ย้อนรอยเจ้าแห่งสนามแข่ง SUBARU ที่การันตีด้วยยอดขายและรางวัลมากมาย

  • 14.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

SUBARU

รถยนต์ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในหลายรูปแบบ ตั้งแต่รถยนต์ที่ใช้เดินทางในเมืองเป็นหลักอย่างกลุ่มรถยนต์ Eco Car หรือรถยนต์ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบายอย่างรถยนต์ในกลุ่ม Executive และรถยนต์ที่ใช้เพื่อสร้างรายได้อย่างกลุ่มรถกระบะ ซึ่งแต่ละค่ายรถยนต์ต่างก็สร้างรถยนต์มาเพื่อครอบคลุมทุกเซ็กเม้นต์

แต่ดูเหมือนตลาดรถยนต์ในไทยกำลังให้ความสนใจไปกับรถยนต์อเนกประสงค์หรือที่เราเรียกกันว่า SUV (Sport Utility Vehicle) ซึ่งการจะเลือกรถยนต์ SUV ดีๆ ซักคัน นอกจากเรื่องของสมรรถนะและเทคโนโลยีแล้ว ความน่าเชื่อถือของค่ายรถยนต์นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ และดูเหมือนว่า SUBARU จะสามารถตอบได้ทุกคำถามสำหรับคนที่ต้องการรถยนต์ SUV ดีๆ

ตำนานความขลังของ SUBARU

ถ้าจะย้อนไปดูที่มาที่ไปของ SUBARU ต้องหมุนเข็มเวลาย้อนกลับไปในปี 1915 บริษัท นากาจิมา แอร์คราฟ จำกัด ก่อตั้งขึ้น โดยเน้นการสร้างอากาศยาน และกลายเป็นบริษัทหลักในการสร้างเครื่องบินรบให้กับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดเหตุให้บริษัทต้องแตกตัวออกเป็นบริษัทย่อยๆ จำนวนมาก โดย 5 บริษัทที่แตกตัวมานั้นมีการรวมกลุ่มกันแล้วตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี (FHI)

SUBARU

โดย FHI มองลู่ทางการทำธุรกิจในตลาดรถยนต์ ซึ่งผู้บริหารของ FHI ในช่วงนั้นต้องการได้ชื่อแบรนด์ที่น่าสนใจกว่า FHI และเป็นช่วงเริ่มพัฒนารถยนต์ภายใต้ชื่อ P-1 แม้จะมีการเสนอชื่อมามากมายแต่ไม่มีชื่อไหนโดน จนสุดท้ายมาจบลงที่ชื่อ “ซุบารุ (SUBARU)” ที่ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “กลุ่มดาวลูกไก่” พร้อมทั้งออกแบบโลโก้ให้เป็นดาว 6 ดวง ซึ่งหมายถึง 5 บริษัทที่มารวมกันเป็นบริษัทเดียวคือดาวดวงที่ 6

SUBARU

ในเวลาต่อมารถยนต์รุ่น P-1 หรือที่ในตลาดเรียกกันว่า SUBARU 1500 ซึ่งเป็นรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลาดรถญี่ปุ่นมีความต้องการรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กราคาถูกหรือ “รถเคย์ (Kei Car)” ทำให้ SUBARU พัฒนารถเคย์ขึ้นมาในชื่อรุ่น “SUBARU 360” ซึ่งมาจากเครื่องยนต์ของรถที่มีขนาด 356 ซีซีและขายดีมากที่ญี่ปุ่น

แชมป์สนามแข่งสู่รถประสิทธิภาพสูงบนถนน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา SUBARU เริ่มสร้างชื่อเสียงทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก จนมาถึงรุ่น SUBARU Leone ที่เรียกได้ว่าเป็นรุ่นแรกที่ขับเคลื่อน 4 ล้อและถือเป็นต้นแบบของ SUBARU Impreza (The Imp) รถยนต์ที่ทำให้ชื่อเสียงของ SUBARU ดังกระฉ่อนทั่วโลก ด้วยแชมป์เวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพถึง 3 ปีซ้อน ภายใต้ทีม SUBARU World Rally Team

SUBARU

ช่วงระหว่างนั้นก็เริ่มมีการนำระบบต่างๆ ของ SUBARU Impreza มาใส่ไว้ในรถครอบครัว (Station Wagon) อย่าง SUBARU Legacy และถูกพัฒนาต่อจนกลายมาเป็นรถยนต์ SUV รุ่นยอดนิยมอย่าง SUBARU Forester ที่เน้นไปที่ประสิทธิภาพการขับขี่แบบ AWD ด้วยเครื่องยนต์ Boxer

ค่ายเดียวที่ใช้เครื่องยนต์แตกต่าง

เป็นที่ทราบกันว่า เครื่องยนต์บ็อกซ์เซอร์ (Boxer) เป็นเอกลักษณ์ของค่าย SUBARU ติดตั้งเป็นครั้งแรกในรถยนต์ SUBARU 1000 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความพิเศษของเครื่องยนต์ Boxer ที่กลายเป็นหัวใจสำคัญของ SUBARU คือความนุ่มนวลของเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์ทั่วไปจะมีการออกแบบการทำงานของลูกสูบในตั้งหรือในแนวเฉียง

เมื่อลูกสูบทำงานในแนวตั้งหรือแนวเฉียงจะก่อให้เกิดแรงสั่นจากการทำงานของลูกสูบ และบางครั้งอาการสั่นจะถูกส่งไปยังตัวรถยนต์ แต่เครื่องยนต์ Boxer ถูกออกแบบมาให้ทำงานในแนวนอนทำให้ลดอาการสั่นของเครื่องยนต์ ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องยนต์ Boxer ยังมีศูนย์ถ่วงต่ำทำให้รถเกิดความสมดุลทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ช่วยให้การควบคุมรถมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบขับเคลื่อนเอกลักษณ์จาก SUBARU

นอกจากเรื่องของเครื่องยนต์ Boxer ที่เรียกว่าโดดเด่นกว่าคู่แข่งแล้ว SUBARU ยังมีระบบ Symmetrical AWD ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของ SUBARU เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า SAWD เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบสมมาตรตลอดเวลา (Full Time) ซึ่งแตกต่างจากระบบอื่นๆ เนื่องจากระบบ Symmetrical AWD ถูกออกแบบมาให้การกระจายแรงขับเคลื่อนไปยังล้อทั้ง 4 อย่างอิสระ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างล้อทั้ง 4 เพื่อให้สมรรถนะในการเกาะถนนสูงสุดในทุกสถานะการณ์

SUBARU

เมื่อกลุ่มดาวลูกไก่ทั้ง 6 พุ่งสู่เมืองไทย

สำหรับ SUBARU ไม่ใช่แบรนด์ใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะ SUBARU เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2529 ในรูปแบบของรถยนต์นำเข้า จนกระทั่งช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 กลุ่มตันจง อินเตอร์เนชันแนล ร่วมลงทุนกับ ซูบารุ คอร์เปอร์เรชั่น ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโรงงานแห่งที่ 3 ของโลก และล่าสุด พ.ศ.2562 The All-New Forester รุ่นล่าสุด ซึ่งประกอบจากโรงงานแห่งนี้

SUBARU

พร้อมสำหรับจำหน่ายในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค เกิดการจ้างพนักงานทักษะสูงทั้งจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย นั่นหมายความว่า SUBARU กำลังมองประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ของ SUBARU และยังเป็นฐานการส่งออก ซึ่งหมายถึงในอนาคตที่ SUBARU จะมีรถยนต์รุ่นใหม่ ประเทศไทยก็พร้อมที่จะเป็นฐานในการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

SUBARU

ปัจจุบันแบรนด์ SUBARU มีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2017 สร้างปรากฎการณ์ยอดขายทั่วโลกสูงกว่า 1 ล้านคัน นอกจากจะได้แชมป์ในการแข่งขันแล้วรถยนต์ SUBARU ในประเภท Compact SUV ยังได้รับรางวัลสุดยอดรถยนต์จากสหรัฐอเมริกาอีกด้วย


  • 14.5K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE