Post-Truth ยุคที่ความจริงสามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว

  • 148
  •  
  •  
  •  
  •  

ตอนนี้ทุกคนนั้นกำลังจับตากระแสนึงในอเมริกา นั้นคือกระแสชิงประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเอง ซึ่งมีผู้ท้าชิงตำแหน่งนี้คือ ฮิลลารี่ คลินตันและโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งนี้ทั้งคู่ได้ทำการหาเสียงและดีเบทกันอย่างมากมาย แต่เมื่อดีเบทนั้นทั้งคู่ได้กล่าวหาข้อมูลมากมาย ซึ่งสิ่งที่เกิดในอินเทอร์เนตจากสำนักข่าวและเว็บต่าง ๆ คือการเกิดการเช็คข้อมูลที่ผู้สมัครนั้นพูดออกมาว่าจริงหรือไม่จริง และนี้เองทำให้เกิดนิยามใหม่ของความจริงยุคนี้ที่เรียกว่า Post-Truth ที่จะมีผลมาถึงการตลาดในรูปแบบ Content Marketing อีกด้วย

screen-shot-2559-10-30-at-5-11-18-pm

Post-Truth นั้นถูกใช้ในการพูดถึงในวัฒนธรรมการเมืองมาตั้งแต่ยุค 2004 ซึ่งหมายถึงการพูดที่เริ่มกล่าวหาอีกฝ่ายและเริ่มมีการใช้อารมณ์ในการพูดจนไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนโยบาย และเป็นการพูดโดยการใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงหรือพูดความจริงแค่ครึ่งเดียวเพื่อหาประโยชน์ให้ตัวเอง ซึ่งในปีนี้เราจะเห็นได้ชัดจากการที่ผู้สมัครประธานาธิบดีนั้นต่างพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว โกหกหน้าตายหลอกประชาชนผ่านทางโทรทัศน์หรือการหาเสียงต่าง ๆ หรือออกมาแก้ตัวในสิ่งที่ทำผิดไปแบบไม่น่าเชื่อ ทั้งนี้ด้วยยุคนี้ที่มีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ในอินเทอร์เนต และสามารถค้นหาข้อมูลได้มากมาย ทำให้สามารถค้นหาความจริงได้อย่างรวดเร็วในขณะที่พูดได้ทันที เราจึงเห็นสื่อต่าง ๆ ในยุคนี้ที่ทำการตรวจสอบข้อมูลในรูปแบบที่เรียกว่า Fast Check อย่างทันที และทำให้ประชาชนเห็นว่าข้อมูลที่พูดนั้นจริงหรือไม่จริงได้ทันที

watch-this-exclusive-trailer-for-adam-curtis-new-documentary-hypernormalisation-1476097154-crop_mobile_400-png

ในยุคนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้บริโภคนั้นมีความรู้อย่างมากและดั้นด้นที่จะสืบหาความจริงว่าเกิดอะไรขึ้นในสิ่งที่อยากรู้ นอกจากนี้ก็ยังมีเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมายที่จะพยายามขุดหรือเสาะหาความจริงมาเล่าใน Digital ทั้งนี้ด้วยความรู้ที่มีมากมายเช่นนี้ การที่สื่อออนไลน์หรือแบรนด์ที่พยายามจะสื่อสารด้วยการทำ Content แล้ว ก็อาจจะสู้กับผู้บริโภคยุคนี้ไม่ได้เลยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นที่เห็นได้ชัดคือการทำข่าว PR ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ กับพวกผลิตภัณฑ์ที่ออกใหม่ในประเทศไทยที่คิดว่าผู้บริโภคคนไทยนั้นไม่รู้หรือไม่มีการอ่านข้อมูล ทั้ง ๆ ที่ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นข่าวมาอย่างมากมายในต่างประเทศมา หรือการที่ทำเนื้อหาโฆษณาหรือเนื้อหาบทความเกินจริงขึ้นมาโดยไม่คิดว่าผู้บริโภคนั้นรู้ความจริงในผลิตภัณฑ์หรือบริการเหล่านั้นมาก่อนมากมาย ทั้งนี้ยังมีกรณีที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์หรือการทำเนื้อหาในรูปแบบที่เรียกว่า Clickbait ที่ก่อนหน้านั้นได้ผลอย่างมากในการสร้างเนื้อหาที่ให้คนนั้นเข้าไปดูเนื้อหา แต่ในยุคนี้ทุกคนนั้นจับทางและเข้าใจแล้วว่าเนื้อหาในเว็บไซต์ที่ทำ Clickbait นั้นไม่ได้มีเนื้อหาที่คุ้มค่าต่อการอ่าน เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ที่เล่าเนื้อหานั้นมาตรง ๆ เลย เราจึงได้เห็น Facebook Page ในไทยที่ออกมาสรุปเนื้อหาใน Clickbait นั้นให้เลย

httpv://www.youtube.com/watch?v=DRlBr0ZEqec

ทั้งนี้ผู้บริโภคในตอนนี้กำลังพัฒนาไปในรูปแบบที่ต้องการความจริง หรือต้องการรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเองที่สามารถเพิ่มพลังหรือทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น  อย่าง Facebook Page ที่ชื่อ Unilad โดย Liam Harrington ผู้เป็น CEO นั้นใช้ Clickbait เป็นช่องทางให้ผู้อ่านเข้ามาที่เว็บไซต์หรือ Facebook อยู่ แต่แทนที่จะให้เนื้อหาที่ไร้สาระหรือไม่คุ้มค่าต่อการอ่าน ทีม Unilad จะให้เนื้อหาที่คุ้มค่าต่อการกดเข้ามาอ่านหรือได้รับความรู้ที่คุ้มค่าต่อการเข้ามาเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่ง Unilad บอกว่าถ้าเนื้อหานั้นไม่ดี ผู้คนจะออกจากเว็บไซต์หรือเนื้อหานั้นภายใน 2 นาที รูปแบบนี้เกี่วข้องกับเรื่อง Post-Truth อย่างมาก เพราะการไม่ให้เนื้อหาที่ผู้บริโภคต้องการที่คุ้มค่าต่อการเข้าไป ผู้บริโภคนั้นจะเข้าใจว่าเว็บไซต์หรือ Facebook นั้นกำลังโกหกอยู่ และเมื่อคุณทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเว็บไซต์คุณจะไม่มีคนเข้า เพราะผู้บริโภคนั้นไม่เชื่อในหัวข้อที่จะเข้าไปอ่านอีกต่อไปแล้ว จากการที่คนเข้ามาเว็บไซต์เยอะ ๆ หรือมีการอ่านเยอะ ต่อไปก็จะลดลงจนไม่เหลือเลย

screen-shot-2559-10-30-at-5-13-02-pm

ตอนนี้นั้นการเล่นกับความเชื่อใจผู้บริโภค หรืออย่าวัดใจ พนันกับความเชื่อใจของผู้บริโภคในการทำ Content Marketing นั้น เพราะไม่คุ้มค่าต่อการตลาดในระยะยาวที่จะทำ สิ่งที่ต้องทำอย่างมากคือความจริงใจ การให้พลังกับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีปัญญาหรือมีความรู้ ไขข้อสงสัยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพออกมา สิ่งสำคัญจากการมาถึงของ Post-Truth และ ‘post-fact’ นี้ทำให้รูปแบบการวัดของการสื่อสารการตลาดนี้ต้องเปลี่ยนไปด้วย จากการที่มาวัดว่ามี View, Traffic เท่าไหร่ ต้องมาวัดที่ว่ามี Engagement เท่าไหร่ หรือ Attention เท่าไหร่ เพราะสะท้อนถึงคุณภาพว่าผู้บริโภคเข้ามาอ่านเว็บไซต์นั้นจริง และจะมีแนวโน้มที่จะกลับมาอีกไหม

our-cover-this-week-looks-at-the-rise-of-post-truth-politics-politicians

ทั้งนี้การโกหกเพื่อจะทำการตลาดในยุคนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ต้องห้ามแล้ว การสร้างอะไรที่ล่อลวงเพื่อให้คนเข้ามาสู่เนื้อหาการตลาดนั้นก็ยังตกกระป๋องและน่ารังเกียจในสังคมที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาความจริงของเนื้อหานั้นได้จากแหล่งต่าง ๆ คนทำการตลาดในตอนนี้ต้องสร้างเนื้อหาที่จะสามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่าต่อการเข้ามาอ่าน หรือถ้าอยากให้แบรนด์น่าเชื่อถือในตอนนี้ก็ต้องเลิกทำเว็บไซต์ที่สร้างหัวข้อให้คนล่อลวงมาอ่าน หรือเลิกสนับสนุน Clickbait ที่เกิดขึ้นมา แล้วหันมาทำเนื้อหาคุณภาพ วัดว่าผู้บริโภคอยู่กับเว็บไซต์และมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อนั้นอย่างไรดีกว่า


  • 148
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ