ทำสตาร์ทอัพอย่างไรให้อยู่รอดจากบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

ไม่ใช่แค่สตาร์ทอัพ แต่บริษัทที่ตั้งตัวได้แล้วต้องเผชิญความท้าทายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าพัฒนานวัตกรรมออกไปแล้วโดนใจตลาด สร้างรายได้มหาศาล ก็ต้องมีบริษัทฯที่ใหญ่กว่า มีเงินทุนมากกว่า มาควบรวมกิจการไม่ก็ลอกเลียนแบบนวัตกรรม

แล้วแบบนี้สตาร์ทอัพหน้าใหม่จะอยู่รอดได้อย่างไร?

 

พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ ทำให้สตาร์ทอัพเกิดใหม่น้อยลง

พูดตรงๆคือ นิสัยของบริษัทฯเทคยักษ์ใหญ่ที่คอยลอกเลียนแบบนวัตกรรมใหม่ๆของสตาร์ทอัพทำให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่ๆไม่ได้แจ้งเกิด ตัวอย่างเช่น Snapchat ที่ประสบความสำเร็จด้วยฟีเจอร์ Stories จากนั้น Facebook ก็ลอกเลียนฟีเจอร์นี้ใส่เข้าไปใน Instagram และ WhatsApp ผลคือจำนวนคนใช้ Snapchat เริ่มนิ่ง ราคาหุ้นของ Snapchat ตกลงมาอย่างน่าใจหาย

ไม่ใช่แค่กรณี Facebook กับ Snapchat ยังมีกรณีของ Slack (แอปฯที่ใช้คุยงานกันในบริษัท) ที่ถูก Microsoft ลอกเลียนไป เดิมที Slack มียอดผู้ใช้โตขึ้น 5% ทุกปี กลับลดลงในเวลาต่อมา Amazon เองก็ใช้กลยุทธ์ลอกเลียนแบบสินค้าที่เจอตลาด Niche แล้วขายตัดราคาคู่แข่ง 50% อีก

ไม่ว่าอย่างไร ที่สุดแล้วการคิดนวัตกรรมใหม่ๆก็จะเข้าตาบริษัทฯเทคยักษ์ใหญ่อยู่ดี

 

ธุรกิจแบบไหนที่อยู่รอดจากการถูกลอกเลียนแบบจากบริษัทฯยักษ์ใหญ่?

บริษัท WayFair ขายสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา แน่นอนว่าเข้าตาบริษัทอย่าง Amazon ซึ่งพยายามลอกเลียนแบบ แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ Amazon ไม่ลอกเลียนแบบ WayFair นั้นก็คือการลงมือถ่ายรูปสินค้าทุกตัวและวัดขนาดสินค้าทุกตัวด้วยตัวเอง ซึ่ง Amazon มองว่ามันไม่คุ้มที่จะทำ แต่สำหรับ WayFair แล้วคุ้มค่า เพราะลูกค้าจะสามารถนึกภาพสินค้าของจริงได้ และนึกภสพได้ว่าจะเอาเฟอร์นิเจอร์ที่สนใจไปไว้ในบ้านได้อย่างไร?

Amazon จะทำอย่าง WayFair ก็ได้ แต่ความจริงคือ Amazon มีสินค้ากว่า 3 พันล้านชิ้น ในขณะที่ WayFair มีแค่ 14 ล้านชิ้นซึ้งน้อยกว่า พูดอีกอย่างก็คือจุดแข็งของ Amazon ที่มีสินค้าจำนวนมาก กลับทำให้การลอกเลียนแบบ WayFair นั้นไม่คุ้มค่าเพราะด้วยจำนวนสินค้าของตัวเองที่เยอะเกินไป ถ้าขืน Amazon ต้องถ่ายรูปด้วยตัวเองทั้งหมด แล้วอัพโหลดเข้าเว็บไซต์ รับรองว่าลูกค้าจะโหลดเว็บฯ Amazon ได้ช้าเอามากๆ เพราะขนาดความละเอียดของรูปนั้นใหญ่เกินไป

อีกปัจจัยหนึ่งคือการจัดการกับซัพพลายเออร์ Amazon มีสินค้าจำนวนมาก ทำให้ต้องจ่ายเงินกับซัพพลายเออร์ช้าหรือเลื่อนไปนานกว่าธุรกิจอื่นๆ และถ้า Amazon ลอกเลียนแบบสินค้าของคนอื่น ก็ต้องหยุดค้าขายกับซัพพลายเออร์โดยปริยาย แต่สำหรับธุรกิจที่ผูกสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ดี ซ้อสินค้าจากซัพพลายเออร์เป็นจำนวนมาก จ่ายเงินตรงเวลา ราคายุดติธรรม ท้ายที่สุด ธุรกิจนั้นก็จะได้ของมาขายที่ไม่ซ้ำใคร และลูกค้าชอบในความแตกต่าง

คำถามเชิงกลยุทธ์ 3 ข้อที่ต้องตอบให้ได้ก่อนคิดนวัตกรรม

ฉะนั้นธุรกิจที่อยู่รอดจากการลอกเลียนแบบของบริษัทฯเทคยักษ์ใหญ่ จะต้องทำในสิ่งที่บริษัทฯใหญ่ๆนั้นไม่คุ้มที่จะทำตามนั่นเอง ถ้าอยากคิดนวัตกรรมให้โดนใจตลาดแล้วไม่ถูกบริษัทฯเทคใหญ่ๆลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดู

  1. บริษัทฯเทคใหญ่ๆที่เป็นคู่แข่งของเราในอนาคตมีจุดแข็งอะไรบ้าง หากเอานวัตกรรมที่เราคิดนั้นไปทำแล้วประสบความสำเร็จ?
  2. อะไรคือฟีเจอร์ ประโยชน์หรือข้อเสนอที่ลูกค้าเห็นความสำคัญ? แล้วเป็นไปได้ยากหรือไม่ หากคู่แข่งจะใช้จุดแข็งของตัวเองมามอบคุณค่าหรือประโยชน์ที่ว่าให้ลูกค้า?
  3. ถ้าคู่แข่งจะลอกเลียนแบบจริงๆ จะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อคู่แข่งหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน?

ถ้าสินค้าของเรานั้นโดนใจตลาด ทำรายได้ดี คู่แข่งจะไม่ยอมแลกจุดแข็งของตัวเองกับการลอกเลียนแบบสินค้าของเราเด็ดขาด การคิดนวัตกรรมใหม่ๆก็จะเกิดขึ้น ให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการใช้งานนั่นเองครับ

 

แหล่งที่มาส่วนหนึ่งจาก A Survival Guide to Startups in the Era of The Tech Giant โดย Thales S. Teixeira จาก The Tech in Year 2021: Harvard Business Review


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th