จากตลับเทปสู่แผ่นซีดี จากการดาวน์โหลดสู่ยุคสตรีมมิ่ง ในวันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปฏิวัติทุกอย่างอุตสาหกรรมเพลงไทยจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการฟังเพลง แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ศิลปิน และวงการเพลงไทยก้าวสู่เวทีโลก วันนี้อยากชวนมาเจาะลึกภาพรวมของอุตสาหกรรมเพลงไทยในยุคดิจิทัล ว่ากำลังเดินหน้าไปสู่ทิศทางไหน
1. ดิจิทัลสตรีมมิ่ง แรงผลักดันสำคัญสู่การเติบโตของอุตสาหกรรมเพลง
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยพลังของดิจิทัล โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัวสู่ตัวเลข 11,317 ล้านบาท หรือ 16% เมื่อเทียบกับปี 2022 และการเติบโตนี้ 88% มาจาก Digital Streaming ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ผลักดันดนตรีไทยให้ก้าวไปสู่ระดับโลก
ยอดผู้ใช้ Streaming Platforms โต 700,000 คนในปีเดียว
- แพลตฟอร์มฟังเพลงออนไลน์ช่วยให้ดนตรีไทยเข้าถึงผู้ฟังทั่วโลกได้ง่าย โดยในปี 2023 จำนวนผู้ใช้ Streaming อยู่ที่ 3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 26% จากปี 2022 หรือราว 700,000 คนต่อปี
- การเติบโตของ Digital Streaming มีศักยภาพเพิ่มมูลค่าตลาดเพลงทั่วโลกระหว่างปี 2023-2030 ถึง 3 เท่า โดยคาดการณ์มูลค่าตลาดรวมกว่า 30,000 ล้านบาท
2. การเติบโตของราคา สมาชิก Subscription
- ผู้บริโภคยุคใหม่ยินดีจ่ายเพื่อประสบการณ์ดนตรีแบบ Premium ที่มีคุณภาพเสียงดีกว่า และสิทธิ์เข้าถึงคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ
- ราคาสมาชิก Subscription เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าจากเดิม 99 บาท เป็น 179 บาท และยังมีโอกาสเติบโตขึ้นอีก 3 เท่า หากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วซึ่งมีราคาอยู่ที่ 525 บาท
คาดการณ์ Subscription Penetration ไทย เตรียมโต 4 เท่าในปี 2030 กับช่องว่างที่ยังมีให้สูงสุดถึง 11 เท่า
- ตามการคาดการณ์ของ Midia ยอด Subscription Penetration ในไทยจะเพิ่มจาก 3.2% ในปี 2023 เป็น 11% หรือกว่า 4 เท่าในปี 2030 ซึ่งยังต่ำกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีที่อยู่ที่ 25% และประเทศพัฒนาแล้วอย่างสวีเดนและสหรัฐฯ ที่สูงถึง 45% โดยหากอิงจาก Subscription Penetration ของประเทศพัฒนาแล้ว ไทยเรายังมีช่องว่างให้เติบโตเพิ่มได้ถึงสูงสุดที่ 11 เท่าเลยทีเดียว
3. ‘Music IP’ ขุมทรัพย์แห่งวงการเพลงไทยยุคดิจิทัล
Music IP หรือทรัพย์สินทางปัญญาด้านดนตรี กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่ยั่งยืน
- ผู้ที่มี “Large Scale of Content” และ Music IP จำนวนมากจะได้เปรียบในการเข้าถึงผู้บริโภค และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
- Music IP มีประโยชน์ในการเผยแพร่ ดัดแปลง และสร้างรายได้หลากหลาย เช่น เพลง มิวสิควิดีโอ คอนเสิร์ตออนไลน์ และพอดแคสต์ โดยมีแกนกลางเป็นเพลง และศิลปิน
ความล้ำค่าของ Music IP
- เป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ต่อเนื่องในระยะยาว
- ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาศิลปินเพียงคนเดียว
- ตอบโจทย์ผู้ฟังทุกเพศทุกวัยด้วยคอนเทนต์ที่หลากหลาย
4. คนไทยฟังเพลงมากกว่าเล่นโซเชียลมีเดีย
จากการศึกษาของ Luminate Music Consumption Study ปี 2023
- การฟังเพลงเป็นกิจกรรมบันเทิงยอดนิยมของคนไทย 75%
- รองลงมาคือการชมคลิปสั้นบนโซเชียลมีเดีย 60% และการเล่นโซเชียลมีเดีย 56%
แหล่งที่มาของการฟังเพลง
- พบว่าเว็บไซต์/แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียขึ้นนำเป็นอันดับหนึ่ง (66%) ตามมาด้วยบริการสตรีมมิ่งวิดีโอ (65%) และบริการสตรีมมิ่งเพลง (58%)
คีย์เวิร์ดที่คนไทยเสิร์ชสูงที่สุดใน Youtube ปี 2023
#1 เพลง
#2 หนัง
#3 ผี
โดยมี #9 เป็นคาราโอเกะ ทั้งยังมี รถแห่ (#11), เพลงแดนซ์ (#12) และเนื้อเพลง (#20) ตามหลังมาด้วย
เพลงเป็นเนื้อหาที่ไม่มีวันตาย (Evergreen Content)
- เพราะคนไทยชื่นชอบการ “ฟังซ้ำ” และ “ดูซ้ำ” ไม่ว่าจะเป็นเพลงเก่า เพลงใหม่ หรือเพลงฮิต
- ตัวอย่างศิลปินระดับโลก เช่น The Beatles, , Mariah Carey และ Michael Jackson ที่ยังสร้างรายได้จากเพลงฮิตได้ต่อเนื่อง
- ศิลปินไทยอย่าง เบิร์ด-ธงไชย, Bodyslam, ปาล์มมี่, Cocktail, อะตอม, Three man down ก็ยังฮิตตลอดกาล และเป็นที่จดจำไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
พฤติกรรมผู้บริโภค และโอกาสในยุคดิจิทัล – คนไทยชอบดู MV
- การฟังเพลงผ่านมิวสิควิดีโอ (MV): คนไทยนิยมการดู MV มากที่สุดถึง 87% ตามมาด้วยการฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่ง (68%) และฟังเพลงผ่านคลิปสั้น (61%)
- เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล: แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งและโซเชียลมีเดียช่วยให้ศิลปินเข้าถึงผู้ฟังทั่วโลกได้ง่ายขึ้น
แนวโน้มที่น่าสนใจ
- การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลช่วยขยายฐานผู้ฟังเพลง
- Music IP และเทคโนโลยีช่วยเพิ่ม Engagement และสร้างโอกาสทางธุรกิจแบบไร้ขีดจำกัด
อุตสาหกรรมเพลงไทยไม่ได้เป็นธุรกิจ Sunset แต่กลับเป็น Sunrise ที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องด้วยพลังของ Digital Streaming, Music IP, และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช่วยให้เพลงไทยก้าวไปไกลในระดับโลก และสร้างรายได้มหาศาลจากการเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย