เปิดกลยุทธ์สื่อสาร “LINE” ใช้ “Data + Human Insights + Creativity” สร้างคอนเทนต์โดนใจ-เพิ่มฐานผู้ใช้

  • 795
  •  
  •  
  •  
  •  

รู้หรือไม่ว่า…ใน 1 วัน คนเราเห็นโฆษณากันคนละเท่าไร ?

และบนโลกดิจิทัล เรามีเว็บไซต์รายล้อมอยู่รอบตัวเรากี่เว็บ ?

มีการคาดการณ์ว่าในแต่ละวัน นับตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา จนถึงเข้านอน มนุษย์เห็นโฆษณาไม่ต่ำกว่า 4,000 – 10,000 ชิ้นต่อวัน และปัจจุบันในโลกดิจิทัลมีเว็บไซต์มากกว่า 1,800 ล้านเว็บ แต่ละเว็บไซต์ต่างแข่งกันทำคอนเทนต์ออกมา นี่ยังไม่นับรวมคอนเทนต์จากแอปพลิเคชันทั้งหลายที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือ พร้อมที่จะเด้งเตือน หรือเมื่อปลดล็อคมือถือ เข้าใช้งานเมื่อไร ก็จะปรากฏตรงหน้าเสมอ

นั่นหมายความว่าในแต่ละวัน มนุษย์อยู่ท่ามกลางโฆษณา และคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ ที่วิ่งเข้าหาตลอดเวลา เรียกได้ว่าตลอด 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ !!

เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญของการแบรนด์ดิ้ง และการสื่อสารที่จะดึงความสนใจของผู้บริโภค หรือ Target Audience ได้ในท่ามกลางภาวะ “Content Overload” จึงอยู่ที่กลยุทธ์การผสานระหว่าง “Big Data + Creativity + Human Insights” เพื่อให้คอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา “เข้าถึง” ผู้บริโภคได้แบบ Right Target – Right Moment – Right Time  

ที่สำคัญเมื่อผู้บริโภคเห็นแล้ว ไม่เพียงแต่เกิด Awareness ในผลิตภัณฑ์ หรือบริการเท่านั้น แต่ยังเกิดความสนใจ และนำไปสู่ Conversion คือ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการนั้นๆ

ดังเช่นกรณีศึกษา “LINE ประเทศไทย” ในปี 2019 ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จกับการแบรนด์ดิ้ง และการสื่อสาร สะท้อนได้จากการเติบโตทั้งด้าน Conversion ที่มีผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ ใน LINE Ecosystem มากขึ้น และผลงานโฆษณาหลายชิ้นงาน ก็สามารถคว้ารางวัลมาได้

MarketingOops! ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “คุณชาญวุฒิ ลือชัยสิทธิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด LINE ประเทศไทย” บริหารแผนงานการตลาด การสื่อสารการตลาด และการสื่อสารองค์กร จะมาเล่ากลยุทธ์แบรนด์ดิ้ง และการสื่อสาร รวมทั้งเจาะลึกทีม Marketing & Communication ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานการสื่อสารต่างๆ ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด และการทำงานมากพอสมควร เพื่อให้กลยุทธ์ และชิ้นงานการสื่อสารที่สร้างสรรค์ออกมานั้น ตอบโจทย์ทั้งวิสัยทัศน์องค์กร – ผู้บริโภค

จากวิสัยทัศน์ “Life on LINE” สู่การปรับกลยุทธ์แบรนด์ดิ้ง – การสื่อสารครั้งใหญ่

การเดินทางของ “LINE ประเทศไทย” นับตั้งแต่ก้าวแรกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเมื่อ 6 ปีที่แล้วด้วยบริการ Chat Application” ถึงวันนี้ LINE มีผู้ใช้งานกว่า 45 ล้านคน และยังคงเดินหน้าสร้าง Ecosystem ให้ครบวงจรมากขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ Life on LINE” เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างชีวิตผู้บริโภคไทย (Life Infrastructure) และอยู่กับคนไทยในทุกๆ โมเมนต์ ภายใต้

ผลิตภัณฑ์ และบริการหลักๆ ที่คนไทย ทั้งผู้บริโภคทั่วไป และผู้ประกอบการธุรกิจ SME – องค์กร เช่น

  • LINE Chat ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 67 นาทีต่อคนต่อวัน
  • LINE Today ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 36 ล้านคนต่อเดือน
  • LINE TV ใช้เวลาโดยเฉลี่ย มีผู้เข้าใช้มากกว่า 40 ล้านราย เฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่บน LINE TV รวม 176 นาที
  • LINE MAN ที่มีผู้ใช้งานกว่า 3 ล้านราย
  • Rabbit LINE Pay มีผู้ใช้งาน 6.5 ล้านบัญชี
  • LINE Official Account ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 3 ล้านบัญชี

LINE เข้ามาในตลาดประเทศไทย ด้วย Chat Application แต่ปัจจุบันเราเป็นมากกว่านั้น ซึ่งภายใต้วิสัยทัศน์ “Life on LINE” เราต้องการเป็นมากกว่า Chat Application ต้องการเป็นมากกว่า Everyday App โดยเรามองไปถึงการเป็น Life Infrastructure ของคนไทย 

เพราะฉะนั้นในมิติของการแบรนด์ดิ้ง และการสื่อสาร ทางทีม Marketing & Communication ต้องปรับกระบวนการทำงาน จากเดิมสื่อสารโปรดักต์แต่ละอัน โดยใช้สื่อภายใน LINE Ecosystem แต่สิ่งที่เรามอง คือ ถ้าเราจะขยายฐานผู้ใช้ LINE ในบริการต่างๆ มากขึ้น ต้องมองที่ “Touch Point” อื่นๆ ด้วย และต้องมองการเข้าไปอยู่ใน “โมเมนต์” ต่างๆ ของผู้บริโภค และใช้ “สื่อ” หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเห็นได้ด้วย

โดยไม่ใช่แค่สร้างการรับรู้ (Awareness) อย่างเดียว แต่เพิ่ม Value บางอย่างลงไปในการสื่อสาร เพราะโลกเปลี่ยนไปมากแล้ว ผู้บริโภคสามารถดูโฆษณาจากที่ไหนก็ได้ ชอบก็ซื้อ ไม่ชอบก็ไม่สนใจ กด Hide หรือ Block โฆษณานั้นไป

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำ คือ สร้างสรรค์ชิ้นงานสื่อสารให้ผู้บริโค หรือผู้ใช้ LINE เห็นแล้ว รู้สึกได้ว่า LINE กำลังพูดกับเขา และผู้บริโภคก็เกิดความสนใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการของเราด้วย เพื่อให้ LINE เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขาจริงๆ” คุณชาญวุฒิ เล่าการปรับกลยุทธ์แบรนด์ดิ้ง และการสื่อสาร

ผสาน Data + Human Insights + Creativity = Right Target & Right Moment

ถึงแม้ LINE” เป็น Tech Company ที่มีทั้งเทคโนโลยี และ Big Data” พฤติกรรมการใช้งานก็ตาม แต่ในทุกชิ้นงานการสื่อสารของ LINE ประเทศไทย” ไม่ได้ใช้แค่เพียง Data” มาวิเคราะห์ แล้วทำออกมาเป็นการสื่อสาร

หากแต่เบื้องหลังกว่าจะมาเป็นชิ้นงานการสื่อสารแต่ละแคมเปญ แต่ละโปรดักต์ และปรากฏอยู่บนสื่อต่างๆ มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่านั้น !!

เพราะทุกแคมเปญการสื่อสาร เกิดจากการผสานกันระหว่าง 5 องค์ประกอบสำคัญคือ

  1. ตั้งต้นที่ Brief ที่ดี มีโจทย์ – Target Audience – Objective ของแคมเปญการสื่อสารนั้นๆ ชัดเจน
  2. Big Data ที่วิเคราะห์ และตีความได้อย่างแม่นยำ
  3. Human Insights เข้าใจความรู้สึก – มุมมอง หรือทัศนคติของผู้บริโภค
  4. Creativity และ Creative Partner นำ Data ที่วิเคราะห์ และ Human Insights มาใส่ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับการทำงานครีเอทีฟ เอเยนซี เพื่อครีเอท Story ที่ตอบโจทย์ทั้งวิสัยทัศน์องค์กร – ดึงความสนใจผู้บริโภค และทำให้เกิดความรู้สึกอยากใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายด้าน Conversion
  5. Right Target – Right Moment เข้าถึงผู้บริโภคที่ใช่ ในโมเมนต์ที่ถูกจังหวะ

Data คือสิ่งสำคัญ แต่การเอา Data มาวิเคราะห์ และทำตาม Data บอก ทำตามสูตร เช่น ผู้บริโภคต้องเห็นโลโก้แบรนด์ในวินาทีที่ 3 แล้วผู้บริโภคจะจดจำแบรนด์ หรือต้องเห็นโฆษณาภายใน 7 วินาทีแรก หลักการเหล่านี้เป็นสูตรสำเร็จ

แต่ไม่เพียงพอสำหรับการสร้างสรรค์แคมเปญการสื่อสารที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ตื่นเช้ามา หยิบมือถือก่อน และมีโฆษณามากมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า ชิ้นงานโฆษณาของ LINE มีประโยชน์กับเขา และเราพูดกับเขาอย่างไร

ดังนั้นการจะทำให้แคมเปญการสื่อสารน่าสนใจ และแตกต่าง คือ ใส่ “Creative Idea” เข้าไป และมี Data ที่วิเคราะห์แบบถูกต้อง เพราะฉะนั้นทุกงานของการแบรนด์ดิ้ง และสื่อสารที่เราทำ ต้องมี Creative Marketing Solution อยู่ในทุกชิ้นงาน”

ขณะเดียวกันองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้อีกปัจจัย คือ Human Insights” เพราะในขณะที่วันนี้ทุกแบรนด์พยายามผลักดันผู้บริโภคให้เป็นดิจิทัล ทุกแบรนด์พยายามพูดถึง Digital Transformation ทุกคนต้องทำการสื่อสารให้เป็น Digital Communication และ Digital Marketing

แต่ในที่สุดแล้วแบรนด์ก็เปรียบเสมือนคน “ความเป็นมนุษย์” จึงขาดไม่ได้ เพราะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้แบรนด์ ดูมีชีวิตจิตใจ จับต้องได้ เข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภค

“ผมมองว่า Human Touch หรือความเป็นมนุษย์ยังคงสำคัญ ถึงแม้ Data จะจับพฤติกรรมผู้บริโภคได้ แต่ไม่ได้ 100% เพราะความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ซับซ้อนขึ้น เราจึงไม่สามารถทำการสื่อสารบนพื้นฐานของการใช้ Data อย่างเดียวได้

การที่เราจะเป็นทั้งที่หนึ่ง ทั้งในใจผู้บริโภค และในตลาด ต้องมองหลายๆ แกนประกอบกัน ทั้ง Data – Creativity – Human Insights – Emotional ที่เราต้องใช้ในการพูดกับผู้บริโภค พร้อมทั้งทำงานควบคู่กับทีมโปรดักต์ ที่พัฒนาโปรดักต์ที่ตอบโจทย์คนไทย

นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่เราต้องมีคือ “ความโปร่งใส” ของการสื่อสาร ได้แค่ไหน ไม่ได้แค่ไหน ต้องบอกผู้บริโภคให้ชัดเจน เพราะสมัยนี้ไม่สามารถโฆษณาที่บอก Half Truth หรือความจริงได้ครึ่งเดียว และอีกครึ่งให้ผู้บริโภคไปหาคำตอบเอาเอง ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว เราต้องสื่อสารให้ชัดเจน

นี่คือส่วนผสมที่ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่ตอบโจทย์ ไม่ใช่แค่ถูกต้องทางการตลาดอย่างเดียว แต่ต้องถูกใจผู้บริโภคด้วย ทำให้มี feedback ที่ดีกลับมา ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ของงาน และการเติบโตของผู้ใช้งาน (Conversion) ในแต่ละผลิตภัณฑ์ของ LINE”

เปิดเคส “LINE MAN – LINE Today” นำ Data + Human Insights + Creative มาใช้จริง จนคว้ารางวัล

ผลจากการปรับกลยุทธ์ และกระบวนการทำงานด้านแบรนด์ดิ้ง และการสื่อสาร ทำให้ในปี 2019 เป็นปีแห่งความสำเร็จของแคมเปญการสื่อสารของ LINE ประเทศไทย” ที่สามารถคว้าทั้ง Creative Awards และ Marketer Awards รวมทั้งโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ กลายเป็นกระแสฮิตบนโซเชียล

– ผลงาน LINE MAN: Food Delivery, LINE TODAY: คลีนิกดูดวง ปัญหาความรัก / ปัญหาปากท้อง และ LINE TODAY: # LINE TODAY ลอตเตอรี่ Battle คว้ารางวัล Adman Awards 2019 และ Ad Stars Awards 2019 ด้าน Creative Awards 

โจทย์ของแคมเปญนี้คือ ทำให้คนที่เล่นลอตเตอรี่มาดูการถ่ายทอดสดออกรางวัลในรายการ LINE Today บนแพลตฟอร์ม LINE TV เพื่อลุ้นผลแบบ Real-time โดยมีครีเอทีฟ เอเยนซีคือ Wunderman Thompson” ได้ Big Idea มาจากการที่ให้ทีม Marketing & Communication ลงพื้นที่สำรวจพฤติกรรมคนซื้อลอตเตอรี่ และลองซื้อลอตเตอรี่จริง เพื่อลุ้นผลการออกรางวัล พบว่า Insights ของคนซื้อลอตเตอรี่แบ่งเป็น 2 กลุ่มความเชื่อ คือ กลุ่มที่วิเคราะห์ตามสถิติ โดยคำนวณจากตัวเลขงวดก่อนๆ เพื่อหาความเป็นไปได้ว่างวดล่าสุดจะออกอะไร และ สายมูเตลู

เมื่อได้ Data และ Human Insights มาแล้ว ทางเอเยนซีเสนอให้เอา 2 สายความเชื่อนี้มา Battle กัน โดยใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing ที่ได้ “แจ๊ส สปุ๊กนิค และภรรยา” มาเป็น Macro Influencer แคมเปญนี้ เพราะตัวจริงทั้งสองคนนี้ ซื้อลอตเตอรี่อยู่แล้ว และแต่ละงวดซื้อเป็นจำนวนมาก ควบคู่กับการใช้ทั้งสื่อออนไลน์ และสื่อเฉพาะเจาะจง ที่ตรงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่าง “แผงลอตเตอรี่”

“ให้น้องในทีม ซึ่งเป็นคนยุคใหม่ บางคนไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อลอตเตอรี่มาก่อน แต่ต้องมาดูโปรเจคนี้ จึงให้เงนไปซื้อลอตเตอรี่ และลุ้นผลจริง เพื่อทำความเข้าใจ Human Insights และ Data ก่อนว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมอย่างไร ซื้อลอตเตอรี่เพราะอะไร บางคนไม่ได้ซื้อเพราะหวังรวย แต่ซื้อเพราะสนุก

ขณะเดียวกันในการสื่อสาร ทำผ่าน Influencer เพราะปัจจุบัน Media Landscape เปลี่ยน คนไม่ค่อยเชื่อโฆษณา เราเลยมองว่าการใช้ Influencer เข้าไป Influence ผู้บริโภค ซึ่งโจทย์ของการใช้กลยุทธ์นี้ คือ ใช้ Influencer ที่ถูกต้อง และเหมาะสม ผสานกับ Creativity เพื่อให้เกิดการกลับเข้ามาใช้โปรดักต์เรามากขึ้น” 

นอกจากนี้แคมเปญของ LINE MAN Delivery และ LINE Today ยังคว้า Creative Awards มาได้สำเร็จ

LINE MAN Delivery ได้รางวัล Ad Star 2019 ครีเอทีฟเอเยนซีคือ Ogilvy

โจทย์แคมเปญนี้ ต้องการสื่อสารว่าบริการ LINE MAN Food Delivery สะดวก ง่าย เพียงแค่สั่งออนไลน์ อาหารก็มาส่งให้ถึงที่ จึงวาง Big Idea ระหว่างสัตว์นักล่า เช่น จระเข้, สิงโต นั่งอยู่เฉยๆ แล้วมีอาหารอันโอชะของสัตว์เหล่านี้ เดินเข้าหาเอง เช่น ม้าลาย เปรียบเสมือน LINE MAN Food Delivery ที่มีอาหารมาส่งให้ถึงที่

ด้วยความเรียบง่าย แต่ทรงพลังในการสื่อสาร ที่เห็นแล้ว สามารถเข้าใจได้ทันที ทำให้คว้ารางวัล Creative มาได้ในที่สุด

LINE Today คลินิกดูดวง Real-time ครีเอทีฟเอเยนซีคือ Wunderman Thompson

เปิดคลินิกดูดวงออนไลน์แบบ Real-time จากหมอดูตัวจริงแบบฟรีๆ โดยคนที่สนใจแค่พิมพ์บอกเล่าปัญหาที่ต้องการให้ดูดวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความรัก, การงาน, การเงินที่คอมเมนต์บน Facebook, Twitter ของ LINE Today เพียงไม่นานจะมีหมอดูเข้ามาตอบคำถาม

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีอีก 2 แคมเปญที่เป็นกระแส Talk of the town ในออนไลน์ คือ

LINE TODAY พาดหัวชิงทรัพย์ ครีเอทีฟเอเยนซีคือ Leo Burnett

โจทย์แคมเปญนี้ ต้องการให้คนเข้ามาอ่านคอนเทนต์ใน LINE Today มากขึ้น และสร้าง Engagement ระหว่างแพลตฟอร์ม กับผู้อ่าน จึงนำ Insights คนไทยเวลาอ่านข่าว พบว่าคนไทยชอบอ่านพาดหัว และแชร์ต่อบน Social Media ของตัวเอง แล้วเขียน Caption หรือพาดหัวของตัวเอง

ทางทีม Marketing & Communication และครีเอทีฟจาก Leo Burnett จึงจุดประกายไอเดีย ทำเป็นแคมเปญกิจกรรม “พาดหัวชิงทรัพย์” เปิดให้ผู้อ่าน LINE Today ร่วมสนุก ด้วยการแชร์ลิงก์ข่าว หรือบทความจาก LINE Today พร้อมพิมพ์พาดหัวใหม่ลงบน Social Media ของผู้ใช้งานคนนั้นๆ เพื่อร่วมลุ้นรางวัลมูลค่ากว่าล้านบาท

LINE MAN “สู้ไม่ถอย เพื่อมื้ออร่อยของคุณ” หนังโฆษณาที่เอา Human Insights ประสบการณ์ความพึงพอใจของผู้ใช้ มาสร้างเป็น Story

โจทย์ของแคมเปญนี้ เพื่อบอกเล่าความมุ่งมั่นตั้งใจของ LINE MAN ที่ใส่ใจในความต้องการของลูกค้า ผ่านบริการของพนักงานขับ LINE MAN ที่ต้องมีคุณสมบัติรองรับความต้องการ, น่าไว้วางใจ, มีความแน่นอน และเอาใจใส่

ผลปรากฏว่าหลังจากเอา Data และ Human Insights ของผู้ใช้งานจริง มานำเสนอเป็นหนังโฆษณา 2 เรื่อง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการสู้ไม่ถอยของพนักงานขับ LINE MAN ทั้งรอคิวยาว และยืนกรานความถูกต้องของออเดอร์ลูกค้ากับแม่ค้า ทำให้ทะยานสู่การเป็นคอนเทนต์ออนไลน์ที่มียอดวิวสูงสุดรวมกว่า 17 ล้านวิว ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งบน YouTube ภายใน 1 สัปดาห์ และติดอันดับ 1 บน Twitter Trend

นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล Best Innovation in Influencer Marketing จากเวที Thailand Influencer Awards 2019 จัดขึ้นโดย Tellscore ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับแบรนด์ด้านสร้างนวัตกรรมการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท LINE Company (Thailand) จำกัด ผู้นำด้านแพลตฟอร์มแชท ที่โดดเด่นด้านการใช้ Influencer Marketing ได้อย่างแปลกใหม่ และยังได้นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับหลายแบรนด์ภายใต้ LINE เช่น TenTen, Shopping, LINE TV ฯลฯ เพื่อสร้างแคมเปญที่ผสานเข้ากับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันอย่างลงตัวตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร อ่านข่าว เล่นเกม ช้อปปิ้ง และความบันเทิง โดยนำเสนอผ่านการใช้ Influencer Marketing ครบทุกกลุ่ม ตั้งแต่ Celebrity ไปจนถึงระดับ Micro-Influencer เพื่อสร้างอิมแพคในหลากหลายช่องทาง

Next Step 2020 โฟกัส “Story Doing” พร้อมตั้งเป้าเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครัก

หลังจากปีนี้ สร้างแคมเปญสื่อสารต่างๆ บนวิสัยทัศน์ Life on LINE ด้วยการสร้าง Story Telling จาก Data + Human Insights + Creativity ในปี 2020 กลยุทธ์แบรนด์ดิ้ง และการสื่อสารของ LINE ประเทศไทย” ยังคงยึดแกน Life on LINE” แต่จะลงลึกรายละเอียดในการทำ Story Doing” เล่ารายละเอียดการใช้งานโปรดักต์ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า LINE” เข้าไปทำให้วิถีชีวิตของผู้บริโภคสะดวก ง่ายขึ้นอย่างไร เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ ของ LINE แล้ว ซึ่งการสื่อสารที่ Deep Down เช่นนี้ จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมผู้บริโภค

“เรามองกลับไปที่ผู้ใช้ว่าเราสามารถ convince เขาให้มาใช้งานได้อย่างไร ผู้ใช้แต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำให้ผู้บริโภคเห็นว่านอกจากแชทแล้ว LINE ยังมีบริการอื่นที่จะมาทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น

เพราะฉะนั้นความท้าทายคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมคน เป็นเรื่องยาก แต่ต้องมองเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนโปรดักต์ พัฒนาให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานในปัจจุบันให้ได้มากที่สุด กับส่วนการสื่อสาร ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ของเรา ตอบสนอง หรือทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นอย่างไร โดยเราต้องหา trigger point หรือประเด็นที่ทำให้เราสามารถจุดประกายให้คนใช้ LINE รู้สึกว่าทำไมไม่ใช้อย่างนี้ซะตั้งแต่แรก”  

นอกจากนี้ อีกเป้าหมายหนึ่งที่ทีม Marketing & Communication ต้องการบรรลุเป้าคือ การทำให้ LINE เป็นแบรนด์ที่คนไทยรัก (Brand Love)

เรามองว่ารางวัล เป็นโบนัสให้กับทีมงาน และเป็น Recognition ให้เขารู้สึกว่าเขาได้รับการยอมรับ จากทั้งข้างในเอง และสายตาข้างนอก ปีหน้าให้เรายังคงรักษามาตรฐาน และความสำเร็จเหล่านี้ หนี้ ผมมองว่ารางวัลเป็นโบนัสให้กับทีมงาน

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ ผมพยายามให้ทุกคนในทีม มองไปที่โจทย์แต่ละโจทย์เป็นความท้าทายอย่างไร และทำให้ดีที่สุด แต่ถ้าพลาด ก็เป็น Learning เราไม่เคยตำหนิว่าทำไมแคมเปญนี้ Conversion ไม่เป็นไปตามที่วางไว้ แต่กลับมาทบทวนปัจจัยเพราะอะไร

เพราะผมมองว่า ถ้าบอกน้องๆ ในทีมว่าอย่าทำอันนั้น อย่าทำอันนี้ ซึ่งถ้าทำอย่างนั้น จะทำให้มีกรอบการทำงาน ที่ทีมอาจจะรู้สึกอึดอัด ซึ่งการทำงานในทีม ทุกคนเหมือนมาสนามเด็กเล่น กล้าขึ้นสไลด์เดอร์ ถ้าล้ม – เจ็บ ก็เป็นการเรียนรู้ว่าทำแบบนี้แล้วเจ็บ

เพราะฉะนั้นเป้าหมายต่อไป คือ เราต้องการให้ทั้งทีมทำแคมเปญ สร้าง Story Doing ของ Life on LINE ให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และทำให้แบรนด์ LINE เข้าไปเป็น Brand Love ของผู้บริโภคคนไทย ที่ไม่ใช่แค่รู้สึกรัก LINE อย่างเดียว แต่รู้สึกรัก และรู้สึกว่าอยากใช้ด้วย” คุณชาญวุฒิ กล่าวทิ้งท้ายถึงเป้าหมายปี 2020


  • 795
  •  
  •  
  •  
  •