เดินหน้าพัฒนาธุรกิจไทยกับหลักสูตร TEN X ที่ช่วย Transformation สอดรับกับความปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนไป

  • 210
  •  
  •  
  •  
  •  

 

“Disruption” คำนี้ดูจะห่างหายไปจากแวดวงการตลาด แต่ทุกธุรกิจก็ยังคงต้องประสบกับการ Disruption ทั้งจากพฤติกรรมผู้บริโภคหรือการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั่วโลก และหมายถึงการปรับตัวครั้งสำคัญของธุรกิจ

ทว่าหลายองค์กรขยับตัวรวดเร็วทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อได้ ขณะที่อีกหลายธุรกิจอยากปรับเปลี่ยนธุรกิจ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน หรือไม่แน่ใจว่าทำไปแล้วจะประสบความสำเร็จ ก่อให้เกิดความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ที่สำคัญหลายธุรกิจยังติดกับดักความคิดกับรูปแบบการทำธุรกิจเดิมๆ ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

 

Transformation รับความเปลี่ยนแปลง

โดย คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานกรรมการหลักสูตร TEN X รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ที่ปรึกษา สภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมาเราพูดถึง Digital Transformation จนกระทั่งโรคระบาดเกิดขึ้น พร้อมๆ กับปัญหา Climate Change ผสมกับสถานการณ์สงครามและภาวะเงินเฟ้อ ชี้ให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงนับจากนี้จะรวดเร็วขึ้น ทั้งในแง่ของโลก ธุรกิจ ความคิดอ่านของคน

 

 

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการปรับตัว ธุรกิจเองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน หลายอย่างที่เป็นความสำเร็จในอดีตไม่ได้การันตีความสำเร็จอีกต่อไป องค์กรขนาดใหญ่น่าจะตระหนักหมดแล้ว แต่สิ่งที่น่ากังวลคือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือแม้แต่ภาครัฐเอง ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาทั่วโลก เมื่อทุกคนเปลี่ยนธุรกิจก็คงไม่อยากเป็นไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ นั่นจึงทำให้การ Transformation มีความสำคัญ

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ไม่มีใครที่ไม่โดนกระทบสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกกระทบกับอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก และทำให้มีผลกระทบต่อทุกธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวที่จู่ๆ ก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์โรคระบาด ดังนั้นการแก้ปัญหาของธุรกิจการท่องเที่ยวคือการเปิดประเทศเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า

 

ได้เวลาธุรกิจต้อง Transformation

เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดๆ ถ้าตอนนี้เปิดประเทศแบบ 100% อุปสรรคของธุรกิจท่องเที่ยวก็ยังมีอยู่ เช่น ราคาตั๋วเครื่องบินที่ตอนนี้ปรับราคาขึ้นกันหมดแล้ว ก่อนหน้านี้ธุรกิจการบินก็ได้รับผลกระทบ จนหลายธุรกิจขยายออกจากการแบกภาระค่าใช้จ่ายในรูปของ Low-Cost Airline ไหนจะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนการบิน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวที่อาจมีทุนน้อยไม่สามารถเข้าท่องเที่ยวในประเทศได้

หรืออย่างภาคเกษตรที่สร้างรายได้ให้ประเทศและยังมีอัตราการจ้างงานสูง แถมสถานการณ์อาหารโลกเกิดภาวะขาดแคลน ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ระดับโลก แม้จะมีภาพธุรกิจในเชิงบวกแต่ก็ยังมีปัญหาเช่นกัน อย่างปัญหาราคาปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ หากไม่แก้ปัญหาอนาคตอาจต้องประสบปัญหาผลผลิตที่ลดลง ขณะที่เกษตรอินทรีย์แก้ปัญหาภาพรวมได้ไม่ทั้งหมด

แม้แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไม่ด้อยไปกว่าภาคเกษตร แต่เมื่อเทรนด์ของโลกเริ่มเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหล่านี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนองค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจจะปรับด้วยวิธีการรูปแบบไหน

 

Safe Zone อุปสรรคขัดขวาง Transformation

ด้าน ดร.ชัยพัชร์ เลิศรักษ์ทวีกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร TEN X Chief Executive Officer & Founder – DeOne Academy ชี้ว่า การ Transformation เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องทำเพราะการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คิด เหมือนทฤษฎี “กบต้มน้ำ” เพราะการเปลี่ยนแปลงจะไม่ได้เกิดแบบตูมเดียวจะเป็นการการค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ซึ่งหลายธุรกิจมักจะคิดว่าปรับตัวได้ด้วยการปรับตัวและลงทุนน้อยเพื่อสร้างการเติบโตระยะสั้น โดยไม่คิดถึงผลกระทบระยะยาว จนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ Short Term Gain – Long Term Pain

 

 

และธุรกิจส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ปัจจุบันก็ดีอยู่แล้วจะไปปรับทำไม อนาคตเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อยปรับก็ยังทัน ขณะที่ยังมีอีกหลายธุรกิจที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลง จนเริ่มปรับตัวขนานใหญ่ทั้งการลงทุนอย่างเต็มที่ และการปรับตัวจนอาจไม่ถูกใจพนักงาน แต่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้ในระยะยาวในรูปแบบ Short Term Pain- Long Term Gain

สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการ Transformation ธุรกิจ คือความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาในอดีต และคิดว่าธุรกิจของตัวเองไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ถูก Disrupt อีกทั้งยังถูกผลประกอบการในเชิงบวกบดบังวิสัยทัศน์การทำธุรกิจ เหมือนสุขภาพของผู้คนที่หลายคนยังคิดว่าแข็งแรงอยู่ ทำไมต้องออกกำลังกายด้วย แต่เมื่อถึงวันที่ต้องประสบกับตัวเอง จะปรับตัวตอนนั้นก็อาจเรียกว่าสายไปแล้ว

 

รับมือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

ในเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภค คุณสราวุฒิชี้ว่า เรื่องพฤติกรรมผู้คนถือเป็นวาระของโลก เพราะคนในยุคนี้วิธีคิดแตกต่างจากผู้คนในอดีต ซึ่งกลุ่มคนในยุค Baby Boomer จะเป็นกลุ่มคนที่สร้างเนื้อสร้างตัวจากศูนย์ เพื่อให้อนาคตลูกหลานจะได้สบาย ขณะที่กลุ่มคนในปัจจุบันมองเรื่องของปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ จนมีความคิดว่าทำงานหนักเพื่ออะไร สุดท้ายแก่ไปไม่ได้ใช้เงิน ซึ่งแต่ละความคิดของคนแต่ละรุ่นไม่มีถูกผิด

ธุรกิจจะไปสวนกระแสความคิดก็คงจะไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือเข้าใจในความคิดเหล่านั้น ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นต้องทำงานร่วมกับเด็กในยุคปัจจุบันรวมถึงเด็กในอนาคตช่วยสร้างธุรกิจ สิ่งตอบแทนของคนยุคนี้อาจไม่ใช่แค่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว เช่น การทำงานรูปแบบ Work from Home เป็นต้น ยิ่งในอนาคตที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค Aging Society

หมายความว่า ในอนาคตจำนวนคนที่จะทำงานในธุรกิจจะหายากขึ้นหรือมีจำนวนลดลง ดังนั้นการใช้คนน้อยแต่สร้างประสิทธิภาพการทำงานสูงจึงกลายเป็นเทรนด์ทำการทำงานในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สำหรับตอนนี้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับความเร็วในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

ผู้บริหารสำคัญต่อการ Transformation

คุณสราวุฒิอธิบายว่า เป็นธรรรมชาติของทุกคนในเรื่องของความเปลี่ยนแปลง เพราะความเปลี่ยนแปลงคือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แต่หลายคนก็ลืมไปว่าการไม่เปลี่ยนแปลงก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ทีมลีดเดอร์หรือผู้บริหารและต้องเปลี่ยนทั้งองค์กรพร้อมๆ กัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทีมลีดเดอร์เพราะยังสามารถดึงลูกทีมทุกแผนกให้เปลี่ยนแปลงตามได้

ผู้บริหารจึงต้องตระหนักรู้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงนี้กับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเห็นชัดหรือเปล่าหรือเป็นภาพลวงตา ซึ่งทีมผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่เดินนำทั้งองค์กรในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ซึ่งตรงกับความเห็นของ ดร.ชัยพัชร์ ที่มองว่า การปรับเปลี่ยนจะต้องเริ่มจาก Top to Down โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กรที่มี Sense of Urgency จะช่วยให้องค์กรสามารถรอดพ้นวิกฤติความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้บริหารมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ระดับปฏิบัติการมองเห็น ซึ่งคุณสราวุฒิมองว่า ก็ยังมีบางองค์กรที่ผู้บริหารอาจจะมองว่า บางกรณีศึกษาเป็นเรื่องต่างประเทศเป็นเรื่องไกลตัว

หรือในบางครั้งผู้บริหารเกิดความลังเลเนื่องจากเพิ่งลงทุนไป และเชื่อว่าสิ่งที่เพิ่งลงทุนไปคือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เห็นได้ชัดจากกรณีของ SONY Trinitron ที่เพิ่งลงทุนเทคโนโลยีCRT แต่ในตลาดทีวี LCD เพิ่งออกวางขายและคิดว่าราคาทีวี LCD สูงเกินไปจนตลาดไม่ตอบรับ เป็นต้น

ซึ่งการเข้าอบรมหลักสูตรที่ช่วยให้เห็นภาพในอนาคตอย่างหลักสูตร TEN X จะช่วยให้ผู้บริหารตระหนักและมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ด้าน ดร.ชัยพัชร์ ก็มีมุมมองที่คล้ายกันในการให้ผู้บริหารได้เปิดโลกทัศน์ รวมไปถึงการเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ หรืออาจจะนำเสนอกรณีศึกษาของธุรกิจที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยนำเสนอในเชิงอ้อม และการเข้าหลักสูตรที่มี Workshop อย่างหลักสูตร TEN X ก็อาจจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ผู้บริหารตระหนักรู้ได้

 

TEN X หลักสูตรเครือข่ายผู้บริหารด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด

สำหรับหลักสูตร TEN X ดร.ชัยพัชร์ อธิบายว่า TEN X คือหลักสูตรที่รวมเอาผู้บริหารยุคใหม่ (Change Leader) หรือผู้ที่มีบทบาทในการทำ Transformation ในทุกองค์กรมารวมกันเพื่อให้เกิด Community หรือชุมชนที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ซึ่งหลักสูตรTEN X จะเป็นเวทีที่ทำให้ทุกคนที่ต้องการ Transformation ได้มาพบปะสังสรรค์กันแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้บริหารแถวหน้าของประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนมาแชร์ประสบการณ์ TEN X ไม่ใช่หลักสูตรที่เน้นการฟัง แต่เน้นการทำ โดยจะมีโปรเจ็คให้ทำในแต่ละกลุ่มตลอดระยะเวลา 4 เดือน ทำให้เกิดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในแต่ละองค์กร

 

 

โดยหลักสูตรนี้มีทั้งสิ้น 4 Pillar ได้แก่ Mega Trends & Global Forces, Business & Digital Transformation, People & Culture Transformation และ Leadership Transformation ผ่านรูปแบบการเรียนรู้แบบการฟัง 10% การอ่าน 20% และการลงมือทำ70% โดยมีโค้ชและที่ปรึกษามืออาชีพมาเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำการทำ Group Project Assignment อย่างใกล้ชิด

ด้าน คุณสราวุฒิ เสริมว่า เนื่องจากหอการค้าเป็นแหล่งรวมของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นแหล่งรวมของธุรกิจ SME มากมาย ช่วยให้หอการค้ามองเห็นภาพสงครามทางธุรกิจได้อย่างชัดเจน สำหรับองค์กรขนาดใหญ่มีความตระหนักและเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ยังมีองค์กรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ตระหนักหรือบางองค์กรยังไม่แน่ใจว่า จะต้องทำอย่างไร เริ่มจากตรงไหน

ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งจากองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมถึงธุรกิจในต่างจังหวัดและองค์กรภาครัฐด้วย จะช่วยเข้ามาเสริมมิติการ Transformation ให้ชัดเจนมากขึ้น สำหรับจุดที่แตกต่างและน่าสนใจของหลักสูตร TEN X คือการได้ลงมือปฏิบัติจริง ไม่ใช่แค่การนั่งฟังเพียงอย่างเดียว มีการเรียนรู้จากผู้บริหารที่ผ่านประสบการณ์จริง

 

ข้อแตกต่างที่ตัดสินใจเรียนหลักสูตร TEN X

คุณสราวุฒิเพิ่มเติมว่า นอกจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงหรือผ่านประสบการณ์ของผู้บริหารที่มีประสบการณ์จริงแล้ว ยังก่อให้เกิด Community ของกลุ่มผู้บริหารหลากหลายธุรกิจ ซึ่งหลังจากผ่านหลักสูตร TEN X ไปแล้วจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวทางการปฏิบัติในด้าน Transformation องค์กร

แน่นอนว่าไม่มีใครที่ผ่านหลักสูตรไปแล้วจะสามารถพลิกโฉมองค์กรได้ในชั่วข้ามคืน เนื่องจากแต่ละองค์กรมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน หมายความว่าแต่ละองค์กรจะมีอุปสรรคและความท้าทายที่แตกต่างกัน ซึ่งการมี Community จะช่วยให้เกิดการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นรวมถึงอุปสรรคและวิธีแก้ปัญหาต่างๆ แม้ว่าจะผ่านการอบรมไปแล้วก็ตาม

ดร.ชัยพัชร์ ยังเสริมด้วยว่า นอกจากการได้ปฏิบัติจริงและสร้างกลุ่ม Community แล้ว ยังมีการติดตามประเมินผลเพื่อช่วยเหลือให้ธุรกิจสามารถทำการ Transformation ได้ตามที่องค์กรต้องการ ที่สำคัญจะมีการนำตัวแทนที่มีผลดำเนินการสำเร็จไปเป็นกรณีศึกษาให้กับผู้เข้าอบรมในรุ่นที่ 2 อีกด้วย อีกหนึ่งจุดเด่นของหลักสูตร TEN X คือการเปิดรับกลุ่มธุรกิจSME ที่อยู่ในต่างจังหวัดให้สามารถเข้าร่วมอบรมหลักสูตรได้เช่นกัน

 

Transformation กระบวนการไม่มีวันจบ

คุณสราวุฒิ แนะนำว่า การ Transformation เป็นเรื่องที่ไม่มีวันสิ้นสุด สำหรับธุรกิจที่เคยTransformation สามารถเข้ามาเรียนรู้ในหลักสูตร TEN X ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมมุมมองในการวิธีการต่างๆ ซึ่งธุรกิจที่ Transformation ได้ดีจะต้องเป็นธุรกิจที่เปิดใจ (Open Mind) รับสิ่งใหม่และต้องคอยเปิดตามองว่า ตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ซึ่งในอนาคตไม่ใช่โลกที่ใครคนหนึ่งหรือองค์กรจะสามารถทำได้เองทุกอย่างคนเดียวหมด แต่มันเป็นการร่วมมือกัน

ขณะที่ ดร.ชัยพัชร์ มองว่า ตราบใดที่โลกยังไม่หยุดหมุน การพัฒนายังไม่หยุด องค์กรก็ต้องปรับตัวไปเรื่อยๆ ไม่มีองค์กรไหนในโลกที่ก้าวถึงจุดสูงสุดจนไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น Facebook ที่เคยประสบความสำเร็จ ก็ต้อง Transformation ตัวเองรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เหมือนชีวิตคนที่ต้องก้าวต่อไปเรื่อยๆ เหมือนคำที่ว่า Success with Journey not Destination ความสำเร็จคือการยังคงเดินทางได้ต่อไปไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทาง

 

DeOne Academy กับหลักสูตร TEN X

สำหรับ DeOne Academy บริการหลักๆ จะเป็นเรื่องของ Inhouse Training ซึ่งมีหลักสูตรมากมายที่เหมาะสมกับการอบรม โดยเฉพาะหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร (Leadership) หลักสูตรองค์กร (Business) และหลักสูตรการขาย (Sales) ซึ่งถือว่ามีความเชี่ยวชาญมาก

นอกจากนี้ ยังมีบริการ  Virtual Class Online เรียนสด สอนสด บนแพลตฟอร์ม Delightบริการด้าน Coaching ในรูปแบบ Executive Coaching สำหรับผู้บริหารที่ต้องการปลดล็อกศักยภาพของตัวเอง และ DeOne Academy ยังได้รับลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ เป็นตัวแทนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย จากบริษัท GRID International Inc. เมืองออสติน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการให้บริการด้านการทำ Culture Transformation อีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือความพิเศษของหลักสูตร TEN X ที่เรียกว่า เป็นความชัดเจนของหลักสูตรที่เน้นด้านการ Transformation ของธุรกิจต่างๆ เป็นหลัก ผ่านรูปแบบการ Workshop ปฏิบัติจริง เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้บริหารที่ Transformation องค์กรจนประสบความสำเร็จ และการสร้างกลุ่ม Community ที่จะช่วยแชร์ประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อหาทางออกให้การ Transformation ประสบความสำเร็จในที่สุด

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

https://tenx.utcc.ac.th/
https://www.facebook.com/tenx.utcc


  • 210
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE