รวบตึง! อีเว้นท์แห่งปี เปิดเคล็ดลับ “Unboxed 2023 Opportunities with TikTok” ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ

  • 4.9K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในโลกยุค Platform Era คงต้องยอมรับว่าแพลตฟอร์ม TikTok” ได้พลิกโฉมการทำคอนเทนต์วิดีโอ ไปสู่รูปแบบ Short Video” ตอบโจทย์พฤติกรรมการเสพสื่อของผู้คนทุกวันนี้ที่ต้องการความรวดเร็ว กระชับ ย่อยง่าย กลายเป็น Community ขนาดใหญ่ที่มีทั้งครีเอเตอร์มากมายมาสร้างสรรค์คอนเทนต์ และผู้ชมหลากหลาย ขณะเดียวกันยังเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อแบรนด์ – ครีเอเตอร์ – ผู้บริโภคเข้าด้วยกัน นำไปสู่ประสบการณ์ Infinity Loop” หรือประสบการณ์การซื้อขายไม่รู้จบ นี่จึงทำให้ TikTok” เป็นแพลตฟอร์มสำคัญของแบรนด์ นักการตลาด นักโฆษณา ในทุกอุตสาหกรรม ในทุกขนาดธุรกิจ

ด้วยเล็งเห็นว่านับวัน TikTok” จะมีบทบาททั้งต่อผู้บริโภค และแบรนด์มากขึ้น จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่าง TikTok” กับ Marketing Oops!” จับมือสร้างพื้นที่แห่งใหม่ขึ้นมาบนเว็บไซต์ Marketing Oops! ในชื่อ TikTok Unboxed Series with Marketing Oops!”

เพื่อนำเสนอ Exclusive Content Series พาแบรนด์ ผู้ประกอบการ นักการตลาด นักโฆษณาไปเจาะลึกทำความรู้จัก TikTok ที่เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มความบันเทิง แต่เป็น Full Funnel Solution ให้กับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่สร้างการรับรู้ ไปจนถึงปิดการขาย และบอกต่อ ใน Exclusive Series จึงอัดแน่นข้อมูลความรู้ ทั้ง Insight ผู้ใช้งาน, กรณีศึกษาแคมเปญการตลาดบน TikTok ที่ประสบความสำเร็จ และ Playbook เปรียบเสมือนคัมภีร์ที่แบรนด์ในธุรกิจต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้

ในวันนี้  TikTok Unboxed Series with Marketing Oops!” เดินทางมาถึงอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือ งานสัมมนาออนไลน์ Unboxed 2023 Opportunities with TikTok” ประกอบด้วย 7 หัวข้อ จาก Speaker ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด แบรนด์ และการสื่อสาร ทั้งจาก TikTok เอเจนซี และแบรนด์

 

 

Marketing Oops! ได้สรุปเนื้อหาสำคัญทั้ง 7 Session ของอีเว้นท์ Webinar ครั้งนี้ อัดแน่นด้วยข้อมูลอัพเดทล่าสุด และความรู้ที่ธุรกิจ นักการตลาด นักโฆษณา/นักสื่อสาร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำการตลาด สื่อสาร และการขายบน TikTok เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

 

จับตาเทรนด์ผู้บริโภค ในยุคโลกเปลี่ยนไว – โซเชียลเปลี่ยนไป

เริ่มด้วยอัพเดทอินไซต์และพฤติกรรมผู้บริโภคในหัวข้อ “Unboxed Customer Insight: เทรนด์ผู้บริโภค โลกเปลี่ยนไว โซเชียลเปลี่ยนไป” โดย คุณแพน จรุงธนาภิบาล Director – Marketing and Development, GroupM Thailand ได้นำเสนอผลสำรวจและวิจัย Consumers Untold 2022 – 2023 ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ Life: การใช้ชีวิตของผู้บริโภคไทย, Media: พฤติกรรมการใช้สื่อของคนไทย และ Moving Forward: คำแนะนำสำหรับแบรนด์ ผู้ประกอบการ นักการตลาด นักโฆษณา

 

Life: โควิดคลี่คลาย แต่คนไทยเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด-ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา คนไทยเข้าสู่สภาวะ Now Normal กลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านตามปกติแล้ว อย่างไรก็ตามแม้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย แต่ผู้บริโภคไทยยังต้องเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัดรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น

– ปัจจัยด้านเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย แต่กระทบทั่วโลก ทั้งภาวะสงคราม น้ำมันแพง และเงินเฟ้อ

ส่งผลให้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในการดำรงชีวิตราคาแพงขึ้น ในขณะที่เงินในกระเป๋าเท่าเดิม หรือลดลง

– นอกจากนี้คนไทยยังต้องเจอกับมิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบ Call Center และผ่านแพลตฟอร์ม Social Media

ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคไทยในภาพรวมค่อนข้างฝืดเคือง ไม่สามารถใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่ และด้วยภาวะเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนด้านการเงิน หลายคนจึงต้องทำอาชีพเสริม เพื่อหารายได้เพิ่มขึ้นมาจุนเจือครอบครัว เช่น เป็นไรเดอร์ให้กับแพลตฟอร์ม On Demand ประกอบกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคไทยรู้สึกเครียด ไม่มีความสุข และมองว่าไม่สามารถวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ช่วงนี้สิ่งต่างๆ จะเริ่มกลับมาและมีความหวังเข้ามาบ้างแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตามจากความเครียดที่เกิดขึ้น ทำให้คนไทยบางส่วน เลือกที่จะออกจากกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ แล้วกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ด้านอาชีพการทำงานให้กับตัวเอง แม้รายได้จะไม่เท่ากับเมื่อครั้งอยู่ในเมืองก็ตาม แต่ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ โดยที่ความเครียดลดน้อยลง

เมื่อกลับไปอยู่บ้านเกิด ยังคงติดตามข่าวสารจากกรุงเทพฯ เช่น ในปี 2022 เป็นปีที่มีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร คนต่างจังหวัดสนใจและติดตามข่าวการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เพราะฉะนั้นชุมชนในต่างจังหวัด ก็เปิดรับข่าวสารไม่ต่างจากกรุงเทพฯ

 

 

Media: คนไทยใช้ TikTok ทุกเจน เพื่อความบันเทิง – ติดตามข่าวสาร และเป็นประตูสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่

ในปี 2022 – 2023 ภาพรวม “สื่อ” เป็นโลกของ Multi-screen นั่นคือ ทุกอย่างอยู่บนหน้าจอดิจิทัล ซึ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ

– จอใหญ่ เช่น ทีวี ปัจจุบันครัวเรือนในไทยส่วนใหญ่ใช้ Digital TV กันแล้ว โดยประเภทคอนเทนต์ที่คนไทยนิยมรับชมผ่านจอทีวี เช่น ถ่ายทอดสดกีฬา, ข่าว, ภาพยนตร์ เพราะต้องการรายละเอียดชัดเจน ทั้งภาพและเสียงที่คมชัด

– จอมือถือ ประเภทคอนเทนต์ที่คนไทยนิยมรับชมผ่านจอมือถือ เช่น ข่าวด่วน, ข่าวทันกระแส, คอนเทนต์สั้น, คอนเทนต์สนุกสนาน, เกม, เทรนด์ต่างๆ เนื่องจากการเปิดรับคอนเทนต์ผ่านมือถือ เร็วกว่าจอทีวี

 

ขณะที่ Top Application ในปี 2022 พบว่า “TikTok” เป็นหนึ่งในแอปฯ ที่ได้รับความนิยม โดยพบ Insights การใช้งานในผู้บริโภคไทยดังนี้

– ผู้บริโภคใช้ TikTok ไม่ใช่แค่ด้านความบันเทิงอย่างเดียว แต่ยังใช้เป็นช่องทางติดตามข่าวสารด้วย

– ผู้บริโภคบอกว่า TikTok เป็นเหมือน gateway ที่เปิดโลกเขาให้เข้าไปเจอสิ่งใหม่ๆ ก่อน แล้วจากนั้นจะค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมจากแพลตฟอร์มอื่น

– ด้วยความที่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น จึงเป็นทางเลือกในการเสพข้อมูล ข่าวสาร หรือเทรนด์ต่างๆ ที่ย่อยง่าย กระชับ และรวดเร็ว ขณะที่คอนเทนต์ยาว ผู้บริโภคยังให้ความสนใจ แต่คอนเทนต์นั้นต้องเกี่ยวข้องกับความสนใจของตัวเองด้วย เพราะฉะนั้นทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Me Moment” นั่นคือ ผู้บริโภคให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่ต้องการ หรือสนใจจริงๆ

–  TikTok ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่มีแค่กลุ่มวัยรุ่น และวัยเริ่มต้นทำงานใช้เท่านั้น แต่พบว่า “คนสูงอายุ” หรือ “วัยเกษียณ” ก็เล่น TikTok ด้วยเช่นกัน โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มองว่าเป็นการเปิดโลกใหม่ที่ทำให้ตนเองได้เจอคอนเทนต์ใหม่ที่หลากหลาย บวกกับการนำเสนอย่อยมาให้เข้าใจง่ายขึ้น

ดังนั้น TikTok ไม่ใช่แค่โอกาสสำหรับแบรนด์ หรือนักการตลาดที่อยากใช้เป็นแพลตฟอร์มเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสื่อสารไปยังทุก Generation ที่เข้ามาในโลกของ Short Video นี้มากขึ้น

– ในอดีตดารา คนดัง หรือเซเลบริตี้ มีอิทธิพลต่อคนไทยในวงกว้าง แต่ทุกวันนี้  KOL หรือ Influencer รายย่อยจำนวนมากที่อยู่บน Social Media มีผลต่อผู้บริโภค ซึ่ง KOL หรือ Influencer หลายคนก็แจ้งเกิดจากแพลตฟอร์ม TikTok

 

 

Moving Forward 2023: วิดีโอสั้นคือ New Mass ที่เข้าถึงทุกคน

ในช่วงท้าย คุณแพน ได้ให้ 3 คำแนะนำสำหรับปี 2023 เพื่อเป็นประโยชน์แก่แบรนด์ ผู้ประกอบการ นักการตลาด นักโฆษณา

  1. Short Video เป็น New Mass ที่คนให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น และเข้าถึงทุกคน เพราะด้วยจุดเด่นที่ย่อยง่าย รับชมได้อย่างรวดเร็ว
  2. Me Moment ที่เกิดขึ้น แบรนด์ต้องคิดในมุมของผู้บริโภคมากขึ้น โดยไม่ใช้แมสเสจเดียวกันหว่านไปถึงผู้บริโภคทั่วประเทศ หรือทุก Generation และถึงแม้บนแพลตฟอร์มเดียวกัน แต่ผู้ใช้ก็มีความแตกต่างกัน เช่น TikTok ผู้ใช้กลุ่มวัยรุ่น, คนทำงาน, วัยเกษียณ มีความต้องการเสพคอนเทนต์แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น วัยรุ่นอาจชอบดูคอนเทนต์ความบันเทิง ร้อง-เต้น ขณะที่ผู้สูงวัย ชอบดูคอนเทนต์ข่าว เป็นต้น
  3. Quick & Convenience Wins แบรนด์ต้องเข้าใจ Customer Journey ไม่ว่าจะเป็นการย้ายจากแพลตฟอร์มเดิม สู่แพลตฟอร์มใหม่ ย่อมมีการใช้งาน คุณลักษณะ และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นแบรนด์ต้องนำเสนอคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับแพลตฟอร์ม ถูกจังหวะเวลา และพฤติกรรมของผู้บริโภคเมื่ออยู่บนแพลตฟอร์มนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ชนะใจผู้บริโภค

 

ค้นคำตอบ “TikTok” สร้าง Impact ต่อธุรกิจอย่างไร และเคล็ดลับทำแคมเปญปี 2023

หลังจากอัพเดทอินไซต์ และพฤติกรรมผู้บริโภคไทย ทั้งการใช้ชีวิต และการใช้สื่อในปัจจุบันไปแล้ว ร่วมเจาะลึกแพลตฟอร์ม TikTok” กับหัวข้อ Unboxed TikTok Community – เปิด Community บน TikTok การเติบโตที่รวดเร็วและแตกต่าง สร้าง impact ให้กับหลายอุตสาหกรรม” โดย คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ Business Marketing Lead, TikTok Thailand & Philippines ใน 2 ประเด็นสำคัญคือ พฤติกรรมผู้บริโภคบน TikTok ในปี 2022 – 2023 และเคล็ดลับการทำแคมเปญในปี 2023

ด้วยความที่ TikTok” เป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งให้ความบันเทิง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และแบ่งปันความสุขให้กับผู้คนใน Community ซึ่งในชุมชนมีกลุ่มผู้ใช้ และคอนเทนต์หลากหลาย ทั้งความบันเทิง ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคน นอกจากนี้ยังสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และผู้ใช้งาน

 

ผลสำรวจผู้ใช้งาน TikTok ในปี 2022 พบว่า

– 81% ของผู้บริโภคบอกว่าหลังจากเข้ามาใช้ TikTok รู้สึกมีความสุข ได้รับพลังบวกมากขึ้น และยังได้ไอเดียใหม่ด้วย

– ปัจจุบันคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมบน TikTok ไม่ใช่แค่คอนเทนต์ร้องและเต้นเท่านั้น แต่ยังมีหลากหลายประเภท โดย 3 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ เกม, อาหาร และเครื่องดื่ม, ความสวยความงาม

– ขณะที่คอนเทนต์ที่มีการเติบโตสูงสุด และเติบโตต่อเนื่องคือ แฟชั่น และการแต่งตัว, การเงิน, กีฬา และการออกกำลังกาย

นอกจากนี้ TikTok ไม่เพียงแต่มอบความสุข – ความบันเทิงให้กับผู้ชม/ผู้ใช้งานแล้ว ยังทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์การซื้อขายระหว่างแบรนด์ กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และเปลี่ยนพฤติกรรมการช้อปของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน อีกทั้งการที่แพลตฟอร์มที่มีครีเอเตอร์ มาสร้างสรรค์คอนเทนต์หลากหลาย ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสิใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น – เร็วขึ้น ผลสำรวจพบว่า

– 92% ของผู้บริโภคบอกว่าได้ตัดสินใจซื้อสินค้าหลังได้ชมคอนเทนต์บน TikTok

– 3 ใน 5 ของผู้บริโภคบอกว่าค้นหาสินค้าจาก TikTok

– 1 ใน 2 ของผู้บริโภคบอกว่า ตัดสินใจซื้อสินค้าหลังจากเห็นแบรนด์บน TikTok

– 89% ของผู้บริโภคบอกว่าครีเอเตอร์ทำให้เขาตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ในการใช้ครีเอเตอร์ ช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์ หรือช่วยรีวิวผลิตภัณฑ์-บริการ

 

 

 

ที่สำคัญTikTok” ทำให้ประสบการณ์การซื้อขายของแบรนด์เปลี่ยนไป จากในอดีต แค่ซื้อแล้วจบไป แต่บนแพลตฟอร์ม TikTok สร้างประสบการณ์รูปแบบ “Infinity Loop” การซื้อขายต่อเนื่องและบอกต่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เริ่มจากผู้บริโภคค้นพบสินค้าบน TikTok เกิดความสนใจและพิจารณา จากนั้นตัดสินใจซื้อ และนำมาใช้ เมื่อใช้แล้วรู้สึกดี เกิดการบอกต่อให้กับชุมชนและในวงกว้างได้รับรู้ เป็น Infinity Loop ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

– ในต่างประเทศเรียกประสบการณ์ Infinity Loop ว่า TikTok made me buy it ขณะที่ในไทยเรียกว่า #tiktokป้ายยา ปัจจุบัน Hashtag นี้มีผู้ชมมากกว่า 130 ล้านวิว (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2566)

– 73% ของผู้บริโภครู้สึกผูกพันและเข้าถึงแบรนด์ได้บน TikTok มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

– 73% ของผู้ใช้บอกว่าเวลาดูโฆษณาบน TikTok รู้สึกว่าไม่ถูกยัดเยียดจากแบรนด์ และเนื้อหามีความกลมกลืนกับสิ่งที่เขากำลังมีความสุขในการดูอยู่

 

 

ขณะที่เคล็ดลับการสร้างสรรค์คอนเทนต์และแคมเปญบน TikTok แบรนด์ควรทำคอนเทนต์ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อสื่อสารและสร้าง Engagement กับผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ เพียงแต่มีช่วงเวลาพิเศษที่แบรนด์โฟกัสในการทำแคมเปญ คือ

– ช่วงสงกรานต์ และซัมเมอร์

– เทศกาล Mega Sale ลดราคาครั้งใหญ่ที่เป็น Double Day เช่น 10.10, 11.11, 12.12

 

เหตุผลที่แบรนด์ควรเน้นทำแคมเปญในช่วงสงกรานต์ และซัมเมอร์ ผลสำรวจพบว่า

– 97% ของผู้บริโภคบอกว่าในช่วงเทศกาลนี้เขายังคงใช้ TikTok เหมือนเดิม และมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ดังนั้นเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ในการเข้าถึงผู้บริโภคที่ยังอยู่ในแพลตฟอร์ม TikTok

– 52% ของผู้บริโภคบอกว่าใช้ช่วงเวลาทั้งก่อนสงกรานต์ และระหว่างสงกรานต์ เข้า TikTok เพื่อหาแรงบันดาลใจ หรือไอเดียใหม่ๆ ในการท่องเที่ยว ซื้อสินค้า หรือเตรียมตัวสำหรับเทศกาลสงกรานต์ และซัมเมอร์ที่กำลังจะมาถึง

– 85% ของผู้บริโภคบอกว่าคอนเทนต์บน TikTok เปิดโอกาสให้เขารู้สึกอยากใช้จ่าย และมีความตั้งใจใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงเทศกาล

– ผู้ใช้ TikTok มีโอกาสใช้จ่ายหลังจากเห็นคอนเทนต์ และใช้จ่ายมากกว่าผู้ใช้บนแพลตฟอร์มอื่นถึง 1.5 เท่า

 

ขณะที่คอนเทนต์ที่คนนิยมดูในช่วงก่อน และระหว่างเทศกาลสงกรานต์

– อาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาของการพบปะของครอบครัว, เพื่อน คอนเทนต์อาหารจึงได้รับความสนใจสูงสุด

– การท่องเที่ยว

– ประสบการณ์ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถทำได้ในช่วงวันหยุดยาว

แบรนด์จะเข้าไปอยู่ในคอนเทนต์ช่วงเวลาพิเศษนี้ได้ด้วยการ Blend-in ผลิตภัณฑ์ หรือบริการอยู่ในคอนเทนต์ และดึงจุดเด่นของสินค้าที่เข้ากับช่วงเทศกาล มาสื่อสารให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องสำอางกันน้ำ, อาหารพกพาเดินทางท่องเที่ยวได้

 

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเทศกาลที่แบรนด์ควรทำแคมเปญ คือ Mega Sale หรือเทศกาลลดราคาครั้งใหญ่ เช่น Double Day ช่วงปลายปี โดยผลสำรวจพบว่า

– ผู้ใช้ TikTok เป็นนักช้อปตัวยง ที่จะไม่พลาดเทศกาลลดราคาครั้งใหญ่ และมุ่งมั่นซื้อของในช่วงเทศกาลลดราคา

– ผู้บริโภคเริ่มเข้ามาหาความรู้ และแรงบันดาลใจตั้งแต่ก่อนวันลดราคาจริง ดังนั้นแบรนด์ควรเริ่มทำคอนเทนต์ตั้งแต่วันก่อนลดราคาจริง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูล และเตรียมความพร้อมในการซื้อ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจเร็วขึ้นในวันลดราคา

– 88% ของผู้บริโภคบอกว่าตั้งตารอที่จะให้มาถึงวันเทศกาลลดราคา

– 88% สินค้าที่ตั้งใจจะซื้อ เขาจะใส่ตะกร้ารอไว้ และจะไม่ check-out จนกว่าจะถึงวันลดราคา

– ผู้ใช้ TikTok มีโอกาสตัดสินใจซื้อมากกว่าผู้ใช้บนแพลตฟอร์มอื่นถึง 3.7 เท่า

จากพฤติกรรมผู้ใช้งาน TikTok และการทำแคมเปญในปี 2023 จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน TikTok เป็นแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงสำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่ม จึงเปิดโอกาสให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่มเป้าหมาย และสร้างประสบการณ์ซื้อขายแบบ Infinity Loop

ดังนั้นแบรนด์ควรทำคอนเทนต์บน TikTok ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และเน้นในช่วงเวลาพิเศษ เช่น ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือซัมเมอร์, ช่วง Mega Sale นอกจากนี้เพื่อช่วยให้แบรนด์ประสบความสำเร็จTikTok ได้พัฒนาเครื่องมือด้านการตลาดให้กับแบรนด์ในทุกขนาดธุรกิจ

 

ฮาวทูปั้น Creative Content บน TikTok ให้ปัง!

มาต่อกันที่เทคนิคการสร้าง Creative Content บน TikTok ในหัวข้อ “Unboxed the TikTok Creativity Techniques สร้างครีเอทีฟบน TikTok อย่างมีจริต รวมเทคนิคสำคัญๆ เพื่อนักการตลาดในทุกสายพันธุ์” โดย คุณรวิน จิระกรานนท์ Creative Strategist, TikTok ได้ฉายภาพสถิติว่าปัจจุบัน 71% ของผู้ใช้ TikTok รู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ที่นำเสนอคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย Subculture และเทรนด์

นิยามของ Subculture” คือ กลุ่มคนที่มีความชอบเหมือนๆ กัน เช่น เพลง แฟชั่น การทำอาหาร เป็นต้น รวมถึงกลุ่มคนที่มีลักษณะเฉพาะ อย่างกลุ่ม LGBTQ+  ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการแบ่งด้วย Subculture ต่างๆ จะทำให้คอนเทนต์ที่นำเสนอนั้น เข้าถึงคนได้กว้างและง่ายขึ้น ขณะเดียวกันในมุมของแบรนด์ ถ้านำเสนอผ่านคอนเทนต์ที่เป็น Subculture ก็จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงได้มากขึ้น

 

ตัวอย่าง Subculture ใหญ่บน TikTok เช่น

– FitTok เป็นกลุ่มคนที่ชอบออกกำลังกาย โดยกลุ่มสินค้าที่เหมาะเข้าไปใน Subculture นี้ เช่น อาหาร, แฟชั่น

– E-girls และ E-boys ย่อมาจาก Emo-girls และ Emo-boys เป็นกลุ่มที่แต่งตัวเฉพาะทางตามความชอบของตัวเอง เช่น ชื่นชอบอนิเมะ, เกม ก็จะแต่งตัวแนวอนิเมะ, เกมมิ่ง โดยกลุ่มสินค้าที่เหมาะเข้าไปใน Subculture นี้ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม, ความงาม อุปกรณ์ Gadget ต่างๆ

 

 

ขณะที่ “เทรนด์” คือ คอนเทนต์ที่เป็นกระแสอยู่ในช่วงเวลานั้น เช่น เพลง อาหาร ไลฟ์สไตล์ สิ่งที่ทำให้ทราบว่าอะไรกำลังเป็นเทรนด์อยู่ใน TikTok คือการค้นหา Hashtag อย่างคอนเทนต์ติด Hashtag ที่เป็นกระแสในช่วงที่ผ่านมาของ TikTok เช่น แผ่นเสียง งานไม่ใหญ่แน่นะวิ เพลงทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย ฟิลเตอร์การ์ตูน คอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น

เพราะฉะนั้นแบรนด์ที่ทำการตลาดและสื่อสารบน TikTok ควรให้ความสำคัญกับเทรนด์ เนื่องจากเพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์ของแบรนด์เข้าไปอยู่ใจผู้บริโภคมากขึ้น สะท้อนได้จากผลสำรวจ TikTok พบว่า

– 77% ผู้บริโภคจะชอบแบรนด์มากขึ้น ถ้าแบรนด์ทำคอนเทนต์ตามเทรนด์ต่างๆ บน TikTok และแบรนด์ที่ทำคอนเทนต์ตามเทรนด์จะทำให้ตัวคอนเทนต์อยู่บน TikTok นานขึ้น

 

เมื่อเจาะลึกประเภทเทรนด์บน TikTok แบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. Moments เทรนด์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ภายใน 1 – 2 วัน แล้วหมดกระแสไป
  2. Signals เทรนด์ที่เกิดขึ้นอยู่นานเป็นรายเดือน หรือนานเป็นปี
  3. Forces เทรนด์ที่เกิดขึ้นและอยู่นานเป็นหลัก 10 ปี เทรนด์นี้จะสามารถเปลี่ยนค่านิยมของผู้บริโภคได้

 

 

ตัวอย่างเทรนด์ที่แบรนด์สามารถใช้นำมาสื่อสารให้เหมาะกับกลุ่มสินค้าได้ เช่น

– Nano Trend เหมาะกับสินค้าประเภทความงาม อาหารเครื่องดื่ม

– Curated Imperfection เทรนด์ไลฟ์สไตล์การเป็นตัวของตัวเอง เหมาะกับกลุ่มสินค้าความงาม แฟชั่น

– Nostalgia การทำคอนเทนต์ย้อนยุค ที่เห็นชัดเจนคือ เทรนด์ Y2K ที่กำลังเป็นกระแสในยุคนี้ สามารถประยุกต์ได้กับทุกธุรกิจ โดยใส่ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ในการทำคอนเทนต์

– Slow Living เทรนด์การใช้ชีวิตเรียบง่าย เหมาะกับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

สำหรับประโยชน์ที่แบรนด์ได้จากการใช้ Subculture และเทรนด์ คือ ทำให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งกับ Community บน TikTok นำไปสู่ผู้บริโภคให้การตอบรับแบรนด์มากขึ้น เข้าถึงสินค้าง่ายขึ้น อยากลองซื้อสินค้า และยังทำให้แบรนด์ดูทันสมัยขึ้น

แบรนด์ควรเลือก Subculture หรือเทรนด์ที่เกิดขึ้นให้เหมาะกับประเภทสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำมาเป็นไอเดี ผสานอยู่ในแมสเสจของคอนเทนต์ที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

 

เปิดเบื้องหลังพลังความคิดสร้างสรรค์ สร้างกระแสระดับ Mass

เพื่อให้เห็นภาพการใช้พลังความคิดสร้างสรรค์ มาสร้างคอนเทนต์บน TikTok ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย ได้ชัดเจนขึ้น มาเรียนรู้ผ่านหัวข้อเสวนา “เปิดความสร้างสรรค์และเบื้องหลังพลังของความครีเอทีฟที่ต่อยอดสู่ความสำเร็จ เพราะความครีเอทีฟบน TikTok นั้นแตกต่าง สร้าง impact ระดับแมส” จาก 2 ผู้เชี่ยวชาญในวงการโฆษณา และ Influencer ได้แก่ คุณสมพัฒน์ ทฤษฎิคุณ Chief Creative Officer (CCO), The Leo Burnett Group Thailand และ คุณสุวิตา จรัญวงศ์ Co-founder & CEO, Tellscore ดำเนินรายการโดย คุณทสร บุณยเนตร Chief Creative Officer (CCO), BBDO Bangkok

เวทีนี้ได้ชี้ถึงความแตกต่างของงานครีเอทีฟยุคก่อน กับยุคปัจจุบันนั้นแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด โดยปัจจุบันการสร้างสรรค์คอนเทนต์ต่างๆ จะเชื่อมโยงกับ Insight” ของผู้คน และ Data” เป็นตัวตั้งต้น ทำให้คอนเทนต์ต่างๆจะนำเสนออกมาอย่างหลากหลาย

อย่างไรก็ตามในขณะที่ Insight และ Data มีความสำคัญ แต่งานครีเอทีฟ หรือคอนเทนต์ “ความคิดสร้างสรรค์” ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ “แพลตฟอร์ม” ที่จะนำเสนอคอนเทนต์นั้นๆ

อย่างแพลตฟอร์ม TikTok” มีการนำเสนอที่แตกต่าง เช่น เป็นวีดีโอแนวตั้งมีความยาวเริ่มต้นที่ 15วินาที เหมือนการสร้าง Infographic ที่เล่าเรื่องได้ และมีเรื่องของช่วงเวลาในการโพสต์ที่จะช่วยทำให้ได้ Engagement ดี สิ่งเหล่านี้เป็นสมการที่นักการตลาดต้องรู้ในการผลิตคอนเทนต์แต่ละชิ้นเพื่อนำเสนอผู้บริโภค

 

 

นอกจากนี้ในมุมมองของ คุณสมพัฒน์ จาก The Leo Burnett Group Thailand เกี่ยวกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้มี Engagement ที่ดี เริ่มต้นจากการมี Big Idea ที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีตัวแปรอื่นๆ เช่น การทำคอนเทนต์ให้ถูกจังหวะ กระแส ณ ช่วงเวลานั้น รวมทั้งเวลาในการโพสต์

พร้อมทั้งกล่าวเพิ่มเติมว่า TikToker” ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการคิดและสร้างคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจผ่านตัวตน TikToker คนนั้นๆ โดย TikToker ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างก็จะเป็นตัวเลือกแรกๆ ของแบรนด์ในการใช้สื่อสารเนื้อหาที่มีแบรนด์ ขณะเดียวกันยังมี TikToker ที่มีผู้ติดตามหลักพันที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี เนื่องจากเป็นผู้ติดตามที่มีคุณภาพ ก็จะทำให้ได้ Engagement ที่ดีเช่นกัน

 

 

ทางด้านมุมมองของ คุณสุวิตา จาก Tellscore เกี่ยวกับการสร้างโฆษณาของแบรนด์ให้เกิด Impactบน TikTok สิ่งสำคัญคือการเลือก TikToker ให้ตรงกับแบรนด์ หรือสิ่งที่แบรนด์กำลังจะสื่อสาร โดยแบ่ง TikToker ให้เป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มสัตว์เลี้ยง กลุ่มแฟชั่น เมื่อแบ่งเป็นเซ็กเมนต์ได้แล้วจะเห็นภาพชัดว่า TikToker เหล่านั้นมีผู้ติดตามเป็นคนกลุ่มไหนบ้าง ทำให้การสื่อสารของแบรนด์ตรงจุดมากขึ้น

นอกจากนี้การสร้างคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จในยุคนี้หัวใจหลักคือ การสร้างให้เกิดปรากฏการณ์ โดยตัวแปรของการสร้างปรากฎการณ์ คือ การคิดไอเดีย และช่วงเวลาในการนำเสนอ

ประกอบกับ TikTok เป็นแพลตฟอร์มความบันเทิง จึงสามารถสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าได้อย่างธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมี  “TikTok Shop” เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้แบรนด์มองเห็นช่องทางในการนำเสนอสินค้าผ่านการใช้ TikToker นำเสนอไอเดีย และเปิดประประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ง่ายขึ้น กลายเป็น Ecosystems ที่แข็งแรง

 

 

ถอดสูตรกลยุทธ์การตลาดช่วงเทศกาลสำคัญ ดันยอดขายทะลุเป้า

อีกหนึ่งไฮไลท์ของงานอีเว้นท์ครั้งนี้ ต้องไม่พลาดเวที The Moment of Seasonal Commerce เปิดโลกคอมเมิร์ซ ในวันที่เทศกาลได้จุดประกายของการช้อปปิ้ง สร้างความพร้อม จัดให้ปังกับสูตรการตลาดช่วงเทศกาลและวันสำคัญของปี 2023 กับ 3 ผู้บริหารและนักการตลาด คุณ Natbodee Boonparm, Managing Director, Fresh Doze,

คุณ Wiratchapong Chantapan, Digital Marketing Manager, Suntory PepsiCo Beverage (Thailand), คุณ Cholticha Ngamkamollert, Client Partnership Lead, TikTok ดำเนินรายการโดย คุณลลิต คณาวิวัฒน์ไชย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์, ปับลิซิส มีเดีย ประเทศไทย

คุณ Wiratchapong จาก PepsiCo ฉายภาพว่าในตลาด Food & Beverage ที่มีหลากหลายแบรนด์ นักการตลาดและแบรนด์จึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่าง โดยเฉพาะในช่วง Seasonal คู่แข่งต่างออกมาทำการตลาดอย่างมากมาย

นอกจากนี้ ผู้บริหารจาก PepsiCo ประเทศไทย ยังได้ให้คำแนะนำการทำตลาดบนแพลตฟอร์มTikTok ว่า ต้องให้ความสำคัญดังนี้

–  ในการสื่อสารกับผู้บริโภคต้องคิดถึง “Entertainment Value” ที่จะส่งมอบให้ผู้บริโภค เนื่องจาก TikTok เป็นแพลตฟอร์ม Entertainment

– คอนเทนต์ Creativity ถือเป็นตัวปลดล็อคในการสร้างคอนเทนต์บน TikTok แต่ขณะเดียวกันก็ควรต้องใช้ Resource จากที่อื่นๆ เพื่อช่วยให้เกิดไอเดีย Creativity ที่ดีที่สุด

– แบรนด์หรือนักการตลาดจะทำคอนเทนต์อะไรบน TikTok คอนเทนต์นั้นจำเป็นต้องดูแล้วสมจริงที่สุด คอนเทนต์อะไรที่ดู Perfect สมบูรณ์แบบมากเกินไป ผู้บริโภคอาจจะไม่สนใจในคอนเทนต์นั้น

– แบรนด์และนักการตลาดต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ผู้บริโภคที่อยู่ในแพลตฟอร์มของ TikTok มีการใช้งานหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งลักษณะความสนใจและพฤติกรรมจะเปลี่ยนไปตามแพลตฟอร์มนั้นๆ ทำให้ผู้บริโภคหนึ่งรายมีหลากหลายความสนใจและพฤติกรรม แบรนด์และนักการตลาดจึงต้องรู้จักผู้บริโภค เพื่อนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

 

 

ทางด้าน คุณ Cholticha จาก TikTok ขยายความถึง Insight การใช้งาน TikTok ในช่วงเทศกาลไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

– ผู้คนรอคอยเทศกาลเพื่อการเดินทาง ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือการเดินทางไปท่องเที่ยว

– ผู้ใช้ TikTok มากกว่า 97% ยังคงตั้งใจใช้เวลาในการเล่น TikTok เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในช่วงเทศกาล

– คอนเทนต์ที่นิยมดูช่วงเทศกาลจะล้อไปกับเทศกาล อย่างเรื่องอาหารการกิน เรื่องเที่ยว หรือเรื่องอะไรใหม่ๆ

– 1 ใน 3 ของผู้ใช้ TikTok มีเป้าหมายในการใช้เพื่อค้นหาว่ามีเทรนด์อะไรเกิดขึ้น

– ผู้ใช้ TikTok รอคอยเทศกาลช้อปปิ้ง Double Day มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ TikTok ถึง 6.5 เท่า

– ผู้ใช้ TikTok จะเริ่มเก็บสินค้าใส่ในตะกร้าก่อนประมาณ 1 อาทิตย์

– แบรนด์หรือนักการตลาดควรเริ่มแคมเปญก่อน 1 อาทิตย์ เมื่อถึงวันเทศกาลผู้บริโภคก็จะกดสั่งซื้อได้ทันที

นั่นหมายความว่าแบรนด์หรือนักการตลาดต้องวางกลยุทธ์ก่อนหน้าวันเทศกาล เพื่อสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับผู้บริโภค

 

 

ไม่เพียงแต่ Creativity” ที่เป็นหัวใจของคอนเทนต์เท่านั้น ขณะเดียวกันแบรนด์ต้องมีกลยุทธ์ในการกระจายคอนเทนต์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้เกิดการรับรู้ นำไปสู่การพิจารณา ตัดสินใจซื้อ และบอกต่อ โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับแบรนด์ คือ Affiliate”

ดังเช่นแบรนด์ Fresh Doze ที่ประสบความสำเร็จกับการใช้ Affiliate บนแพลตฟอร์ม TikTok โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลช้อปปิ้งใหญ่อย่าง Double Day

คุณ Natbodee เล่าว่า แบรนด์จำเป็นต้องสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง ซึ่งทางแบรนด์ Fresh Doze ทำผ่านรูปแบบ Affiliate ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำสินค้า แคมเปญต่างๆ และโปรโมชั่น นอกจากนี้ยังมีการให้ Affiliate ติดตั้งระบบตะกร้าหรือคูปองต่างๆ ซึ่งช่วยให้ Affiliate เหล่านี้จะเป็นช่องทางในการกระจายข้อมูลข่าวสารออกไป

สำหรับกลยุทธ์ในช่วง Double Day แคมเปญ 3.3 ของ Fresh Doze มีการใช้ Affiliate ถึง 95% โดยแบรนด์จำเป็นต้องดูแล Affiliate อย่างดี รวมถึงการแบ่งรายได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ซึ่งจะช่วยให้Affiliate เกิดความร่วมมือช่วยกันผลักดันยอดขายให้เป็นไปตามเป้าที่กำหนด โดยในช่วงแคมเปญ 3.3 ที่ผ่านมา Affiliate แต่ละรายสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 7 – 8 ล้านบาท โดย Fresh Doze เริ่มใช้รูปแบบ Affiliate มาตั้งแต่ TikTok เปิดบริการ TikTok Shop และด้วยจำนวน Affiliate ที่มีมากมาย ช่วยให้แบรนด์จะสามารถผลิตคอนเทนต์ออกนับเป็นแสนคอนเทนต์ ซึ่งแบรนด์ทั่วไปผลิตได้เฉลี่ย 50 คอนเทนต์ต่อเดือน

ดังนั้นการใช้ Affiliate นอกจากช่วยกระจายข้อมูลแล้ว ยังช่วยให้สร้างคอนเทนต์จำนวนมหาศาลได้ ยิ่งหากแบรนด์ดูแล Affiliate อย่างดี เวลาที่มีคอมเมนต์เชิงลบ Affiliate เหล่านี้จะเข้ามาช่วยตอบทันที เพื่อเป็นการปกป้องแบรนด์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีแอดมินคอยดูแลตรวจสอบ

 

 

 

คุณ Cholticha ย้ำทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญในการทำแคมเปญบน TikTok จำเป็นต้องมองถึง 3 แกน

– แกนแรก ผู้บริโภค แบรนด์และนักการตลาดจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้บริโภคที่อยู่บน TikTok ต้องการเห็นคอนเทนต์ประเภทไหน และมีความสนใจในเรื่องใดบ้าง ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดสามารถวางกลยุทธ์เพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค

– แกนที่สอง การเลือก Solution ที่เหมาะสมสามารถตอบโจทย์แคมเปญของแบรนด์ได้ ซึ่งใน TikTok ก็มี Solution ที่หลากหลายตั้งแต่ขั้นตอน Discovery – Awareness – Engagement ไปจนถึง Purchase เช่น TikTok Shop ที่ช่วยให้ Customer Journey สั้นลง ง่ายขึ้น ไร้รอยต่อ โดยใช้คอนเทนต์ในรูปแบบ Creativity ในการดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงความถี่ในการนำเสนอคอนเทนต์ที่แบรนด์และนักการตลาดยังคงต้องให้ความสำคัญ

– แกนสุดท้าย ความต่อเนื่องของการสร้างคอนเทนต์ เพราะหากผู้บริโภคกลายเป็นลูกค้าแล้ว แบรนด์จำเป็นต้องเก็บลูกค้าเหล่านั้นไว้อยู่กับแบรนด์ ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงอาจทำให้ผู้บริโภค Switch ไปอยู่กับแบรนด์อื่นได้อย่างง่ายดาย รวมถึงแบรนด์และนักการตลาดจำเป็นต้องมีการวัดผลเพื่อที่จะได้เรียนรู้และสามารถวางแผนกลยุทธ์ต่อไปในอนาคต

 

กรณีศึกษาธุรกิจใช้ “Shoppertainment – TikTok Shop” เข้าถึงลูกค้า-ปิดการขายได้สำเร็จ

เมื่อ TikTok กลายเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์และนักการตลาดในการช่วยให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การซื้อขายได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยโมเดล Shoppertainment”และฟีเจอร์ TikTok Shop” สำหรับธุรกิจในทุกขนาด และผู้บริโภคสามารถดำเนินการซื้อขายได้สะดวกและง่ายขึ้น

อีกหนึ่งหัวข้อสำคัญของงานอีเว้นท์ครั้งนี้ “The Vertical and The TikTok Community การตลาดบน TikTok ผ่านกรณีศึกษา สาย Automotive, F&B, Banking & Insurance และโอกาสของอีกหลายอุตสาหกรรม” พาผู้ประกอบการ นักการตลาด นักโฆษณาไปทำความรู้จักแนวคิด Shoppertainmentและ TikTok Shop มากขึ้น กับ 3 ผู้บริหาร Pornapar Wongchaonimit  Head of Inbound Marketing  Generali Life Assurance (Thailand), Kornnikar Niwatsaiwong TikTok Shop Lead, TikTok TH และ Patchapicha Menming, Growth Partnership Lead, TikTok TH ดำเนินรายการโดย คุณณัฐธิดา รัตนวุฒิ ผู้ก่อตั้ง Marketing Oops!

 

 

คุณ Patchapicha จาก TikTok อธิบายว่า ปัจจุบันนอกจากผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ทำการตลาดและสื่อสารบน TikTok แล้ว ยังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย เห็นได้จาก Hashtag เกี่ยวกับธุรกิจนั้นๆ เช่น ธุรกิจประกันภัย มี #ประกันสุขภาพเหมาจ่าย, ธุรกิจยานยนต์ มี #รถยนต์ไฟฟ้า หรือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มี #คอนโดติดรถไฟฟ้า โดยแต่ละ Hashtag มียอดติดตามสูงมากกว่า 10 ล้านวิดีโอวิวขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า TikTok คือโอกาสในการสร้าง Engagement หรือช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในทุกอุตสาหกรรม

หัวใจสำคัญที่ทำให้คอนเทนต์ของแบรนด์บน TikTok เข้าถึงลูกค้า และลูกค้าก็เข้าใจแมสเสจ หรือข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร จนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อขาย คือ Shoppertainment” (Entertainment + Commerce) หรือการค้าผ่านความบันเทิง โดยเน้นให้แบรนด์และนักการตลาดให้ความสำคัญกับโมเดล “Entertainment First, Commerce Second” สร้างคอนเทนต์ให้มีความสนุก สร้างแรงบันดาลใจ และเชื่อมโยงกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

ขณะเดียวกันแบรนด์ต้องจะหาวิธีช่วยให้การซื้อขายง่ายขึ้น ซึ่ง TikTok ได้พัฒนา Full Funnel Solution ครบวงจร อาทิ TikTok Shop” สามารถช่วยให้ลูกกดซื้อได้ทันที สร้างประสบการณ์การซื้อขายแบบ Seamless

 

 

ทางด้าน คุณ Kornnikar ดูแล TikTok Shop เสริมว่า การสร้างคอนเทนต์มีส่วนอย่างมากที่ช่วยผู้บริโภคตัดสินใจ เมื่อคอนเทนต์สนุก สร้างความสุข ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเพื่อน ผู้บริโภคก็พร้อมซื้อสินค้า นำไปสู่ขั้นตอนการขายได้ง่ายกว่า นี่จึงทำให้ “TikTok Shop” รองรับทั้งกลุ่มที่ต้องการซื้อสินค้าหรือกำลังตัดสินใจจะซื้อ ซึ่งมีคอนเทนต์ในเชิงแนะนำที่ช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้น รวมไปถึงคนที่ยังไม่อยากซื้อ ก็จะมีคอนเทนต์เชิญชวนในลักษณะของป้ายยา

 

โดยองค์ประกอบของ TikTok Shop สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

– แพลตฟอร์ม TikTok ที่ให้บริการ TikTok Shop พื้นที่ในการขาย

แบรนด์ในฐานะของผู้ขาย

ผู้บริโภคในฐานนะของผู้ซื้อ

ครีเอเตอร์ ที่จะช่วยทำให้เกิดคอนเทนต์ที่นำไปสู่การขายของที่ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ครีเอเตอร์ยังสามารถขายผลิตภัณฑ์นอกกลุ่มของตัวเองได้อย่างเช่น “จุ๊บเหม่ง” ที่อยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยง แต่สามารถขายผลิตภัณฑ์อาหารของคนได้ ถ้าครีเอเตอร์ยังมีฐานแฟน หรือมีกลุ่มคนติดตามก็มีโอกาสที่จะสามารถขายของได้เช่นกัน

 

 

จากแนวคิด Shoppertainment และบริการ TikTok Shop มาเจาะลึกกรณีศึกษาธุรกิจธุรกิจประกันภัย ที่ทำการตลาดบน TikTok อย่าง Generali Life Assurance” โดย คุณ Pornapar เล่าว่า บริษัทเพิ่งเริ่มทำ TikTok ในช่วงเดือนธันวาคมปี 2021 ซึ่งก่อนหน้านี้คอนเทนต์ด้านประกันภัย ส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนประกันที่ออกมาสร้างตัวตนผ่านคอนเทนต์บน TikTok เพื่อให้คนรู้จัก รวมถึงการอธิบายตัวผลิตภัณฑ์ประกันภัย ทำให้แบรนด์มองว่า หากตัวแทนประกันภัยสามารถอธิบายข้อมูลของผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้ แบรนด์ก็น่าจะสื่อสารและอธิบายข้อมูลของผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้เช่นกัน

เริ่มจากผลิตภัณฑ์ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้มีการขยายไปยังผลิตภัณฑ์ประกันภัยครบทั้งพอร์ตโฟลิโอ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่อยู่บน TikTok มีหลากหลายกลุ่ม ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งลูกค้าที่ซื้อประกันภัยบน TikTok แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุที่ซื้อประกันให้ตัวเอง และกลุ่มลูกที่ซื้อประกันภัยให้พ่อแม่

สำหรับการทำแคมเปญใน TikTok ของ Generali Life Assurance เน้น Lead Generation ช่วยให้แบรนด์ได้ข้อมูลของผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ประกันภัย ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังฝ่ายขายที่มีช่องทางในการขายอยู่แล้ว ทำการขายต่อไป

นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมโครงการ TikTok Creative Program โดย TikTok จะเลือก KOL และพันธมิตร Studio ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์มาช่วยสร้างคอนเทนต์ ทำให้เกิดคอนเทนต์ในสไตล์ของ TikTok มากขึ้น และนำไปสู่ผลตอบรับที่ดีขึ้น เห็นได้จาก Cost per Reach ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วยให้วางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

ทิศทางและโอกาสบน TikTok ปี 2023

ปิดท้ายด้วยหัวข้อ Moving Toward 2023 สรุปทิศทางและโอกาสของทุกอุตสาหกรรมบน TikTok เตรียมความพร้อม สร้าง impact กับผู้บริโภค สร้างการเติบโตให้กับปี 2023” โดย คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ Business Marketing Lead, TikTok Thailand & Philippines และ คุณณัฐธิดา รัตนวุฒิ ผู้ก่อตั้ง Marketing Oops!

 

 

 

– TikTok เป็นแพลตฟอร์ม Entertainment ซึ่งในชุมชนของ TikTok มีผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาร่วมสร้างคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ ผู้ใช้งาน และครีเอเตอร์ โดยผู้คนในชุมชนเหล่านี้ยังคงสามารถร่วมสร้างคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อช่วยแบ่งปันความรู้หรือนำเสนอข้อมูลดีๆ ให้กับชุมชนของ TikTok

– แบรนด์สามารถสร้างสายสัมพันธ์กับผู้คนใน TikTok ได้ด้วยคอนเทนต์ในรูปแบบ Sub Culture และเทรนด์ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์จะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้บริโภครู้สึกรักและเข้าถึงแบรนด์ได้มากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การซื้อผลิตภัณฑ์ของแบรนด์

– TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือครบครันในรูปแบบ Full Funnel Solution ที่เหมาะกับทุกธุรกิจและทุกขนาดของธุรกิจ เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ การตัดสินใจเลือกซื้อ ไปจนถึงการปิดการขาย แบรนด์ต่างๆ ควรลองเปิดใจมาทำการตลาดบน TikTok ยิ่งเข้ามาเร็วมากเท่าไหร่โอกาสประสบความสำเร็จก็ยิ่งมีมากขึ้น แล้วจะช่วยให้แบรนด์ได้พบกับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่อยู่บน TikTok

– ในเรื่องของช่วงเวลาการสร้างคอนเทนต์ TikTok แนะนำควรทำการสร้างคอนเทนต์และทำการตลาดต่อเนื่องตลอดทั้งปี นั่นเพราะในช่วงเทศกาลที่หลายคนคิดว่าผู้คนจะไม่อยู่บน TikTok แต่ผลการสำรวจพบแล้วว่า มีการใช้ TikTok เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลอีกด้วย ทำให้แบรนด์มีโอกาสในการขายสินค้า ได้ทั้งช่วงก่อนเทศกาล ระหว่างเทศกาลและช่วงหลังเทศกาล ซึ่งคอนเทนต์ที่ออกมาจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย หรือในช่วงเทศกาล Double Day มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น การทำแคมเปญก่อนหน้าวันเทศกาลจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นได้ด้วยในวันที่เทศกาลมาถึง

 

 

และนี่คือบทสรุปเนื้อหาสำคัญจากงาน “Unboxed 2023 Opportunities with TikTok” โดย TikTok และ Marketing Oops! หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพื้นที่ “TikTok Unboxed Series with Marketing Oops!” จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อแบรนด์ ผู้ประกอบการ นักการตลาด นักโฆษณา หรือนักสื่อสาร ตลอดจนผู้อ่านทุกท่าน ในการนำไปประยุกต์ได้กับทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ TikTok เป็น Full Funnel Solution ให้กับธุรกิจ

พร้อมทั้งเตรียมพบกับ “TikTok Unboxed Series with Marketing Oops!” ซีซั่นใหม่เร็วๆ นี้ รับรองได้ว่าเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน!


  • 4.9K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE