เมื่อโลกค้าปลีกเปลี่ยนไป เทรนด์ Virtual กำลังมา! ธุรกิจจะใช้ประโยชน์กับกระแสนี้อย่างไร

  • 609
  •  
  •  
  •  
  •  

www.intelligence.wundermanthompson.com

 

ตอนนี้กิจกรรมหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในยุคนี้ โดยเฉพาะช่วงหลังที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เราจะเริ่มเห็นกิจกรรมรูปแบบ Virtual (เสมือนจริง) มากขึ้น ไม่ว่าจะสัมมนาแบบ Virtual, คอนเสิร์ต Virtual, วิ่งแบบ Virtual จนไปถึง แฟชั่นโชว์แบบ Virtual ก็เกิดขึ้นมาแล้วในปีที่ผ่านมา

จนกระแสตอนนี้ที่กำลังมาแรง พุ่งไปที่ Virtual Retail หรือร้านค้าเสมือนจริง ซึ่งต้องพูดก่อนว่ากระแส Virtual ในการช้อปปิ้งแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้น เพียงแต่ในปี 2021 ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดหลายคนมองว่า กระแสนี้กำลังมาแรงขึ้นกว่าเดิม เห็นได้จากที่ธุรกิจค้าปลีกหลายรายเปิดช่องทางช้อปปิ้งใหม่รูปแบบ Virtual มากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างข้อมูลของ Wunderman Thompson ที่พูดถึงกระแส Omnichannel ที่หลายๆ ธุรกิจให้ความสำคัญมาหลายปีติดต่อกัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การที่ธุรกิจวางกลยุทธ์สำหรับการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ไปพร้อมกัน ซึ่งการตลาดออนไลน์ที่ว่านั้น เราเพียงต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่อย่าง AR (Augmented reality) นำโลกเสมือนจริงผสมเข้ากับโลกความเป็นจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ขึ้นมา

ความไม่ธรรมดาของเทคโนโลยี AR ในธุรกิจค้าปลีก ได้เพิ่มความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมนี้ว่า มีโอกาสที่จะกลายเป็นกระแสหลักของธุรกิจค้าปลีกได้ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างที่บริษัทวิจัย ABI Research ประเมินว่า การค้าปลีกเสมือนจริง (AR) น่าจะเติบโตมากกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025 (ตามคาดการณ์ในเดือน ก.พ. 2021)

 

 

 

ตัวอย่างธุรกิจที่เปิดตัว Virtual Retail ทดลองตลาด

 

Machine-A

แบรนด์ชื่อดังจากเมืองลอนดอนที่เพิ่งเปิดร้านเสมือนจริงเป็นแฟชั่นแบบ boutique เมื่อเดือน ก.พ. 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ในลอนดอนจัดงาน London Fashion Week ส่วนหนึ่งเพื่อล้อกับกระแสที่เกิดขึ้น และแบรนด์อยากมีส่วนร่วมระหว่างที่มีการแสดงแฟชั่นเสื้อผ้า

ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมงานแฟชั่นวีค สามารถดูคอลเลคชั่นเสื้อผ้า Autumn/Winter 2021 ได้เลยระหว่างที่ชมงาน เพื่อดูคอลเลคชั่นล่วงหน้า และหากถูกจก็สามารถคลิกสั่งจองได้เลยทันที

 

www.intelligence.wundermanthompson.com
Tumi

แบรนด์กระเป๋าชื่อดังจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เปิดตัวร้านค้าเสมือนจริงในเดือน ก.พ. 2021 ซึ่งจุดเด่นของ Tumi สาขา Virtual ได้สร้างบรรยากาศให้เป็นดิจิทัลแบบ 360 องศาที่ลูกค้าจะเห็นได้ทุกซอกทุกมุมภายในร้าน โดยลูกค้าสามารถสำรวจสินค้าที่กำลังมองหา เหมือนว่ากำลังเดินอยู่ในร้านจริงๆ ทั้งยังสามารถถามคำถาม หรือตอบโต้กับร้านค้าได้เลยทันทีแบบ real-time

นอกจากนี้ Tumi ได้ปรับปรุงฟังก์ชั่น Virtual AR ด้วยขนาดกระเป๋าไซส์เดียวกับของจริงด้วย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้นก่อนที่จะซื้อ โดย Adam Hershman รองประธาน Tumi ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง ได้พูดว่า องค์ประกอบอื่นๆ ที่จะทำให้ร้านค้า Virtual ของ Tumi สมบูรณ์ขึ้นก็คือ การเชื่อมโยงกับโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มสังคมอื่นๆ เพื่อให้มีการแชร์ หรือแนะนำต่อ รวมไปถึงกิจกรรมเอ็นเตอร์เทนต์เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น เกม ในแอปฯ WeChat และ Instagram

 

www.intelligence.wundermanthompson.com

 

Charlotte Tilbury

แบรนด์เครื่องสำอาง Charlotte Tilbury จากอังกฤษที่เปิดร้าน Virtual ในเดือน พ.ย. 2020 ซึ่งก็เป็นบรรยากาศคุ้นตาเหมือนเราเดินเข้าไปในร้านจริงๆ ซึ่งไม่ใช่แค่สินค้าที่เปิดจำหน่ายแบบ Virtual ยังมีห้องลองแต่งหน้า และวิดีโอสอนแต่งหน้าแบบ Virtual เหมือนตอนที่พนักงานจะคอยแนะนำเราในร้านเลย

อันนี้เป็นเพียงบางส่วนที่หยิบมายกตัวอย่างให้เข้าใจว่าร้านค้า Virtual จะมีหน้าตาเป็นแบบไหน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่า ร้านค้าแบบดิจิทัลจะไม่เพียงแต่เข้ามาอยู่ในกระแสหลักเท่านั้น แต่จะเข้ามากินสัดส่วนอีคอมเมิร์ซที่เป็นร้านค้าออนไลน์แบบทั่วไปด้วย เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น และสปีดของอินเทอร์เน็ตที่ให้ความรู้สึกแบบ real-time เข้ามาเติมเต็มให้สมบูรณ์มากขึ้น

 

www.intelligence.wundermanthompson.com

 

 

5 ข้อดีของเทคโนโลยี Virtual ในธุรกิจค้าปลีก

เห็นตัวอย่างของบางแบรนด์ที่ใช้เทคโนโลยี AR กันไปบ้างแล้ว ทีนี้มาดูความคิดเห็นของเชี่ยวชาญที่ลงความเห็นตรงกันว่า Virtual มีข้อดีหลายอย่างที่ช่วยธุรกิจได้ ซึ่งข้อดีทั้ง 5 ข้อมีอะไรบ้าง

 

  • เพื่อทดสอบโปรดักส์ใหม่ก่อนลงตลาดจริง

สำหรับธุรกิจที่มีโปรดักส์ใหม่และกำลังพัฒนาอยู่ Virtual คือโอกาสที่จะช่วย save cost ต้นทุนได้อย่างมากประการแรก และทดสอบความสนใจของลูกค้าได้ว่า โปรดักส์นั้นๆ อยู่ในความสนใจ หรือดึงดูดลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน เหมือนเราซ้อมขายของก่อน คล้ายๆ Pre-Order แต่ว่าลูกค้าจะเห็นของเลย ทั้งสีเหมือนจริง ไซส์เหมือนจริง และตอบโต้คุยกับร้านได้

 

 

  • สำรวจความชอบราคาประหยัด ไม่มีความเสี่ยงในการลงทุน

บางทีการที่แบรนด์ต้องลงพื้นที่ หรือสำรวจความชอบของลูกค้าก่อนพัฒนาโปรดักส์จริงก็เป็นต้นทุนที่มากอยู่เหมือนกัน ดังนั้น หากเราสำรวจความคิดเห็นไม่มากพอ ไม่ครอบคลุมพอ การลงทุนในโปรดักส์นั้นๆ ถือว่ามีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสที่เงินลงทุนนั้นจะเป็น ‘ศูนย์’

อย่างเช่น ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ บางทีลูกค้ายังไม่ต้องเสียเงินเพื่อซื้อมาแล้วยังไม่แน่ใจว่า โทนสี ขนาด หรือ ดีไซน์ จะเหมาะกับห้อง/บ้านขอเราจริงๆ หรือไม่ ดังนั้น AR จะช่วยให้ลูกค้าเลือกแล้วก็ลองได้เลยด้วยขนาดเท่าของจริง และลองเทียบกับมุมว่างดูว่าจะเหมาะหรือไม่ ก่อนตัดสินใจซื้อ เป็นต้น

 

  • สำหรับการแสดงสินค้า (Showcase) ไปทั่วโลก

ลองคิดดูว่าแต่ละครั้งที่เราต้องการโชว์สินค้าใหม่เพื่อบุกตลาดสักแห่ง อาจจะเป็นในเอเชีย หรือยุโรปก็ได้ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมๆ กันแล้วต้องเสียไปเท่าไหร่ และการจัดแสดงสินค้าในแต่ละครั้งเดินทางไปแค่คนเดียวก็คงไม่พอ อย่างน้อยๆ ต้องมีทีมงานที่คอยซัพพอทเราด้วย

ดังนั้น การจัดแสดงแบบ Virtual ค่อนข้างตอบโจทย์มากๆ เพราะเราสามารถจัดแสดงสินค้าได้พร้อมกันทั่วโลก สื่อสารกันได้โดยตรงแล้วแต่ฟังก์ชั่นการใช้งานของแต่ละที่ รวมไปถึงถ้าธุรกิจหรือลูกค้าที่สนใจโปรดักส์ของเราเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าดูได้เลยทันที เพราะบางทีถ้าเราเดินทางไปรอบโลกเพื่อจัดแสดงสินค้ามีโอกาสที่เราจะเตรียม showcase โปรดักส์ไปไม่หมด หรือมันนอกเหนือที่เราโชว์ให้ดูได้ เป็นต้น

 

 

  • เพิ่มประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบ Virtual ให้ลูกค้า

แน่นอนว่านอกจากราคา คุณภาพสินค้า ก็ยังมีบริการ ที่พอจะแข่งขันกันได้ เพราะแต่ละแบรนด์ไม่ว่าจะขายของเหมือนกันแค่ไหนก็ต้องมีข้อแตกต่างที่ใช้มัดใจลูกค้า หนึ่งในนั้นก็คือ ประสบการณ์ในการซื้อ ซึ่งก็จะพ่วงมากับความสะดวกสบายของลูกค้าด้วย ดังนั้น นอกจากที่เราจะมอบประสบการณ์ใหม่ในการช้อปปิ้งให้ลูกค้าแล้ว เรายังเข้าถึงใจลูกได้อีกด้วย ผ่านการคลิกหน้าจอดูหลายๆ มุมของโปรดักส์ ก็ถือว่าเป็น data อย่างหนึ่งที่ธุรกิจสามารถใช้พัฒนาโปรดักส์ต่อได้

 

  • เปิดโอกาสได้ร่วมมือกับธุรกิจระดับโลก

อย่างที่พูดไปว่าการ showcase คือการเปิดโอกาสให้กับโปรดักส์เราให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และก็เป็นใบเบิกทางให้กับบริษัทด้วย เปิดโอกาสให้ได้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำของโลกมากขึ้น อาจจะเป็นการ collab ด้วยกันสักอย่าง ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้หมด

ทั้งนี้ Virtual เป็นเหมือนพื้นที่แลกเปลี่ยนไอเดียกันได้ ไม่ใช่แค่การเปิดร้านแล้วสื่อสารไปยังลูกค้าเท่านั้น แต่มันคือการเปิดบ้านต้อนรับทุกคนที่สนใจเรา อยากมาเยี่ยมเยือนเรา และอยากลองคุยกับเรา ดูว่ามีโอกาสพัฒนาสานต่อความสัมพันธ์ได้มากน้อยแค่ไหน ภายในเวลาแค่ไม่กี่นาที หรือหลักชั่วโมงเรากับบริษัทนั้นๆ อาจจะปิดดีลกันได้สบายๆ เลยก็ได้

และนี่คือโอกาสของธุรกิจค้าปลีกที่กำลังมา เชื่อว่าไม่ช้าก็เร็วในไทยคงจะมีบางรายที่หยิบไอเดียตรงนี้มาสานต่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้นได้

 

 

 

ที่มา: wundermanthompson, vrgineers


  • 609
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม