โจทย์ใหม่ 2024 ท้าทายนักโฆษณา ‘ขายของ + Branding’

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Marketing Oops! Podcast:  Oops! Unbox Idea ชวนฟังเรื่องราวสนุก เกี่ยวกับแวดวงโฆษณา แคมเปญการตลาด และการใช้ไอเดียสร้างสรรค์ผลักดันในการทำธุรกิจ ผ่านแง่มุมต่างๆ

โจทย์ใหม่ที่ท้าทายนักโฆษณาและครีเอทีฟ ในปี 2024 ที่ลูกค้ากว่า 90% บอกว่าอยากได้มากๆๆๆๆ “ขายของ + Branding” โจทย์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนี้ “เล็ก ดามิสา” Co-founder and CCO Sour Bangkok จะมาเล่าให้ฟัง พร้อมกับเผยเคล็ดลับวิธีแคร็กไอเดียที่แสนหิน พร้อมกับเผยเคล็ดลับการทำงานตามโจทย์นี้ได้อย่างไรบ้าง

ปี 2023 น่าจะเป็นปีที่ได้ผ่านวิกฤตโควิดมาไม่นาน ทุกคนมุ่งสู่การขายของ เราก็จะเห็นงานในรูปแบบ Hard sale สนุกๆ มากมาย ทำหนังไม่ได้ยาวมาก และบอกตรงประเด็นไปเลยว่า ตัวเองขายอะไร

นอกจากนี้ อีกเทรนด์ที่เห็นในปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีเรื่องของ Brand Purpose คือการที่แบรนด์ออกมาบอกว่า เป็นแบรนด์ที่รักษ์โลก อยากให้สังคมมีความเท่าเทียม เป็นต้น ซึ่งคิดว่าหลักๆ มาจากวิกฤตช่วงโควิดและคนก็ให้ความสำคัญเรื่องของสุขภาพมากขึ้น

สำหรับปีแห่งการขายของผ่านไป (ปี2023) ปรากฏว่าปี 2024 แต่อันที่จริงเห็นสัญญาณมาตั้งแต่ปลายปี 2023 แล้ว ก็คือ พบว่า 95% ของลูกค้าที่เข้ามาก็ว่าได้ที่เริ่มบรีฟว่า “ชั้นอยากจะขายของ แต่ก็อยากทำ Branding ด้วย” ในงานเดียวกัน ซึ่งมันยากมากๆ เพราะว่า 2 โจทย์นี้แตกต่างกันอย่างมากๆ โดยปกติเวลาที่ทำงานในลักษณะขายของ งาน hard sale ก็มักจะเป็น short term goal คือวัดผลได้เลย KPI คือยอดขาย แต่ในขณะที่งานประเภท Branding คืองานที่บอกความเชื่อของแบรนด์ (Brand believe) เลย และเป็นงานประเภท long term ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง แล้วแทบจะไม่พูดถึงโปรดักส์เลยด้วยซ้ำ

 

วิธีในการแคร็กโจทย์สุดหิน

  • ต้องค้นหาปัญหาที่แท้จริงของแบรนด์ให้เจอ ว่าอะไรคือจุดร่วมกันที่ดีระหว่างแบรนด์และลูกค้าของเขา
  • หาจุดเชื่อมระหว่าง Believe ของแบรนด์ กับความเชื่อของผู้บริโภคร่วมกันให้เจอ

 

คำแนะนำให้แบรนด์ได้เตรียมพร้อม

  • แนะนำว่าให้เตรียมรีเสิร์ช หรือข้อมูลที่มีในมือมอบให้เอเจนซี่เลย เพื่อนำไปศึกษาหรือขยายความต่อได้ เพราะคนที่จะเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุดก็คือตัวแบรนด์เอง จะมีความเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าเอเจนซี่อย่างแน่นอน ดังนั้น การแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลรีเสิร์ชของกลุ่มเป้าหมายให้เอเจนซี่รับรู้จึงค่อนข้างสำคัญ
  • นอกจากนี้ การทำงานในแบบ As a partner กันสำคัญมากๆ คือหลังจากที่แชร์ข้อมูลร่วมกันแล้ว ทางเอเจนซี่ก็จะกลับไปทำการบ้านต่อแล้วก็ค่อยกลับมาทำงานร่วมกัน คล้ายกับการทำรายงานกลุ่มเลย

เคล็ดลับในการผนึก 2 โจทย์เข้าด้วยกันในแบบ Sour Bangkok คือต้องลงมือทำไปพร้อมกับวัดผลให้เห็นเลย ที่สำคัญที่สุดเลยคือ ควรจะต้องมี “แผนสำรอง” เอาไว้ด้วย เพราะการทำงาน Branding บวก Hard sale เราอย่าไปคิดว่า Hero เท่ากับ Material หลัก แต่ว่าทุกอย่างที่อยู่ใน journey ของมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ อีกเคล็ดลับก็คือ “การสร้างความต่อเนื่อง” เพราะว่างานในยุคนี้อายุสั้นมากๆ ดังนั้น หากจะทำให้เมสเสจฮีโร่ที่เราสร้างไว้นั้นยังอยู่ต่อไปได้ การสร้างความต่อเนื่องจึงสำคัญมากทีเดียว อย่างเรียลไทม์คอนเทนต์ หรืองานโซเชียลฯ เล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องคอยย้ำๆ กันลงไป

 

สรุป

  • หาปัญหาที่แท้จริงให้เจอ
  • หาจุดร่วมระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค
  • การวางแผน Journey ที่สามารถหยิบ Material มาใช้งานได้ตลอดเวลา
  • ความต่อเนื่องของการสร้างงาน

 

https://youtu.be/aC6lcSmBh78

Google Podcasts


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE