เมื่อผู้บริโภคต้องการภาพความจริงและเรื่องราวที่รู้สึกว่าไม่ไกลตัว

  • 2.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

มีใครดูรายการออนไลน์มั้งไหมครับ หรือพวก Video Content ที่อยู่ในออนไลน์ทั้งหลาย มีหลาย ๆ คนดู และหลาย ๆ คนก็ติด โดยเฉพาะกลุ่มคนเล่นเกมที่ติดการดู Game Caster  ต่าง ๆ หรือดู VJ ในออนไลน์จาก Talktalk หรือ Video Content พวกนี้มากมาย (ไม่นับพวกเต้นเซ็กซี่ หรือเว็บพนันนะครับ) ทั้งนี้ทำไมคนถึงติดหรือชอบรายการเหล่านี้ และทำให้รายการเหล่านี้ดังขึ้นมาได้ มีคนติดตามเยอะมาก และมีการเติบโตของกระแสอย่างรวดเร็ว นั้นเป็นเพราะสิ่งที่เรียกว่า Real และ Authentic ในรายการเหล่านั้นนั้นเอง

talktalk-main-th

เมื่อ 7-8 ปีก่อนในยุคที่ youtube เข้ามาใหม่ ๆ นั้น วงการ Internter ไทยเกิดกระแสการทำ InternetTV โดยเทรนด์มาจากต่างประเทศที่มีรายการ InternetTV ในช่วงนั้น ซึ่งผมได้มีโอกาสทำในชื่อรายการ Duocore รายการในตอนนั้นจะมีรูปแบบคล้าย ๆ รายการทีวีหน่อย ๆ แต่จะมีการถ่ายทอดที่เรียกได้ว่าไม่เป็นทางการ จะใช้เวลาแค่ไหน เท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งจากรายการในช่วงเวลานั้นก็ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นแรก ๆ ที่ใช้อินเทอร์เนตอย่างมาก แต่เมื่อ Digital นั้นพัฒนาขึ้นมาผู้คนนั้นทำ content ขึ้นมาได้ รายการ InternetTV ก็ได้รับความนิยมที่น้อยลงไป และหายไปช่วงเวลาหนึ่ง จนเมื่อมี Facebook เข้ามาทำให้รายการที่ทำผ่านออนไลน์นั้นกลับมานิยมอีกครั้ง โดยครั้งนี้นั้นมีรูปแบบที่ไปจากเก่า ที่รายการ InternetTV ต้องพยายามมีความสุภาพ หรือไม่มีคำหยาบออกรายการ แต่ในตอนนี้เราจะเห็นรายการต่าง ๆ ที่สามารถพูดอะไรก็ได้ที่สังคมไม่กล้าพูดออกโทรทัศน์มาพูดออกรายการผ่านออนไลน์แทน

duocore

จากการที่ผู้บริโภคนั้นดูโทรทัศน์จะพบว่าในรายการโทรทัศน์นั้นทั้งพิธีกร หรือดารา หรือคนดังที่มาออกรายการนั้น ต่างต้องระวังตัวเองหรือมีฟอร์ม เพื่อรักษาภาพลักษณ์ไว้ เพราะมีเหมือนจรรยาบรรณต่าง ๆ คำ้คอ ซึ่งในอดีตนั้นผู้บริโภคจะไม่ได้มีพฤติกรรมที่เปิดกว้างต่อกระแสใหม่ ๆ หรือเรื่องราวสังคมใหม่ ๆ แบบในปัจจุบันนี้ ทำให้การมีภาพลักษณ์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นทำให้ผู้บริโภคนั้นเจอ Content มากมาย การที่เจอเช่นนี้ผู้บริโภครู้สึกว่า วัน ๆ เจอแต่ Content ที่สร้างภาพ หรือดูห่างไกลจากความรู้สึก หรือตัวเอง ยากที่จะเข้าใกล้หรือไปปฏิสัมพันธ์ด้วย เพราะในอดีตนั้นแบรนด์จะเป็นฝ่ายตั้งรับหรือคนดังจะเป้นฝ่ายตั้งรับ และผู้บริโภคนั้นต้องปฏิสัมพันธ์ไปหา ซึ่งพอเกิด Social Network การปฏิวัติทางการสื่อสารเลยเริ่มขึ้นเพราะผู้บริโภคมีพลังที่จะเสพ จะเลือกเนื้อหาที่ตัวเองรู้สึกเข้าถึงมากขึ้น เราจะได้เห็นแบรนด์จากที่นั่งในหอคอยงาช้าง ต้องลงมาปฏิสัมพันธ์ทำตัวเป็นเพื่อนคุยกับผู้บริโภค สร้างการสื่อสารหรือบทสนทนาขึ้นมา

Be-real-01-300x300

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้จาก InternetTV ในอดีต ก็เกิดรายการทางเลือกใหม่ ๆ ขึ้นมาในโลกออนไลน์ ที่สามารถจับความจริงที่ผู้บริโภครุ้ว่าเกิดขึ้น แต่สังคมไม่พูดกัน หรือการสื่อสารแบบเพื่อนฝูงในกลุ่มต่าง ๆ ทำให้รายการอย่าง เชฟหมี ที่ทำอาหารออกมาคนตืดกันกระจาย เพราะเป็นความจริงที่ผู้บริโภคนั้นทำกันอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน แต่ต้องมาไว้ฟอร์มเพื่อเสียภาพลักษณ์ พอมีคนมาทำรายการจี้จุดตรงนี้จึงชอบกัน หรือรายการของจอห์น วิญญูที่คนในช่วงแรกติดตามกัน เพราะเอาเรื่องในสังคมที่คนไม่กล้าพูด หรือประเด็นการเมืองมาขยี้ต่อเพื่อสื่อสารให้เห็นสิ่งที่คนไม่กล้าพูด แต่เอามาพูดออกรายการได้ออกมา และตอนนี้ก็มีรายการใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น Paloy’s Diary ที่มี The Boys & Paloy หรือ เที่ยว อยู่ ได้ ที่มีคนติดตามอย่างมาก เพราะรายการนี้สามารถเอาดาราที่เคยคิดว่าอยู่ไกล มีภาพลักษณ์ มาแสดงตัวตนจริง ๆ ที่เข้าถึงได้ คุยในประเด็นที่สังคมนั้นคุยกันอยู่ แต่ไม่ได้เคยได้มีใครเอามาพูดออกอากาศขึ้นมา แม้ว่าภาษาจะหยาบคาย แต่ก็เป็นภาษาที่ไม่ได้หยาบเกินไปในหมู่เพื่อนฝูงผู้ชายหรือกลุ่มเพื่อนคุยกัน (ซึ่งบางคนอาจจะรับไม่ได้ และถ้าหยาบกว่านี้ก็จะล้ำเส้นออกไป)

httpv://www.youtube.com/watch?v=9rSqel-hvm0&feature=youtu.be

httpv://www.youtube.com/watch?v=ro-2JWXXWQg

ทั้งนี้ผู้บริโภคนั้นได้เห็น Dark Issues ที่คนคุยกันในวงแคบ ๆ มาคุยกันออกรายการ เห็นความจริงที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หรือภาพที่เราไม่เคยเห้นมาก่อนของดารานั้น ๆ เรื่องราวที่ดาราเหล่านั้นไม่เคยเอาออกทีวีเพราะต้องมีภาพลักษณ์และกระบวนการ Censor กำกับไว้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกว่ารายการนี้หรือ Content เหล่านี้เหมือนอยู่กับเพื่อน เหมือนคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ไกล และก็เหมือนเรา ๆ ทุกคน ที่มีชีวิตมนุษย์ปกติ มีความจริงใจ และเข้าถึงได้อย่างง่ายมาก

20170119172944

ตัวอย่างเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีของแบรนด์ในยุคนี้ ที่มัวแต่รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร หรือภาพลักษณ์ที่ต้องดูดีเอาไว้ แต่ทำให้คนนั้นเข้าไม่ถึงหรือไม่อยากปฏิสัมพันธ์ด้วย เพราะอยู่ห่างไกลเกินความจริงของผู้บริโภค และต้องเอาไว้บนห้องเหล่านั้น แบรนด์ที่ดีต้องสามารถสร้างความรู้สึกเข้าถึงได้ แสดงความจริงใจของแบรนด์ออกมา สามารถทำให้ผู้บริโภคเข้ามาแซว สื่อสารได้ง่าย ๆ ออกไป เหมือนดังเช่นแบรนด์ KFC ในไทย ที่ทุกแบรนด์อยากจะเป็น แต่พอต้องทำก็จะติดเรื่องการทำภาพลักษณ์แบรนด์ต่าง ๆ เอาไว้จึงไม่สามารถทำให้ได้ผล


  • 2.1K
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ