อารมณ์หว่องพุ่งทั่วโลก! ล้วงลึก Insight “คนเหงา” จับ Pain Point คนอ้างว้างพลิกสู่ 5 ธุรกิจคลายเหงา

  • 2K
  •  
  •  
  •  
  •  

ถ้าใครเป็นแฟนหนังของ “หว่องกาไว” ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวฮ่องกง คงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับสไตล์การนำเสนอทั้งเรื่อง แสง เสียง สีเรียก “อารมณ์เหงา” ได้สุดๆ จนทำให้หนังของหว่องกาไว กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนเหงาไปโดยปริยาย จนในช่วงหนึ่งมีประโยคเรียกอารมณ์เหงานี้ว่า “อารมณ์หว่อง” หรือ “กระทำความหว่อง” 

เมื่อเอ่ยถึงคนเหงา ส่วนใหญ่มักนึกถึงคนโสด หรือคนไม่มีแฟน และเป็นกลุ่มคนวัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ แต่จริงๆ แล้ว “อารมณ์เหงา” เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงวัย 

ที่สำคัญปัจจุบัน “คนเหงา” กลายเป็นเทรนด์ใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในไทย ด้วยปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้นับวัน “ตลาดคนเหงา” หรือ “Lonely Market” กลายเป็นตลาดใหญ่ ที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจ ที่เข้ามาช่วยแก้ Pain Point ให้กับคนเหงาได้ 

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) เผยข้อมูลงานวิจัย “การตลาดคนเหงา” เทรนด์การตลาดที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเน้นศึกษาพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มคนเหงา มาต่อยอดสู่ธุรกิจเจาะกลุ่มคนเหงา

 

ปัจจัยทำให้คนเหงาเพิ่มขึ้น – ตามดู “ตลาดคลายเหงาในต่างประเทศ”

ทุกวันนี้ “ความเหงา” แพร่กระจายทั่วโลก เช่น ในประเทศอังกฤษ พบว่ามีคนเหงา และโดดเดี่ยวมากกว่า 9 ล้านคน และในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน 

นับวันจำนวนคนเหงาในอังกฤษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นปัญหาใหญ่ของอังกฤษ ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษ เล็งเห็นว่าในระะยาวอาจเป็นปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ จึงได้จัดตั้ง “กระทรววคนเหงา” พร้อมทั้งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงกีฬา มาบริหารกระทรวงความเหงาด้วยเช่นกัน 

ข้ามไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาความเหงา โดย 3 ใน 4 ของประชากรสหรัฐฯ มีปัญหาความมเหงา แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอายุ 20 ปีต้นๆ / กลุ่มอายุ 50 ปีต้นๆ และ กลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ “Euromonitor” เผยแพร่ผลสำรวจพบว่า “Lonely Living Trend” เป็นเทรนด์มาแรง โดยปัจจัยหลักมาจาก 

  • วันนี้คนอยู่แบบ “ปัจเจกชน” มากขึ้น
  • “เทคโนโลยี” ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ทำให้คนสามารถอยู่คนเดียวได้สบาย 

ด้วยความที่ต่างประเทศ ประสบปัญหาคนเหงา จึงทำให้เกิดบริการเกี่ยวกับแก้ปัญหาความเหงามากมาย เช่น ในญี่ปุ่นมีบริการ “ossan rental” บริการเช่าคุณลุง ให้มาเป็นที่ปรึกษา พูดคุย เนื่องจากคุณลุงผ่านประสบการณ์ชีวิตมาแล้วมากมาย จึงสามารถให้คำปรึกษา หรือความคิดเห็น คำแนะนำกับคนรุ่นใหม่ในอีกมุมมองหนึ่ง 

ในเกาหลี มีหุ่นยนต์แมว “Fribo” ออกแบบมา เพื่อเจาะตลาดคนที่ออยู่อาศัยคนเดียว 

ในสหรัฐฯ มีบริการ Grandkids on-demand เป็นแพลตฟอร์มให้บริการแบบ on-demand ดูแลผู้สูงวัยในด้านต่างๆ ที่เปิดให้นักศึกษามหาวิทยาลัย หรือคนรุ่นใหม่ มาเป็นผู้ช่วยกลุ่มผู้สูงวัย ที่ส่วนใหญ่อยู่บ้านตามลำพัง เช่น พาคุณปู่ คุณย่า หรือคุณตา คุณยายไปรับประทานอาหารนอกบ้าน พาไปหาหมอ รวมไปถึงรับสอนแอปพลิเคชันให้แก่ผู้สูงวัย 

 

คนเหงาในประเทศไทย สูงถึง 25 ล้านคน!! 

ข้อมูลงานวิจัย “เจาะลึกตลาดคนเหงา” (Lonely in the Deep) ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU โดยทำสำรวจวิจัย แบ่งเป็นสำรวจความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่าง 1,126 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก 76 คน 

จากผลสำรวจ แบ่งความเหงาเป็น 3 ระดับ คือ 

ระดับความเหงามากสุด เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “เหงาจับใจ” 2.3% 

ระดับความเหงารองลงมา “เหงาจนชิน” 14.5% 

ระดับความเหงาน้อยที่สุด “แอบเหงา” 23.6% 

กลุ่มคนไม่เหงา “กลุ่มสบายๆ” คิดเป็น 59% 

ดังนั้น เมื่อรวม 3 กลุ่มคนเหงา คิดเป็น 40.4% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 

ถ้าคิดเป็นภาพรวมทั้งประเทศไทย พบว่า คนเหงาในไทย มีจำนวน 26.57 ล้านคน จากจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ 66.41 ล้านคน นั่นหมายความว่า ถ้าเดินมา 10 คน จะมีคนเหงา 4 คน 

 

วัยทำงานวันรุ่นสองกลุ่มคนเหงาใหญ่สุดในไทย – “คนรายได้มากจัดการความเหงาได้ดีกว่าคนรายได้น้อย

 เมื่อเจาะ Insight คนเหงาในไทย พบว่าช่วงวัยที่มีกลุ่มคนเหงามากสุด คือ “กลุ่มวัยทำงาน” (49.3%) เป็นกลุ่มคนเหงามากสุด เพราะวัยทำงานของไทย เป็นช่วงวัยที่เพิ่งแยกออกจากครอบครัว มาอยู่เอง 

นอกจากนี้ “วัยทำงาน” เป็นวัยที่เผชิญภาวะความเครียดจากการทำงาน และหลายๆ ครั้งไม่รู้จะระบายเรื่องราวกับใคร 

ตรงกันข้ามกับต่างประเทศ ช่วงวัยที่เหงาสุด จะเป็น “ช่วงวัยรุ่น” เนื่องจากหลังจากจบ High School เข้าสู่ชีวิตมหาวิทยาลับ ค่านิยมของชาวตะวันตก จะแยกออกมาอยู่เอง จากครอบครัว 

รองลงมาจากวัยทำงาน อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นคนเหงากลุ่มใหญ่ คือ “วัยเรียน” หรือ “วัยรุ่น” (41.8%) เพราะเป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับ “เพื่อน” เป็นหลัก ถ้าเพื่อนไม่มีเวลา เช่น ไปกับแฟน เขารู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกเหงา แต่สิ่งที่วัยรุ่นตอบแบบสอบถามครั้งนี้กลับมา ส่ิงที่ทำให้เขารู้สึกเหงาสุดๆ คือ “ไม่มีอะไรทำ”

วัยต่อมา คือ “วัยผู้ใหญ่” (33.6%) และ “วัยผู้สูงอายุ” (24.5%)

ผลวิจัยตรงนี้ แตกต่างจากต่างประเทศ เนื่องจากในต่างประเทศ “วัยผู้สูงอายุ” เป็นกลุ่มคนเหงารองจากวัยเรียน/วัยรุ่น เพราะเมื่อเข้าสู่ชีวิตมหาวิทยาลัย และวัยผู้ใหญ่ จะออกไปมีชีวิตตามวิถีทางของตัวเอง ทำให้ครอบครัวเหลือเพียงผู้สูงวัย 

แต่สำหรับเมืองไทย ด้วยความที่ผู้สูงอายุ อาศัยอยู่กับครอบครัว ภายในบ้านยังมีสมาชิกคนอื่นๆ จึงยังไม่รู้สึกเหงา ขณะที่ต่างประเทศ เมื่อเข้าสู่ชีวิตมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่แยกออกจากครอบครัว

ขณะที่ผลวิจัยหัวข้อ “สถานภาพไหนเหงามากที่สุด ?” ผลปรากฏว่า 

  • สถานภาพหย่าร้าง มากสุด 50% เพราะรู้สึกชีวิตกำลังไปได้สวย อยู่ๆ ชีวิตเปลี่ยนไปไม่เหลืออะไร จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง
  • คนมีแฟน (47.6%) และ คนโสด (46.1%) เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเหตุผลที่คนมีแฟน แม้จะมีแฟนแล้ว ยังรู้สึกเหงา เพราะอยากให้อีกฝ่ายมีเวลาให้ และรู้สึกผิดหวัง เมื่อเห็นเพื่อนไปเทียวกับแฟน มองกลับมาที่คู่ของตน แฟนไม่มีเวลาให้ จึงรู้สึกเหงา 

นอกจากนี้ ปัจจัยด้าน “รายได้” มีผลต่อความเหงาด้วยเช่นกัน โดยคนที่มีรายได้มาก ยิ่งเหงาน้อย เพราะคนมีรายได้สูง สามารถนำเงินไปใช้จ่าย เพื่อซื้อความสุข ผ่อนคลายความเหงาได้ดีกว่าคนรายได้น้อย 

 

กิจกรรมสุดฮิตคนเหงา “Social Media – Dining – Shopping” 

การสำรวจวิจัยครั้งนี้ เจาะลึกถึง “กิจกรรมคลายเหงา” พบว่า 3 กิจกรรมยอดนิยม คือ 

อันดับ 1 ใช้ Social Media เพราะเป็นกิจกรรมคลายเหงาที่ง่ายสุด 

อันดับ 2 ออกไปร้านอาหาร / คาเฟ่ เพราะคนเหงามองว่าการได้ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือไปคาเฟ่ ทำให้ได้ผ่อนคลาย ทั้งจากอาหาร – เครื่องดื่ม และได้เห็นบรรยากาศ – ผู้คน 

อันดับ 3 ช้อปปิ้ง เหตุผลเช่นเดียวกับออกไปร้านอาหาร – คาเฟ่ ที่ได้เห็นบรรยากาศ – ผู้คน ทำให้ไม่รู้สึกอุดอู้อยู่คนเดียวในห้อง อีกทั้งการช้อปปิ้ง ทำให้เพลิดเพลิน ได้เห็นสิ่งของต่างๆ 

แต่ถ้าลงลึก กิจกรรมความเหงาระหว่าง “เพศชาย” กับ “เพศหญิง” พบว่ามีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ

  • เพศชาย กิจกรรมคลายเหงา อันดับแรก คือ เข้า Social Media ตามมาด้วย ออกไปร้านอาหาร – คาเฟ่ และ ท่องเที่ยว หรือออกไป Hang out 
  • เพศหญิง กิจกรรมคลายเหงา อันดับแรก คือ เข้า Social Media ตามมาด้วย ช้อปปิ้ง และออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน – คาเฟ่ 

อย่างไรก็ตามเมื่อแบ่งตามช่วงอายุ ผลปรากฎว่า “วัยเรียน – วัยทำงาน – วัยผู้ใหญ่” มีพฤติกรรมคลายเหงาเหมือนกัน คือ ใช้ Social Media / รับประทานอาหารนอกบ้าน – คาเฟ่ / ช้อปปิ้ง  

แต่สำหรับ “ผู้สูงอายุ” กิจกรรมคลายเหงาแตกต่างกัน โดยอันดับ 1 คือ รับประทานอาหารนอกบ้าน – คาเฟ่ / อันดับ 2 ใช้ Social Media และ อันดับ 3 ช้อปปิ้ง

 

กิจกรรมบน Social Media คนเหงาชอบแอบส่องมากสุด 

แพลตฟอร์ม Social Media ยอดนิยมในกลุ่มคนเหงา อันดับ 1 คือ Facebook ตามมาด้วย LINE, Instagram, Twitter 

พฤติกรรมคนเหงาใช้ Social Media มี 3 กิจกรรมหลัก คือ อันดับ 1 “สายส่อง” กว่า 51% ของกลุ่มคนเหงา เป็นสายส่อง ติดตามข่าวสาร เทรนด์ต่างๆ และสอดส่องดูชีวิตประจำวันของเพื่อนๆ 

อันดับ 2 “สายเมาท์” ใช้ Social Media ติดต่อเพื่อน คนในครอบครัว 

อันดับ 3 “สายโพสต์” ขยันโพสต์-แชร์​-คอมเมนต์ในคอนเทนต์ที่เขาชอบ และชอบที่จะโพสต์เรื่องราวส่วนตัว และระบายเรื่องส่วนตัวบน social media

 

เหงา = โอกาส พลิกสู่ 5 ธุรกิจคลายเหงา 

เมื่อจำนวนคนเหงาเพิ่มขึ้น จึงควรมองเป็น “โอกาส” ในการสร้างธุรกิจเอาใจคนเหงา โดยมี 5 ธุรกิจมาแรง ได้แก่ 

  1. ชุมชนของคนที่มีความชอบร่วมกัน (Community) เช่น คาเฟ่บอร์ดเกม, ร้านกาแฟ
  2. ธุรกิจ Co-Living Space ซึ่งปัจจุบันมีการออกแบบให้อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์นี้มากขึ้น เช่น คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์, ออฟฟิศ เพื่อให้คนที่อยู่ในชุมชน หรือในอาคาร ได้มามีกิจกรรม หรือพบปะกัน

3. ธุรกิจด้านดิจิทัล เช่น AI, แอปพลิเคลัน หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย 

4. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง เช่น ให้เช่าสัตว์เลี้ยง, คาเฟ่สัตว์เลี้ยง,​ที่ปรึกษาเรื่องสัตว์เลี้ยง

5. ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น แพคเกจท่องเที่ยวแบบคนเดียว, โปรคนโสด, ที่พักแบบเดี่ยว 

 

4 กลยุทธ์เจาะตลาดคนเหงา 

ขณะที่การทำการตลาดตอบโจทย์กลุ่มคนเหงากำลังจะกลายเป็นที่นิยมในอนาคตอันใกล้ นักการตลาดควรเข้าใจแนวทางการออกแบบกลยุทธ์ และวิธีการสื่อสาร ที่ตรงกับความอินไซท์ของกลุ่มตลาดคนเหงา ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการพัฒนาธุรกิจที่มีอยู่ให้แตกต่างจากตลาด รองรับความต้องการผู้บริโภคที่แปลกใหม่ขึ้นในทุกวัน 

โดย 4 ขั้นกลยุทธ์ C M M U ที่จะเป็นกุญแจช่วยพัฒนาธุรกิจตอบโจทย์ตลาดคนเหงา สร้างความน่าสนใจ เอกลักษณ์ และความแตกต่างของธุรกิจ ประกอบด้ว

  • สร้างบรรยากาศรอบตัว (C: Circumstance) ธรรมชาติความต้องการของกลุ่มคนเหงา มักต้องการผู้ที่เข้าใจ และไม่อยากรู้สึกว่าอยู่เดียวดาย นักการตลาดจึงควรเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และดึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ และบริการแบรนด์ตนเอง อาทิ ธุรกิจร้านค้า ร้านอาหาร ต้องรู้จักใช้ข้อได้เปรียบด้านพื้นที่ ธุรกิจท่องเที่ยว ต้องพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มคนเหงาเพิ่มขึ้น เป็นต้น
  • สื่อสารเหมือนเพื่อน (M: coMpanion) จากสถิติพบว่า ร้อยละ 44.3 ของกลุ่มผู้มีภาวะความเหงา มักจะติดการใช้โซเชียลมีเดียตลอดทั้งวัน เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด การทำการตลาดจึงควรเลือกสื่อสาร โปรโมท หรือสร้างกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ กับกลุ่มเป้าหมายผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารที่เป็นมิตร เสมือนเพื่อนที่คอยให้คำปรึกษา และไขข้อสงสัยผลิตภัณฑ์และบริการได้ตลอดเวลา
  • ไม่ลืมกลุ่มคนเหงา (M: forget Me not) นักการตลาดต้องไม่ลืมการส่งเสริมการตลาดพิเศษ รองรับกลุ่มคนเหงา อาทิ โปรโมชั่นพิเศษช่วงฤดูกาล หรือเทศกาล เป็นต้น โดยนอกจากจะสามารถขยายฐานลูกค้าได้แล้ว ยังทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกไม่ถูกทอดทิ้ง และเป็นหนึ่งเดียวกันกับแบรนด์สินค้าในทุกโอกาส
  • ส่งเสริมกิจกรรมร่วม (U: commUnity) นักการตลาดต้องสามารถสร้างสรรค์คอนเทนท์ ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมการตลาด ที่แตกต่าง


  • 2K
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ