4 เทรนด์อีคอมเมิร์ซ 2019 เดือด! ยักษ์แพลตฟอร์มมุ่งสู่ช้อปออนไลน์ ดึงข้อมูลผู้บริโภค-เร่งสปีด e-Wallet

  • 2K
  •  
  •  
  •  
  •  

4trends

ปัจจุบันมูลค่า “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” (B2C, C2C) ในประเทศไทยอยู่ที่กว่า 150,000 ล้านบาท อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 – 30% ต่อปี คนไทยนิยมช้อปผ่าน e-Marketplace, ช่องทางออนไลน์ของแบรนด์สินค้า-บริการ, Social Commerce

ถึงแม้เมื่อเทียบมูลค่าอุตสาหกรรมค้าปลีกโดยรวมอยู่ที่ 1 – 2% เท่านั้น อย่างไรก็ตามทิศทางของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ยังคงเป็น Sunrise Market และในปี 2562 มีแนวโน้มแข่งขันดุเดือดกว่าปีนี้อย่างแน่นอน

“Priceza” ผู้ให้บริการเปรียบเทียบข้อมูลและราคาสำหรับสินค้าออนไลน์ในรูปแบบเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน ใน 6 ประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เผย 4 เทรนด์ใหญ่ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย ปี 2019 ดังนี้

 

1. ถนนทุกสายจะมุ่งสู่การค้าออนไลน์

 

คาดการณ์ว่าในปี 2020 ประชากรไทย 84% จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และคนไทยจะใช้เวลาอยู่บน Mobile Internet มากขึ้น โดยเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมงต่อวัน โดยกิจกรรมหลักที่คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 1. ใช้ Social Media / 2. ค้นหาข้อมูล / 3. อีเมล์ / 4. ดูทีวี-ฟังเพลงออนไลน์ / 5. ซื้อสินค้าออนไลน์

Resize e-commerce trend_02

 

Resize e-commerce trend_03

ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมที่คนไทยใช้เวลา ล้วนแล้วแต่อยู่บน “แพลตฟอร์มใหญ่” ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้เดินไปในทิศทางเดียวกัน คือ ทำให้ผู้ใช้งาน ใช้เวลา (Spend Time) อยู่กับแพลตฟอร์มของตนเองให้นานขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการทำเช่นนั้นได้มาจาก “แพลตฟอร์มใหญ่” มีฐานข้อมูลผู้ใช้งาน (Big Data) ทำให้สามารถ “รู้ใจ” ผู้ใช้งานได้ในระดับ Personalization และเครื่องมือที่จะทำให้ได้ฐานข้อมูลลูกค้ามา คือ “อีคอมเมิร์ซ” ที่ทำให้แพลตฟอร์มใหญ่รู้ใจผู้บริโภค

เพราะฉะนั้นในปี 2019 แพลตฟอร์มหลักที่คนไทยใช้งานอยู่นั้น ล้วนแล้วแต่เปิดให้บริการ “ช้อปปิ้งออนไลน์” เพราะจะเป็นส่วนสำคัญในการได้ฐานข้อมูลผู้ใช้งานมา เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต โดย 5 แพลตฟอร์มหลักที่คนไทยนิยมใช้ ประกอบด้วย

– Search Engine >> Google >> Google Shopping
– Social Media >> Facebook >> Facebook Marketplace
– Chat >> LINE, Messenger >> Integration with e-Payment
– Payment >> Banking (เช่น Kbank) >> K+ Market
– E-Commerce >> LAZADA, Shopee, JD Central >> Newsfeed, Social & Chat เป็นการเปิดฟังก์ชั่นใหม่ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้เป็นมากกว่าอีคอมเมิร์ซ

Resize e-commerce trend_04

2. อีคอมเมิร์ซจะเผชิญทั้งโอกาส-ความท้าทายมากขึ้น และไม่ใช่แข่งแค่ร้านค้าในไทย ยังต้องแข่งร้านค้าต่างประเทศ

 

ปัจจุบันทั้ง 3 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลักในไทย (LAZADA, Shopee, JD Central) มีสินค้ารวมกันกว่า 75 ล้านรายการ และคาดการณ์ว่าในปี 2019 จะเพิ่มขึ้นเป็น 100 กว่าล้านรายการ

เมื่อเจาะลึกลงไปใน 75 ล้านรายการ พบว่า 80% เป็นสินค้า Cross Border ที่มาจากผู้ขายต่างประเทศ และอีก 20% เป็นสินค้าในประเทศ นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการที่จะเปิดร้านค้าบน e-Marketplace ไมใช่แข่งขันเฉพาะร้านค้าในประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกับร้านค้าต่างประเทศด้วย

สำหรับสินค้าที่เป็น cross border ที่คนไทยนิยมสั่งซื้อ อันดับ 1 สินค้ากีฬา และสินค้าเกี่ยวกับกิจกรรมนอกบ้าน (84%) / 2. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (83%) / 3. นาฬิกา-แว่นตากันแดด-เครื่องประดับ (82%) / 4. เครื่องยนต์ (80%) / 5. โฮม เอนเตอร์เทนเมนท์ (78%) และ สินค้าแม่และเด็ก (78%)

 

ขณะที่สินค้าในประเทศที่คนไทยนิยมซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 สินค้าอุปโภคบริโภค (94%) / 2. สินค้าสุขภาพและความงาม (74%) / 3. เครื่องใช้ไฟฟ้า (63%) / 4. อุปกรณ์ DIY (58%) / 5. โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต (45%)

Resize e-commerce trend_07 Resize e-commerce trend_08

3. การจ่ายเงินชำระรูปแบบ e-Payment เติบโตก้าวกระโดด

 

ปี 2019 ถือเป็นปีทองของ e-Payment เนื่องจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ธนาคาร และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ พยายามเปลี่ยนประเทศไทย จากสังคมเงินสด ไปสู่การชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เนื่องจากผลการศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าต้นทุนระหว่างการชำระเงินสด กับการชำระผ่าน e-Payment พบว่าการชำระผ่าน e-Payment มีต้นทุนต่ำกว่า 4 เท่า

ดังนั้นปี 2018 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในไทย ล้วนแล้วแต่เปิด e-Wallet ของตัวเองแล้ว และในปี 2019 จะเป็นปีที่ทุกแพลตฟอร์มกระตุ้นให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการชำระเงินสด ไปสู่การใช้ e-Wallet ของแพลตฟอร์มนั้นๆ โดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่จะกระตุ้นให้คนเอาเงินไปใส่ใน e-Wallet เช่น ให้ส่วนลด, เมื่อเกิดกรณีคืนสินค้า ผู้ชำระผ่าน e-Wallet สามารถได้เงินคืนเร็วกว่าการชำระเงินสด

 

นอกจากนี้ ช่องทางการชำระออนไลน์ใหญ่ในไทย คือ COD (Cash on Delivery) แต่ปีหน้าจะเกิด EOD (e-Wallet on Delivery) เมื่อสินค้าไปส่ง ผู้บริโภคเพียงหยิบสมาร์ทโฟน เพื่อให้แมสเซนเจอร์ยิง QR Code ชำระค่าสินค้า ซึ่งแนวโน้มนี้เกิดขึ้นแล้วในมาเลเซีย เช่น กรณี Grab มีบริการ Grab Pay จับมือกับบริษทโลจิสติกส์รายหนึ่ง ที่เดิมทีให้บริการเฉพาะ COD แต่หลังจากจับมือกับ Grab ได้นำ Grab Pay ให้ EOD

Resize e-commerce trend_10Resize e-commerce trend_11Resize e-commerce trend_12Resize e-commerce trend_13

4. การค้าหลากหลายช่องทาง จะมีบทบาทมากขึ้น

 

“Omni-channel” ในปี 2019 จะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนไทยใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มหลากหลาย และแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้อยู่นั้น เปิดบริการช้อปออนไลน์ นั่นเท่ากับว่า ผู้บริโภคสามารถคลิ๊กซื้อสินค้าออนไลน์ได้ตลอดเวลาที่ใช้แพลตฟอร์มนั้นๆ

ดังนั้นลูกค้าของแบรนด์อยู่ตรงไหน แบรนด์ควรเอาตัวเองไปอยู่ใน Touch Point ที่ลูกค้าใช้ชีวิต และเชื่อมต่อทุกช่องทางทั้ง Online – Offline ให้เป็นเนื้อเดียวกัน (Seamless)

Resize e-commerce trend_15 Resize e-commerce trend_16

จากการศึกษาร้านค้าออนไลน์ ประกอบด้วยร้านค้า 3 ประเภท คือ

1. ขายออนไลน์อย่างเดียว
2. ขายออนไลน์ และผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนสินค้าผ่านทางหน้าร้าน (Offline)
3. สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และไปรับสินค้าที่สาขาใกล้บ้าน เป็นกลยุทธ์เพิ่ม Traffic ให้กับร้านค้าแบบ Offline และเพิ่มโอกาสการขายสินค้าอื่นๆ ใน Offline

ปัจจุบันมี Retailer ใช้โมเดลการค้านี้แล้ว เช่น เซ็นทรัล มีทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ซึ่งผลจากการใช้โมเดลการขายนี้ เพิ่มยอดขายได้ดีกว่า 2 ประเภทข้างต้น

Resize e-commerce trend_17

“ปัจจัยที่ทำให้อีคอมเมิร์ซในไทยเติบโต มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. คนใช้เวลากับ Mobile Internet มากขึ้น เท่ากับว่ามีโอกาสที่จะคลิ๊กซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นตามมา เยอะ เท่ากับว่ามีโอกาสคลิ๊กซื้อสินค้ามากขึ้น / 2. การพัฒนาของ e-Payment และผู้ให้บริการกระตุ้นคนไทยให้เปลี่ยนจากชำระเงินสด ไปสู่การใช้ e-Payment / 3. การพัฒนาด้าน Logistic คาดการณ์ว่าในปีหน้า การจัดส่งสินค้าทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อีคอมเมิร์ซจะสามารถจัดส่งสินค้าได้ในวันเดียวกับที่สั่งซื้อ และในวันรุ่งขึ้น (Same Day Delivery, Next Day Delivery)

 

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ ควรขายสินค้าหลากหลายช่องทาง ไม่ยึดติดช่องทางใดช่องทางหนึ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสการขายเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น และผู้ประกอบการร้านค้า ควรเก็บฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อสร้างฐานข้อมูลของร้านค้าเอง สำหรับใช้ในการต่อยอดไปสู่การรักษาฐานลูกค้าเดิม เพื่อให้เกิด Repeat Purchase กับกลุ่มลูกค้าเดิม” คุณธนาวัฒน์ มาลาบุฟผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด กล่าวทิ้งท้าย


  • 2K
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ
CLOSE
CLOSE