เผย 6 เคล็บลับ เลือกผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ส่งของยังไงให้ปลอดภัยและถึงมือผู้รับ

  • 146
  •  
  •  
  •  
  •  

shutterstock_573815815--700

ในยุคที่อีคอมเมิร์ซไทยเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การแข่งขันในธุรกิจนี้รุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย จากผลสำรวจโดย PayPal และ Ipsos คาดการณ์ว่ายอดใช้จ่ายทั้งหมดของนักช้อปออนไลน์ชาวไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 16% จากปี 2559 เป็นมูลค่า 3.7 แสนล้านบาท ในปี 2560

โดย 82% ของนักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยเห็นว่าความสะดวกสบายของการซื้อของออนไลน์ ทำให้พวกเขาหันมาช้อปด้วยวิธีนี้มากขึ้น ในขณะที่ 35% มองว่าการช้อปออนไลน์ช่วยให้ประหยัดเงินได้มากกว่า และ 37% เห็นว่าการส่งของที่รวดเร็วเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาหันมาช้อปออนไลน์กันมากขึ้น

การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซทำให้ความต้องการในด้านบริการจัดส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับตัวในสภาวะการแข่งขันดังกล่าว และสร้างความแตกต่างเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะใช้ “การจัดการโลจิสติกส์” หรือการจัดส่งสินค้า จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในการให้บริการลูกค้า

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ DHL ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงาน ไปสู่ผู้ประกอบการที่ต้องเลือกผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องนำไปพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ดังนี้

1. เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานระดับสากล

ผู้ประกอบการบางรายที่เพิ่งเริ่มใช้บริการจัดส่งสินค้าอาจยังไม่มีประสบการณ์ในด้านการใช้บริการมาก่อน การเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับตามมาตรฐานระดับสากล จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการว่าจะสามารถจัดส่งสินค้าด้วยระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

2. มีระบบการจัดส่งที่รวดเร็วตรงต่อเวลา และจัดส่งสินค้าจนถึงมือลูกค้าในสภาพที่สมบูรณ์

การจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วและตรงต่อเวลาเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ดีควรจะต้องมีอยู่แล้ว อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรมองหาคือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความใส่ใจและพิถีพิถันในทุกขั้นตอนตั้งแต่กระบวนการการรับสินค้า การขนถ่ายสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้องให้ถึงมือลูกค้าในสถาพที่ “สมบูรณ์” ไม่ชำรุด ฉีกขาด หรือเสียหาย

3. มีเครือข่ายในการจัดส่งสินค้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ

เครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุมของผู้ให้บริการโลจิสติกส์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรพิจารณา เพราะการซื้อขายออนไลน์มีการเจริญเติบโตและขยายตัวไปทั่วทุกแห่งไม่จำกัดเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ การอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคในการจัดส่งสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเขตกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ห่างไกลในต่างจังหวัดย่อมเป็นข้อได้เปรียบอีกข้อหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ

4. มี “รูปแบบ” การให้บริการที่หลากหลาย

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ดีควรนำเสนอ “รูปแบบ” การให้บริการที่หลากหลายให้กับผู้ประกอบการและลูกค้าของพวกเขา เช่น บริการรับสินค้าถึงสถานประกอบการโดยตรง จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาไปกับการขนย้ายพัสดุ บริการส่ง SMS แจ้งเตือนลูกค้าก่อนการจัดส่งสินค้าทุกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าทราบช่วงเวลาในการจัดส่ง และบริการชำระเงินปลายทาง สำหรับลูกค้าที่ไม่สะดวกชำระเงินออนไลน์ ยิ่งผู้ประกอบการสามารถนำเสนอรูปแบบการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลายก็ยิ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลายได้อย่างครอบคลุม

5. มีระบบการติดตาม และตรวจสอบสถานะการจัดส่งที่แม่นยำและทันสมัย

การที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีระบบการติดตาม และตรวจสอบสถานะการจัดส่งที่ถูกต้องแม่นยำและทันสมัยจะทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะพัสดุของตัวเองได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนเวลาในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ

6. Customer Service ต้องเข้าถึงง่าย และรวดเร็ว

ผู้ประกอบการควรเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีฝ่ายบริการลูกค้าที่มีคุณภาพซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำให้กับลูกค้า รวมถึงมีระบบการติดต่อสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในกรณีที่ลูกค้าประสบปัญหาระหว่างขั้นตอนการจัดส่งสินค้า พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ที่พร้อมตอบคำถามและให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว


  • 146
  •  
  •  
  •  
  •