User Generated Content ยุคที่ผู้บริโภคเชื่อเนื้อหาผู้บริโภคด้วยกัน

  • 279
  •  
  •  
  •  
  •  

การทำการสื่อสารทางตลาดนั้นเป็นการสร้างการโน้มน้าว หรือดึงให้ผู้บริโภคมาสนใจ แต่หลาย ๆ ครั้งความน่าเชื่อถือของแบรนด์หรือพฤติกรรมที่แบรนด์หรือการตลาดอื่น ๆ ทำไว้นั้นทำให้ผู้บริโภคกลายเป็นว่าไม่เชื่อถืออะไรทั้งสิ้น แม้กระทั่ง Influencer เองที่นักการตลาดบางคนใช้ทำการสื่อสารการตลาดจนเละเทะ ทำให้ผู้บริโภคในยุคนี้กลายเป็นเชื่อสื่อที่เกิดจากผู้บริโภคด้วยกันเองเพิ่มมากขึ้น

screen-shot-2559-12-05-at-6-24-40-am

ผู้บริโภคในยุคนี้แตกต่างจากผู้บริโภคในอดีตอย่างมาก เพราะเมื่อจะทำการซื้อสินค้าอะไรในยุคนี้ผู้บริโภคไม่ได้ซื้อเลยทันที หรือทำการตัดสินใจอยู่นานด้วยตัวเองคนเดียว แต่เป็นการที่ผู้บริโภคนั้นเข้าไปหาข้อมูล สอบถามข้อมูลด้วยตัวเองกับเพื่อนหรือคนที่ไม่ได้รู้จักเลยผ่านเว็บบอร์ดหรือหน้าแฟนเพจต่าง ๆ ยิ่งสินค้านั้นมีมูลค่าที่มากการใช้เวลาในการสอบถามและหาข้อมูลก็มากตาม ในตอนนี้แม้แต่ตัวเราเองนั้นก็หาข้อมูลกับผู้บริโภคด้วยกันในการตัดสินใจที่จะจ่ายเงิน ลองนึกถึงการไปทานร้านอาหารที่ในยุคนี้ทุกคนก็ต้องอ่านรีวิวจากผู้บริโภคด้วยกันเองทั้งนั้นก่อนที่จะไปลองทานอาหารที่ร้านกัน ทั้งนี้เมื่อผู้บริโภคไม่เชื่อการสื่อสารทางการตลาด จากแบรนด์เอง สิ่งที่แบรนด์ทำนั้นก็ต้องหาวิธีการใหม่ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับผู้บริโภค ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสร้างเนื้อหาผ่าน Influencer แต่ด้วยวิธีการที่เอเจนซี่หลาย ๆ ที่มักทำกันคือจ่ายเงินและให้ Influencer เหล่านี้พูดแต่ข้อดี หรือพูดตามข้อความทางการตลาดที่แบรนด์ต้องการ ส่วนทางกับความรู้สึกกับผู้บริโภคที่ใช้สินค้าและบริการเหล่านั้นจริง ๆ ทำให้ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และ Influencer นั้นลดลงมาอีก

screen-shot-2559-12-05-at-6-23-20-am

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากความที่ผู้บริโภคเริ่มไม่เชื่อถือ Influencer  บางคนและแบรนด์บาง แบรนด์แล้ว ผู้บริโภคนั้นจึงมองหาสิ่งที่เรียกว่าความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภคด้วยกันเอง ทำให้การทำ User Generated Content  (UGC) ในยุคนี้กลับมามีความสำคัญอีกครั้ง โดยเฉพาะในแง่การสื่อสารทางการตลาดมากกว่าจะเป็นเรื่อง Content ที่ผู้บริโภคสร้างเพื่อความบันเทิงหรือแชร์กันเพื่อปั้นยอด Traffic Web แบบในสมัยเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ความเห็นของผู้บริโภคในยุคนี้กลายเป้นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคด้วยกันเองนั้นเกิดความเชื่อถือ เพราะเป็นเรื่องทางจิตวิทยาของผู้บริโภคที่คิดว่าผู้บริโภคด้วยกันเองนั้น ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแบรนด์ และเสียเงินในการซื้อของหรือใช้บริการนั้นจริง ๆ ทำให้น่าเชื่อได้ว่าความเห็นนั้นจะบริสุทธ์ใจในการทำ

screen-shot-2559-12-05-at-6-25-24-am

ในยุคที่ผู้บริโภคเบื่อการตลาดจากแบรนด์ที่พยายามจะยัดเยียดข้อความทางการตลาด และภาพทางการตลาดที่ถูกรีทัชมา และเห็นสินค้ากับบริการเหล่านี้ที่ในชีวิตจริงมันจะแตกต่างกัน การที่ผู้บริโภคไปหาคนที่ใช้สินค้าด้วยกันจริงมีมากขึ้นเพราะเห็นจริง ๆ ว่าสินค้าและบริการในมือคนใช้จริงเป็นอย่างไร จากการศึกษาของบริษัท Olapic ที่ทำเก็บข้อมูลเรื่อง User Generated Content ที่เกี่ยวข้องกับการภาพและวิดีโอ เช่น Instagram, Snapchat, Youtube, Facebook นั้นพบว่าจากกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจนั้น กว่า 71% นั้นเข้าไปดูภาพและวิดีโอที่ผู้บริโภคด้วยกันเองทำออกมา 2-3 ตั้งต่อสัปดาห์ ยิ่งเป็นคนยุค 2000 จะเข้าไปดูถึงวันละครั้งเลยทีเดียว  44% นั้นบอกว่าเมื่อเข้าไปดู UGC จะเชื่อในความเห็นของโพสมากกว่า Content ในรูปแบบอื่น ๆ มาก ๆ และ 76% บอกว่า UGC นั้นทำให้ดูว่ามีความซื่อสัตย์ในเนื้อหามากกว่า ทาง Olapic นั้นวิเคราะห์ว่าผู้คนในยุคนี้เข้าไปดูภาพและวิดีโอเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเบื่อ ซึ่งด้วยชีวิตของผู้บริโภคด้วยกันทำให้เกิดการสร้างภาพที่เป็นแรงบันดาลใจ การใช้ชีวิต และทำให้เกิดการอยากไปในจุดเดียวกันได้เช่นกัน

screen-shot-2559-12-05-at-6-22-53-am

ด้วยการที่ผู้บริโภคนั้นโพสเนื้อหามากมายผ่าน Social Media ต่าง ๆ และพบเจอแบรนด์ที่ผ่าน UGC อย่างมากมาย และพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้คือการค้นหาหรือดูเนื้อหาจากออนไลน์เหล่านี้ก่อนเริ่มกระบวนการซื้อของทั้งนั้น เพราะผู้บริโภคนั้นไม่ได้อยากเสี่ยงที่จะเสียเงินโดยได้สิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเองมาก ตัวอย่างในสินค้าแฟชั่นที่ผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคจะหาความเห็นใน 3 แหล่งที่มาที่ต่างกันถึงตัดสินใจซื้อได้ ในกลุ่มท่องเที่ยวนั้นผู้บริโภคจะค้นหาภาพสวย ๆ ที่คนอื่นถ่ายมาจากสถานที่ท่องเที่ยวหรืออ่านรีวิวสถานที่นั้นจากแหล่งที่มาถึง 4 ที่มาด้วยกัน นอกจากนี้ผู้บริโภคนั้นจะมีแนวโน้มซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถ้าเนื้อหานั้นเป็นภาพที่เกิดจาก UGC และด้วย UGC นี้ยังมีข้อดีคือกับการทำการตลาดและธุรกิจอีกด้วยคือทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่อยากที่จะร้องเรียนหรือเรียกเงินคืนยามสินค้าและบริการมีปัญหา เพราะคนอื่นไม่ได้มีปัญหาเหมือนตัวเองทำให้ไม่กล้าเรียกร้องอะไร แล้วแบรนด์จะเริ่มต้นกับ UGC อย่างไร

  1. ทำให้ผู้บริโภคสร้างเนื้อหากับแบรนด์เราขึ้นมา เพื่อให้ผู้บริโภคคนอื่นค้นพบได้
  2. เอาเนื้อหาจาก UGC นี้มาใส่ไว้ในเว็บ จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในสินค้าเพิ่มขึ้นไปอีก
  3. กระจายเนื้อหา UGC นี้ไปยัง Channels ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการรักษาภาพลักษณ์และกระแสเอาไว้

ทั้งนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปที่เชื่อในผู้บริโภคมากขึ้น แบรนด์เองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานตามและสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์แบบจริงใจ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและการสร้างลูกค้าทางการตลาดขึ้นมา


  • 279
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ