“ดีแทค” สร้างพาร์ทเนอร์ด้านสื่อสาร พัฒนา “Content Creator” รุ่นใหม่ ปั้นคอนเทนต์คุณภาพ-โตอย่างมั่นคง

  • 859
  •  
  •  
  •  
  •  

dtac accelerate Creator1

ทุกวันนี้ทุกคนสามารถมี “สื่อ” ของตัวเองบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เกิด “Content Creator” มากมายทั่วโลก กลายเป็นอาชีพที่ใครหลายคนอยากเดินทางบนเส้นทางสายนี้ แต่เป็นที่ทราบดีว่าการเป็น “Content Creator” นั้นไม่ยาก แต่การเป็น “Content Creator” ที่แจ้งเกิด และเติบโตในอาชีพนี้ได้อย่างยั่งยืน คือสิ่งที่ยากหลายเท่า !!

จะเห็นได้ว่า “นักสร้างสรรค์คอนเทนต์” ที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่ต้องฝ่าฟันอุปสรรค และใช้ความอดทนมหาศาล ลองผิดลองถูกนับครั้งไม่ถ้วน และที่สำคัญต้องมี “ตัวตน” ที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน บวกกับมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะนับวัน “Content Creator” จะยิ่งมีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้คน และสังคม

dtac accelerate Creator2

พัฒนา “Content Creator” เป็นส่วนหนึ่งของ Ecosystem

เพราะเล็งเห็นว่าต่อไป “Content Creator” บนออนไลน์ จะยิ่งมีบทบาททั้งต่อแบรนด์ – ผู้บริโภค – สังคมมากขึ้น ในปี 2561 “dtac” จึงริเริ่มโครงการ “dtac Accelerate Creator” Season 1 เพื่อสนับสนุนความฝันของคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนักสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบ “วิดีโอ” ที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ และต่อยอดสร้างเครือข่ายอาชีพ “Content Creator” ผ่านการสนับสนุนจากพันธมิตรหลากหลายทั้งจาก “YouTube” ในเครือ Google

ขณะเดียวกัน “dtac” มองว่าต่อไป “Content Creator” จะเป็นส่วนสำคัญของ Ecosystem ในการเข้าถึงและเชื่อมต่อกับผู้บริโภคในแต่ละเซ็กเมนต์ เนื่องจากทุกวันนี้ผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์ซับซ้อนขึ้น และพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคจะเป็น Multi-screen

dtac accelerate Creator3

ดังนั้น สื่อแต่ละประเภทมีบทบาทต่างกัน จึงต้องผสานการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดย “โฆษณาสื่อทีวี” มีหน้าที่สร้าง Brand/Product Awareness ให้คนในวงกว้างเห็น รู้จัก และตอกย้ำถึงการดำรงอยู่ในตลาด ในขณะที่ “แพลตฟอร์มออนไลน์” ทำให้แบรนด์เข้าถึงและพูดคุยผู้บริโภคแต่ละ Segmentation ได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

“การสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ “dtac” ได้ทดลองวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ โดยเมื่อต้นปีนี้ ได้ทำงานร่วมกับ “YouTuber” ผลปรากฏว่าทำให้คนดูรู้สึกอินไปกับคอนเทนต์ และฟังเรามากขึ้น จึงอยากต่อยอดให้เป็นมากกว่าการร่วมงานกับ YouTuber เป็นครั้งคราว” คุณพิพัฒน์ ศรีมัธยกุล ผู้อำนวยการฝ่าย Social Engagement บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ฉายภาพแบรนด์ปรับตัวรับพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป และการทำงานร่วมกับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์

dtac accelerate Creator4

ประกอบกับมี Learning Success โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ “dtac accelerate” ที่ ดำเนินงานมาเป็นปีที่ 6 ประสบความสำเร็จในการผลักดัน Startup Ecosystem ให้เติบโตและก้าวสู่ความเป็นสากลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถปั้นสตาร์ตอัพ 46 ทีม ให้เป็นนักรบเศรษฐกิจในยุคไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลดีต่อภาพรวมวงการสตาร์ทอัพ และแบรนด์ จึงได้นำแนวคิดดังกล่าว มาพัฒนาเป็นโครงการสนับสนุน “Content Creator” โดยมี “YouTube” เป็นพันธมิตรร่วมสนับสนุนโครงการนี้ และสร้างชุมชนนักสร้างคอนเทนต์ เพื่อร่วมกัน Co-creation คุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า

“Ecosystem สตาร์ทอัพของ dtac แข็งแรงมาก นั่นคือแรงบันดาลใจที่ผมเลือกเอาแพลตฟอร์ม dtac startup accelerate มาประยุกต์ใช้กับ Content Creator โดยเราอยากสร้าง Community แบบนั้น เพราะสิ่งสำคัญของการทำแบรนด์ หรือการสร้างองค์กรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในยุคนี้ หมดยุคของการเดินไปข้างหน้าคนเดียวแล้ว

ยุคนี้คือ dtac อยากทำมากกว่า Content Marketing แต่ขยายไปสู่การหาพาร์ทเนอร์ที่ใช่ และสร้างการมีส่วนร่วม หรือ Co-creation เพื่อสร้างบรรยากาศของแบรนด์ที่คนรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบรนด์ด้วยกัน ซึ่งเป็นทิศทงาของ dtac ที่มุ่งสร้างการทำงานรูปแบบ Co-create กับพาร์ทเนอร์ และช่วยกันสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า”

dtac accelerate Creator5

“Content Creator” นักเล่าเรื่องที่เข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

ในทรรศนะของ คุณพิพัฒน์ มองว่า บทบาทของนักสร้างคอนเทนต์ คือ “Storytelling” ที่สร้างความรู้-ความเข้าใจผลิตภัณฑ์ แบ่งปันประสบการณ์ และกระตุ้นให้คนอยากลองสินค้า เพราะ Content Creator อยู่ใกล้ชิดกับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของเขา ให้ความสำคัญ และมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนดูต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้เป็น Value ของนักสร้างสรรรค์คอนเทนต์

“วิธีการทำงานกับ Content Creator แบรนด์จะเลือกบทบาทที่เหมาะสมในการเป็นส่วนหนึ่งของ Creator ไม่ใช่เปลี่ยนให้ Creator มาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ เพราะฉะนั้นจะไม่ใช่การให้โจทย์ แล้วให้ไปทำตามโจทย์ แต่เราจะบอกว่าต้องการอะไร แนวคิด-คุณสมบัติ หรือข้อดีของโปรดักต์ เพื่อให้ Content Creator ช่วยหาวิธีเล่าเรื่องให้เหมาะกับกลุ่มผู้ชมของเขา โดยคอนเทนต์ยังต้องเป็นตัวตนของ Creator คนนั้นๆ

เราเชื่อว่าการทำงานกับ Content Creator โดยยังให้เขาเป็นตัวตนของเขาเอง ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากับทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่กับแบรนด์ เพราะเมื่อไรที่เขาสูญเสียตัวตน เท่ากับเขาสูญเสียฐานคนดู ขณะเดียวกันคนดู ก็จะได้คอนเทนต์ไม่สนุก ขณะที่แบรนด์เอง ก็ไม่ได้อะไรเลย เพราะฉะนั้นต้องหา Content Creator ยังคงความเป็นตัวตนที่มีเอกลักษณ์ และเราหาบทบาที่เหมาะไปอยู่ในคอนเทนต์ของเขา แล้วทุกคนจะ Win-Win”

ติวเข้ม-ลงมือทำวิดีโอจริงกับ Content Creator เบอร์ใหญ่ของไทย

หลังจากแถลงข่าว และเปิดตัวโครงการ “dtac Accelerate Creator” อย่างเป็นทางการ ผลปรากฏว่ามีคนรุ่นใหม่สมัครกว่า 500 คนภายในเวลากว่า 1 เดือน ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม โดยตลอดทั้งหลักสูตร ทาง “dtac” สนับสนุนทั้งค่าเรียน ค่าอาหาร และพาไปดูงาน

จากนั้นทาง “dtac” ทำการคัดเลือกให้เหลือจำนวน 16 ทีมเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp 5 สัปดาห์ 6 คลาสเรียน โดยสัปดาห์สุดท้าย หรือคลาสที่ 6 ให้แต่ละทีมนำเสนอผลงานปิดท้าย ตามที่แต่ละทีมได้รับโจทย์ 4 เรื่องแตกต่างกัน ได้แก่ โจทย์ dtac Reward / โจทย์ dtac Jaidee ให้ยืมเน็ต / โจทย์ dtac Turbo / โจทย์ dtac SME เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการลงมือถ่ายทำ-ตัดต่อจริง ออกมาเป็นชิ้นงาน ผ่านโจทย์จริงจากแบรนด์

dtac accelerate Creator6

โดยมีโค้ช 4 คน ที่เป็น Content Creator บนช่อง YouTube เบอร์ต้นๆ ของไทย คือ #CoachPleum (VRZO), #CoachSoft (SoftPomz), #CoachGino (The Snack), #CoachBuffet Channel มาให้ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาให้น้องๆ ที่ร่วมโครงการ ในรูปแบบให้ guideline จากประสบการณ์ที่เคยทำ โดยไม่ชี้นำในเรื่องไอเดียหลัก หรือ storytelling หลัก เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุด และยังคงความเป็น “ตัวตน” ของแต่ละทีม

dtac accelerate Creator7

dtac accelerate Creator8

และในระหว่าง Boot Camp ทั้ง 16 ทีมได้มีโอกาสเข้าร่วม “YouTube Pop-up Space” ที่จัดขึ้นในต่างประเทศ และทาง YouTube นำมาจัดที่ไทย โดยน้องทั้ง 16 ทีมได้มีโอกาสเยี่ยมชมงาน YouTube Pop-up Space พร้อมทั้งเข้าคลาส Basic Production และร่วมกิจกรรม Networking ใน Music Industry Night

“เราเป็นพาร์ทเนอร์กับ YouTube จึงขอพาน้องทั้ง 16 ทีมเข้าไปเยี่ยม YouTube Pop-up Space เพื่อน้องๆ จะได้เห็นการทำงานของมืออาชีพ และได้พบปะ YouTuber ชั้นนำ ขณะเดียวกันมีกิจกรรม One Day with Coach ให้น้องๆ ไปอยู่ที่สตูดิโอของโค้ช ไปดูพี่ๆ ทำงาน และเอาโจทย์ไปปรึกษา ให้พี่ๆ โค้ชช่วยคอมเมนต์”

และหลังจากที่น้องทั้ง 16 ทีม ผ่านการเรียนรู้มาตลอด 5 สัปดาห์ ในคลาสที่ 6 เป็นคลาสปิดท้าย ที่เปิดโอกาสให้น้องๆ นำเสนอผลงานคอนเทนต์จากโจทย์ที่ได้รับต่อหน้าคณะกรรมการ พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ – เรื่องราว Inspiration จากการทำงานจริงของโค้ช และรับมอบ Certificate ฉลองจบโครงการ

“สิ่งสำคัญต่อไปนี้ คือ “Collaboration” น้องๆ ทั้ง 16 ทีมนี้ จะโตคนเดียวไม่ได้ ต้องช่วยกัน ต้องทำงานร่วมกับคนอื่น หรือแม้แต่โค้ชเอง ยังคงเป็นส่วนสำคัญหลังจากนี้เช่นกัน เพราะ Connection ที่เกิดขึ้น ไม่ได้จบแค่เข้าแคมป์ เมื่อน้องๆ รู้จัก และสนิทกับโค้ชแล้ว โค้ชเห็นศักยภาพของบางาที ก็ชวนไปทำงานด้วย ทุกคนพร้อมให้โอกาส Content Creator รุ่นใหม่

อย่าง “dtac” หลังจากจบโครงการปีนี้ เราพร้อมจะจ้างงานน้องๆ ที่มีศักยภาพ โดยเราเป็น “ผู้ว่าจ้าง” ส่วนน้องๆ เป็น “ผู้รับจ้าง” นั่นหมายความว่าน้องๆ จะได้ค่าตอบแทน เพื่อให้มีรายได้ และพาร์ทเนอร์ของ dtac ที่สนใจน้องๆ ใน 16 ทีมนี้ ก็สามารถจ้างงานได้ หรือถ้าน้องคนไหนที่ยังไม่พร้อม เราจะดูว่าต้องเติม หรือเสริมทักษะด้านไหน เพื่อให้น้องเป็น Content Creator ที่แข็งแรงขึ้น”

Season 2 เข้มข้นขึ้น !! พร้อมผลักดันให้เป็นโครงการฯ ที่นักสร้างคอนเทนต์ไทยนึกถึง

คลาสที่ 6 ซึ่งเป็นวันปิดท้ายโครงการปีนี้ “อเล็กซานดรา ไรช์” CEO ดีแทค ได้เดินทางมาดูบรรยากาศน้องๆ นำเสนอผลงาน พร้อมทั้งพูดให้กำลังใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า dtac ให้ความสำคัญกับการพัฒนา Content Creator ในไทย

“ตั้งแต่ดิฉันเดินทางมาทำงานที่ไทย ได้รับแรงบันดาลใจมากมาย เพราะเมืองไทยเป็นประเทศที่มีนักสร้างสรรค์จำนวนมาก ซึ่งเราหวังว่าจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับนักสร้างสรรค์ และน้องๆ คนรุ่นใหม่ หลังจากการจัดโครงการ “dtac accelerate Creator” ปีนี้เป็นปีแรก เราจะไม่หยุด และทำโครงการนี้ต่อไป”

dtac accelerate Creator9

นี่เป็นสัญญาณที่ดีว่า “dtac” พร้อมสานต่อโครงการ “dtac accelerate Creator” อย่างต่อเนื่อง และเข้มข้นขึ้นอย่างแน่นอน โดยเป้าหมายระยะยาว มุ่งผลักดันโครงการนี้ให้เป็น 1 ใน 3 Top of Mind Brand ที่นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทยนึกถึงในฐานะที่เป็นโครงการให้โอกาส และช่วยพัฒนาศักยภาพ

โดยปีแรกของการจัดโครงการนี้ ถือเป็นการเรียนรู้ และทดลอง เพื่อศึกษาดูว่ามีสิ่งไหนที่ต้องนำไปพัฒนาปรับปรุงสำหรับจัดขึ้นในปีต่อๆ ไป ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อในระยะยาว “dtac accelerate Creator” จะเป็นหนึ่งในโครงการที่นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ทั่วฟ้าเมืองไทยนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ของการเป็นโครงการที่สนับสนุนนักสร้างคอนเทนต์

dtac accelerate Creator10

“โอกาส – ประสบการณ์ – Connection” สิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ !!

16 ทีมที่ผ่านมาเข้ามาถึงรอบ Boot Camp ถึงแม้จะไม่ได้มีประสบการณ์เท่ากัน แต่ทุกคน ทุกทีม มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาต่อได้ เช่น ทีม “SK Casting” สองพี่น้อง “ฉัตร์ชัย – สุดารัตน์ สอนการ” ใช้ชีวิตอยู่ที่สวีเดน เมื่อเห็นข่าวเปิดรับสมัครโครงการ “dtac accelerate Creator” ไม่รีรอที่จะสมัคร และเมื่อผ่านการคัดเลือกติด 1 ใน 16 ทีม ก็เดินทางกลับมาไทย เพื่อร่วมโครงการนี้

นับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของพี่น้องคู่นี้ เพราะทั้งคู่ต่างมีภารกิจของตัวเองอยู่แล้วที่สวีเดน แต่ทั้งคู่เลือกที่จะเดินตามความฝันในการเป็น Content Creator

dtac accelerate Creator11

โดยผลงานนำเสนอปิดท้าย ได้โจทย์ “dtac Turbo” ทำคอนเทนต์รีวิว “Cinnamon Buns” ในไทย เพื่อตามตัวที่มีรสชาติใกล้เคียงกับที่สวีเดน เพราะเป็นหนึ่งในขนมยอดนิยมของที่นั่น พร้อมให้เกร็ดความรู้ขนมปังชนิดนี้ และหลังจบโครงการ สองพี่น้องจะเดินทางกลับสวีเดน และมีแผนกลับไปพัฒนาช่อง “SK Casting” ให้คอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์ บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนทั้งคู่ โดยอยากนำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ และบ้านเมืองของทั้งสวีเดน และเมืองไทย เพื่อแลกเปลี่ยน และนำเสนอมุมมองที่กว้างขึ้นให้กับคนดู

ทีม SK Casting :

httpv://www.youtube.com/watch?v=kzBVpfH2Dks

อีกทีม คือ “The Ploy” การรวมตัวกันของเพื่อน 3 คน “บวรลักษณ์ สมรูป” (พลอย) – “ภัทรรัชต์ มีชาญเชาว์” (ต้น) – “สุรวิชญ์ จีรังกาลกุล” (แม็ก) จบการศึกษาสายภาพยนตร์ และปัจจุบันเป็นพนักงานประจำทำด้านครีเอทีฟ และตัดต่อ พร้อมทั้งเปิดช่อง “The Ploy” บน YouTube นำเสนอไลฟ์สไตล์ คอนเทนต์

โจทย์ที่ทีมนี้ได้รับคือ “dtac Reward” นำเสนอคอนเทนต์พาไปอิ่มอร่อยกับร้านอาหารที่สามารถใช้ dtac Reward ได้ ครอบคลุมทั้งร้านอาหาร-ขนมหวาน-เครื่องดื่มในศูนย์การค้า ไปจนถึงร้านค้าในตลาดนัด เพื่อแสดงให้เห็นว่า dtac Reward เป็น Loyalty Program ที่มีเครือข่ายร้านค้ามากมายทั่วประเทศเข้าร่วม

dtac accelerate Creator12

หลังจากจบโครงการนี้ “ทีม The Ploy” ยังคงสานต่อการเป็น Content Creator ด้วยการพัฒนาคอนเทนต์บนช่อง YouTube ของตนเองให้มีคุณภาพดีขึ้น และใส่ไอเดีย หรือความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

ทีม The Ploy :

httpv://www.youtube.com/watch?v=v6302Qrlovc

ขณะที่ทีม “Kaipop” เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ “พิชญ์ สุบงกฎ” (มุก) – “กำธร บานเย็น” (เอ) – “ภูริวัจน์ ศรีพุฒิสิทธิ์” (ต้า) ปัจจุบันทั้ง 3 คนศึกษาสาขาธุรกิจพาณิชย์นาวี คณะโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน แม้จะเรียนต่างสาย แต่ด้วยความสนใจ และความชอบทำวิดีโอที่ จึงมี Passion ทำให้มารวมตัวกัน และลงมือทำในสิ่งที่รัก

ทันทีที่เห็นโครงการ “dtac accelerate Creator” เปิดรับสมัคร ก็รีบคว้าโอกาสทันที ! และหลังจากส่งคลิปวิดีโอแนะนำตัว ได้ติด 1 ใน 16 ทีม โดยได้โจทย์ “dtac Jaidee” ให้ยืมอินเทอร์เน็ตใช้ สิ่งที่สมาชิกทั้ง 3 คนได้รับจากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ มีทั้งความรู้ – ประสบการณ์จากพี่ๆ Content Creator อีกทั้งได้มิตรภาพจากเพื่อน และความสนุกสนาน ซึ่งหลังจากนี้ จะเปิดช่อง “Kaipop Channel” และพัฒนาคอนเทนต์อย่างจริงจัง

dtac accelerate Creator13

ทีม Kai Pop :

httpv://www.youtube.com/watch?v=tzt2YFujwyk

“Content Creator ที่ดี ต้องสร้างงานที่มีความหมายสำหรับผู้บริโภค (Create Something Meaningful) ซึ่งคำว่า Meaningful ในทีนี้ หมายถึงการเป็นคอนเทนต์ที่สร้างประโยชน์กับคนดู ให้ความบันเทิงกับคนดู ให้ความเป็นเพื่อน และคนเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องเป็น Content Creator ที่มีความรับผิดชอบ มีหัวคิด มีความใส่ใจต่อผู้ชม อย่าเป็นคอนเทนต์ที่แค่เรียกยอด View ไม่อย่างนั้นประเทศเราจะกลายเป็นประเทศดราม่า” คุณพิพัฒน์ สรุปทิ้งท้ายถึงการเป็น Content Creator ที่ดี

 


  • 859
  •  
  •  
  •  
  •