“Wellness Culture is the New Sustainable Strategy” ในยุคที่ผู้บริหารองค์กรต้องทำงานกันเครียดกว่าเดิม Wellness Culture จะช่วยตอบโจทย์ และหนุนธุรกิจยั่งยืนได้อย่างไร

  • 4.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อพูดถึงโปรแกรมด้าน Workplace Wellness หลายคนจะยิ่งนึกเลยว่า นี่เป็นความท้าทายไม่น้อยในการนำเอา Wellness Culture มาใช้ในองค์กรในเมืองไทย ยิ่งปัจจุบันเกิด Disruption ที่ทุกบริษัทต้องรีบปรับตัวกันให้ทัน ทำให้ผู้นำองค์กรเครียดกว่าเดิม ทำงานหนักกว่าเดิมและขาดสุขสมดุล จนส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงาน และ Productivity ของพนักงาน ผลประกอบการกิจการ และผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัท

Wellness Culture คืออะไร

คำว่า Wellness เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในหมู่ผู้นำองค์กรระดับโลกในปัจจุบัน ดร. สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด อธิบายว่า Wellness Culture ไม่ได้เป็นแค่ วัฒนธรรมที่เน้นสุขภาพด้านร่างกาย แต่เป็นวัฒนธรรมการมีสุขภาพดีแบบ “สุขสมดุล” คือ รวมทั้งสุขภาพจิตใจ ความเป็นอยู่ที่เป็นสุข การคิดที่เป็นสุข และการปฏิบัติที่เป็นสุข และยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบัน ทั่วโลกมีการนำเอา Wellness Culture มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรเพื่อหนุนธุรกิจที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุใด ผู้นำองค์กรไทยจึงต้องการ Wellness

เราจะเห็นว่า หน้าที่หลักของผู้นำในยุคปัจจุบันคือต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมเพื่อขับเคลื่อนทีมได้ ให้ทีมมี Productivity ที่ดีได้ ดร. สุทธิโสพรรณ ชี้ว่า คนที่เป็นผู้นำจะเครียดเรื่องการทำงาน และยิ่งผู้นำในองค์กรเครียด พนักงานและองค์กรก็เครียดไปด้วย และอาจมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทในที่สุด ดังนั้น สุขภาพผู้นำจึงสำคัญมาก ผู้นำต้องเป็น Champion หรือ Role Model ในเรื่องของการสร้าง Wellness Culture ในองค์กร ก่อนที่จะมาบอกพนักงานว่า “วันนี้มามีสุขภาพดีกันเถอะ” ซึ่งผู้นำต้องทำตัวเป็นตัวอย่างเสียก่อน

“ผู้นำที่มีสุขภาพดี จะทำให้พนักงาน ลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม มีสุขภาพดีไปด้วย ดังนั้นการมีสุขภาพดี จึงไม่ใช่เรื่องของผู้นำเพียงคนเดียวอีกต่อไป”

LeadingWell : Win Business Lead Wellness

โปรแกรม Leadership Wellness แห่งแรกในไทย ที่มาจะช่วยผู้นำไทยในการสร้างวัฒนธรรม Wellness ในองค์กรอย่างยั่งยืน

ในขณะเดียวกัน คุณมัณฑนา รักษาชัด กรรมการผู้จัดการ กลุ่มกิจการธุรกิจหลัก บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า เพราะ Wellness ที่แท้จริงไม่ใช่ความรู้ที่หาได้ทั่วไปแล้วนำมาปฏิบัติ แล้วจะบรรลุผลได้ แต่ Wellness ที่แท้จริงเกิดจากประสบการณ์ของตัวเอง ที่เข้าไปสัมผัสกับความรู้ที่ถูกต้อง ผ่านการโค้ชจากผู้ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในเรื่องนี้จริง ๆ ทั้งนี้ สลิงชอท ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการโค้ชผู้นำอยู่แล้ว ได้จับมือกับ Aro Ha Wellness Retreats ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับวิธีคิดและวิธีการใช้ชีวิตตามหลักการ  Wellness ชั้นนำระดับโลก มาช่วยผู้นำไทยให้เข้าถึงผลลัพธ์จากการเข้าโปรแกรม LeadingWell เนื่องมาจากผู้นำส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะดูแลองค์กรแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเอง (Wellness) ด้วย  ก่อนที่ผู้นำจะกลับมาเป็นตัวอย่างให้พนักงานอื่น ๆ ในองค์กร สร้าง Wellness Culture นำพาบุคลากรและองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

คุณมัณฑนา ย้ำว่า การสร้าง Wellness Culture นั้นทำได้ยาก เพราะ 70% ของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร มักล้มเหลว ผู้นำจึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพดีก่อน และการเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะให้ได้ประสิทธิภาพคือต้องมีโค้ชดีมาช่วยให้คำแนะนำ และมี Wellness Community ที่ดีที่จะกระตุ้นให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีได้ ทั้งนี้ วิธีการที่ สลิงชอท จะนำพาองค์กรไปสู่ Wellness Culture ด้วยกระบวนการนำและบริหารการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน ของ ดร.จอห์น คอตเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ที่ สลิงชอท ได้ลิขสิทธิ์การสอนหลักสูตรนี้  ซึ่งต้องย้ำว่า Wellness Culture ไม่ใช่เรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของกระบวนที่ถูกต้องและยั่งยืน

ประสบการณ์ผู้บริหารองค์กรไทยชั้นนำในการสร้าง Wellness Culture

ปัจจุบัน บริษัทชั้นนำในไทยเห็นความสำคัญและกระตือรือร้นที่จะรับเอา Wellness Culture เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่ใช่แค่นโยบายในกระดาษ แต่ต้องนำมาปฏิบัติและใช้งานจริงได้มากขึ้นอีกด้วย

คุณอริยะ พนมยงศ์ กรรมการผู้อำนวยการและกรรมการบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) บอกว่า Wellness Culture เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากผู้นำ และในฐานะที่เป็นผู้นำองค์กรก็จะดูสุขภาพและออกกำลังกายให้เป็นตัวอย่างของคนในองค์กรเห็นเสมอ เมื่อถึงเวลาทำงานก็ทำเต็มที่ และเมื่อได้เวลาที่ต้องออกกำลังกายก็ต้องวางมือจากโต๊ะทำงานเพื่อให้เวลากับสุขภาพเช่นกัน

“การส่งต่อแนวความคิดนี้ให้กับคนในองค์กร นอกจากการทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างแล้ว ก็ต้องเข้าใจความแตกต่างของคนแต่ละวัยในองค์กร เช่น เด็กจะยังไม่สนใจเรื่องสุขภาพ แต่เน้นเรื่อง Social ดังนั้นจึงต้องเลือกวิธีที่ทำได้จริง สร้างกลไกที่จะไม่ให้เกิดข้ออ้าง”

และเชื่อหรือไม่ 80% ของคนที่ออกกำลังกายแล้วไม่สำเร็จเพราะทำไม่ถูกวิธี ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเข้ามาดูแลในส่วนนี้

คุณปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอด ซัพพลายเชน จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Food Factors กลุ่มบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด  บอกว่าที่บุญรอดให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีของพนักงานในองค์กร  ซึ่งมีทั้งเรื่องของการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตในออฟฟิศ และใช้โครงการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ซึ่งก็คือโครงการวิ่ง BRB250KMto2019 ซึ่งทำให้พนักงานเกิดความตื่นตัวและเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

“ผมเริ่มจากตนเองที่วิ่งร่วมกับพนักงานไปในที่ต่าง ๆ ในฐานะเป็น Brand Ambassador ของบุญรอด และขยายให้คนในทีมเป็น Brand Ambassador เพิ่มขึ้น 2,500 คน เป็นแบบอย่างและขยายการมีส่วนร่วมให้กับพนักงานและคนในครอบครัวของพนักงานไปทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้ เรื่องการสื่อสารให้พนักงานเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ และเราเองก็ต้องเข้าใจจุดประสงค์ของพนักงานแต่ละเจนเนอเรชั่นเพื่อทำให้เขาตอบสนองและมีส่วนร่วมเป็นเรื่องสำคัญ จากโครงการนี้ ที่สิ่งที่เห็นตามมาเป็นเรื่องของบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก”

คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้อำนวยการส่วนงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด แชร์ประสบการณ์ว่า เรื่อง Wellness Culture เป็นอีกส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) เพราะเข้าใจเรื่องของสุขภาพพนักงานที่จะมีผลต่อ Productivity ดังนั้น ที่ไมโครซอฟท์ เรื่องของสุขภาพพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ เราใส่ใจเรื่องของพื้นที่ในการทำงาน ระบบการทำงาน ระบบระบายอากาศ ซื้อโปรแกรม Health Club จ้างครูมาสอนโยคะ ฯลฯ ความท้าทายของไมโครซอฟท์ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านไอทีคือ การทำ Transformation ซึ่งพนักงานต้องทำงานกันอย่างหนักหน่วงมาก จึงต้องมาใส่ใจว่า จะทำยังไง ให้คนของเราทำงานต่อเนื่องและสม่ำเสมอ คำตอบจึงเป็นเรื่องของ Wellness Culture ซึ่งเมื่อคนของเราสุขภาพดี ก็จะมีพลังในการคิดงาน มีความคิดสร้างสรรค์ และช่วยขับเคลื่อนองค์กร

ทางด้านของ คุณไชยเสน พิศาลวาเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โปรฟาสซิโน จำกัด ที่มีร้านขายยามากกว่า 100 สาขาทั่วประเทศ ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า บริษัทฯ มีพนักงานที่เป็นเภสัชกรมากกว่า 150 คน และหัวใจสำคัญคือ ทุกคนจะต้องมีสุขภาพดี เป็นตัวอย่างให้กับลูกค้า พนักงานก็เหมือนสินค้า ถ้าสินค้าดี คนก็อยากซื้อสินค้า

“ผมทำตัวเป็นตัวอย่างให้พนักงานประจำ ผมเล่นไตรกีฬา ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ ผมขายยามา 36 ปี แทบไม่ต้องใช้ยา เพราะยามีเอาไว้ขาย ส่วนเทคนิคในการเอาตัวเองเข้าไปสู่ Wellness Culture เราต้องเล่นกับสมองของเราเอง เราต้องเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ที่สำคัญ เอาชนะสมองตัวเองให้ได้ด้วยจะดีมาก หลอกมันว่าเราอยากออกกำลังกายนะ เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการไปซื้อร้องเท้า แวะซื้อเสื้อผ้ากีฬา และท้ายที่สุดก็เปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเอาตัวเองเข้าไปเล่นกีฬา เดี๋ยวร่างกายเราก็อยากออกกำลังกายเอง” คุณไชยเสน กล่าว

คุณมณีรัตน์ ประสงสันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พอดีคำ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด แชร์ประสบการที่คล้ายกันว่า ในแวดวงบันเทิง การทำงานและเลิกงานไม่เป็นเวลาและต้องเข้าสังคม ทำให้ดูแลสุขภาพได้ยากมาก แต่ผู้นำองค์กรเองจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีของพนักงานอื่น ๆ เสมอ

“จากที่ได้เข้าร่วมโปรแกรม LeadingWell ด้วยตนเองเพียงระยะเวลาสั้นๆ ได้ผลลัพธ์น่าประทับใจ ไม่เพียงแต่น้ำหนักที่ลดลงกว่า 5 กิโลกรัม แต่ด้านแนวทางของ LeadingWell ที่เหมาะกับผู้นำที่ยุ่ง ไม่ค่อยมีเวลา และที่สำคัญเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งยาใดๆ ไม่ได้ทานอาหารเสริม ขอบคุณโค้ชจาก LeadingWell” คุณมณีรัตน์ กล่าว

คุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ผู้ก่อตั้ง บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด บอกว่า คำว่า “Wellness” เป็นมากกว่าแค่การมีสุขภาพดี (Healthy) แต่มองง่าย ๆ ได้ 3 สิ่ง คือ ‘Happy’ คนต้องมีความสุขก่อนถึงจะประสบความสำเร็จ  ‘Healthy’  การมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งทุกส่วนส่งผลซึ่งกันและกัน และ ‘Wealthy’ คือการมีอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งหากเราสามารถสร้างความสมดุลระหว่างสามสิ่งนี้ได้ Wellness ก็จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

“ในการสร้าง Wellness Culture เรายังต้องมีการสร้าง Sense of Urgency ให้รู้ว่าอะไรเร่งด่วน ดังนั้น องค์กรต้องสร้างสิ่งนี้ให้พนักงาน (Create Burning Platform) เพื่อให้ตื่นตัวในการสร้างการเปลี่ยนแปลง”

เสริมแกร่ง LeadingWell ด้วย Aro Ha

เราพอทราบกันดีว่า ผู้นำในองค์กรไทย ยิ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงก็ยิ่งเครียด และยิ่งทำให้ Productivity ลดลง โปรแกรม LeadingWell ของ สลิงชอท จึงตอบโจทย์สำหรับการนำวัฒนธรรมสุขสมดุลเข้ามาในหมู่ผู้บริหารไทย คุณ Damian Chaparro ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ Aro Ha Wellness Retreats ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นสถาบัน Wellness ที่ได้รับรางวัลชั้นนำจากทั่วโลกถึง 17 รางวัล  ชี้ว่า 45% ของคนในกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับภาวะที่เครียดจัดและอยู่ในระดับที่ไม่ปกติ งานวิจัยในปี  2013 พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้จัดการอาวุโสและผู้บริหารระดับสูง เชื่อว่า CEO ในองค์กรของตัวเองเผชิญกับอาการ Burn Out ส่วนอีก 75% บอกว่า ผู้จัดการในองค์กรก็เผชิญกับอาการ Burn Out เช่นกัน และสิ่งที่แย่ตามมาคือ ข้อมูลจากสมาคมโรควิตกกังวลและซึมเศร้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ADAA) ระบุว่า ผู้บริหาร 1 ใน 5 คน ต้องเผชิญกับโรควิตกกังวลไปตลอดชีวิต

“เวลาที่เราเกิดความวิตกกังวล กล้ามเนื้อในร่างกายเราจะเกร็งมากขึ้น ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียด ชื่อ คอร์ติซอล และ นอร์อะดรีนาลิน ออกมา อัตราการเต้นของหัวใจจะสูงขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น คอเลสเตอรอลและไขมันเลว (LDL) ก็จะสูงขึ้น ระบบการหายใจจะแย่ลง ร่างกายมีการหลั่งสารที่เป็นกรดมากขึ้น มีสารอนุมูลอิสระสูงและเกิดการบาดเจ็บภายในเพิ่มสูงขึ้น มีการเจ็บปวดง่าย และเกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ในโรคมะเร็งหรือเนื้องอกชนิดเป็นก้อนเกิดขึ้น” คุณ Damian กล่าว

คุณ Damian ยังเสริมอีกว่า เมื่อเกิดภาวะเครียดหนัก ๆ “ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะบกพร่อง การซ่อมเซลล์จะไม่มีประสิทธิภาพ การดูดซึมสารอาหารลดลง การรับออกซิเจนเข้าสู่ระบบเลือดและร่างกายก็จะลดลง ระดับฮอร์โมนเซโรโทนินและเมลาโทนินจะลดลง ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการเหมือนคนนอนไม่พอ ไม่กระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังมีแนวโน้มจะเกิดโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตกันทั่วโลกอีกด้วย”

ทั้งนี้ ในส่วนโปรแกรม LeadingWell ของ สลิงชอท นั้น Aro Ha เอง ได้ช่วยเข้ามาเสริมในส่วนของการให้เวลาในการฝึกปฏิบัติทำสิ่งที่ดีให้แก่ตนเอง ประกอบไปด้วย การอยู่กับธรรมชาติ การออกกำลังกาย การควบคุมจิตใจ การรับประทานอาหารที่ดี และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อการสร้าง Wellness ที่ยั่งยืนในตัวผู้นำ และหลังจากผ่านโปรแกรมไปแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมจะรู้สึกได้ถึงความเป็นผู้นำที่ดีขึ้น มี Productivity มากขึ้น มีความต้องการที่จะควบคุมอาหาร มีไลฟ์สไตล์ที่เป็น Wellness มากขึ้น และเป็นคนที่ติดกับวิถีชีวิตเพื่อ Wellness มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างก็จะพัฒนาและขึ้นอีกด้วย

โมเดลของ Aro Ha นั้น เน้นที่ การใช้ชีวิตให้ใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด คุณมัณฑนา เน้นว่า “สูตร” อาจไม่ใช่เคล็ดลับที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องของ Wellness เคล็ดลับจริง ๆ คือการได้มีประสบการณ์ตรง เราเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในกระบวนการตามสูตรจริง ๆ ทั้งนี้ หลังเข้าโปรแกรม LeadingWell แล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงใน 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะ 28% ของผู้เข้าโปรแกรมจะมี Emotional Health ที่ดีขึ้น 13% จะมีผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น และ 22% สุขภาพร่างกายดีขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาองค์กรและหนุนธุรกิจที่ยั่งยืนในที่สุด


  • 4.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE