แก้ทุก Pain Points เพื่อ SME ไทย! TMB SME จึงออกแบบ 3 ดิจิทัลโซลูชั่น เสริมแกร่งให้ SME เติบโต “ได้มากกว่า”

  • 12.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี)

เมื่อ “เจ้าของธุรกิจ SME” กลายเป็นเป้าหมายชีวิตที่คนจำนวนไม่น้อยต้องการ แต่นอกจากเส้นทางความสำเร็จจะไม่ได้ถูกโรยด้วยกลีบกุหลาบแล้ว ไอเดียสินค้าหรือบริการ ความแตกต่างแปลกใหม่ หรือแม้แต่เรื่องเงินทุน เชื่อเหลือเกินว่าทุกคนรู้ดี! ว่าสิ่งเหล่านี้คือ “ปัจจัยสำคัญ” ในการสนับสนุนธุรกิจ แต่สิ่งที่ทุกคนต้องการรู้ คือ “ต้องทำอย่างไร” เพื่อพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีธุรกิจ SME เกิดใหม่ถึง 70,000 รายต่อปี โดย 50% จะหายไปตั้งแต่ปีแรก และอีก 10% ล้มหายไปในปีที่สอง เท่ากับ “มี SME เพียง 40% ที่มีโอกาสรอด” ซึ่งแน่นอนว่า…นั่นไม่ใช่จำนวนผู้ประกอบการที่เหลืออยู่จริง!

นอกจากความน่าสนใจของ SME ที่ต้องมองหาโอกาสอย่างสูงสุดและสร้างทางรอดให้ธุรกิจของตนเอง อีกเรื่องที่เรามองว่าสำคัญและน่าสนใจไม่แพ้กัน คือ แนวทางของสถาบันการเงิน เพราะเราสงสัยว่า “แต่ละธนาคารจะช่วยเหลือ SME อย่างไร เพื่อสร้างความแตกต่างที่มากกว่าเรื่องเงินทุน” ท่ามกลางยุคดิจิทัลที่ธนาคารหันไปโฟกัสกับการ Transform องค์กรและปรับกระบวนการมากมายเพื่อรับพฤติกรรมเสพแต่ออนไลน์ของผู้บริโภค

สำหรับคำถามที่ว่า…ทำไมธนาคารจึงมองลูกค้า SME เป็นคนสำคัญ คงมีเหตุผลยืนยันได้อย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศเรามี SME มากถึง 3 ล้านราย! ที่เหลือรอดอยู่ในอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานในไทยถึง 82% และ GDP ราว 42% ของประเทศก็มาจาก SME นี่เอง เท่านี้ก็น่าจะพอตอบคำถามได้แล้วว่า ทำไมธนาคารจึงให้ความสำคัญและอยากเป็นตัวเลือกแรกในใจผู้ประกอบการ

กลับสู่การวิเคราะห์ทิศทางของสถาบันการเงินต่าง ๆ เกี่ยวกับการสนับสนุนและสร้างความแตกต่างให้ SME เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ล่าสุด TMB SME ก็เป็นอีกรายที่ออกมาย้ำวิสัยทัศน์ในการสนับสนุน SME ไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อย พร้อมตั้งเป้าเป็นเพื่อนที่เข้าใจทุก Pain Points และตอบโจทย์ SME ทุกประการ ภายใต้แนวคิด “เพื่อให้ SME ไทยและลูกค้าของ TMB ได้มากกว่า”

คุณชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี
เพราะติด “3 Pain Points” สกัด SME สู่ความสำเร็จ

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า TMB SME พยายามแก้ไขอุปสรรคใหญ่ของ SME ไทยอยู่ที่ 3 เรื่อง คือ การทำธุรกรรม บุคลากร และเงินทุน เพราะการทำธุรกรรมที่มีเงินเข้า – ออก หลายทางหลายครั้งต่อวัน ทำให้ SME เกิดความยุ่งยากในการตรวจสอบและทำบัญชี ส่วนเรื่องบุคลากรก็เป็นปัญหาสำคัญเพราะมีสถิติระบุไว้ว่า SME แต่ละรายมีพนักงานเฉลี่ยเพียง 7 คน การรักษาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้อยู่กับองค์กรจึงถือเป็นความท้าทายหนึ่งของ SME ด้วยนั่นเอง ส่วนเรื่องเงินทุนก็เป็นประเด็นที่เข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว เนื่องจาก SME ล้วนต้องการเงินทุนเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ แต่ปัญหาก็คือต้องใช้เวลานานในกระบวนการและเอกสารจำนวนมากเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน แถมยังมีเพียง 20% ของ SME ที่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เพราะขาดความเข้าใจและขาดข้อมูลน่าเชื่อถือในการสมัครขอสินเชื่อ

เมื่อประกาศวิสัยทัศน์ว่าต้องการอยู่เคียงข้างและช่วยเหลือ SME ให้มีโอกาสอย่างสูงสุดในทางธุรกิจ TMB จึงต้องแก้เกมในศึกครั้งนี้อย่างเร่งด่วน ด้วยหมากที่ประกาศแล้วว่าลูกค้า TMB SME ต้องได้มากกว่า

คุณพร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี
ธุรกรรม : เปลี่ยนความยุ่งให้กลายเป็นข้อมูลจัดการง่ายด้วยระบบดิจิตอล

ประเด็นของการทำธุรกรรมที่ SME ส่วนใหญ่ไม่มีความเชี่ยวชาญและกลายเป็นความยุ่งยากนั้น TMB เสนอทางออกให้กับลูกค้า SME ด้วยระบบ “รายงานสุขภาพการเงินของ SME” ที่เรียกว่า TMB SME Smart Report ซึ่งจะเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลการทำธุรกรรมให้เป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้ SME เห็นรายละเอียดเงินเข้า – ออก จากทุกช่องทางเพื่อประเมินสภาพคล่องทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ขณะเดียวกันก็ได้ประโยชน์ในการลดความผิดพลาดและลดเวลาการทำบัญชีไปพร้อมกัน ทำให้ SME สามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บุคลากร : เปลี่ยนการดูแลพนักงานธรรมดาเป็นการใส่ใจด้านสวัสดิการ

ถือเป็นความพิเศษที่ TMB SME นำเสนอสวัสดิการ ด้วยการเริ่มต้นให้สิทธิประกันสุขภาพแก่องค์กรขนาดเล็กตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ขณะที่ส่วนใหญ่อนุมัติให้องค์กรทำประกันสุขภาพเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมากเท่านั้น ข้อดีของเรื่องนี้คือทำให้องค์กรมีสวัสดิการเป็นประกันสุขภาพแบบกลุ่มให้แก่พนักงาน ในราคาที่บริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้เพียง 300 กว่าบาทเท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งจ่ายเป็นรายเดือนได้อีกด้วย ทำให้พนักงานได้รับสวัสดิการจากบริษัทแม้จะเป็นองค์กรขนาดเล็กก็สามารถทำได้ เพียงเป็นลูกค้าที่เปิดบัญชีธุรกิจ TMB SME One Bank  นอกจากนี้ยังมอบสิทธิให้ลูกค้าที่ใช้ระบบ Payroll สามารถใช้แอปพลิเคชัน HR Management Program เพื่อเข้าถึงและจัดการข้อมูล เข้า – ออกงาน ขาด ลา มาสาย ครอบคลุมทั้งบริษัทอีกด้วย

เงินทุน : เปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมให้เป็นโอกาสขอสินเชื่อ

เพราะ 60% ของ SME มักจะมีปัญหาเงินขาดมือ ซึ่งยังไม่นับรวมถึงความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสารจำนวนมากซึ่งทำให้ SME จำนวนไม่น้อยถอดใจ ดังนั้น TMB SME จึงเปิดตัวบริการสินเชื่อผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน TMB BIZ TOUCH ด้วยแนวคิดเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมการเงินเป็นหลักประกัน! เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารอื่นเพื่อการสมัครขอสินเชื่อ

สนใจบริการสามารถติดต่อ TMB ทุกสาขาทั่วประเทศ, ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME โทร.02-828-2828

หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก http://tmbbank.com/mktoopssestory

#TMBSME #เพราะSMEต้องได้มากกว่า


  • 12.2K
  •  
  •  
  •  
  •