บอกหมด! เผยสถิติในวงการ “สตาร์ทอัพ” ในไทย และองค์กรใหญ่จะเอาตัวรอดในยุคดิจิทัลอย่างไร?

  • 222
  •  
  •  
  •  
  •  

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เราจะเห็น Corporate Venture Capital เกิดขึ้นจากหลายอุตสาหกรรมในไทย จากเดิมที่เราเห็นกันมากในกลุ่มธุรกิจสื่อสาร และสถาบันการเงิน ปัจจุบันเริ่มมีองค์กรอื่นๆ เข้ามาร่วมสนับสนุนสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็นสายการผลิต อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2560 มีการเปิดตัว CVC ไปแล้วถึง 6 ราย และเชื่อว่าช่วง 8 เดือนที่เหลือยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่บางรายเตรียมเปิดตัว CVC ของตัวเองเพิ่มเติมด้วย

คำถามต่อมาคือองค์กรใหญ่จะต้องปรับตัวกับกระแสเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร?

Cover

เน้นพัฒนาคนให้เกิดนวัตกรรมอยู่เสมอ

เพราะบริษัทจะเกิดนวัตกรรมและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้นั้น คนในองค์กรต้องตระหนักในความสำคัญของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ “ก่อน” ไม่ใช่เป็นแค่ส่วนเสริมของการทำงาน ดังนั้นองค์กรใหญ่จึงต้องรู้จักสร้างวัฒธรรมในองค์กร รู้จักตั้ง “Digital Mindset” และตัวชี้วัดให้กับพนักงาน ให้รู้จักค้นหาว่าผู้บริโภคต้องการอะไร “อยู่เสมอ” ระดมและพิสูจน์ไอเดียสร้างสินค้าดิจิทัล รู้จักกล้าลองผิดลองถูกและเรียนรู้ และให้รู้จักใช้เทคโนโลยีด้วย

 

ร่วมมือกับสตาร์ทอัพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

เพราะองค์กรใหญ่ต้องการหา “โซลูชั่น” สำหรับตอบโจทย์ลูกค้าอยู่เสมอ ในขณะที่สตาร์ทอัพหลายรายก็มีเทคโนโลยีและความคล่องตัวในการทำงานและสร้างโซลูชั่น ดังนั้นจึงเกิดช่องว่างระหว่างองค์กรใหญ่และสตาร์ทอัพ นอกจากเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตจะสามารถปิดช่องว่างที่ว่า การสนับสนุนสตาร์ทอัพและชุมชนเทคโนโลยีก็ยังเป็นอีกกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรใหญ่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะการสนับสนุนเงินทุน การฝึกอมรมและการแชร์ข้อมูลฐานลูกค้า

 

A

นายเฉลิมยุทธ  บุญมา ผู้อำนวยการโปรแกรม ดีแทค แอคเซอเลอเรท

 

น.ส.อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์สื่อธุรกิจด้านเทคโนโลยี Techsauce.co เปิดเผยว่า

“ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือ องค์กรขนาดใหญ่เองมีความรู้ความเชี่ยวชาญในภาคธุรกิจนั้นๆ โดยตรง มีเงินทุน และฐานลูกค้าขนาดใหญ่อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าเมื่อเป็นองค์กรขนาดใหญ่การขับเคลื่อนเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่สตาร์ทอัพเองมีความคล่องตัวมุ่งเน้นค้นหาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา แต่อาจขาดเงินทุนสนับสนุนเพื่อให้เติบโต การผนึกกำลังนำเอาจุดเด่นของทั้ง 2 ฝ่ายเข้ามาจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมาก”

B

 

และนี่คือสถิติข้อมูลในวงการ “สตาร์ทอัพ” ในเมืองไทยที่รวมมาตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปีนี้

– ยอดที่มีการซื้อขายธุรกิจ 108.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2011 ถึงปัจจุบันในตลาดไทย

– บริษัทมีสตาร์ทอัพ 75 แห่งที่ได้รับการระดมทุนในประเทศไทย และอาจจะมีมากกว่านี้

– ยอดการระดมทุนในปี 2016 อยู่ที่ ไม่ต่ำกว่า 86.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือคิดเป็นเงินไทยที่ 2,981.45 ล้านบาท) ซึ่งโดกว่าปีก่อน 100% เพราะมี Top 3 Deal ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา อย่าง Ookbee ที่อยู่ในวงการ Digital Content,Omise ที่เป็น Online Payment Gateway และ Umami ที่เป็นอีคอมเมิร์ซตามมาด้วยโลจิสติกส์ ฟินเทคและ Food and restaurant ที่เป็นธุรกิจเด่นในบ้านเรา

– ยอดระดมทุนของ Venture Capital ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2011-2012 อยู่ที่ 261.128 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

ที่ผ่านมา ไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต เป็นฐานการผลิตสำคัญของหลายภาคธุรกิจ แต่ยังขาดการเพิ่มคุณค่า (Value-Added) โดยการนำเอาเทคโนโลยีและดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ตลาด แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีเงินทุนไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นอกเหนือจากองค์ความรู้ เราต้องสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน และการร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้

 

แหล่งที่มา

งานแถลงข่าว “เปิดมุมมององค์กรยักษ์ใหญ่ ร่วมสนับสนุนสตาร์ทอัพ และการจัดงาน Techsauce Global Summit 2017” วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2560 ณ โซน Living Room ชั้น 4 ศูนย์การค้า สยาม ดิสคัฟเวอรี่


  • 222
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th