ท่องเว็บยังไงให้ปลอดภัยไม่ถูกจับโป๊ะ แต่ความเป็นจริงไม่มีอะไรปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

Cybersecurity ยังคงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญเด็กๆ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ขณะที่ CyberCrime หรืออาชญากรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตนับวันมีแต่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการล่อลวงต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมไปถึงการปลอมแปลงและการล้วงข้อมูลสำคัญ

ไม่ใช่เรื่องสนุกเลย หากการท่องเว็บไซต์เป็นการเปิดประตูให้เหล่าผู้ร้ายบนโลกไซเบอร์เข้าถึงข้อมูลต่างๆ แม้จะมีกฎหมายป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แต่จะมีผลก็ต่อเมื่อการกระทำความผิดเกิดขึ้นมาแล้ว นั่นจึงทำให้แอปฯ ที่ใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ตต้องเปิดตัวฟีเจอร์ “การใช้งานส่วนตัว” หรือ “ไม่ระบุตัวตน”

 

เปิดฟีเจอร์โหมดปลอดภัย 

อย่างที่บอกไปแล้วว่า หลายแอปฯ ที่เชื่อมต่อโลกอินเทอร์เน็ตต่างก็มีฟีเจอร์เพื่อซ่อนการติดตามอย่างฟีเจอร์ “การใช้งานส่วนตัว” ที่มีอยู่ใน Safari และ FireFox ขณะที่ Chrome เว็บบราวเซอร์ยอดนิยมก็มีฟีเจอร์ “ไม่ระบุตัวตน” ที่มีรูปแบบการทำงานไม่แตกต่างกัน โดยฟีเจอร์เหล่านี้จะไม่เก็บบันทึกประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ ไม่เก็บบันทึกแคชไฟล์ หรือไม่บันทึกข้อมูลสำคัญไว้อย่าง หมายเลขบัตรเครดิตและที่อยู่ รวมไปถึงยังสามารถป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในคลาวด์

ฟีเจอร์เหล่านี้เหมาะมากสำหรับเด็กเยาวชนที่ต้องการท่องเว็บ แต่ไม่ต้องการให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล นอกจากนี้ยังป้องกันการลักลอบดูข้อมูลประวัติการท่องเว็บ (แล้วพ่อแม่จะตรวจสอบการเข้าเว็บยังไง???) ซึ่งช่วยให้การเก็บข้อมูลข้ามเว็บไม่สามารถทำได้

แต่ถึงอย่างนั้น แม้จะมีฟีเจอร์การป้องกันต่างๆ แต่จะไม่มีฟีเจอร์ใดสามารถปิดบัง IP Address ซึ่งเหล่าผู้ร้ายบนโลกไซเบอร์รู้จุดอ่อนดังกล่าว และยังคงสามารถตรวจร่องรอยการใช้งานอิเทอร์เน็ตได้

 

ซ่อน VPN ก็อาจไม่ได้ผล

แม้จะมีการใช้ฟีเจอร์เสริมเพื่อซ่อน IP Address ซึ่งเป็นการซ่อนแบบที่ไม่ให้เว็บมองเห็นว่า เข้าถึงเว็บไซต์ด้วยเครื่อง IP Address ใด หรืออาจะเป็นการปิดบังไว้เพื่อไม่ให้รู้ว่า IP Address ดังกล่าวเข้าไปที่เว็บใดบ้าง แต่จะมีบางเว็บไซต์ซึ่งไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวได้ หลายคนจึงเริ่มสนใจการใช้โปรแกรม VPN (Virtual Personal Network)

แต่โปรแกรม VPN แม้จะเป็นการสร้างระบบจำลองขึ้นมาเพื่อให้แสดง IP Address ที่ไม่ใช่ของจริง ซึ่งโปรแกรมพวกนี้เหล่าแฮกเกอร์นิยมใช้ และยังเป็นโปรแกรมที่ช่วยเปิดช่องโหว่ เพิ่มโอกาสที่แฮกเกอร์จะแอบแฝงตัวเข้ามาในเครื่องของเรามีโอกาสสูงมากขึ้น

หรือต่อให้มีการใช้ VPN แต่ด้วยความสามารถของวแฮกเกอร์ก็อาจจะสามารถเข้าถึง IP Address ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะใช้โปรแกรมใดๆ โอกาสที่จะถูกล้วงข้อมูลก็ยังมีความเป็นไปได้เสมอ

ไม่เพียงเท่านี้ หากผู้ใช้งานมีความสามารถในเรื่องของการปิดบังซ่อนเร้น IP Address แต่ใช้เครื่องคอมที่มีการใช้หลายมือ เช่น เครื่องคอมในร้านให้เช่า โอกาสที่จะถูกล้วงข้อมูลก็ยังมีสูงอยู่ เนื่องจากไม่มีทางรู้เลยว่า ผู้ใช้งานก่อนหน้านี้แอบลงโปรแกรมอะไรไว้บ้าง ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมที่ตรวจสอบการใช้งาน ซึ่งต่อให้ใช้ระบบ VPN ที่ดีที่สุดในโลกก็ยังอาจถูกเจาะข้อมูลได้

ดังนั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่าได้กังวลเรื่องของการเจาะข้อมูล ตราบเท่าที่ข้อมูลสำคัญยังถูกเก็บไว้อย่างดีผ่านรหัสลับหรือระบบ Biometric โฮกาสที่จะหลุดรอดออกไปก็ยังยากอยู่ ยกเว้นแต่ข้อมูลเหล่านั้นจะสำคัญมหาศาล

 

Source: CNN


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา