กลยุทธ์ “เจลีก” สร้างกระแสท้องถิ่นนิยม ผ่าน “เมสซี่ เจ” และ “เทพมุ้ย” ยุทธการช่วงชิงเบอร์ 1 ฟุตบอลลีกในเอเชีย

  • 73
  •  
  •  
  •  
  •  

ภาพบนเฟช

ว่ากันว่า ฟุตบอลได้กลายเป็น “ซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์” ที่มีมูลค่ามหาศาล เนื่องจากมันสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของแฟนบอลทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า การสร้างแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอล ไล่ตั้งแต่ Tournament การแข่งขัน ลีกของแต่ละประเทศ สโมสร หรือแม้กระทั่งตัวนักเตะเอง กลายเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาด และผู้คนที่สนใจศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตลาด

แบรนด์อย่าง ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก หรือการแข่งขันการแข่งขันพรีเมียร์ลีก กลายเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่ามหาศาล จากราคาค่าประมูลการถ่ายทอดสดที่เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องเพราะมันเป็นลีกที่มีการแข่งขันเข้มข้น และมีความมันระดับ 10,000 ตีนถีบ

เมื่อหันมามองที่การแข่งขันของฟุตบอลลีกในย่านเอเชียแล้ว จะพบว่ามีความเข้มข้นไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในมุมของการแข่งกันสร้างให้แบรนด์มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะนำมาด้วยค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ

การช่วงชิงเพื่อให้เป็นลีกเบอร์ 1 ของเอเชียจึงทวีความเข้มข้นมากขึ้น อย่างเอ ลีก ของออสเตรเลีย ที่ในบ้านเราได้พันธมิตรอย่างบีอิน สปอร์ต เป็นคนดูแลเรื่องของการถ่ายทอดสด

2

เช่นเดียวกับ เจลีก ของญี่ปุ่น ที่กำลังทุ่มเทสรรพกำลังอย่างเต็มที่ เพื่อให้ลีกของตัวเอง กลายเป็นลีกยอดนิยม ไปทั่วเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านอาเซียน ที่เป็นตลาดใหญ่อันดับต้นๆ

เราลองมาดูว่า เจลีกเขาทำอะไรบ้าง…..

จาก Japanization สู่ Localization

การก่อกำเนิดขึ้นของเจลีกถือว่าน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นการเกิดขึ้นท่ามกลางความนิยมของกีฬายอดฮิตอย่างเบสบอล ซึ่งเป็นกีฬาอาชีพยอดนิยมของญี่ปุ่น ขณะที่กีฬาฟุตบอลในช่วงก่อนการเกิดเจลีกเมื่อปี 1993 นั้นยังเป็นแค่กีฬากึ่งสมัครเล่น

ช่วงเริ่มต้นนั้น เจลีกมีการขอความร่วมมือไปยังโซนี่ และเอเยนซีอย่างเดนสึ แอดเวอร์ไทซิ่ง เพื่อช่วยออกไอเดียในการตั้งชื่อทีมต่างๆ รวมถึงการออกแบบสัญลักษณ์ของแต่ละทีม เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจดจำของแฟนบอล ซึ่งในช่วงแรกของสโมสรที่แข่งขันในเจลีก ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อตามบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของทีม ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อทีมเพื่อให้มีความเป็นท้องถิ่นนิยม อาทิ จากนิสสัน เปลี่ยนแป็นโยโกฮาม่า มารินอส หรือจากยามาฮ่า เป็น จูบิโล่ อิวาตะ เป็นต้น

ในช่วงแรกๆ ของเจลี ถือเป็นช่วงที่นักเตะญี่ปุ่นหลายคนออกไปวาดลวดลายในลีกยุโรป จึงมีการสร้างมุมมองของการเป็น Japanization ที่ลีกในประเทศของญี่ปุ่นเองจะเป็นแหล่งเพาะบ่มนักเตะชื่อดัง เพื่อส่งออกไปสร้างชื่อเสียงในลีกใหญ่ๆ ของโลก
ภาพดังกล่าวจะถูกสะท้อนกลับมายังการทำแบรนด์เจลีก ในฐานะแหล่งเพาะบ่มนักเตะญี่ปุ่นที่สำคัญ….

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ “เจลีก” ถูกปรับเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในมุมของการทำการตลาดเชิงรุกไปยังประเทศเป้าหมาย เป็นการเข้าไปทำตลาดเพื่อให้เกิดกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเดนสึ เป็นคนรับหน้าที่ในการทำตลาด

3

เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการสร้างความเป็นท้องถิ่นนิยม ของแต่ละประเทศที่เจลีกขยายฐานเข้าไป ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ การสร้างฐานตลาดในประเทศไทย นอกจากการทำกิจกรรมการตลาดที่เข้มข้นมากขึ้นแล้ว ยังมีเรื่องของการดึงนักเตะชื่อดังของบ้านเรา เข้าไปค้าแข้งกับสโมสรต่างๆ ในเจลีก

นักเตะดังอย่าง “เมสซี่เจ” ชนาธิป สงกระสินธ์ ถูกดึงไปเล่นให้กับฮอกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโร หรือ “เทพมุ้ย” ธีรศิลป์ แดงดา ที่เล่นให้กับสโมสรซานเฟรชเช ฮิโรชิมา รวมถึง “โก๋อุ้ม” ธีราทร บุญมาทัน กับทีม วิสเซล โกเบ

ขณะที่การทำกิจกรรมแบบ “ออนกราวน์” เพื่อหล่อเลี้ยงกระแสเจลีก ถูกทำออกมาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ล่าสุดทางเจลีกร่วมกับ ทรูวิชั่นส์ เจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดเจลีกในบ้านเรา จัดกิจกรรมการถ่ายทอดสดฟุตบอลเปิดฤดูกาลระหว่าง “ทีมเจ” ฮอกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโร ที่นำทัพโดย “เมสซี่เจ” ชนาธิป สงกระสินธ์ ปะทะ “ทีมมุ้ย” ซานเฟรชเช ฮิโรชิมา ที่มี “มุ้ย” ธีรศิลป์ แดงดา เป็นดาราในสนาม บนจอยักษ์บริเวณสยาม สแควร์วัน ซึ่งถือเป็นอีกกิจกรรมที่เข้ามาสร้างสีสันได้เป็นอย่างดี

การดึงนักเตะดังของประเทศเป้าหมาย เข้าไปร่วมเล่นในลีกของตัวเองนี้ ถ้ามองในแง่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดแล้วถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะลีกดังๆ ของยุโรป ก็เคยใช้วิธีนี้ และยังคงใช้อยู่ต่อเนื่อง

แต่กลยุทธ์ในรูปแบบดังกล่าว ถือว่าเข้ามาช่วย Engage แฟนบอลได้เป็นอย่างดี และมันทำให้เกิด “อารมณ์ร่วม” กับการแข่งขันแบบไม่รู้ตัว ซึ่งน่าจะเข้ามาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสร้างแบรนด์ และมูลค่าเพิ่มให้กับเจลีกได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง

4

แม้จะต้องแข่งขันกับลีกชื่อดังของโลก ที่เข้ามาสร้างความเอ็นเตอร์เทนในบ้านเราอย่างมากมาย แต่เรื่องของช่วงเวลาการถ่ายทอดสด ที่ตรงกับช่วงเย็นๆ วันเสาร์ และอาทิตย์ ก็เป็นข้อได้เปรียบหนึ่ง ที่น่าจะช่วยตรึงให้แฟนบอลมีการติดตามการถ่ายทอดสดได้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อรวมเข้ากับนักเตะที่เข้ามาช่วยสร้างความเป็นท้องถิ่นนิยม ก็น่าจะช่วยขยายฐานแฟนบอลได้ไม่มากก็น้อย

เกมประวัติศาสตร์นักเตะไทยบนเวทีเจลีก

แมตช์ที่แฟนบอลชาวไทยน่าจะตื่นเต้นและรอคอยมากที่สุด ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเกมประวัติศาสตร์ในฐานะนักเตะไทย โดยประตูของธีรศิลป์ ในเกมเปิดสนามให้กับซานเฟรซเซ ฮิโรชิมา เอาชนะ คอนซาโดเล ซัปโปโร ติด 5 ประตูยอดเยี่ยมของศึกเจ ลีก เมื่อเร็วๆ นี้ โดยธีรศิลป์สร้างชื่อให้ตัวเองหลังใช้เวลา 28 นาที ทำประตูแรกในฟุตบอลเจลีกอย่างเป็นทางการได้สำเร็จ ช่วยให้ซานเฟรซเซ ฮิโรชิมา ออกนำคอนซาโดเล ซัปโปโร ของชนาธิป ในครึ่งเวลาแรก 1-0 โดยประตูนี้กลายเป็นประตูชัยให้ทีมเก็บ 3 แต้มแรกของซีซั่น

และธีรศิลป์ก็ได้รับตำแหน่ง แมน ออฟ เดอะแมทช์ ด้วย และทำให้ธีรศิลป์กลายเป็นผู้เล่นไทยคนแรก ที่ยิงประตูได้บนลีกสูงสุดญี่ปุ่น


  • 73
  •  
  •  
  •  
  •