เขตกว่างซี Gateway to ASEAN กับการพัฒนา Logistics รองรับธุรกิจบริการ

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

กว่างซี

ในปัจจุบัน ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจโดยเฉพาะด้านบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากติดตามข่าวสารในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าในหลายนครและมณฑลต่างๆ ของจีนกำลังมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้สอดคล้องไปกับนโยบายส่วนกลางของรัฐบาลจีนที่มุ่งการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านบริการซึ่งเป็นสิ่งที่จีนเคยขาดมานาน เมื่อเทียบกับธุรกิจในด้านอื่นๆ

2.1

สำหรับวันนี้จึงอยากแนะนำการพัฒนาของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งทางภาครัฐของจีนได้เลือกให้เป็นแหล่งธุรกิจเชิงการค้าและ Logistics โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการลงทุนต่างๆ จากภาคเอกชนและต่างชาติ

ทุกวันนี้ การลงทุนจากต่างชาติในจีนถือว่ามีอัตราส่วนกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณร้อยละ 50 จากมูลค่าทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2560 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนจึงให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งเสริมและสนับสนุนในเชิงนโยบายเพื่อช่วยกระตุ้นให้พื้นที่ต่างๆ สามารถรองรับและดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจบริการ ตัวอย่างเช่น การทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาหรือนิคมที่ชัดเจน หรือการเตรียมสร้างสถานที่พักสำหรับส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว แล้วกระตุ้นโครงการและพื้นที่โดยรอบเพิ่มขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ มีข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยจีน (BIC) อ้างอิงจากรายงานของผู้อำนวยการคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปเขตฯ กว่างซีจ้วง (Guangxi DRC) ชี้ว่าในปี 2560 ที่ผ่านมา การลงทุนสะสมในพื้นที่ศูนย์ธุรกิจบริการ (service industry cluster area) ซึ่งเป็นโครงการชุดแรกที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล ทั้งหมด 38 แห่งทั่วกว่างซี โดยรวมแล้วมีมูลค่าสูงกว่า 225,100 ล้านหยวน แล้วยังส่งผลดึงดูดนักลงทุนเข้ามากว่า 7,000 ราย ทำให้เขตกว่างซีจ้วงเป็นมณฑลที่มีความคึกคักในการลงทุนสูงอันดับต้นๆ ของจีนในเวลานี้

2.2

สำหรับเหตุปัจจัยนั้น เนื่องจากกว่างซีเป็นมณฑลเดียวของจีนที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ติดกับภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นทางบกและทางทะเล เมื่อมีโอกาสเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นของกว่างซีได้วางนโยบายและความพยายามที่จะสร้างและพัฒนาช่องทางการคมนาคมและจัดจำหน่ายสินค้า การแปลกเปลี่ยนเงินตรา รวมถึงการพัฒนาระบบ Logistics เพื่อเชื่อมโยงกับอาเซียน หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นความพยายามที่จะทำให้กว่างซีเป็น Gateway สำหรับ จีน-อาเซียน โดยเฉพาะ

ซึ่งในปัจจุบัน เขตกว่างซีมีพื้นที่จัดตั้งเป็นศูนย์ Logistics แบบใหม่ทั้งหมด 14 แห่ง มีบริษัทต่างๆ เข้าไปลงทุนแล้วมากกว่า 2,000 ราย สำหรับพื้นที่เหล่านี้จะตั้งยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล ไปจนถึงเรียบแนวชายแดนและฝั่งแม่น้ำ ท่าเรือและด่านชายแดน ทั้งยังมีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2563 ทางกว่างซีจะก่อตั้งพื้นที่สำหรับเป็น Center ในการรวมศูนย์ธุรกิจด้านบริการแบบสมัยใหม่ ซึ่งจะสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายอีกเป็นร้อยแห่ง รวมถึงการตั้งระบบ Logistics แบบครบวงจร ซึ่งในเวลานี้ก็มีการจัดตั้งแล้วที่นครหนานหนิง เป็นต้น

ทั้งยังมีการตั้งเป้าโดยรัฐบาลกว่างซีว่า ภายในสิ้นปี 2561 ธุรกิจบริการสมัยใหม่มากกว่า 40 โครงการจะได้เริ่มดำเนินการ โดยเฉพาะที่ศูนย์ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งอยู่ในสถานีรถไฟตะวันออกท่าเรือชินโจว และ Logistics ระหว่างประเทศจีน-สิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อเส้นทางการค้าไปสู่ประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะทางทะเลเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับการวางระบบ Logistics แบบครบวงจรนี้ จะช่วยทำให้เขตกว่างซีกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับในธุรกิจบริการต่อไป ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่จะบุกตลาดจีน ก็มีความจำเป็นต้องศึกษาไว้เช่นกันครับ

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”