เปิดใจ ‘วัลยา จิราธิวัฒน์’ ทำไม ‘เซ็นทรัล วิลเลจ’ ถึงเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ CPN กับการเป็น Global Player ในเอเชีย

  • 492
  •  
  •  
  •  
  •  

การแถลงข่าวเปิดตัวฟอร์แมทศูนย์การค้าล่าสุดของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ CPN อย่าง ‘เซ็นทรัล วิลเลจ’ ในคอนเซ็ปต์ ‘Luxury Outlet’ นอกจากจะสร้างความฮือฮาและสีสันให้กับวงการธุรกิจศูนย์การค้าในบ้านเราแล้ว ยังทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมฟอร์แมทใหม่นี้ถึงถูกวางเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ CPN ในการตอกย้ำการเป็นหนึ่งในGlobal Player ของเอเชีย

แล้วทำไมล่ะ? แน่นอนผู้ที่จะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ ก็คือ วัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและโครงการ CPN cats

“ตอนนี้มีฟอร์แมทศูนย์การค้าแบบไหนในโลกที่เราไม่ได้ทำอีกเหรอ ไม่มีแล้วนะ” วัลยาเริ่มต้นตอบคำถาม และเริ่มไล่เลียงให้ฟังว่า

ปัจจุบัน ฟอร์แมทศูนย์การค้าในพอร์ตโฟลีโอของ CPN แบ่งออกเป็น

1. ‘ซูเปอร์ รีจินัล มอลล์ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 500,000 ตร.ม.ที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียว ก็คือ ‘เซ็นทรัล เวสต์เกตท์’ 2. รีจินัล มอลล์ได้แก่ ‘เซ็นทรัล พลาซ่า’ และ ‘เซ็นทรัล เฟสติวัล’ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่มีสินค้าครบครันตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว

3. ‘ยูนีก มอลล์ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางเมืองมีความแตกต่างและลักษณะเฉพาะ มีเพียงแห่งเดียว คือ ‘เซ็นทรัลเวิล์ด’ 4. ไลฟสไตล์ มอลล์ศูนย์การค้าที่เน้นความสนุกสนาน ได้แก่ ‘เซ็นทรัล อีสต์วิลล์’

และ 5. เซ็นทรัล วิลเลจจิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Luxury Outlet’ เพื่อจับกลุ่มนักชอปที่ชอบซื้อแบรนด์เนมหรือ กลุ่ม Young Affluent  

ทำไม เซ็นทรัล วิลเลจต้องมาในคอนเซปต์ ‘Luxury Outlet’

เพราะLuxury Outlet ทั่วโลกมีอยู่แล้ว และก่อนที่เราจะเปิดตัวฟอร์แมทใหม่นี้ ได้มีการศึกษาตลาดมา 6 ปี พบว่า จากการขยายตัวของคนชั้นกลางที่มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมีมากขึ้น และกลุ่มขาชอปที่เห่อแบรนด์เนม หรือ Young Affluent   มีเพิ่มขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุไม่มาก ชอบซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและคุ้มค่า รวมถึงชอบซื้อแบรนด์เนมสำหรับเป็นรางวัลให้ตนเองและบ่งบอกสถานะทางสังคม

โดยกลุ่ม Young Affluent   ในไทย ดูแค่จากฐานสมาชิกบัตรวันการ์ดของเราก็มีมากกว่า 2 ล้านคนแล้ว ถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ ทำให้พัฒนาฟอร์แมทของเซ็นทรัล วิลเลจขึ้นมา

“อย่างที่บอกในโลกมีอะไรเราทำมาหมดแล้ว เหลือแต่ฟอร์แมทนี้ เราถึงบอกว่า เป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายและเป็นหนึ่งใน key strategic move ของ CPN เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่า เราเป็นหนึ่ง Global Player ในเอเชีย คือ ระดับโลกมีอะไร เราก็มี”

 capture-20180424-153003

ย้ำไม่ได้แข่งกับ ดิวตี้ ฟรี

หลายคนพูดถึงคิงเพาเวอร์ ย้ำเลยว่า เราไม่ได้สู้หรือนำเซ็นทรัล วิลเลจ มาแก้เกมกับดิวตี้ ฟรี ที่เป็น Full Price point เพราะลูกค้าเป็นคนละกลุ่ม ซึ่งดิวตี้ ฟรี สินค้าที่ขายจะเป็นของใหม่ทั้งหมด แต่ปลอดภาษี

ส่วนของเรา เป็นการนำแบรนด์เนมที่ตกรุ่นแล้วยังเหลือค้างสต็อกมาระบายให้ ไม่ใช่ของใหม่ เพราะปกติพวกลักซ์ชัวรี่ แบรนด์ต่าง ๆ จะมีชอปของตนเอง เมื่อมีครบ 2-4 ชอป ก็จะมีของตกซีซั่น ซึ่งที่ผ่านมาจะเอามาวาง sale สินค้าใหม่ในร้าน จริง ๆ แล้ว การทำแบบนั้นส่งผลกระทบต่ออิมเมจของแบรนด์ วันนี้เราจึงมีOutlet มาช่วยระบายของให้

“ที่นี้ จะเทียบชั้นกับโกเทมบะ หรืออิออน มอลล์ ประเทศญี่ปุ่น และมิตซุย ของไต้หวัน หรือ Luxury Outlet ทั่วโลกเป็นอย่างไร เราก็เป็นแบบนั้น”

เลือกทำเลใกล้สนามบินสุวรรณภูมิปักหมุดโครงการแรก capture-20180424-152758

สำหรับ ‘เซ็นทรัล วิลเลจ’ แห่งแรก ได้ปักหมุดที่บนที่ดิน 100 ไร่ ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่าการลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท มีพื้นที่โครงการ (GLA) 40,000 ตร.ม.มีที่จอดรถ 2,700 คัน โดยภายในโครงการจะประกอบด้วย ศูนย์การค้าที่มีแบรนด์ดังต่าง ๆ รวม 235 แบรนด์ ตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงลักชัวรี่ นำมาลดราคา 30-75% แบบไม่ต้องรอช่วง Sale และมีความหลากหลายของสินค้า ไม่ว่าจะเป็น สินค้าแฟชั่น , เครื่องใช้ไฟฟ้า , ของเล่น , ร้านอาหาร , ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งต่างจากเอาท์เลทอื่น ๆ ที่จะมีสินค้าแฟชั่นเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมจากเชนชั้นนำจำนวน 200 ห้อง สำหรับรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกเชนโรงแรมอยู่

ตั้งเป้าเปิดเพิ่มอีก 2-3 แห่งในไทย

วัลยา ขยายความว่า การเลือกทำเลใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของเราที่ต้องการจับกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทย, ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในไทย , บรรดาขาชอปที่อยู่ในรัศมี (Catchment Area) การขับรถไม่เกิน 45 นาที  ประมาณ 65% อีก 15 % เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ต้องการดักตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาในไทยและก่อนกลับ โดยนักท่องเที่ยวที่วางเป็นกลุ่มสำคัญ ได้แก่ จีน และรัสเซีย เพราะเป็นกลุ่มที่ชอบชอปแบรนด์เนม แต่กำแพงภาษีนำเข้าสินค้าพวกนี้ในทั้งสองประเทศสูงมาก น่าจะเป็นโอกาสที่ดี ประเทศ

“ตอนนี้เหมือนเป็นก้าวแรก ต่อไปจะมีก้าวที่ 2 และ 3 ตามมา เรามีแผนจะเปิดเซ็นทรัล วิลเลจอีก 2-3 แห่งในไทย ส่วนจะเป็นที่ไหน อย่างไร ขออุ๊บไว้ก่อน”

ส่วนภาพรวมของธุรกิจรีเทลในบ้านเราเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาจะเห็นภาพการทยอยปิดสาขาหรือเลิกกิจการของรีเทลในต่างประเทศ วัลยาบอกว่า รีเทลในไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และไม่ได้รู้สึกกังวลถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดต่างประเทศ เพราะทาง CPN ได้มีการปรับตัวมานานกับการเป็น  Lifestyle Destination ให้ลูกค้าสามารถมาใช้ชีวิตได้ เช่น มาพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัว หรือเอนเตอร์เทนเม้นท์ต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมาช้อปปิ้ง ทำให้ปีที่ผ่านมาทาง CPN มีการเติบโต 18% และคาดว่า ปีนี้จะมีการเติบโตไปในทิศทางที่ดี 05  


  • 492
  •  
  •  
  •  
  •