เปิด 3 มุมมองจากธุรกิจไทย อะไรคือ #ความเชื่อ สำคัญที่สุดในการปรับตัวยุคใหม่ GenWe

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  

 

สำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ หรือที่เราเคยได้ยินคำว่า GenWe ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อแบบใหม่ ไม่ได้นึกถึงแค่ตัวเองอีกต่อไป แต่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมและมุ่งขับเคลื่อนเพื่อสังคม อย่างที่ในงานสัมมนาของ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้ทำการสำรวจครั้งล่าสุด ซึ่งได้แบ่งผู้บริโภคออกเป็น 3 คลัสเตอร์ใหญ่ๆ

กลุ่มมังกร (Dragon) – กลุ่มแฟรี่ (Fairy) – กลุ่มฟีนิกซ์ (Phoenix) ที่ส่วนใหญ่จะนึกถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และความจริงใจระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคมากกว่าสิ่งอื่น

 

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

หมดยุค GenMe เปิดอินไซต์ผู้บริโภคยุค GenWe ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไหนถึงจะโดนใจ

 

ทั้งนี้ ยังมีไฮไลต์ที่น่าสนใจจากระดับผู้บริหารทั้ง 3 ธุรกิจของไทย ซึ่งได้พูดถึงวิธีการเปลี่ยนความคิดและความเชื่อในการดำเนินธุรกิจในยุคนี้ เพราะความเชื่อและคุณค่าของผู้บริโภคยุคใหม่ ต่างจากยุคก่อนๆ เกือบจะโดยสิ้นเชิง

อย่างเช่น คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) ได้พูดถุงยุคการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้พฤติกรรมคนเราเปลี่ยนไปมากขึ้น อยู่บ้าน ทำกิจกรรมที่บ้าน และหันมาใส่ใจสุขภาพมากกว่าเดิม ดังนั้น วี ฟู้ดส์ ในฐานะที่เป็นบริษัทเครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพ เห็นโอกาสที่จะ transform ตัวเองจากเดิมที่โฟกัสสินค้าเป็น #น้ำนมข้าวโพด ก็ปรับเป็นไลน์โปรดักส์ใหม่ อย่าง #Plant-based Meat หรือ โปรตีนจากพืช โดยเริ่มส่งออกไปยังประเทศอังกฤษเป็นที่แรก

Credit: CMMU

สำหรับโปรตีนจากพืช คุณอภิรักษ์ มองว่า นอกจากจะเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ ยังเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกด้วย ซึ่งวิกฤตการระบาดทำให้บริษัทต้องเปลี่ยน business model ใหม่เพื่อขยับปรับตัวได้เร็ว และจับต้องความต้องการของผู้บริโภคในยุค New Normal ได้ถูกต้อง

ยกตัวอย่าง สินค้าที่เป็นเพื่อสุขภาพต่างๆ ก่อนหน้านี้ผู้บริโภคยังมีความคิดว่า อาหารที่ดีมักจะไม่อร่อย หรือมีราคาแพงเกินไป แต่กระแสการดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ผู้บริโภคเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ง่ายขึ้น และเริ่มเชื่อว่าอาหารเพื่อสุขภาพมีคุณค่าพอที่จะยอมเสียเงินในราคาที่มองว่าคุ้มค่า เป็นต้น

 

ส่วนในมุมของ คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล บริษัท SCG Cement-Building Materials ได้พูดถึง พฤติกรรมและความเชื่อของคนในยุคนี้ที่มองว่า ทุกอย่างต้องเป็นออนไลน์ ซื้อของออนไลน์ ทำธุรกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านของยุคก็คือ ออนไลน์มีบทบาทสำคัญมากกว่าออฟไลน์ (แต่ไม่ได้หมายความว่า ออฟไลน์จะหายไป)

Credit: CMMU

แต่ก่อนจะรับมือผู้บริโภค 5.0 เราต้องตีโจทย์เรื่องเทคโนโลยีกันก่อน เพราะเทคโนโลยีไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมเอง ในอดีต Gen X อาจมีบทบาทกำหนดตลาด แต่ว่าในอนาคตคนรุ่นใหม่ Gen Z, มิลเลเนียลส์ จะเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการของตลาด สังคม ในรูปแบบใหม่

ดังนั้น สิ่งที่ธุรกิจต้องตามและเรียนรู้ให้มากขึ้น ก็คือ ผู้บริโภคในแต่ละ Gen ที่เป็นเป้าหมายหลักของเรา และผู้บริโภคที่มีบทบาทต่อตลาด (แม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเราก็ตาม) และที่สำคัญต้องเข้าใจด้วยว่า Gen ใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดไม่ใช่แค่พฤติกรรมที่ต่าออกไป แต่ความต่างเกิดขึ้นตั้งแต่ #ระบบความคิด

โดยคุณอภิรัตน์ ได้อธิบายเพิ่มว่า สำหรับสินค้าและบริการ ต้องคิดในมุมใหม่ว่าจะให้ประสบการณ์อะไรกับพวกเขา หรือพวกเขาจะได้อะไรจากสินค้าและบริการของเรา ไม่ใช่แค่สินค้านั้นๆ สะอาด ดี ราคาถูก เหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่มันต้องให้มากกว่า เช่น #ประสบการณ์หรือคุณค่าทางใจ

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ ธุรกิจ Airbnb ที่มีบริการเปิดบ้านให้แขกมาพัก เพื่อเสิร์ฟกับความต้องการแปลกใหม่ที่พวกเขามองหา ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่สิ่งที่คุ้นเคยแบบเดิม

พูดสรุปก็คือ ผู้บริโภค Gen ใหม่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับ emotional value, special value มากกว่าที่จะเน้นการตอบโจทย์เรื่อง condition value หรือฟังก์ชั่นต่างๆ

 

มาถึง คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ Group CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ให้คำแนะนำในฐานะคนรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อย คุณจิรายุส พูดว่าถึงแม้ว่าจะเกิดโควิด หรือไม่เกิดโควิด การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ

Credit: CMMU

ดังนั้น พูดได้ว่าแนวโน้มผู้บริโภคในอนาคตจะเข้าถึงสิ่งต่างๆ มากขึ้นผ่านเทคโนโลยี และประเมินไว้ว่า โลกอีก 10 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะการสะสมความมั่งคั่งที่จะเกิดขึ้นมหาศาลกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังพูดถึง business model แบบเก่าๆ ที่หลายคนมักจะ assumption กันว่า #ต้องเชื่อคนที่อาบน้ำร้อนมาก่อน สำหรับ คุณจิรายุส มองว่าไม่สามารถใช้ตรรกะนี้ได้แล้วเพราะทุกๆ อย่างรอบตัวเปลี่ยนไป สิ่งที่เกิดขึ้นมันคนละยุคคนละสมัยกัน ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้ได้ โดยเฉพาะการดำเนินการถ้าทุกอย่างเป็นออฟไลน์จะทำให้บริษัทโตช้า

ที่สำคัญกลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าที่เป็น traditional consumers/users ธุรกิจต้อง kick off มุมคิดใหม่ รูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเสียเปรียบได้ในตลาดการแข่งขัน

 

 

 

ข้อมูลโดย CMMU – WEvolution: ปฏิบัติการถอดรหัสผู้บริโภคยุค 5.0


  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม