Content Marketing นั้นเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิด Customer Engagement อย่างมากในยุคนี้ ก่อให้เกิด Lead Generation ขึ้นมา และเปลี่ยนกลุ่่มเป้าหมายให้เป็นลูกค้าได้เลย นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ต้องการได้สำหรับแบรนด์เมื่อทำ Content Marketing Campaign ที่ถูกคน ถูกที่ ถูกทาง ถูกเวลาขึ้น และผลที่ได้จากการวางแผนเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลประสบความสำเร็จขึ้นมา
ความสำเร็จของการทำ Content Marketing นี้เกิดจากการเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายตัวเองเป็นอย่างไร และเข้าใจว่าช่วงเวลาแบบไหนที่จะทำ Campaign Content เหล่านั้นออกไป ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้สามารถล้มเหลวได้ตลอดการทำ Content Strategy ขึ้นมา ซึ่งจะทำให้คนที่วางแผนนั้นเสียเวลา เสียแรง และสิ่งสำคัญคือเสียเงินที่ลงไปทั้ง Campaign อีกต่าง ๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความล้มเหลวดังกล่าว วันนี้ผมจะเอา 4 ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการทำ Content Strategy จนทำให้ทุกอย่างล้มเหลวได้
1. อิงกับการเดามากกว่าช้อมูลจากการเก็บข้อมูล : หลาย ๆ ครั้งกลยุทธ์ต่าง ๆ นั้นล่มได้อย่างง่ายดาย หรือทำแล้วไม่ได้ผล เพราะคำ ๆ เดียว นั้นคือคำว่า Assume โดย Assume ว่าคุณรู้จักกลุ่มเป้าหมายดีว่าเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนถ้าคุณไม่มีการทำการบ้านมา ก็ไม่มีวันเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงนั้นคิดอะไร ต้งการอะไรอย่างมาก สิ่งสำคัญคือการ Assume ว่าสิ่งที่คิดนั้นจะใช้ได้ผลกับกลุ่มเป้าหมายทุกคนออกมา ซึ่งนี้ก็เป็นคิดผิดอย่างมาก เพราะถ้าเข้าใจเรื่อง Target Buyer Persona แล้วละก็ จะพบว่า กลุ่มเป้าหมายนั้นมีความแตกต่างกันในด้านความต้องการหรือ pain point ตัวเอง ดังนั้นการที่คุณจะทำให้ Content Strategy ของคุณให้ได้ผลได้ คือการทำงานที่ลงมือเก็บข้อมูลจริง ๆ จากกลุ่มเป้าหมายมา และทำงานให้ใส่ใจในรายละเอียดว่า กลุ่มเป้าหมายแต่ละคนนั้นมีเบื้องหลังความคิดอย่างไรออกมา เพื่อให้คุณสามารถสร้างแผนของ Content Marketing ที่จะเข้าสู่กลางใจกลุ่มเป้าหมายได้
2. เลือกปริมาณมากกว่าคุณภาพ : ยุคนี้เป็นยุคที่มาตรวัดตัวเลขแบบเยอะ ๆ นั้นไม่มีค่าอะไร เช่นคนเห็นล้านคนแต่ไม่มีใครซื้อเลย เทียบไม่ได้กับ คนพันคนที่มีคุณภาพแล้วซื้อพันคน ในกลยุทธ์ก็เช่นกัน การมีข้อมูลคุณภาพนั้นสำคัญมากกว่าข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้มาเพื่อที่จะทำการวางแผนต่อไปได้ และสามารถต่อยอดจากข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นได้มากมาย นอกจากนี้เรื่องคุณภาพนั้นยังหมายถึงการทำงานด้วยว่า การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ สำคัญมากกว่าปริมาณที่ผลิตอีกด้วย เพราะการสร้างเนื้อหาที่มีแต่ปริมาณแต่ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับผู้บริโภคย่อมไม่มีใครสนใจแน่นอน แต่ถ้าคุณเน้นที่คุณภาพออกมา เนื้อหานั้นจะกลายเป็นเนื้อหาที่ผู้บริโภคสนใจอย่างมาก จนอยู่ในกระบวนการของ Customer Journey ออกมา ดังนั้นนักการตลาดที่ทำ Content Strategy ควรเริ่มต้นมองเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณที่ทำออกมา ยิงให้เหมือนสไนเปอร์ที่ยิงเข้าหัวมากกว่าที่จะเป็นปืนกลที่ยิงไม่โดนอะไรเลย
3. ไร้นวัตกรรม : สิ่งที่เกิดขึ้นของความล้มเหลวของ Content Strategy คือการทำอะไรแบบเดิม ๆ ทั้ง ๆ ที่มันไม่เวิร์คอีกต่อไปแล้ว หรือเทคนิคที่ใช้นั้นเฉย ไม่เหมาะกับเทคโนโลยีปัจจุบันที่คนสนใจกัน ยอกตัวอย่างง่าย ๆ คือการโพสแต่ข้อความในยุคนี้ ที่ไม่ได้ผลเท่ากับการทำ Video อีกต่อไป ดังนั้นการทำ Content Strategy ที่ดีคือการรู้ว่า เนื้อหาตัวเองจะต้องใช้นวัตกรรมแบบไหน เพื่อให้สามารถแสดงผลของเนื้อหาได้ดีที่สุด รวมทั้งคนวางแผนเนื้อหาเหล่านี้ต้องเป็นคนที่หมั่นอัพเดทตัวเองให้ติดตามเทรนด์ในการทำ Content ต่าง ๆ ออกมา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นมาในยุคนี้ที่รวดเร็วเหลือเกิน ความล้มเหลวในเรื่องนี้ทำให้ Content Marketing ของตัวเองก็ล้มไปตาม ๆ กัน ทางแก้ในเรื่องนี้อีกทางคือการจ้างและสร้างทีมที่สามารถสร้างเนื้อหาต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เหมาะสมกับความสนใจ และเทรนด์ที่เกิดขึ้นได้
4.ไม่วัดผลสิ่งที่เกิดขึ้น : Content Strategy ของคุณจะไม่ประสบความสำเร็จเลย ถ้าไม่มีการวัดผลว่าสิ่งที่ทำไปนั้นได้ผลอย่างไร สิ่งที่คุณต้องทำคือการติดตามการวัดผลต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือ Analytics ต่าง ๆออกมา และทำการวิเคราะห์ผลต่าง ๆ เพื่อทำให้เห็นว่า สิ่งที่ทำนั้นได้ผลหรือไม่ได้ผล หรือตรงกับกลยุทธ์ที่วางไว้หรือไม่ เพื่อทำให้คุณสามารถปรับกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อให้ทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย เพราะการวางแผนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นคนละเรื่องกัน หากคุณไม่มีการวัดผลเลย และปล่อยให้ทำไปจนถึงปลายทาง สถานการณ์เปลี่ยนเช่น เทคโนโลยีเปลี่ยน กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนไป หรือบริบททางสังคมเปลี่ยน ก็อาจจะทำให้กลยุทธ์ของคุณไม่ได้ผลทันที สิ่งสำคัญคือนักการตลาดต้องเข้าใจวิธีวัดผลต่าง ๆ ว่าเป้าหมายคืออะไร และจัดวัดผลอย่างไรออกมา หรือเนื้อหาแบบไหน ควรจะวัดผลแบบไหน และสุดท้ายอะไรคือจุดชี้วัดว่าสิ่งที่ทำนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก หรือถ้าไม่ประสบความสำเร็จจะได้บทเรียนอะไรกลับมา เพื่อทำให้การวางแผนครั้งหน้านั้นแม่นยำมากขึ้นไปอีก