“กลัวเกินเหตุ!!!” ปัจจัยร้ายสุดของตลาดทุนไทย ผ่านสายตาและมุมมองของ SCB

  • 50
  •  
  •  
  •  
  •  

SCB

เรียกได้ว่าปี 2019 กลายเป็นปีที่จับตามองอย่างไม่ลดละสายตา อันเนื่องมาจากผลกระทบจากสงครามการค้าที่สหรัฐฯ และจีน เปิดศึกด้วยการปรับอัตราภาษีนำเข้าของกันและกัน ประกอบกับปัจจัยด้านปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่มีมายาวนาน และปัญหาในด้าน Brexit ส่งผลให้หลายคนคาดการณ์ว่าเศรษบกิจของโลกกำลังเข้าสู่การชะลอตัว

ยิ่งในช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการปรับอัตราดอกเบี้ย พร้อมๆ กับที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยก็มีมติการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเช่นกัน ทำให้มีการคาดการณ์ถึงผลกระทบต่อภาพรวมของหลายธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาฯ และกลุ่มยานยนต์ที่ทำให้คนกู้เงินต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลต่อปริมาณ NPL (หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้) เพิ่มขึ้น

หลายคนที่ได้ยินเรื่องราวเหล่านี้ รับรองว่าเกินครึ่งต้องรู้สึกว่าปี 2019 ไม่ “หมู” ตามปีนักษัตรของปีนี้เลย โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่แทบจะเรียกได้ว่า “อ่อนไหว” ต่อสถานการณ์รอบตัว เนื่องจากการลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ดังนั้นเมื่อคาดการณ์ว่าจะมีความเสี่ยงในอนาคต นักลงทุนจะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่มีเอฟเฟ็กต์ต่อความเสี่ยงเหล่านั้น

Sukij

แต่สำหรับในมุมมองของ คุณสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด กลับมองเห็นต่างออกไป เพราะคุณสุกิจมองว่า ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการลงทุนที่เรียกว่ามีโอกาสในการคว้ากำไรได้จากตลาดทุน แน่นอนว่าปัจจัยใหญ่ในระดับโลกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ หรือปัญหา Brexit ยังไม่อยู่ในช่วงระยะที่น่ากลัว

 

2019 โตไม่เท่า 2018

โอกาสทองของนักลงทุน

แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นผลทำให้หลายคนรู้สึกว่าเศรษฐกิจในช่วงปี 2019 ชะลอตัว นั่นเพราะในปี 2018 หลายตลาดปรับตัวดีขึ้นและมีผลประกอบการที่โตขึ้นจนแทบจะเรียกได้ว่า โตแบบข้ามขั้นหรือโตมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา และเป็นธรรมชาติของวัฏจักรการทำธุรกิจ เมื่อธุรกิจเติบโตสูงมากโอกาสที่จะทำ New High ก็ลดลง นั่นจึงทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจลดลง ทั้งที่จริงๆ อาจไม่มีปัจจัยอะไรเลยที่มากระทบ

แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าภาพรวมเศรษบกิจชะลอตัว สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯอัตราดอกเบี้ยและอื่นๆ คือ ความเชื่อมั่น โดยเฉพาะของนักลงทุน เพราะในช่วงปลายปีที่ผ่านมานักลงทุนจะเห็นผลตอบแทนลดลง รวมไปถึงข่าวสารต่างๆ ที่ออกมาในลักษณะเศรษฐกิจเชิงลบทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเข้าขั้นวิกฤติ เทียบเท่ากับช่วง 2012 ที่มีวิกฤติในยุโรป ทั้งที่สถานการณ์ยังไม่แย่เท่าตอนนั้น

Trade War

จากความเชื่อมั่นที่ลดลงนี่เอง ทำให้ราคาของสินทรัพย์อยู่ในภาวะลดลงเกินกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่จะสามารถเข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งคุณสุกิจชี้ว่าต้องจับจังหวะให้ดี โดยมุมมองมองของ SCB ต่อปัจจัยสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อตลาดทุนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ทั้งระยะสั้นช่วงน้อยกว่า 1 ปี, ระยะกลางช่วง 1-2 ปี และระยะยาวมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

Factor

 

โดยในระยะสั้นยังไม่มีอะไรที่น่าหวั่น มีเพียงตลาด Smartphone ชะลอตัวที่อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม Supply Chain ของอุตสาหกรรมเท่านั้น ส่วนปัจจัยระยะกลางและระยะยาวเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง หลายปัจจัยในระยะกลางและระยะยาวอาจเกิดผลกระทบกับตลาดทุนได้

 

ตระหนกเกินเหตุปัจจัยเสี่ยงแท้จริง

โอกาสจากทฤษฎี 10 ปีซ้ำรอยเดิม

อีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนระแวงและเกิดความตระหนกเกินจริง คือ ทฤษฎีที่ว่าทุกๆ 10 ปีเศรษฐกิจโลกจะเผชิญความถดถอย ซึ่งนักลงทุนหลายคนกลัวปัจจัยนี้มาก ในความเห็นของคุณสุกิจมองว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างหากที่น่ากลัวว่าทฤษฎีเศรษฐกิจถดถอยทุกๆ 10 ปี ด้วยข้อมูลที่มีมากมายหากนักลงทุนมองเห็นความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลทั่วโลกก็ต้องมองเห็นด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่าจะต้องมีมาตรการรับมืออย่างเต็มที่แน่นอน เพราะหากเรียนรู้ในอดีตจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัยที่คาดไม่ถึง

Tired or stressed businessman sitting on the walkway in panic digital stock market financial background

จากปัจจัยที่หลายคนมองว่าเป็นโอกาสที่จะเกิดเศรษบกิจถดถอย คุณสุกิจก็มองกลับกันว่า นั่นยิ่งทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะต้องมีมาตรการรับมือและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นเป็นด้านบวกของตลาดทุน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เห็นถึงการชะลอตัวเศรษฐกิจคือปัจจัยเรื่องหนี้สิน เมื่อปริมาณหนี้เพิ่มสูงขึ้นนโยบายเพื่อลดอัตราการบริโภคจึงเกิดขึ้นเพื่อลดปัจจัยเรื่องหนี้สิน ทำให้เศรษฐกิจไม่โตมากกว่าเดิม

ในอนาคตจีนและอินเดียจะเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จากการวิเคราะห์ของคุณสุกิจเห็นว่า ไตรมาสแรกเป็นช่วงที่แย่ที่สุดแต่จะมีการเฉลยสถานการณ์สำคัญใหญ่ๆ ของโลก เช่น Trade War, Brexit เป็นต้น ขณะที่ไตรมาสที่ 2 จะเริ่มมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นจากภาพความชัดเจนของเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 3-4 จะเป็นช่วงรับผลตอบแทน

Financial

 

 

 

นั่นจึงชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริงคือ ความเชื่อมั่น และ ความตระหนกเกินกว่าเหตุ ของนักลงทุน ขณะที่โอกาสจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีให้นักลงทุนสามารถคว้าไว้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงจังหวะโอกาสและประสบการณ์ของแต่ละคน นั่นจึงทำให้นักลงทุนต้องจำไว้เสมอว่า

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน”


  • 50
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE