ชวนนักการตลาดมาเชื่อมต่อกับลูกค้าคอเดียวกัน ผ่าน “Community and Connection” กลุ่มคนบน Twitter ที่น่าสนใจ

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

 

เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมประเด็นร้อน สินค้ามาแรง มักได้รับการจุดประเด็นจากทวิตเตอร์? เหตุผลก็เพราะทวิตเตอร์ คือ แหล่งการทำการตลาดชั้นดีนั่นเอง

จากสถิติของ GlobalWebIndex, Q2 2020 – Q1 2021 แสดงให้เห็นว่า คนบนทวิตเตอร์เชื่อมต่อกับคอมมูนิตี้ของตัวเองผ่านบทสนทนา โดยคนบนทวิตเตอร์มีโอกาสที่จะใช้ Social Media เพื่อการเข้าถึงหรือใช้เพื่อค้นหาคนที่มีความสนใจ หรือคอมมูนิตี้เดียวกันมากกว่าคนเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปถึง 28% ซึ่งการรวมตัวของคนบนทวิตเตอร์มีการพูดคุยกันในหัวข้อที่หลากหลายมาก หลายคนอาจคิดว่าทวิตเตอร์มีแต่เคป็อปหรือการเมือง แต่จริง ๆ แล้วอยากบอกว่า นั่นเป็นเพียงแค่หนึ่งในความสนใจของพวกเขาเท่านั้น

 

ชวนทำความรู้จัก 4 กลุ่มวัฒนธรรมบนทวิตเตอร์ที่เต็มไปพลังสร้างสรรค์

งานวิจัยจาก From Conversation To Culture – Twitter Thailand communities and conversation research พบว่า คนบนทวิตเตอร์ประเทศไทยมีการพูดคุยผ่านบทสนทนาและหลอมรวมเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่โดดเด่นถึง 4 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่

 

 

  1. บันทึกส่วนตัว (Personal Musings)

บทสนทนาในวัฒนธรรมนี้มักเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน การพูดถึงเรื่องสัพเพเหระต่าง ๆ ตั้งแต่ฝนตก รถติด หนาว ร้อน ง่วง หิวข้าว ยันเรื่องแอบรักและอกหัก

  1. การเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน (Community and Connection)

บทสนทนาที่พบในวัฒนธรรมนี้เป็นของกลุ่มคนที่เข้ามาเพื่อเชื่อมต่อและรวมกลุ่มกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันโดยเฉพาะ และเพื่ออัพเดทเรื่องต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

  1. การส่งพลังบวกให้ตัวเองและคนรอบข้าง (Betterment and Aspiration)

กลุ่มคนในวัฒนธรรมนี้มักเข้ามาเพื่อตามหาและส่งต่อเรื่องราวดี ๆ เป็นบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลอง เช่น แสดงความยินดีเมื่อเรียนจบ วันเกิด เกรดออก ได้งานใหม่ เป็นต้น เป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ส่งต่อและสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องต่าง ๆ

  1. สิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ (Beauty and Wonder)

บทสนทนาในวัฒนธรรมนี้โดดเด่นในเรื่องราวที่จรรโลงใจ เกี่ยวกับความฝัน ความหวัง โดยกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกันมักมาพูดคุยเรื่องราวดี ๆ กันที่นี่

 

กลุ่มวัฒนธรรมการเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน (Community and Connection) คืออะไร และคุยอะไรกัน?

วันนี้เราจะพามาเจาะลึกกลุ่มวัฒนธรรมการเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกันว่ามีเรื่องอะไรที่นักการตลาดทุกคนต้องรู้บ้าง ทำไมถึงต้องพูดถึงกลุ่มนี้ ? เพราะการขึ้นชื่อว่า “เชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน” แน่นอนว่าต้องมีการรวมตัวกันของกลุ่มสายชอป สายรีวิว ยันสายกินแน่นอน ถือเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์มาก ๆ ที่จะเข้าหาพวกเขา โดยทั่วไปบทสนทนาบนทวิตเตอร์เกิดขึ้นเยอะมาก ซึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้ได้แบ่งประเภทความสัมพันธ์ระหว่างบทสนทนา กับ กลุ่มวัฒนธรรม เป็น 2 แกน คือ

 

 

  1. บทสนทนานี้เกี่ยวข้องกับอะไร? โดยเป็นได้ทั้งเรื่องใกล้ตัว (เรื่องที่เกิดกับตัวเราเอง) หรือเรื่องไกลตัว (เรื่องที่เกิดขึ้นกับคนอื่น/ไม่ได้เกิดกับตัวเองโดยตรง)
  2. บทสนทนานี้มีเนื้อหา “แปลกใหม่” หรือเป็น “เรื่องปกติธรรมดา คุ้นเคย”

ซึ่งในวัฒนธรรมการเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน (Community & Connection) ถูกจัดว่า เป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่คนพูดคุยกันเรื่องที่ “ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเองโดยตรง และเป็นเรื่องแปลกใหม่” โดยพวกเขามักจะชอบคุยถึง 3 เรื่องนี้

1.แพสชั่น (Passions) คือ คอมมูนิตี้ของคนที่ใช้ทวิตเตอร์เพื่อพูดถึงเรื่องที่ตัวเองสนใจเป็นพิเศษ เช่น อาหาร ความสวยงาม เกม กีฬา การออกกำลังกาย ยันการลงทุน พวกเขามักจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านบทสนทนากับกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกันด้วย โดยที่เรามักจะเห็นบ่อย ๆ เช่น ครีมทาหน้าอันนี้ดีไหมคะ? จากนั้นก็มีคนมาตอบเยอะมาก ยิ่งถ้าสินค้าดีจริงก็มักจะมีคนมาบอกต่อมากมาย

 

 

2. เหตุการณ์ปัจจุบัน (Current Affair) คือคอมมูนิตี้ของคนที่ใช้ทวิตเตอร์เพื่อติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เช่น ข่าวโควิด ข่าว Stop Asian Hate ข่าว Blacklivesmatter เป็นต้น

โดยในงานวิจัยนี้พบว่า คนพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่ 12% จากจำนวนบทสนทนาทั้งหมด อย่างการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองก็นับเป็นประเด็นร้อนที่คนพูดคุยกันในคอมมูนิตี้นี้ นั่นก็เพราะทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่เรียลไทม์ คนที่นี่เจออะไรก็ทวีตได้ทันที ทำให้ข่าวเร็ว  ถึงขนาดที่ว่าสื่อโทรทัศน์ยังดึงข่าวจากทวิตเตอร์ไปนำเสนอ

 

 

3. ตลาดนัดออนไลน์ (Marketplace) คือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นสายชอปมารวมตัวกัน ทั้งขายเอง ตามหาสินค้า และซื้อสินค้า ทำให้ทวิตเตอร์กลายเป็นตลาดนัดและ Marketplace ได้ทันที เช่น กำลังตามหาลิปสีชมพูตุ่น ๆ ในแฮชแทค #ตามหาเครื่องสำอางค์เกาหลี ก็จะมีคนรีบมาแนะนำชื่อและภาพของสินค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุให้ขาชอป ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ ชอบใช้ทวิตเตอร์ด้วย

 

 

จากทั้งหมดนี้ เราก็คงจะเห็นภาพกันชัดมากขึ้นว่าผู้ใช้งานในทวิตเตอร์ ไม่ได้พูดคุยกันแค่เรื่องศิลปินหรือเรื่องการเมืองเท่านั้น แต่ยังมีวงสนทนาในมิติอื่น ๆ ที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป เพราะคิดว่าเป็นกลุ่มคนส่วนน้อย ทั้งที่จริงแล้วแทบทุกกลุ่มทุกวัฒนธรรม ก็มีโอกาสที่จะเป็นลูกค้าเราได้ทั้งหมด

 

แล้วแบรนด์จะได้อะไร หากทำการตลาดบนทวิตเตอร์?

บทสนทนานับล้านบนทวิตเตอร์ไม่ใช่แค่โอกาสที่เปิดให้แบรนด์เข้าไปพูดคุยเพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ แต่แบรนด์ทำการตลาดในระดับที่สามารถกลมกลืนไปวัฒนธรรมหรือสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันกับพวกเขาได้ ก็จะสามารถเปลี่ยนจากกลุ่มผู้ใช้งานมาเป็นกลุ่มผู้สนัยสนุนแบรนด์ได้ โดยข้อมูลของ  GlobalWebIndex, Q1 2021 แสดงให้เห็นว่า 34% ของคนบน Twitter มีแนวโน้มจะสนับสนุนแบรนด์ที่มีความสนใจร่วมกัน (Cultural Relevance) หรือเป็นพวกเดียวกันกับเขา 

 

 

และทวิตเตอร์ก็เป็นแพลตฟอร์มสำหรับแบรนด์ในการสร้างความรู้สึกร่วมและกลมกลืนไปกับวัฒนธรรม (Cultural Relevance) ของกลุ่มเป้าหมายได้ โดยในงานวิจัยจาก MANGA, 2019 พบความเกี่ยวพันกันถึง 88% ระหว่างโฆษณาบน Twitter กับการที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับแบรนด์

 

แบรนด์ต้องรู้! วิธีเชื่อมต่อกับวัฒนธรรมการเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน (Community and Connection)

ถ้าแบรนด์อยากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวัฒนธรรมนี้ หรือทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเป็นพวกเดียวกันกับพวกเขา แบรนด์จะต้องทำ 2 สิ่งก็คือ “เร็ว” และ “อัปเดตข้อมูลล่าสุด แบบย่อยง่าย ๆ”

 

 

1. แบรนด์ต้องเร็ว เป็นอย่างไร ?

แบรนด์ควรอัพเดทว่าในวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย มีเรื่องอะไรใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรือเป็นประเด็นอยู่ หากแบรนด์สามารถเล่นกับสิ่งที่พวกเขากำลังสนใจ หรือนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขากำลังสนใจได้ทันท่วงที เราก็จะเป็นหนึ่งในคนสำคัญที่ลูกค้าจะมองเห็น นอกจากนี้ แบรนด์สามารถใช้คอนเท้นต์ที่มี Call to action เกี่ยวกับแบรนด์/สินค้าได้ อย่างทวีตเกี่ยวกับสินค้าออกใหม่ โปรโมชั่น Flash Sales ที่มีเวลาจำกัด ก็สามารถกระตุ้นความสนใจของคนในกลุ่มนี้ได้ดี

2. ทำไมเนื้อหาต้องย่อยง่าย ?

เนื่องจากคนในกลุ่มวัฒนธรรมนี้ชอบการอัพเดทแบบไว ๆ และรวดเร็ว เนื้อหาจึงต้องสั้น กระชับ และเข้าใจง่าย เพื่อดึงความสนใจของพวกเขาให้อยู่หมัดตั้งแต่แรกเห็นทวีต ในยุคที่การตลาดดิจิทัลกำลังมีความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่ที่สามารถสร้างบทสนทนาได้อย่างรวดเร็วและสร้างสรรค์อย่างชุมชนทวิตเตอร์ การที่นักการตลาดและคนทำธุรกิจพยายามเข้าไปทำความรู้จัก และเป็นส่วนหนึ่งกับกลุ่มเป้าหมาย ก็จะเป็นประตูโอกาสสำคัญที่ทำให้แบรนด์ได้กลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ แน่นอนว่าถ้าสินค้าดี มีการตลาดที่สื่อสารวัฒนธรรมที่ตรงกันกับพวกเขา การบอกต่อก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเชื่อมต่อกันของคนคอเดียวกันบนทวิตเตอร์

ดังนั้นเราอย่าเพิ่งมองข้ามแพลตฟอร์มสำคัญอย่างทวิตเตอร์ และรีบด่วนตัดสินว่าคงไม่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ เพราะที่จริงแล้ว กลุ่มคนในทวิตเตอร์มีกลุ่มนักสร้างสรรค์และผู้คนที่มีความหลากหลายมากกว่าที่เราคิด ที่กำลังรอให้แบรนด์เข้าใจ และไปเป็นส่วนหนึ่งของเขา

สำหรับใครที่สนใจการทำการตลาดบนทวิตเตอร์ สามารถปรึกษา MediaDonuts ตัวแทนจำหน่ายโฆษณาอย่างเป็นทางการของทวิตเตอร์ในประเทศไทยได้ ติดต่อ MarketingSEA@mediadonuts.com

[ข่าวประชาสัมพันธ์]


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •