เปิดช่องทางการขายใหม่ Yellow เครื่องมือล่าสุดจากความร่วมมือของ AIS SME และ FTI ที่ช่วยให้ขายสินค้าได้ง่ายผ่านรูปแบบ Matching

  • 326
  •  
  •  
  •  
  •  

[บทความนี้เป็น Advertorial]

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อโลกก้าวข้ามผ่านสถานการณ์ใหญ่อย่างโรคระบาดมา โลกทั้งใบก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่ม SME และเทคโนโลยียังมีส่วนอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายภาครัฐอย่างการใช้ PromptPay ในการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโครงการภาครัฐผ่านแอปฯ เป๋าตังและถุงเงิน

นอกจากนี้ตลาดยังเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้ง่ายผ่านรูปแบบ Omnichannel ซึ่งธุรกิจ SME ที่มองเห็นเทรนด์และสามารถขึ้นขบวนได้ทันก็สามารถเติบโตได้ในภาวะวิกฤติ ขณะที่หลายธุรกิจที่ขึ้นขบวนไม่ทันก็ใช้โอกาสนี้ในการ Transformation ธุรกิจเพื่อไม่ให้ตกขบวน ยิ่งเมื่อ Customer Journey เปลี่ยนไปธุรกิจที่เข้าถึงผู้บริโภคแบบถูกที่ ถูกเวลาก็จะช่วยให้สามารถสร้างรายได้อย่างมาก

 

 

เทรนด์เทคโนโลยีที่ SME ต้องจับตา

เพื่อให้ธุรกิจ SME สามารถเดินหน้าบนความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี AIS SME จึงได้คาดการณ์ถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่ธุรกิจ SME ยังต้องโฟกัสอย่าง การทำการตลาดแบบ Digital Marketing แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล (Data) ที่ธุรกิจควรจะต้องจัดเก็บเองเพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่ที่ธุรกิจของผู้ประกอบการ และการเลือกใช้ e-Commerce แพลตฟอร์มที่ช่วยต่อยอดธุรกิจและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและตลาดที่มีความต้องการตรงกัน

 

เจาะ 4 กลุ่ม SME ไทยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

เมื่อกลับมาดูภาพรวมธุรกิจ SME ไทย พบว่าหลายธุรกิจยังเข้าถึงช่องทางด้านเทคโนโลยีได้น้อย และด้วยประสบการณ์ที่ AIS SME ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจ SME ที่ต้องการเข้าถึงเทคโนโลยีออกได้ 4 กลุ่มหลัก ประกอบไปด้วย ภาคการค้า (Commerce), ภาคการผลิต (Manufacturing), ภาคบริการ (Service) และภาคเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Digital) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันหรือกลุ่ม Tech Startup

ทั้ง 4 กลุ่มมีความสำคัญต่อธุรกิจของไทย โดยภาคการค้ามีจำนวนถึง 33% ของธุรกิจไทยและมากกว่า 1 ล้านรายเป็นผู้ค้าออนไลน์ ด้านภาคการผลิตมีจำนวนถึง 13% ของธุรกิจไทย ขณะที่ภาคบริการมีจำนวนสูงสุดถึง 53% และบริษัทที่ทำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลปัจจุบันมีมากกว่า 40,000 บริษัท ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจมีความท้าทายของธุรกิจ (Business Challenge) ที่แตกต่างกัน

อย่างในภาคการค้าที่ต้องการช่องทางการขายโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่จะช่วยให้สามารถติดต่อลูกค้าได้ง่ายสะดวก ขณะเดียวกันต้องสามารถลดต้นทุนได้ด้วย ขณะที่ภาคการผลิตต้องการหาช่องทางตรงส่งถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง รวมไปถึงการหาช่องทางใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและสะดวก ด้านภาคบริการต้องการการบริหารจัดการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ และกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลต้องการโอกาสเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้

 

Yellow ช่องทางใหม่ ช่วยให้ SME ปิดการขายง่ายขึ้น

และเพื่อให้กลุ่มธุรกิจภาคการค้าและภาคการผลิตที่มองหาช่องทางใหม่ๆ ในการเข้าถึงมือลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่ม B2B นั่นจึงทำให้ AIS SME เปิดตัวแพลตฟอร์ม Yellow โดยร่วมมือกับหน่วยงานสำคัญอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) แพลตฟอร์ม B2B2C e-Marketplace ที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้สามารถรองรับการค้าขายทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C อย่างครบวงจร

 

 

จุดเด่นของ Yellow เกิดจากการนำ pain points ที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการ เรื่อง e-marketplace ที่ไม่ตอบโจทย์คนทำธุรกิจ B2B หรือแม้แต่การติดต่อซื้อขายที่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้ปิดดีลยาก หรือได้ราคาสินค้าที่ไม่สมเหตุสมผล สิ่งเหล่านี้ทำให้แพลตฟอร์ม Yellow ถูกพัฒนาขึ้นโดยเปิดโอกาสให้ธุรกิจ SME สามารถพบปะโดยตรงอย่างอิสระระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทั้งรายใหญ่และรายเล็กได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่าน www.yellow.co.th โดยผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าและบริการได้ง่ายๆ ที่พิเศษยิ่งกว่านั้น Yellow เป็นแพลตฟอร์มที่มีระบบ Matching โดยผู้ซื้อสามารถโพสต์ความต้องการสินค้าหรือบริการ (RFQ Marketplace) โดยจะมีการส่งแจ้งเตือนไปยังผู้ขายที่มีสินค้าตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ

ระบบดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องรอว่าจะสามารถขายสินค้าได้เมื่อไหร่ เมื่อมีการแจ้งเตือนแล้ว ผู้ขายจะสามารถติดต่อหาผู้ซื้อได้โดยตรงและเสนอราคาได้ทันที โดยกระบวนการทั้งหมดจะดำเนินการบนช่องทางแชท และสามารถปิดการขายผ่านช่องทางแชทได้ นอกจากนี้แพลตฟอร์มยังมีบริการที่ครบวงจรไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งหรือระบบชำระเงิน ภายใต้ระบบความปลอดภัย (Security) ที่ AIS เป็นผู้ดูแล

 

Yellow มอบสิทธิพิเศษก่อนใครสำหรับ SME

ซึ่งการที่ FTI (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ได้เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร จะช่วยให้ธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ FTI  สามารถใช้บริการนี้ได้ด้วยข้อเสนอพิเศษ เริ่มต้นจากการที่ SME สามารถใช้บริการได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียมการขายบนแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมีทีมให้คำปรึกษาที่เข้ามาช่วยให้ SME สามารถเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์มได้อย่างสมบูรณ์

สำหรับธุรกิจ SME ที่เข้ามาใช้บริการบนแพลตฟอร์ม Yellow สามารถรับสิทธิพิเศษมากมายไม่ว่าจะเป็น ฟรีค่าธรรมเนียมการขายบนแพลตฟอร์ม สามารถลงขายสินค้าได้ฟรีถึง 10 SKUs สามารถสมัครใช้บริการ RFQ ได้ฟรีถึง 3 หมวดหมู่สินค้า และสามารถเสนอราคาบน RFQ ได้ฟรีถึง 10 RFQ ต่อเดือน โดยสิทธิพิเศษเหล่านี้ครอบคลุมถึงทุกธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลทุกประเภท

และสำหรับธุรกิจ SME ที่เป็นสมาชิกของ FTI จะได้รับสิทธิพิเศษที่มากขึ้นไปอีก นอกจากฟรีค่าธรรมเนียมการขายบนแพลตฟอร์มแล้ว ยังสามารถลงขายสินค้าฟรีได้มากถึง 15 SKUs สามารถสมัครใช้บริการ RFQ ได้ฟรีมากสุดถึง 10 หมวดหมู่สินค้า และสามารถเสนอราคาบน RFQ ได้ฟรีได้มากถึง 30 RFQ ต่อเดือน โดยสิทธิพิเศษเหล่านี้เป็นความร่วมมือของ AIS และ FTI

 

ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจแพลตฟอร์ม Yellow สามารถดูรายละเอียดและสมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครได้ที่

🌐 www.yellow.co.th

☎️ 02-262-8844

✉️ support@yellow.co.th

 

กางแผนกลยุทธ์ความร่วมมือฉบับ AIS

ความร่วมมือระหว่าง AIS และ FTI ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ AIS เรื่อง Ecosystem Economy ที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจแบบร่วมกัน ที่เรียกว่า  Cross Industries Collaboration

และอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่อยากเล่าให้ฟัง คือเรื่อง Digital Intelligence Infrastructure เพราะ AIS เชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดี จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปต่อได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านบริการ 7S โดยแบ่งเป็นการให้บริการพื้นฐาน 4 บริการหลัก ทั้งในเรื่องการให้บริการมือถือ อินเทอร์เน็ต Digital Marketing และ IT & Digital Solution ต่างๆ ขณะที่ยังมีอีก 3 บริการเสริมเพื่อSME โดยเฉพาะทั้งเรื่องของ e-Service และ Privileges สำหรับ SME รวมถึง Strategic Partnership ที่เน้นไปที่กลุ่ม Tech Startup ทำให้ผลจากการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวช่วยให้บริการด้านมือถือเติบโตปีละกว่า 3.5%

 

 

ชี้ให้เห็นว่า SME ไทยยังสามารถเติบโตได้ ขณะที่บริการด้านอินเทอร์เน็ตเติบโตถึง 25% ส่วนด้านบริการ Digital Marketing และ IT & Digital Solution ต่างๆ เติบโตอยู่ราวๆ 30%-40% เมื่อมาดูด้านบริการเสริมจะพบว่า บริการ e-Service มีผู้ใช้บริการราว 58% โดยมีพันธมิตรที่เข้าร่วมกับ AIS SME แล้วมากกว่า 95 รายทั้งในด้านการฝึกอบรมและทดลองใช้บริการต่างๆ

โดยปัจจุบัน AIS SME ได้ส่งมอบสิทธิพิเศษให้กับ SME ที่เป็นสมาชิก AIS BIZ UP ไปแล้วกว่า 1.76 แสนราย ชี้ให้เห็นได้ชัดว่ากลยุทธ์ด้านบริการ 7S สามารถเข้าไปช่วยธุรกิจ SME ได้ ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี Cloud ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น หรือการนำเทคโนโลยี Cloud มาใช้ในการบริหารจัดการภายในธุรกิจ ช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

 

 

เป็นการส่งสัญญาณให้กลุ่มธุรกิจ SME เตรียมความพร้อมรับการแข่งขันที่จะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ รวมไปถึงการหาโอกาสและช่องทางใหม่ๆ ในการเข้าถึงลูกค้า ที่นอกจากจะช่วยสร้างความประทับใจยังเป็นการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ SME ในยุคดิจิทัล

 

AIS SME พร้อมอยู่เคียงข้างธุรกิจ SME ให้เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน สแกนเลยเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใคร!

 

รายละเอียดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก AIS SME-> https://m.ais.co.th/WxHYV8xFB

 

AIS SME เพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่อง SME

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th
Website AIS SME :  https://m.ais.co.th/n1HeyrJIq

 

#พร้อมเคียงข้างทุกธุรกิจSME #เพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่องSME #AISSME2023 #AISSME #SME #เอสเอ็มอี #เติบโตอุ่นใจไปด้วยกัน #EcosystemEconomy #เศรษฐกิจดิจิทัล #AISBusiness #7S #Yellow #BizUp #TheStartUp #AISPoints #MarketingOops

[บทความนี้เป็น Advertorial]


  • 326
  •  
  •  
  •  
  •