ศึกษากลยุทธ์ “Food Passion” How to survive & Move on จากวิกฤต COVID-19 และเทรนด์ธุรกิจร้านอาหาร

  • 554
  •  
  •  
  •  
  •  

หากย้อนกลับไปช่วง COVID-19 ระบาดหนักในไทยในช่วงมีนาคม นำไปสู่การใช้มาตรการ Lockdown ในบางสถานที่ และบางธุรกิจให้บริการ หนึ่งในนั้นคือ ห้างสรรพสินค้า – ศูนย์การค้าที่ภายในประกอบด้วยร้านต่างๆ มากมาย ต้องปิดชั่วคราว และร้านอาหาร – เครื่องดื่มที่ห้ามไม่ให้นั่งรับประทานภายในร้าน ให้ซื้อกลับเท่านั้น

ช่วงเวลานั้นส่งผลกระทบกับทั้งฝั่งเชนร้านอาหาร ผู้ประกอบการขนาดกลาง – ขนาดย่อย และพนักงาน โดยธุรกิจร้านอาหาร ขาดรายได้ในส่วน Dine-in ทันที! ไม่ต่างจากพนักงานประจำร้าน/ประจำสาขา ต้องหยุดงานหน้าร้านเช่นกัน บางเชน – บางร้านได้โยกพนักงานหน้าร้าน มาเสริมทัพงานครัว และบริการเดลิเวอรี่ โดยเน้นให้บริการสั่งกลับ และจัดส่งแทน เพื่อพยุงธุรกิจ และพนักงานให้อยู่ได้ ท่ามกลางสถานการณ์ยากลำบากทุกฝ่าย!

Food Passion” คือ หนึ่งใน Major Player ของธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย ที่หลายคนรู้จักกับแบรนด์ “บาร์บีคิว พลาซ่า” และยังมีอีก 5 แบรนด์ในเครือ คือ จุ่มแซ่บฮัท, ฌานา, โพชา, สเปซคิว และเรดซัน ทั้งกรุ๊ปต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ที่เปรียบเป็น “ทอร์นาโดลูกใหญ่” พัดเข้าบ้านเต็มๆ นำไปสู่การปรับตัวอย่างรวดเร็ว และเฝ้าติดตาม-ประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา เพื่อปรับแผนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของทั้งสถานการณ์ และพฤติกรรม – วิถีชีวิตของผู้บริโภค

จากการฮึดสู้ของทั้งผู้บริหาร และพนักงานทั้งบริษัทฯ ผลปรากฏว่าทำให้ได้โปรดักต์ใหม่ ช่องทางการขายใหม่ และเป็น Learning สำคัญให้กับองค์กรในการวางแผนต่อไปในอนาคต ทั้งแผนระยะสั้น – ระยะกลาง – ระยะยาว

รายการ Oops! Insiders ตอนล่าสุดจะพาไปพูดคุยกับ “คุณชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด” เพื่อเจาะลึกกลยุทธ์ของ “Food Passion” ทั้งในช่วง Survival ที่เจอวิกฤตหนักๆ กระทั่งถึงวันนี้ สามารถผ่านพ้นมาได้สำเร็จ แต่ยังคงเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ รวมทั้งแนวทางสร้างการเติบโตทางธุรกิจทั้งในปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต

 

 

10 บทสรุปจากการสัมภาษณ์มุมมอง และแนวคิด พร้อมทั้งยุทธศาสตร์ของ “Food Passion”

1. ปัจจุบัน Food Passion” มี Brand Portfolio 6 แบรนด์ ประกอบด้วย “บาร์บีคิว พลาซ่า” เป็นแบรนด์เรือธงขององค์กร, “จุ่มแซบฮัท” “ฌานา” ชาบูเพื่อสุขภาพ, “สเปซ คิว” แบรนด์ปิ้งย่างพรีเมียม, “โพชา” แบรนด์รวบรวมเมนูซุปสไตล์เอเชีย สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการโภชนาการครบ จบง่ายในมื้อ และ “เรดซัน” แบรนด์อาหารเกาหลีสมัยใหม่

แต่ละแบรนด์จับกลุ่มลูกค้า และโอกาสการรับประทานแตกต่างกัน ดังนั้นทุกแบรนด์มีโอกาส และช่องว่างในการเติบโต

2. ปัจจุบัน Food Passion” มีสาขา (Physical Location) ของแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอรวมกันทั้งหมด 183 สาขาในประเทศไทย และอีก 29 สาขาของบาร์บีคิว พลาซ่าใน 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และกัมพูชา นอกจากนี้ร้านเรดซัน ยังมี 1 สาขาในมาเลเซีย

3.Food Passion” ได้วางแผนเป็น 3 ระยะ คือ กลยุทธ์ระยะสั้น – ระยะกลาง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ COVId-19 ทั้งช่วงที่ร้านสาขาต้องปิดให้บริการชั่วคราว และการกลับมาเปิดให้บริการใหม่ และกลยุทธ์ระยะยาว เพื่อสร้างการเติบโตต่อไป

Food Passion

4. “กลยุทธ์ระยะสั้น” เน้นการปรับตัวเร็ว และมองหา “โอกาสใหม่” เพื่อเปิดตัวออกสู่ตลาดให้ได้เร็ว ประกอบด้วย

  • ดูแลพนักงาน

  • รักษากระแสเงินสดขององค์กร ด้วยการชะลอการลงทุน ลดค่าใช้จ่าย

  • Monetize สต็อควัตถุดิบที่มี

  • เปิดตัวเมนู Delivery โดยเฉพาะ

  • ขยาย Cloud Kitchen เพื่อเป็นครัวกลางสำหรับทำอาหารแบรนด์ในเครือ เพื่อจัดส่งให้กับลูกค้าที่สั่ง Delivery

  • พัฒนาโปรดักต์ใหม่ ทั้ง Ready to Eat และ Ready to Cook

  • สร้างช่องทางการขายใหม่ เช่น เน้น Delivery มากขึ้น และเปิดช่องทางทางออนไลน์อย่าง Social Commerce ขายผ่าน Facebook Live ถึงวันนี้ที่กิจกรรมทางธุรกิจกลับมาเปิดแล้ว แม้จะยังไม่ 100% ก็ตาม แต่ Social Commerce ได้กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายสำคัญของ Food Passion ไปแล้ว

5. “กลยุทธ์ระยะกลาง” เป็นช่วงที่ภาครัฐคลาย Lockdown และธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการ

  • เป็นช่วง Restructure หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ทั้งหมด เพราะการเปิดร้านครั้งนี้ จะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมแบบเมื่อครั้งก่อนเกิด COVID-19 เนื่องจากพฤติกรรม และวิถีชีวิตบางอย่างของผู้คนเปลี่ยนไป

  • การให้บริการโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย และความสะอาด

  • การรักษารักษาห่าง Social Distancing

  • มีเทคโนโลยี Contactless ให้บริการลูกค้า เช่น เมนูแบบ Contactless, e-Payment

  • การทำงานภายในองค์กร Food Passion จาก Work From Home ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ได้ปรับเปลี่ยนเป็น Work Anywhere และเน้นการทำงานที่สร้างความร่วมมือด้วยกัน หรือ Collaboration โดยสามารถทำงานผ่านออนไลน์

6. “กลยุทธ์ระยะยาว” หาโมเดลธุรกิจใหม่ ทั้ง Diversify เพื่อกระจายความเสี่ยง และสร้างโอกาสการเติบโตใหม่, ช่องทางใหม่ในการเข้าถึงลูกค้า, สินค้าและบริการใหม่

Food Passion
ณธิดา รัฐธนาวุฒิ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Marketing Oops! และ ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด”

7. ปัจจุบัน Food Passion” มีพนักงานกว่า 2,000 คน ทั้งในส่วนออฟฟิศ, โรงงาน และสาขา ซึ่งการบริหารพนักงานในช่วงวิกฤต เน้นประคับประคองพนักงาน ให้อดทน และสู้ไปด้วยกัน พร้อมทั้งสื่อสารให้พนักงานได้รับทราบสถานการณ์องค์กรในวันนี้ ทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้า แชร์ผลลัพธ์ความสำเร็จของการทำงานร่วมกันให้พนักงานรู้

8. การเกิด COVID-19 ทำให้พฤติกรรม และวิถีชีวิตผู้บริโภคเปลี่ยน

  • กังวลเรื่องสุขภาพ และความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

  • ระมัดระวังการใช้จ่าย – เลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และคุ้มค่า

  • คนทุกวัยคุ้นชินกับเทคโนโลยี เช่น ซื้อสินค้าออนไลน์, ใช้ Food Delivery

  • ทำอาหารเองที่บ้านมากขึ้น

9. การเกิด COVID-19 ทำให้ Landscape ของธุรกิจร้านอาหารเปลี่ยน

  • เข้มงวดเรื่องความสะอาด

  • พัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ Delivery และ Take Home

  • เพิ่มโอกาสการขาย ด้วยช่องทางออนไลน์

  • ไม่หยุดพัฒนาสินค้า – บริการใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้าได้ต่อเนื่อง

10. จากบทเรียนที่ Food Passion ต้องเจอในช่วงที่ผ่านมา “คุณชาตยา” ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการธุรกิจใน 4 เรื่องน่าสนใจดังนี้

  • Stay Agile กล้าทิ้งของเก่า และกล้าทดลองทำสิ่งใหม่

  • Start Small เริ่มทำจากสิ่งเล็กๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่ต้องใช้ต้นทุนมาก

  • Keep Clam & Grace Under Pressure ผู้นำองค์กรต้องควบคุมอารมณ์ตัวเอง และทำตัวเป็น Thermostat ที่ควบคุมอุณหภูมิให้กับองค์กร

  • Stay Paranoid คิดเสมอว่าวิกฤต และการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอด ดังนั้นอย่าให้วิกฤตที่เกิดขึ้นเสียเปล่า แต่ให้มองว่าวิกฤตคือตัวเร่งให้เราตื่นตัว 

 


  • 554
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ