ปัจจุบันประชากรไทยมีจำนวน 66 ล้านคน (ตามข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค.2561 จากเว็บมิเตอร์ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล) แต่ข้อมูลจาก กสทช. เกี่ยวกับการลงทะเบียนเพื่อเปิดใช้งาน SIM Card มีมากถึง 121 ล้านเลขหมาย แล้ว…จำนวนเลขหมายในระบบที่มากกว่าจำนวนประชากรเป็นเท่าตัวนี้ สะท้อนถึงอะไร
แน่นอนว่า สิ่งที่ถูกสะท้อนออกมาชัดเจนที่สุด คือ “ความต้องการใช้งาน” แม้เราจะต้องมองภาพการใช้งานเป็นก้อนกลมๆ ที่มีมากจนเกิดความกังวลว่าไทยจะประสบภาวะ SIM ล้นตลาดและไม่เติบโตหรือไม่ แต่ความเป็นจริงต้องไม่ลืมว่าผู้ใช้งานนั้นมีหลายกลุ่ม ทั้งคอนซูเมอร์ คอร์ปอเรท นักท่องเที่ยว หรือแม้แต่การนำไปใช้กับสมาร์ทดีไวซ์ในยุค IoT
อีกประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ “ศักยภาพในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค” เพราะ SIM จำนวนมหาศาลที่ถูกจดทะเบียนไม่ได้หมายถึงความต้องการจำนวนมากที่เกิดขึ้น แต่ยังสื่อถึงศักยภาพเครือข่าย แพ็กเกจที่คุ้มค่าคุ้มราคาในสายตาผู้บริโภค เพราะในยุคที่ยังไม่มีบริการย้ายค่ายเบอร์เดิม ทางออกของผู้ใช้ที่ไม่พึงพอใจบริการหรือแพ็กเกจที่ได้รับ ก็คือ ปิดเลขหมายเดิมและไปเปิดเลขหมายใหม่กับผู้ให้บริการที่พึงพอใจมากกว่า แต่ปัจจุบันพฤติกรรมดังกล่าวอาจลดน้อยลงไปมากถึงมากที่สุดจากการมาของบริการย้ายค่ายเบอร์เดิม และกลายเป็นการเปลี่ยนเลขหมายเป็นเบอร์มงคล เสริมดวง เรียกทรัพย์ รับเงินรับงาน แทน
แม้ว่าตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในไทยจะมีผู้เล่นหลักอยู่ 3 ราย แต่อย่าลืมว่าทั้งหมดมี 5 ค่าย กับอีก 1 เด็กใหม่ (AIS, TrueMove H, dtac, TOT, my by CAT, LINE Mobile) สำหรับคำถามที่ว่า “6 รายในตลาดโทรคมนาคมนี้เพียงพอหรือยัง จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีผู้ให้บริการหน้าใหม่?”เรื่องนี้ก็มองได้หลายด้าน เพราะผู้บริโภคก็ยังมีความคาดหวัง ยังมี Pain Point ที่ติดอยู่ในใจมายาวนาน ทั้งคุณภาพ ราคาค่าบริการ ความคุ้มค่า หรือแม้แต่ต้องการเห็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ เพื่อเข้ามาเป็นตัวเลือกในการใช้งาน ภายใต้ปัญหาหลัก คือ รองรับการใช้งานได้ตรงไลฟ์สไตล์ และคุ้มค่ามากกว่าที่เคย
แจ้งเกิด “NU Mobile” ซิมออนไลน์แนวคิดใหม่ Full Digitization
httpv://youtu.be/OuZeCcwpoyA
น่าจะถูกใจหลายคนที่กำลังเบื่อหรือมองหาตัวเลือกใหม่ด้านเครือข่าย กับกลยุทธ์การปั้นแบรนด์ใหม่ที่ AIS ใช้ ผ่านการให้บริการในชื่อ NU Mobile (นิว โมบาย) แม้จะเป็นโมเดลเดียวกับที่ dtac เปิดตัว LINE Mobile ออกมาให้บริการกับภาพการสื่อถึงแบรนด์เพื่อคนรุ่นใหม่ที่เน้นแพ็กเกจราคาประหยัด ขณะที่ NU Mobile มาพร้อมแนวคิด “ถอดทุกข้อจำกัดของการใช้บริการมือถือแบบเดิมๆ” และปลดล็อก Pain Point การใช้งานที่คุณเคยเจอ
ทำไม AIS ต้องปั้นซับแบรนด์ใหม่?
เหมือนจะเป็นหนึ่งในเกมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ในเมื่อประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ดิจิทัล 4.0 และองค์กร AIS เองก็ต้องเผชิญหน้ากับกระแส Transformation เพื่อรับมือยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ แนวคิดของ NU Mobile เพื่อให้บริการ Full Digitization แบบ End-to-End Customer Experience จึงอาจเป็นทางออกที่ฉลาดและสอดคล้องกับเทรนด์การใช้งานของผู้บริโภคและดิจิทัล ไลฟ์สไตล์ ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ทั้งยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน กลายเป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขัน ทำตลาด เพราะสามารถจัดสรรบริการให้อยู่ในราคาที่ลูกค้าพึงพอใจได้มากกว่าและยั่งยืนกว่าค่ายอื่น ภายใต้ต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่า ประกอบกับผู้บริโภคในปัจจุบันก็เข้าใจเทคโนโลยี และยังชื่นชอบการเลือก การปรับแพ็กเกจ หรือตรวจสอบการใช้งานด้วยตนเองผ่านแอป ดังนั้น บริการที่ NU Mobile นำเสนอแบบ Digital Self-Service ยิ่งมีโอกาสเข้าถึงใจผู้บริโภคได้มากขึ้น
httpv://youtu.be/z1QZJ3ugsFI
พลิก Pain Point คาใจผู้บริโภค กลายเป็นจุดเด่น
ถึงจะเป็นบริการลักษณะเดียวกัน จนเรียกว่าเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ LINE Mobile แต่สิ่งที่ NU Mobile คาดหวังให้เป็นหมัดเด็ดก็คือการสร้าง Online Experience ให้ลูกค้าอย่างเจาะลึก พร้อมกับสื่อสารและตอกย้ำถึงความง่าย ความจริงใจ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีเครื่องหมายดอกจัน และไม่ต้องกังวลต่อการใช้งาน โดยสิ่งที่โอเปอเรเตอร์น้องใหม่รายนี้พยายามสร้างตัวตนกับลูกค้า คือ
เป็นซิมออนไลน์ยุคใหม่ จริงใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกิน: ไร้ปัญหา SMS หลอกตัดเงินอัตโนมัติ เพราะไม่มีบริการเสริมจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด
แพ็กเกจง่าย ไม่ซับซ้อน ราคากันเอง : ไม่มีเงื่อนไขดอกจันแอบแฝง เลือกแพ็กเกจได้ตามความต้องการ
เน็ตไม่อั้นของแท้ ไม่ลดสปีดตลอดการใช้งาน : อยู่บนเครือข่ายคุณภาพของ AIS ซึ่งให้อินเทอร์เน็ตความเร็วไม่ลด ทุกแพ็กเกจ
จัดการทุกอย่างผ่านออนไลน์ง่ายๆ ด้วยตัวเอง : เรียกว่าสามารถทำได้เองทุกขั้นตอน ทุกที่ ทุกเวลา ตั้งแต่การสมัครใช้งานผ่านเว็บไซต์ เปิดใช้งาน SIM ด้วยการยืนยันตัวตนผ่าน VDO Call ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกในประเทศไทยที่นำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า และตรวจสอบการใช้งาน ชำระเงิน หรือปรับความความเร็วเน็ตและใช้งานได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชัน NU Mobile
มั่นใจ Digital Self–Service ตอบโจทย์ Gen C เปิดรับเทคโนโลยี
อย่างที่บอกไปแล้วว่าบริการดิจิทัลบนพื้นฐานที่ต้องดำเนินการเองนั้น เหมาะกับผู้ที่คุ้นชินกับเทคโนโลยี สอดคล้องกับเป้าหมายที่ NU Mobile วางไว้ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen C ที่คุ้นเคยและเปิดรับเทคโนโลยี ชอบค้นหาข้อมูล และนิยมสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน มากกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่น
ทั้งยังกลายเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์หลักอย่าง AIS และซับแบรนด์อย่าง NU Mobile ไปพร้อมกัน กับภาพลักษณ์ด้านนวัตกรรมและความปลอดภัย ซึ่งการันตีได้จากการกำหนดและจัดการรายละเอียดต่างๆ ในรูปแบบซิมออนไลน์ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งยังปลอดภัยทั้งข้อมูลและการเงินของลูกค้า
httpv://youtu.be/bdHvNBruqAc