Trend – Tech – Payment เจาะทุกมิติเรื่องการเที่ยวของคนไทย

  • 36
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เที่ยว

ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกจะเป็นอย่างไร “การท่องเที่ยว” ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมารายได้การท่องเที่ยวทั่วโลกคิดเป็น 10.4% ของ GDP ทั้งหมด หรือ 272 ล้านล้านบาท ส่วนในประเทศไทยอยู่ที่ 21.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 3.2 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก

วันนี้เราจะเล่าข้อมูลจาก ผลสำรวจของ VISA ในรายงานชื่อ Visa Global Travel Intentions Study ที่เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว 17,500 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยอย่างละเอียด โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ Trend, Tech และ Payment

Trend in Travel

คนไทยเที่ยวเก่งกว่าค่าเฉลี่ยโลก

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คนไทยเที่ยวปีละ 6.6 ครั้ง แบ่งเป็น เดินทางท่องเที่ยวอย่างเดียว 3.8 ครั้ง และเดินทางเพื่อทำธุรกิจ 1.9 ครั้ง และในอีก 2 ปีข้างหน้า คนไทยวางแผนเที่ยวเพิ่มเป็น 6.9 ครั้ง แบ่งเป็นเดินทางเพื่อเที่ยวอย่างเดียว 3.9 และทำธุรกิจ 2.1 จากตัวเลขนี้ ทำให้คนไทยมีค่าเฉลี่ยการท่องเที่ยวต่อปีสูงกว่าในเอเชียแปซิฟิกและระดับโลก แม้จะเที่ยวบ่อยกว่าประเทศอื่นๆ ทว่า ระยะเวลาแต่ละทริปของคนไทยก็สั้นกว่า อยู่ที่ 5 วันต่อ 1 ทริป ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 8 วัน

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-008

 

“ญี่ปุ่น” ประเทศยอดนิยมที่คนไทยวางแผนไปเที่ยวในอีก 2 ปีข้างหน้า

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-012

ไม่ว่าจะเป็น 2 ปีที่แล้ว ตอนนี้ หรืออีก 2 ปีข้างหน้า “ญี่ปุ่น” เป็นประเทศที่คนไทยอยากไปเที่ยวที่สุด ตามมาด้วยฮ่องกง สิงคโปร์ และเกาหลี จากภาพด้านล้างจะเป็นว่าอันดับ 1-4 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

เมื่อถามว่าอยากไปประเทศใดใน APAC ญี่ปุ่นยังคงเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วย ออสเตเลีย, ฮ่องกง, สิงคโปร์ และไทย ส่วนประเทศที่อยู่นอก APAC ที่วางแผนจะไปอันดับแรกคือ สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน และแคนาดา สำหรับนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-014

Tech in Travel

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-017

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวทั่วโลกวางแผนท่องเที่ยวผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น จากเดิม (2015) อยู่ที่ 78% เพิ่มเป็น 83% (2017) สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยใช้ออนไลน์วางแผนการท่องเที่ยวในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการจองที่พัก ซื้อตั๋วเครื่องบิน ซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยว รวมถึงระหว่างเที่ยว

นักท่องเที่ยวกว่า 97% ใช้อินเตอร์เน็ตระหว่างการเที่ยว โดย 44% เปิดโรมมิ่งไปจากไทย, 36% ซื้อซิมจากประเทศนั้นๆ, 30% ใช้ Pocket Wi-Fi และที่เหลือใช้ฟรีไวไฟ

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-018

เว็บไซต์ที่นักท่องเที่ยวใช้มากที่สุด

1. Agoda
2. Facebook
3. Thai Airways
4. เว็บการท่องเที่ยวของประเทศนั้นๆ
5. เว็บสำหรับอีเวนท์ที่จะไป

แอปฯ ที่นักท่องเที่ยวใช้มากที่สุด

1. Facebook
2. Google Maps
3. YouTube
4. Agoda
5. Booking

Payment in Travel

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-025

ผลสำรวจระบุว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยใช้เงินเฉลี่ยต่อ 1 ทริป อยู่ที่ประมาณ 48,000 บาท (1,502 เหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2013 และคาดว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า คนไทยจะใช้เงินเพิ่มขึ้น 50% อยู่ที่ 74,000 ต่อทริป (2,252 เหรียญสหรัฐฯ)

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-026

จาก 48,000 บาท แบ่งได้เป็น 2 ก้อนคือ 40% จ่ายก่อนเดินทาง เช่น ค่าที่พัก และตั๋วเครื่องบิน และอีก 60% เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทาง เกือบทุกคนจะพกเงินสดไปด้วย และ 87 จะมีเงินสดเหลือ ซึ่ง 59% จะไม่แลกคืน เพราะจะเก็บไว้สำหรับการมาครั้งหน้า, 29% จะแลกคืน, 24% ใช้ให้หมดในสนามบิน เช่น ช้อปปิ้ง หรือทานอาหาร และ 4% หยอดตู้บริจาคในสนามบิน

QMB 2017 - Visa Global Travel Intentions Study_Thailand FINAL-page-029

เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก เพราะผลสำรวจบอกว่าคนไทยพร้อมเปิดรับการจ่ายเงินรูปแบบใหม่ๆ โดยมีคะแนนที่ 5.1 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวใน APAC และ Global

Visa Global Travel Intention Study

คุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า เราเชื่อว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะช่วยเปิดประตูสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ ส่งเสริมการสร้างงาน และการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มและพฤติกรรมการท่องเที่ยวนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของวีซ่าที่จะช่วยเหลือทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น พันธมิตร ลูกค้า รวมไปถึงรัฐบาลไทยในสร้างเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน และด้วยจำนวนจุดรับบัตรที่เพิ่มมากขึ้นและช่องทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเสีถยรภาพและปลอดภัยจากวีซ่า ก็จะทำให้นักท่องเที่ยวทุกคนที่ซื้อสินค้าและบริการผ่านบัตรเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย”


  • 36
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE