ในช่วง COVID-19 นี้กลุ่มคนที่ดูน่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ กลุ่มลูกหนี้ธนาคาร เพราะในสถานการณ์ปกติกลุ่มคนเหล่านี้มีศักยภาพในการชำระหนี้สิน แต่จากมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้กลุ่มลูกหนี้เหล่านี้ลดความสามารถในการชำระหนี้สิน และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นหนี้เสีย (NPL) ทั้งในรูปของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เหล่านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือ โดยร่วมมือกับธนาคารรัฐและเอกชนในการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เหล่านี้ โดยเฉพาะลูกหนี้สินเชื่อประเภทต่างๆ ประกอบไปด้วย


ธนาคารไทยพาณิชย์
สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์มีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกค้าบัตรเครดิต
– ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 10% โดยอัตโนมัติให้เป็น 5% ในปี 2563 และ 2564 และจะเพิ่มเป็น 8% ในปี 2565 และกลับมาเป็น 10% เท่าเดิมในปี 2566 โดยธนาคารฯ จะทำการปรับลดให้ลูกค้าทุกท่านตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยลูกค้าบัตรเครดิตไม่ต้องแจ้งความจำนงเป็นรายบุคคลมาที่ธนาคารฯ
- ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Speedy Loan)
– สามารถขอพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
- ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์
– วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท สามารถขอเลื่อนชำระค่างวดเป็นเวลา 3 เดือน
- ลูกค้าสินเชื่อบ้าน
– วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถขอพักชำระเงินต้นเป็นเวลา 4 เดือน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (SME)
– ลูกค้าวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท สามารถขอพักชำระเงินต้นเป็นระยะเวลา 4 เดือน
- ลูกค้าผู้ประกอบการ
– ลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือน
– ลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอเงินกู้เสริมสภาพคล่องได้
– โดยต้องมียอดหนี้คงค้าง 20% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
– โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ฟรีดอกเบี้ยช่วง 6 เดือนแรก
โดย ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Speedy Loan), ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์, ลูกค้าสินเชื่อบ้าน และ ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (SME) สามารถติดต่อยื่นคำร้องได้ทางช่องทางของธนาคารฯ ได้ที่ call center ตลอด 24 ชั่วโมงและที่สาขาของธนาคารฯ ทั่วประเทศ

ธนาคารกสิกรไทย
สำหรับธนาคารกสิกรไทยมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกค้าบัตรเครดิต
– ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 10% โดยอัตโนมัติให้เป็น 5% ในปี 2563 และ 2564 และจะเพิ่มเป็น 8% ในปี 2565 และกลับมาเป็น 10% เท่าเดิมในปี 2566 โดยธนาคารฯ จะทำการปรับลดให้ลูกค้าทุกท่านตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยลูกค้าบัตรเครดิตไม่ต้องแจ้งความจำนงเป็นรายบุคคลมาที่ธนาคารฯ
นอกจากนี้ยังมีมาตรการเพิ่มช่วยเหลือด้านสินเชื่อโดย
- ลูกค้าบัตรเครดิต (เพิ่มเติม)
สามารถพักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ยถึงธันวาคม 2563
- ลูกค้าสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan)
สามารถพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี
- ลูกค้าสินเชื่อบ้านกสิกรไทย
สามารถพักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือนหรือลดยอดผ่อนต่องวด 50% สูงสุด 12 เดือน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ KSME
– สามารถพักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ยเป็นเวลา 1 ปี
– ขอวงเงินสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
1. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan)
– วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 20 ล้านบาท
– ระยะเวลาผ่อน 5 ปี
– ใน 2 ปีแรก ดอกเบี้ยคงที่ 2% และจ่ายแต่ดอกเบี้ย
2. โครงการ SME สร้างไทย โดยมี บสย.ค้ำประกัน
– วงเงินสูงสุด 30 ล้านบาท
– ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 7 ปี
- ลูกค้าสินเชื่อรถ KLeasing
สามารถพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี
- ลูกค้าสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ
พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ประกอบการวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพ
สำหรับธนาคารกรุงเทพมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ
– ปรับและผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้
– พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกค้าเป็นรายกรณี
– สนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติม “สินเชื่อบังหลวง SME บรรเทาทกข์จากภาวะเศรษฐกิจ”
– เพิ่มวงเงินต่อรายสูงสุด 30 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR-1%
- ลูกค้าสินเชื่อบัตรเครดิต
– ผ่อนผันให้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บ ไม่เกิน 3 รอบบัญชี
– ปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ ให้ต่ำกว่า 10% ของยอดคงค้าง
– ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติ 50% ไม่เกินเดือนธันวาคม 2564
– ยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ ซึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
- ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย / สินเชื่อบุคคลอื่นๆ
– ขยายระยะเวลาการชำระหนี้
– ผ่อนผันให้ปลอดการชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
– ปรับยอดผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% ไม่เกิน 24 เดือน
– ปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ระยะเวลาหนึ่ง
– ยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด ซึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สำหรับธนาคารกรุงเทพมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกค้าสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย
– พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
– ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
– พักชำระหนี้เงินผ่อนชำระค่างวด สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน
- ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ กรุงศรี ออโต้
– พักชำระค่างวดสูงสุดระยะเวลา 5 เดือน สำหรับรถจักรยานยนต์ และสูงสุดระยะเวลา 6 เดือน สำหรับรถยนต์
– ปรับโครงสร้างหนี้ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระ และลดค่างวด
- ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต กรุงศรี คอนซูเมอร์
– ลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำต่อเดือน
1. สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% (เฉพาะสินเชื่อแบบชำระขั้นต่ำ) ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 18 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
2. สำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

ธนาคาร TMB และ ธนชาต
สำหรับทั้งธนาคาร TMB และธนาคารธนชาตมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกค้าสินเชื่อบ้าน
– พักชำระหนี้ (เงินต้นและดอกเบี้ย) ได้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ
- ลูกค้าสินรถยนต์
1. สำหรับลูกค้าปัจจุบันสินเชื่อรถยนต์ธนชาต DRIVE ๖๗
– ประเภทสินเชื่อรถยนต์ใหม่, สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้วและสินเชื่อรถแลกเงิน
– สามารถขอพักชำระหนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน (Skip Payment) และ/หรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 96 งวด
– ประเภทสินเชื่อสินเชื่อเล่มแลกเงิน (CYB)
– เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
2. สำหรับลูกค้าใหม่ สมัครสินเชื่อธนชาต DRIVE รถแลกเงิน
– ชำระงวดแรกได้นานสูงสุด 60 วันจากวันเริ่มสัญญา เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
- ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล
– พักชำระหนี้ (เงินต้นและดอกเบี้ย) ได้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ
– (เฉพาะธนาคาร TMB) ขยายระยะเลาการชำระคืนเงินกู้เพิ่มขึ้นอีก 3 เดือน หรือจนกว่าจะชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมด
- ลูกค้าสินเชื่อบัตรเครดิต
– ลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ จาก 10% เป็น 5%
- ลูกค้าบัตรกดเงินสด Ready Cash
– ลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ จาก 5% เป็น 3%
- ลูกค้าบัตรกดเงินสด FLASH Plus
– อัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำคงเดิม 3%

ธนาคารกรุงไทย
สำหรับธนาคารกรุงไทยมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล / สินเชื่อบ้าน
– สามารถยื่นขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
– สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนมีรายได้ลดลง สามารถยื่นขอพักชำระเงินต้นนานสูงสุด 12 เดือน
- ลูกหนี้ธุรกิจ
– ลูกค้าวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท สามารถยื่นขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาย 3 เดือน
– สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนมีรายได้ลดลง สามารถยื่นขอพักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน
– สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม สนับสนุนสินเชื่อกรุงไทยต้านภัยโควิด-19 ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้น 2% คงที่ 2 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย.ค้ำประกันสิน 4 ปี
ธนาคารออมสิน
สำหรับธนาคารออมสินมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามประเภทของลูกค้าดังนี้
- ลูกค้าสินเชื่อ
พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติเป็นเวลา 3 เดือน
- ลูดค้าสินเชื่อบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด
– ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 10% โดยอัตโนมัติให้เป็น 5% ในปี 2563 และ 2564 และจะเพิ่มเป็น 8% ในปี 2565 และกลับมาเป็น 10% เท่าเดิมในปี 2566 โดยธนาคารฯ จะทำการปรับลดให้ลูกค้าทุกท่านตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยลูกค้าบัตรเครดิตไม่ต้องแจ้งความจำนงเป็นรายบุคคลมาที่ธนาคารฯ