เอสซีจี ตามรอยพ่อ สืบสานพระราชปณิธาน รวมพลังสร้าง 70,000 ฝายทั่วไทย

  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  

_mg_3505-700

“… เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้องมีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึกกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป… “

พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน

ด้วยอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจที่ “ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม” เอสซีจี จึงมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธานน้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง ผ่านการจัดกิจกรรม “สืบสานพระราชปณิธาน 70,000 ฝาย รวมพลังรักษ์น้ำทั่วไทย” ภายใต้โครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ร่วมกับชุมชนและเครือข่ายต่างๆ ขยายพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริให้ครบ 70,000 ฝาย พร้อมกันในพื้นที่ต่างๆมาโดยตลอด ปัจจุบันเอสซีจีมีเครือข่ายชุมชนในโครงการฯ กว่า 80 ชุมชน ใน 12 จังหวัดทุกภูมิภาค มีการสร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 70,000 ฝาย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 85,000 คน

img_6245

หลายคนอาจไม่ทราบว่า ฝายชะลอน้ำมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง ทำให้น้ำไหลช้าลงแล้วจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างไร จริงๆ แล้ว การทำฝายชะลอน้ำจะทำบริเวณร่องน้ำ ทางน้ำไหล โดยใช้วัสดุธรรมชาติในการทำ โดยจะช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่าตลอดทั้งปี ช่วยให้ชุมชนโดยรอบไม่ขาดแคลนน้ำ ทำให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่าในระบบนิเวศ ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพราะมีผลผลิตจากป่าและการเกษตร ลดการเกิดน้ำท่วม และไฟป่าได้ด้วย

ในครั้งล่าสุดเอสซีจี ได้ชวนแฟนเพจ SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต มาสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าพร้อมกัน 6 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ จังหวัด กาญจนบุรี สระบุรี ลำปาง นครศรีธรรมราช ขอนแก่น และระยอง พร้อมกัน โดยมีอาสาสมัคร เครือข่ายต่างๆ อาทิ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชาวบ้านจากชุมชนต่างๆ ทั้ง 6 จังหวัด พนักงานเอสซีจีและมาร่วมแรงร่วมใจสืบสานพระราชปณิธานในครั้งนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นการร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายพร้อมกันทั่วไทยเป็นครั้งแรก

scg-238

นอกจากจะลงมือสร้างฝายแล้ว เอสซีจี ยังส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมตามแต่พื้นที่ของตนเอง และพัฒนาศักยภาพชุมชนแกนนำให้เป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดความสำเร็จแก่ชุมชนเครือข่าย รวมถึงพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ ปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินงานอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ ตราด สระบุรี และนครศรีธรรมราช บางชุมชนสามารถพัฒนาเป็น “สถานีรักษ์น้ำ” ศูนย์เรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อยอดไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เป็นชุมชนเข้มแข็งที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

มาถึงตรงนี้คงพูดได้ว่า โครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ที่จัดมาตั้งแต่ 2550 ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของการสร้างการรับรู้ และการสร้างความยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่จัดโครงการฯ ถือเป็นบทพิสูจน์แล้วว่ากิจกรรม CSR ของเอสซีจี เป็นแรงผลักดันให้เกิดการตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ก้าวต่อไปของโครงการฯ จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับชุมชนในท้องที่นั้นๆ ว่าจะนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้และสานต่อให้เกิดความยั่งยืนตรงตามเป้าหมายของโครงการฯ มากแค่ไหน

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/SCGWater/


  • 15
  •  
  •  
  •  
  •