กลุ่มธุรกิจ HORECA จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

  • 58
  •  
  •  
  •  
  •  

thinkstockphotos-512882668-700

ก่อนหน้านี้หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ว่า กรุงเทพฯ ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่หนึ่ง ของเมืองจุดหมายปลายทางของโลก ประจำปี 2559 ที่จัดอันดับโดย มาสเตอร์การ์ด ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวมากถึง 21.47 ล้านคนต่อปี ด้วยเหตุนี้ทำให้กลุ่มธุรกิจโฮเรกา (HORECA) เติบโตขึ้นอย่างสวนกระแสเศรษฐกิจภายในประเทศ

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจโฮเรกา ประกอบไปด้วย ธุรกิจโรงแรม (Hotel) ร้านอาหาร (Restaurant) กาแฟและธุรกิจจัดเลี้ยง (Café and Catering) โดยทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ได้รองรับแค่คนไทยเท่านั้น แต่เมนหลักจะรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ส่งผลให้ตลาดโฮเรกามีมูลค่าตลาดรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีตลาดใหญ่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอีกด้วย ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่ต้องการเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดนี้

คุณพงษ์ศักดิ์ นันตวรรณกุล กรรมการบริหาร เอเชีย โฮเรก้า เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจ HORECA มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 10-20% ในแต่ละปี และในปี 2558 มีมูลค่าสูงถึง 974,000 ล้านบาท ซึ่งหากมองลึกเข้าไปตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลนี้ แบ่งออกเป็น โรงแรม 54% (527,000 ล้านบาท), ร้านอาหาร 40% (385,000 ล้านบาท) และกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม 6% (62,000 ล้านบาท)

• กลุ่มธุรกิจโรงแรม ปี พ.ศ 2559 มีจำนวนที่พัก 14,178 แห่ง และจำนวนห้องพัก 622,123 ห้องพัก เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 10.02% โดยมีสัดส่วนจำนวนของรีสอร์ทมากที่สุด รองลงมาคือโรงแรม และยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างชาติ

• กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ร้านอาหารที่เป็นแบรนด์ชั้นนำที่มีสาขา และร้านอาหารทั่วไป โดยมีมูลค่าตลาดตามสัดส่วน ร้านอาหารแบรนด์ชั้นนำที่มีสาขา 110,000 ล้านบาท และร้านอาหารทั่วไป 275,000 ล้านบาท โดยเติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้า 4-6.8% และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นในอนาคต

• กลุ่มธุรกิจกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม ในตลาดกลุ่มนี้ กาแฟมีสัดส่วนมูลค่ามากที่สุด 30,000 ล้านบาท และส่วนแบ่งตลาดสำหรับกาแฟระดับกลางมีมูลค่ามากที่สุด เป็นจำนวน 40% ของตลาดทั้งหมด ส่วนเบเกอรี่และไอศกรีมมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน 17,000 ล้านบาท และ 15,000 ล้านบาทตามลำดับ

การปรับตัวของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจโฮเรกาในเวลานี้ จึงไม่ใช่แค่การห้ำหั่นเรื่องราคาเท่านั้น แต่ต้องเข่งขันเรื่องการให้บริการ การสร้างความแตกต่าง และจุดเด่นให้โรงแรม/ร้านของตัวเอง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจท่องเที่ยว ที่สำคัญต้องคำนึงว่านักท่องเที่ยวแบบแบ็คแพ็กที่เดินทางมาประเทศไทย ไม่ได้เข้ามาเที่ยวแค่ไทยอย่างเดียว แต่ยังเดินทางต่อไปยังประเทศใกล้เคียง ซึ่งนี่ถือเป็นโอกาสของธุรกิจด้านคมนาคมอีกด้วย

จากตัวเลขการเติบโตของธุรกิจโฮเรกา บริษัท เอเชีย โฮเรก้า ได้ให้เหตุผลที่ทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีทิศทางสดใสกว่าธุรกิจอื่นๆ อยู่ที่ พฤติกรรมการทานอาหารนอกบ้าน จากข้อมูลของเว็บไซต์ www.statista.com เผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคกว่า 70% จะออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ในจำนวนนี้ 12% ทานอาหารนอกบ้านทุกวัน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในส่วนของคนไทย จะทานอาหารนอกบ้าน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็น 19% และ 15% จะทาน 3-6 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งไลฟ์สไตล์แบบนี้ไม่ได้อยู่แค่ร้านอาหารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงร้านกาแฟเก๋ๆ อีกด้วย

และเพื่อรองรับการเติบโต เอเชีย โฮเรก้า จึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และเดินหน้าบุกตลาดโฮเรกาแบบ B2B ด้วยการประกาศชื่อศูนย์การค้าแนวคิดใหม่ HORECA Square บนถนนรัชดาภิเษก ใช้งบลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อให้บริการด้านการวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ ระบบปฏิบัติการและเครือข่ายเฉพาะธุรกิจ การจัดหาสินค้ามากกว่า 10,000 รายการ สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจโฮเรกาโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ตลอดจนถึงการพัฒนาความรู้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการจัดอบรมเป็นประจำทุกเดือน จะเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560

 

ข้อมูลจาก Thancettakij และ Sentangsedtee


  • 58
  •  
  •  
  •  
  •