Podcast – EP.13 เรียนรู้ “ระบบโลจิสติกส์” ส่งสินค้าจากไทย ไปจีน วิธีไหนเร็ว ง่าย และคุ้ม

  • 284
  •  
  •  
  •  
  •  

เรียนรู้ “ระบบโลจิสติกส์” ส่งสินค้าจากไทย ไปจีน วิธีไหนเร็ว ง่าย และคุ้ม

หลังจาก China Market Insights Episode 12 นำเสนอช่องทางการขาย Offline และ Online ที่คนจีนนิยมช้อปเป็นประจำ ใน EP นี้มาต่อด้วย “ระบบโลจิสติกส์” หลากหลายวิธีส่งสินค้าจากไทย ไปจีนว่า วิธีไหนส่งได้เร็ว ง่าย และคุ้มค่า ?!

 

มารู้จักการขายผ่าน “Daigou” (ตัวแทนรับหิ้ว) – “Distributor”

การขายสินค้าไปยังประเทศจีน ใช่ว่าจะมีแต่ผ่านช่องทาง “อีคอมเมิร์ซ” เท่านั้น ยังมีอีก 2 วิธีที่ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือแบรนด์นิยมใช้กัน คือ

  1. Daigou () รับฝากหิ้วสินค้าจากต่างประเทศ เข้าจีน

Daigou ( : ไต้โก้ว) เอเยนต์ตัวแทนรับฝากซื้อ และหิ้วสินค้าจากต่างประเทศ เข้าไปยังจีน ซึ่งแบรนด์ไทยหลายแบรนด์ที่เริ่มต้นเจาะตลาดจีนในช่วงแรกๆ ใช้วิธีการขายแบบนี้

  1. ใช้ Distributor ในจีน

หลังจากเจาะตลาดจีนได้สักพัก เมื่อแบรนด์ หรือธุรกิจนั้นๆ สามารถสร้างฐานตลาดจีนใหญ่ขึ้น และมี Volume การขายมากขึ้น ก็จะขยับไปใช้ Trader หรือ Distributor ในประเทศจีน ซึ่ง Distributor รายใหญ่จะช่วยแบรนด์ หรือผู้ประกอบการนั้นๆ ทั้งจดทะเบียน Trademark ในจีน, ขอ FDA และกระจายสินค้า ในขณะที่ผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ ต้องจ่ายค่าขนส่งจากเมืองไทย ไปสู่จีน

อย่างไรก็ตามในการหา Distributor และเป็นพาร์ทเนอร์ธุรกิจกัน ทางผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ต้องตรวจสอบ และทำข้อตกลงให้ชัดเจน เช่น จะให้ Distributor รายนั้นๆ เป็น Exclusive ทั้งหมด หรือเฉพาะบางพื้นที่ และ Distributor รายนั้นๆ รับกระจายสินค้าประเภทเดียวกับแบรนด์เราด้วยหรือไม่

 

โลจิสติกส์ไหนเหมาะกับแบรนด์/สินค้าเรา ?!

“เรือ” ค่าส่งถูก แต่ใช้เวลานาน

การส่งสินค้าจากไทย ไปจีน ทางแรกคือ “เรือ” ข้อดีคือ เป็นโลจิสติกส์ราคาถูกสุด แต่ข้อเสียคือ ใช้เวลานาน และธุรกิจที่ใช้ระบบขนส่งทางเรือ ส่วนใหญ่จะมี Volume การส่งเยอะ ดังนั้น ผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ที่ Volume การส่งไม่มาก ใช้การขนส่งทางเรือ อาจไม่คุ้ม และใช้เวลานาน

“เครื่องบิน” แพง แต่เร็ว!

การขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน เป็นที่นิยมสำหรับคนที่เพิ่มเริ่มขยายตลาดไปยังประเทศจีน โดยใช้ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์

ระหว่างประเทศ เช่น DHL, SF Express โดยค่าใช้จ่ายที่ผู้ส่งจะต้องจ่าย คือ ค่าบริการขนส่ง อัตราค่าส่งเป็นไปตามผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และเมื่อไปถึงปลายทางแล้ว จะมีเรื่องของภาษีอากร

ข้อดีของการขนส่งทางเครื่องบิน ถึงปลายทางเร็ว ไม่เกิน 2 วัน หรือเต็มที่ไม่เกิน 5 วัน และดำเนินการทุกขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่ข้อเสีย คือ ต้นทุนสูง

“ทางรถ” ค่าส่งถูก แต่ใช้เวลา และเสี่ยงสินค้าถูกกัก เพื่อตรวจสอบ

อีกวิธีการขนส่งที่นิยมมากที่สุด คือ “ทางรถ” เพราะค่าขนส่งถูก อย่างไรก็ตามใครที่ใช้บริการขนส่งทางรถ ถ้าต้องแชร์ตู้คอนเทนเนอร์กับคนอื่น และทางการของจีน พบเจอว่าของในตู้คอนเทนเนอร์นั้น มีบางอย่างผิดปกติ เช่น ส่งของปลอมเข้าประเทศ หรือของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือมีสินค้าที่ไม่ได้เครื่องหมายควบคุมมาตรฐานสินค้าตามที่ภาครัฐจีนกำหนด

ย่อมทำให้ของที่อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ตู้นั้นๆ ทั้งหมด ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านนี้ของจีน แม้ว่าสินค้าของผู้ประกอบการ หรือของแบรนด์จะไม่ผิดปกติ และดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม

แต่หากเจอกรณีนี้ นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ จะจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าปลายทางล่าช้ากว่าที่ระบุไว้ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า เช่น บางรายใช้เวลาหลายเดือน กว่าจะจัดส่งไปยังปลายทางได้ เพราะติดขั้นตอนการตรวจสอบของทั้งหมดในตู้คอนเทนเนอร์

 

รู้จัก “Warehouse” 2 รูปแบบในจีน

นอกจากนี้ใน Episode นี้ ยังได้ overview “คลังสินค้า” ในจีน แบ่งเป็น 2 รูปแบบกว้างๆ คือ

– เช่า “Warehouse” ในจีน

เมื่อธุรกิจในจีนเติบโตได้ในระดับหนึ่ง มีอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ประกอบการ หรือแบรนด์จัดส่งสินค้าไปยังจีน คือ เช่า Warehouse ที่ประเทศจีน

โดยผู้ประกอบการ หรือแบรนด์แพ็คสินค้าจากเมืองไทย จากนั้นเลือกระบบขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบิน ทางเรือ หรือทางรถ เพื่อส่งไปยัง Warehouse ที่เช่าไว้ในจีน และเมื่อมีออเดอร์เข้ามา ก็กระจายสินค้าจากโกดังได้เลย ซึ่งในจีนมีหลายบริษัทที่รับบริหารคลังสินค้า ขณะที่ค่าใช้จ่ายคิดตามจำนวนของ – ระยะเวลาจัดเก็บ – ขนาด และน้ำหนักของสิ่งของ

– “Bonded Warehouse”

Bonded Warehouse หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน คือ คลังสินค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ซึ่งจะอยู่ใน Free Trade Zone ของแต่ละประเทศ โดยได้สิทธิประโยชน์ด้านอากร

สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่

Google Podcasts


  • 284
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”