เปิดสูตรสำเร็จเคล็ดไม่ลับ! เมื่อนักครีเอทีฟต้องกลายเป็นสุดยอดนักปรุงเปรียบเรื่องอาหารเท่ากับการสื่อสารผ่านวัฒนธรรมไทย VS ญี่ปุ่น

  • 288
  •  
  •  
  •  
  •  

 

 

ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับงาน ADFEST 2023 งานประกาศรางวัลสำหรับคนโฆษณาที่มีเหล่านักโฆษณารุ่นใหม่ นักการตลาด ครีเอทีฟ โปรดิวเซอร์ ตบเท้าเข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก นอกจากงานประกาศรางวัลแล้วยังมีเวทีสัมมนาถ่ายทอดความรู้ของคนโฆษณาทั้งไทย – เทศ ทั้งนี้ เอเจนซี่ไทยได้มีโอกาสเป็นทั้งสปีกเกอร์แบ่งปันความรู้และประสบการณ์หลายท่าน รวมถึง คุณภาคย์ วรรณศิริ Chief Creative Officer Wunderman Thompson Thailand ครีเอทีฟเลือดใหม่ไฟแรงดีกรี CCO ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของวันเดอร์แมนฯ กระทบไหล่กับ Mr. Takayuki Niizawa Chief Creative Officer at Wunderman Thompson Tokyo เจ้าของรางวัล ‘Creator of the Year’ จาก Japan Advertising Agencies Association ในปี 2014 บอกเล่าเรื่องราวการครีเอทโฆษณาผ่านสิ่งที่อยู่รวมตัวอย่างวัฒนธรรมอาหารในหัวข้อ Thai VS Japanese : Secret Recipe Of Creativity 

 

เรื่องอาหารกับการสื่อสาร คือเรื่องของการสร้างสรรค์ที่มาจากวัฒนธรรม  นักครีเอทีฟโฆษณามือฉมัง คุณภาคย์ และ Mr. Takayuki Niizawa เปิดหมัดต่อหมัดถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์เปรียบความครีเอทีฟเป็นรสชาติอาหารไทย VS ญี่ปุ่น ที่คุณปฎิเสธไม่ได้ ถ้าคุณเป็นนักครีเอทีฟโฆษณาที่เปรียบวัตถุดิบในการสื่อสารเป็นการปรุงอาหารง่ายๆ คุณอยากนำเสนออาหารแบบไหนให้ผู้บริโภค?

 

Best in Nature VS Fifty Shades of Spice ความธรรมชาติกับรสชาติที่หลากหลาย

Best in nature : วัตถุดิบจากธรรมชาติเป็นรสชาติที่ดีที่สุด ในประเทศญี่ปุ่นมองว่ารสชาติที่ได้รับการปรุงแต่งน้อยที่สุดคือรสชาติที่ดีที่สุด วัตถุดิบที่ดีอยู่แล้วจะทำให้อาหารจานนั้นได้รับรสชาติจากธรรมชาติโดยแท้ เมื่อนึกถึงญี่ปุ่น Mr. Takayuki Niizawa  กล่าวว่าผู้คนจะนึกถึงการ์ตูนอนิเมะ ที่เปรียบเหมือนรากเง้าและความเป็นธรรมชาติที่สุด ปฎิเสธไม่ได้ว่านักครีเอทีฟญี่ปุ่นหลายต่อหลายคนได้รับอธิพลการสร้างสรรค์ผลงานมาจากสิ่งเหล่านี้ เรื่องราวการหยิบจับอนิเมะผสมกับ AI จนกลายเป็นโฆษณาสุดเจ๋งที่มีวัตถุดิบชั้นดี มีความเป็นธรรมชาติที่ดีสุด เรื่องของส่วนประกอบ เป็นเรื่องที่นักครีเอทีฟญี่ปุ่นเรียนรู้ผ่านเรื่องนี้ได้เยอะมาก มีการใช้ AI ในการครีเอทีฟโฆษณาโดยการใช้ AI สร้างอนิเมะที่แต่งไม่จบจากนักเขียนชื่อดังที่เสียชีวิตไปแล้ว ปลุกอนิเมะให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งผ่าน AI ความเคารพของวัถุดิบเรื่องของการ์ตูน เรื่องที่น่าสนใจคือเรื่องของเทรน AI ของญุี่ปุ่นเรียนรู้จากอนิเมะด้วย The AI manga ที่สามารถทำงานเร็วกว่าคนมาก

 

 

Fifty Shades of Spice : เครื่องเทศคือหัวใจของการปรุงรสชาติอาหารให้เข้มข้นและมีรสชาติให้ถูกปากคนชิมได้ หลายคนคงทราบกันว่าความเผ็ดไม่ใช่เรื่องของรสชาติแต่คือความรู้สึก ลิ้นคนเรารับรู้ได้แค่ เปรี้ยว เค็ม ขม และหวาน แต่ความเผ็ดเป็นความเจ็บปวดที่ร่างกายต้องการ คุณภาคย์ได้เปรียบเทียบความเผ็ดกับการครีเอทีฟโฆษณา บอกเล่าว่าหลายคนที่ไม่ชื่นชอบการชมโฆษณาเพราะจืดชืด เพราะฉะนั้นการจะปรุงโฆษณาให้เป็นที่ชื่นชอบต้องมีรสชาติจัดจ้าน ถ้าอยากให้งานครบทุกรสชาติต้องใส่เครื่องเทศไปลงไป คุณภาคย์ได้ยกตัวอย่างงาน ภาพยนตร์ใน Netflix เรื่องมาร์โคส ที่ตัวของภาพยนตร์เองนั้นมีรสชาติเรื่องของความรุนแรง ยาเสพติด เรื่องทางเพศ ยากมากที่จจะผ่านตลาด แต่เพราะมันคือความเจ็บปวดสามารถแปลงสารเหล่านั้นให้กลายเป็นเรื่องราวใหม่ จนกลายเป็นแคมเปญ มาร์โคส ซึ่งตัวแคมเปญมาร์โคสซ่อนความฉลาดภายใต้ความบ้า เป็นเรื่องของรสชาติใหม่ให้กับผู้ชม

 

 

The spirit of hospitality VS Keep it “Weird and Exotic เล่าเรื่องราวผ่านธูป ครีเอทีฟจากธูปเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน

The spirit of hospitality : จิดวิญณาญแห่งการต้อนรับขับสู้ของญี่ปุ่น จิตวิณญาณของการเป็นมนุษย์ในแดนปลาดิบคือการดูแลเอาใจใส่ การเคารพความรู้สึกของกันและกัน คนญี่ปุ่นมองว่าสิ่งเหล่านี้คือความจำเป็นในการใช้ชีวิต อย่างเรื่องของเมนูข้าวผัดที่คนญี่ปุ่นพิถีพิถันตั้งแต่ในคัดเมล็ดข้าวให้เท่ากันทุกเม็ด นั่นการแสดงออกถึงการใส่ใจของคนญี่ปุ่น Mr. Takayuki Niizawa ได้ถ่ายทอดเรื่องการเคารพ ความรัก ความใส่ใจ ผ่านตัวอย่างผลงานโฆษณาบอกเล่าการสูญเสียคนในครอบครัวโดยใช้การจุดธูปเป็นสื่อกลางในการเคารพบรรพบุรุษ เป็นการสร้างผ่านลายเส้นผ่านธูปแห่งความทรงจำ  เป็นเรื่องราวการสูญเสียที่เล่าผ่านธูปที่เป็นสิ่งสำคัญในการจุดเพื่อระลึกถึงคนที่จากไป สื่อให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นมีการเคารพต่อคนรอบข้างมาก การเล่าเรื่องที่อิมแพคในแง่ของ ความรัก การเคารพ การใส่ใจ ที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกคน

 

 

Keep it “Weird and Exotic : เอาความแปลกเข้าว่า คุณภาคย์ เล่าว่าต้องทำให้แปลกเพื่อสร้างสีสัน ชาวเอเชียเก่งในเรื่องของความแปลก และเชื่อพลังของ WTF ความอิหยังวะที่สามารถนำมาปั้นให้เป็นคำถามที่แปลกแหวกแนวและเป็นไวรัล มีความแปลกของวัฒนธรรมที่สามารถหยิบจับมาได้ แคมเปญธูป KFC เป็นธูปกลิ่นไก่ทอด บรรพบุรุษจะต้องได้กลิ่นไก่ทอด จะได้การเชื่อมโยงกันของคนในครอบครัว สื่อถึงการต้มไก่ที่ต้องเชื่อมโยงบรรพพบุรุษกับการกราบไหว้ เหมือนกันรอคอยมื้ออาหาร การใช้ส่วนประกอบเหมือนกันแต่รสชาติที่ต่างกัน

 

 

UMAMI VS Magic is on the Street!  ความมหัศจรรย์ของรสชาติโฆษณา

UMAMI : ความกลมกล่อมเป็นรสชาติที่ดีที่ทีสุดในความหมายของญี่ปุ่นจริง ๆ แล้วมาจากปลาแห้ง สาหร่ายแห้ง สิ่งเหล่านี้มาจากสิ่งเดิมๆ ปกติที่มีความยูนีคเราจะเจอสิ่งแหล่านี้ในอาหหารของญี่ปุ่นเกือบทุกจาน Mr. Takayuki Niizawa บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างโฆษณาที่มีพื้นฐานของความกลมกล่อม เป็นเรื่งองของการตระหนักรู้ถึงการมองสิ่งต่าง ๆ ให้ลึกขึ้นอย่างกรสร้างผลงานที่เกี่ยวกับสัตว์ให้เกิดเป็นเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือมูลนิธิที่ทำงานเกี่ยวกับสุขัน ผ่านไอเดียการสร้างผลงานศิลปะที่ฉี่ของสุนัขเพื่อทำเงินเป็นโครงการที่ยังมีอยู่ถึงปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่น

 

 

 

Magic is on the Street! : ความมหัศจรรย์อยู่บนถนน การโฆษณาต้องมีความเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนถนนไม่ได้อยู่แค่ถนนเท่านั้น การที่โลกเมกะเทรนด์แต่โลกยังต้องการประสบการณ์สัมผัสได้ หากคนต้องการอาหารไทย สตรีทฟู๊ดคือเรื่องที่คุณจะสัมพัสได้ โฆษณาต้องทำให้คนรู้สึกว่าสัมผัสได้ไม่ใช่แค่สร้างขึ้นมาเฉย ๆ เรื่องของการเปิดตัว มัมนี่ ไฮค์ปล้นเดือดกลางกรุง การใช้สื่อ OFH ใช้การปล้นป้าย คีเวิร์กคือการปล้นกลางกรุง ป้ายนี้เราปล้นแล้ว คุณภาคย์เล่าว่าเป็นการทำงานผ่านการคุยกับแบรนด์ต่าง ๆ กว่า10 เจ้าเพื่อทำผลงานนี้เป็นรูปเป็นร่าง

 

 

 

สุดท้ายแล้วทุกอย่างสามารถฉายภาพว่าอาหารเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับคน อย่างคนเอเชียจะมีคำทักทายว่า “ทานข้าวมาแล้วยัง” แสดงถึงความเป็นห่วงเป็นใย การแสดงความห่วงใยนั้นเหมือนกับการบริการลูกค้า ที่นักครีเอทีฟต้องเป็นผู้ฟังที่ดีสร้างสรรค์จากสิ่งที่ลูกค้าบอกให้กลายเป็นอาหารหนึ่งจาน แน่นอนว่าเรื่องของอาหารนั้นมีทั้งอร่อยที่ไม่อร่อย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของคนโฆษณาคือการสร้างงานโฆษณาที่ทำให้คนหิวได้ตลอดเวลา


  • 288
  •  
  •  
  •  
  •