‘การฟังและการพูด’

 

Sonic Branding จะสำเร็จต้องมี DNA แบรนด์

การใช้เสียงกับแบรนด์ดิ้งไม่ได้หมายถึงว่าเสียงแบบไหนก็ได้ หรือเป็นสปอตโฆษณาเหมือนที่เราได้ยินบ่อยๆ ในคลื่นวิทยุ แต่หมายถึงแบรนด์ต้องใช้ความครีเอทมากกว่านั้น คือ ต้องสร้างเสียงที่เป็น DNA ของแบรนด์ ได้ยินแล้วรู้เลยว่าคือแบรนด์อะไร ทำให้คนฟังได้ยินเสียงนี้บ่อยๆ ซึ่งมันเป็นเหมือนจิตวิทยาการตลาดอย่างหนึ่งสำหรับ Sonic Branding ประมาณว่า “เปิดให้ฟังจนกว่าลูกค้าจะจำเสียงเรา(แบรนด์)ได้” โดยบางทีไม่ต้องมีคำพูด หรือประโยคมัดใจอะไรเลยก็ได้

ยกตัวอย่าง เช่น เวลาที่เราได้ยินเสียง “ตือ ดื้อ ดืดด ~ ตือ ดื้อ ดืดด ~ ตือ ดื่อ ดือ ดื้อ ดือออ” เราทุกคนก็จะรู้เลยว่าเป็นเสียงของไอศครีมวอลล์ เป็นต้น

ทั้งนี้ มีมุมมองของนักการตลาดที่พูดว่า Sonic Branding เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กด้วยเช่นกัน และอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการตลาดแบบอื่นด้วย ทั้งได้พูดถึงจิตวิทยาการตลาดที่ใช้เสียงซ้ำๆ (แต่ต้องเป็นเสียงที่มีเอกลักษณ์และเหมาะกับแบรนด์) จะทำให้เกิดการจดจำได้มากขึ้นกว่าการมองเห็น+ภาพ (เพราะใช้ประสาทสัมผัส 2 อย่างพร้อมกัน) ก็ถือว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของธุรจกิจขนาดเล็กที่ยังเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะสร้างการรับรู้ และจดจำแบรนด์ได้อย่างไร วิธีนี้อาจเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมก็ได้

 

 

 

ที่มา: marketingweek, elegantthemes


  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม