เผยข้อมูลยุค Aging ไม่ถึง 10 ปีเข้าสู่ยุค Super Aging พร้อมชี้กลุ่ม Pre-Aging มีเงินเยอะสุด

  • 510
  •  
  •  
  •  
  •  

Aging

จากแนวโน้มอัตราการเกิดและการตายเฉลี่ยในประเทศไทย พบว่ามีแนวโน้มที่ประชากรสูงอายุจะมีเพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมาจากวิทยาการล้ำสมัยทางการแพทย์ ที่ส่งผลให้สุขภาพของผู้สูงอายุแข็งแรงกว่าในอดีตช่วยให้อัตราการตาย (จากโรคภัยไข้เจ็บ) ลดลง ที่สำคัญผู้สูงอายุยังสามารถทำงานเลี้ยงครอบครัวได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอัตราการเกิดที่ดลงทำให้หนุ่มสาวอนาคตจะต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

โดยทาง สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ที่เปิดเผยข้อมูลผู้สูงอายุที่สำรวจจากการสอบถามตามหลักวิชาการ โดยพบว่าประชากรประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 67.6 ล้านคนในปี 2560 โดยแบ่งเป็นผู้ชายจำนวน 33 ล้านคนและผู้หญิงจำนวน 34.6 ล้านคนโดยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุเฉลี่ยมากกว่า 60 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 16.7% ของประชากรทั้งหมดหรือ 11.3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยภาคเหนือมีสัดส่วนผู้สุงอายุมากที่สุด

Aging-01   Aging-02

 

นอกจากนี้ ผู้สูงวัยยังสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้สูงวัยต้น (60-69 ปี) ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดถึง 57.4% ของผู้สูงวัยทั้งหมดกลุ่มผู้สูงวัยกลาง (70-79 ปี) และกลุ่มผู้สูงวัยปลาย (80 ปีขึ้นไป) นอกจากนี้จากสถิติยังพบว่ากว่า 35.1% ของผู้สูงวัยทั้งหมดหรือราว 3.9 ล้านคนยังคงทำงานอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูงวัยจะประกอบอาชีพในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวส่งผลให้ผู้สูงวัยมีรายได้มาจากหลายช่องทางนอกจากเงินเก็บโดยจากข้อมูลพบว่ารายได้ส่วนใหญ่มาจากบุตรประมาณ 34.7% รายได้จากการทำงานของผู้สูงอายุเองราว 31%และเบี้ยยังชีพอื่นๆที่ทางภาครัฐจัดหาให้อีกราว 20% โดยเฉลี่ยแล้วผู้สูงวัยจะเงินรายได้เฉลี่ย 10,000 – 30,000 บาทต่อเดือน

Aging-03   Aging-04

 

สุขภาพของผู้สูงอายุ ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยข้อมูลพบว่า จ.บุรีรัมย์ มีผู้สูงอายุที่มีสูขภาพดีที่สุด ขณะที่ผลสำรวจยังพบว่าผู้สูงอายุมีสูขภาพแนวโน้มดีขึ้นมาก สอดคล้องกับภาวะการหกล้มของผู้สูงอายุที่ลดลง จากปัจจัยเรื่องการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ รวมไปถึงนโยบายภาครัฐในเรื่องประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ก็เป็นส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุสุขภาพดีมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความสุขในช่วงอายุที่มากขึ้น

Aging-06 Aging-07

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ยังสำรวจข้อมูลถึง การดูแลของบุตรหลาน อีกด้วย โดยพบว่าครอบครัวส่วนใหญ่กว่า 86.2% ไม่มีบุตรหลาน ขณะที่คู่สมรสจะเป็นผู้ที่ดูแลใกล้ชิดมากที่สุด จากข้อมูลตอนต้นที่กล่าวถึงรายได้ส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุมาจากบุตรนั้นผลสำรวจชี้ว่า บุตรที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มีการส่งเงินมาดูแลพ่อแม่มากกว่าบุตรที่อยู่กับพ่อแม่ ในทางตรงข้าม บุตรที่อยู่กับพ่อแม่จะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากพ่อแม่ มากกว่าบุตรที่อยู่นอกบ้าน ซึ่งบุตรที่อยู่นอกบ้านนิยมมาเยี่ยมพ่อแม่เกือบทุกวันหรือทุกวันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพังตายายมีแนวโน้มมากขึ้น

Aging-09 Aging-10

 

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านผู้สูงอายุ ก็มีความสำคัญ โดยบ้านผู้สูงอายุส่วนใหญ่เริ่มมีส้วมแบบชักโครกมากขึ้น รวมถึงการนอนเตียงเพื่อช่วยลุกขึ้นยืนได้ง่ายมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น และจากจากคำนวนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) โดยใช้ข้อมูลการสำรวจดังกล่าว จะพบว่าในปี 2561 ผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วน 11.7% เรียกว่าเป็นการเข้าสู่ยุค Aging Society อย่างเต็มตัว และในปี 2571 จะมีผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วน 17.3% เรียกว่าเป็นการเข้าสู่ยุค Complete Aging Society และเมื่อถึงปี 2581 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปในสัดส่วน 24.1% เรียกว่าเป็นการเข้าสู่ยุค Super Aging Society โดยสมบูรณ์แบบ

Aging-11 Aging-12 Aging-13

 

ข้อมูลทั้งหมดกำลังจะบอกว่า  ภาคธุรกิจจะต้องศึกษาพฤติกรรมกลุ่ม Aging ให้มากขึ้นเพราะต่อไปจะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีมากที่สุด และยังมีศักยภาพในการใช้จ่าย โดยกลุ่มอายุ 50-59 ปีจะเป็นกลุ่มที่มีเงินออมมากที่สุด ขณะที่กลุ่มอายุ 25-40 ปีจะเป็นกลุ่มที่มีการออมน้อยที่สุดและยังเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด นอกจากนี้ภาระของคนหนุ่มสาวในอนาคตจะกลายเป็นเรื่องการดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก

Aging-16

 

ขณะที่อัตราการเกิดจะน้อยลง ภาครัฐจึงเตรียมออกแคมเปญ “มีลูกเพื่อชาติ” เพื่อกระตุ้นให้อัตราการเกิดเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถมาทดแทนวัยหนุ่มสาวที่นับวันจะย่างก้าวเข้าสู่วัย Aging ซึ่งหากมีสัดส่วนไม่สมดุล ในปี 2581 วัยหนุ่มสาวสัดส่วน 100% จะต้องดูแลผู้สูงอายุ 102% หรือเทียบง่ายๆ พ่อแม่เลี้ยงลูกคนเดียว อนาคตลูกคนเดียวเลี้ยงทั้งพ่อและแม่

Aging-17 Aging-18


  • 510
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา