[บทความนี้เป็น Advertorial]
ผ่านมาแล้วกับเทศกาลสงกรานต์ ที่ช่วยดับความร้อนแรงของสภาพอากาศในเดือนเมษายน แต่หลังสิ้นสุดเทศกาลพระอาทิตย์ก็ยังคงทำหน้าที่สาดแสงความร้อนแรงลงมายังพื้นโลกอย่างขยันขันแข็ง ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหนหรือหลบใต้ร่มเงาไม้ ก็ไม่วายต้องหยิบผ้าเช็ดหน้ามาปาดเหงื่อ แต่มันยิ่งหงุดหงิดเข้าไปใหญ่เมื่อกลับเข้าบ้านกลับยังคงร้อนไม่เลิก ทั้งที่ “บ้าน” คือพื้นที่ที่ควรอยู่แล้วเย็นกายสบายใจมากที่สุด
เปิดพัดลมช่วยคลายร้อน กลับยิ่งร้อนเพิ่มขึ้นเพราะกลายเป็นพัดพาความร้อนเข้ามาหาตัว งั้นเปิดเครื่องปรับอากาศเลยก็แล้วกัน แต่จะปรับความเย็นไว้ที่ 25 องศาเซลเซียสตามที่ภาครัฐและผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศแนะนำ ดูเหมือนจะไม่คลายร้อนอย่างที่หวัง จะเปิดซัก 22 องศาเซลเซียสค่าไฟก็กินตาย แล้วมันจะมีอะไรที่ช่วยคลายร้อนในเดือนที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย และสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นแทบจะทุกปีตามความรู้สึกของแต่ละคน
จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ในการจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีพ. ศ. 2554 – 2573 กำหนดให้ประเทศไทย จะมีสัดส่วนการใช้พลังงานในอาคารธุรกิจและบ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วน 22% หรือเกือบ 1 ใน 3 ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ ในขณะที่ปัจจุบันการใช้พลังงานในอาคารธุรกิจและบ้านอยู่อาศัยลดลงมาเพียง 2.8% เท่านั้น
นั่นเป็นเพราะความร้อนภายในบ้านเกิดมาจาก 2 สาเหตุ อย่างแรกเกิดจากความร้อนแรงของดวงอาทิตย์ จนบ้านสะสมความร้อน ทั้งจากบนหลังคาและตัวผนังบ้าน อีกสาเหตุเกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านที่ก่อให้เกิดความร้อน เช่น ตู้เย็น หลอดไฟ เป็นต้น รวมไปถึงความร้อนที่เกิดจากตัวคน สังเกตได้ง่ายๆ ที่ไหนที่มีคนมาก แม้จะมีเครื่องปรับอากาศก็ไม่เย็นเสมอไป
แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ทำให้บ้านร้อนกลับมาจากสาเหตุแรกมากกว่า แต่จะโทษพระอาทิตย์ก็คงจะไม่ถูกซะทีเดียว เพราะตัวบ้านต่างหากที่อมความร้อน แล้วปล่อยความร้อนเข้ามาสู่ในบ้าน วิธีแก้ง่ายๆ แค่ให้บ้านต้องสะท้อนความร้อนได้ ไม่สะสมความร้อนและให้ความร้อนผ่านได้น้อยที่สุด การติดตั้งฉนวนกันความร้อนทั่วบ้านเข้ามาในบ้านได้ดีที่สุด แต่ฉนวนกันความร้อนขนาดไม่กี่ตารางเมตรก็ทำให้กระเป๋าฉีกได้ไม่ใช่เล่น
ถ้าเป็นบ้านใหม่สามารถเลือกใช้วัสดุที่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีกันความร้อน เข้ามาเริ่มใช้ตั้งแต่งานก่อร่างสร้างบ้าน แต่สำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว การจะใช้วัสดุเหล่านั้นคงงานเข้าไม่ใช่เล่น แต่ก็ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะในปัจจุบันสีทาบ้านมีเทคโนโลยีกันความร้อนขั้นสูง ที่ช่วยเพิ่มค่าการสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ (Solar Reflectance) หรือค่า R ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น ส่งผลให้ใช้เครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสหรือมากกว่าได้
ยิ่งสีที่ภาครัฐให้คะแนนการประหยัดพลังงานสูงถึงเบอร์ 5 เหมือนในเครื่องใช้ไฟฟ้า ยิ่งเป็นเครื่องรับประกันว่า สีเหล่านั้นในท้องตลาดสามารถกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม ทว่าเจ้าของบ้านทั่วไปจะไปรู้ได้อย่างไรว่า สีไหนกันความร้อนได้ดีที่สุด เพราะสีกันความร้อนในตลาดบ้านเรามีหลายแบรนด์ให้เลือกมากมาย
ง่ายๆ ไม่ต้องยุ่งยากเพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ TOA SuperShield ก็สามารถเลือกได้ว่าสีใดเหมาะกับบ้าน แถมยังช่วยคำนวณ อัตราการประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศ และยังทำให้รู้ว่าควรใช้สีใดจึงจะทำให้บ้านสวย นอกจากนี้ใน website ยังสามารถบอกรุ่นและชนิดของสีเพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถนำไปซื้อสีได้อย่างถูกต้อง ว่าต้องการสีอะไรสำหรับทาหลังคา และต้องใช้สีอะไรในการทาผนังบ้าน โดยจะมีตัวเลขค่า R แสดงอยู่ในทุกสี ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันไป โดยตัวเลขค่า R ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งแสดงว่ากันความร้อนได้มากขึ้นเท่านั้น
สำหรับ website ดังกล่าว ได้นำค่าการคำนวน มาจาก Energy Plus
ซึ่งเป็น Program ที่พัฒนาและสนับสนุนโดยกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยโปรแกรมดังกล่าวจะคำนวณบนพื้นฐาน อาคารที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีจำนวน 4 ห้องนอน 2 ชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 220 ตารางเมตร โดยมีผู้พักอาศัยอยู่จำนวนทั้งสิ้น 4 คนและใช้เครื่องปรับอากาศที่มีการปรับอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส
นอกจากสี TOA SuperShield จะมีเทคโนโลยี Triple Nano Titanium ที่ช่วยกันความร้อนได้อย่างดี ยังสามารถช่วยกันลอกได้ด้วยเทคโนโลยี Pure Acrylic ที่ช่วยให้สีติดแน่นคงทนไม่ลอกง่าย และยังสามารถกันคราบด้วยเทคโนโลยี Self-Cleaning จึงทำให้สี TOA SuperShield เป็นสีสารพัดกันที่กล้ารับประกันยาวนานถึง 15 ปี
[บทความนี้เป็น Advertorial]