Podcast – EP.16 Power of E-Voucher ในธุรกิจของจีน

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

China Market Insights EP.16 Power of E-Voucher

วันนี้หัวข้อที่จะมาพูดคุยกันก็คือ Power of E-Voucher หรือ อิทธิพลของอีเวาเชอร์ หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า E-Voucher คืออะไร จริงๆ แล้วในโลกของเวาเชอร์หรือส่วนลดต่างๆ จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกันเขาเรียกว่า Free Voucher หรือ Discount Voucher กับอีกตัวก็คือ Cash Voucher หรือ E-Voucher นั่นเอง

ดังนั้น MarketingOops! China Market Insight EP.16 จึงชวนมาฟัง “Power of E-Voucher สำหรับการทำการตลาดที่จีน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจท่องเที่ยว หรือทำธุรกิจอื่น แล้วสามารถนำไปปรับเปลี่ยนหรือปรับทิศทางให้เข้ากับธุรกิจของตัวเองได้

 

หัวข้อ Power of E-Voucher หรือ อิทธิพลของอีเวาเชอร์ ซึ่งจริงๆ แล้วในโลกของเวาเชอร์หรือส่วนลดต่างๆ จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกันเขาเรียกว่า Free Voucher หรือ Discount Voucher กับอีกตัวก็คือ Cash Voucher หรือ E-Voucher นั่นเอง สองตัวนี้แตกต่างกันตรงไหน ตัวแรก (Free Voucher) ถ้าเรากด Redeem หรือกดรับมาเราจะนำไปใช้ก็ได้หรือไม่ใช้ก็ได้ ไม่ต้องจ่ายเงินก่อน พอไปถึงหน้าร้านก็สามารถโชว์ตัวนี้เป็นส่วนลดได้ อันนี้เค้าเรียกว่า Free Voucher หรือ Discount Voucher นั่นเอง อันที่สองคือ Cash Voucher คล้ายๆ กับคูปองเงินสด แต่ว่าเราต้องจ่ายเงินเข้าไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อดีลต่างๆ หรือว่าซื้อเป็นเงินสดเลย อย่างเช่นเติมเงินเข้าไปในบัตร อันนั้นคือมีการซื้อขายกันเลย

 

E-Voucher ช่วยผลักดันยอดขายได้ดี

ทำไมเราต้องมาสนใจ E-Voucher เพราะว่าล่าสุด เตี่ยนผิง และ Ctrip หรือในหลายๆ ที่ เน้น E-Voucher กันมากขึ้น เพราะเขาเห็นว่าตัว E-Voucher เป็นวิธีการดันยอดขายได้ดีมากทีเดียว โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 นี้ อย่างที่กุ้ยโจว หนานหนิง หนิงปัว รัฐบาลจีนสนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการให้ E-Voucher จำนวน 70 ล้านบาท ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในเมืองต่างๆ อีกทางหนึ่ง Ctrip Gourmet เขาได้เปิดในการให้ลงทะเบียนขายพวกดีลคูปองร้านอาหาร เขาพยายามจะออนในช่วง Q3-Q4 ปี 2020 ซึ่งคราวที่แล้วที่เขาทำสามารถทำยอดขายได้ถึง 2 หมื่นใบเลยทีเดียว ในช่วงเวลา 1 เดือน เป็นเกี่ยวกับร้านอาหารอย่างเดียวทั้งนั้นเลย และเขาก็โปรโมทให้ฟรีด้วย

อีกทั้งตอนนี้ เตี่ยนผิง และ Ctrip เชื่อมต่อ API กับทาง Eatigo เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถจองตั๋วจองร้านอาหารพวกนี้ได้ และนอกจากนี้ ช่วงโกลเด้นวีคปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนจะมีโควิด-19 ทางแบงก์ออฟไชน่า และหลายแบงก์ของจีนก็เปิดขาย E-Coupon ในช่องทางของแบงก์ ยอดรวมของเขาเคยเห็นตัวเลขอันหนึ่งก็คือ 5 ล้านบาทภายใน 1 อาทิตย์ สำหรับช้อปปิ้งมอลล์เพียงที่เดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นใครก็ตามแต่ที่เป็นช้อปปิ้งมอลล์ หรือว่าร้านอาหารหรือว่าสถานที่ท่องเที่ยว ก็สามารถเอาดีลดีๆ มาขายเป็น Cash- Voucher หรือ  E-Voucher ก่อนได้เลย

 

วิธีกาทำ E-Voucher สำหรับธุรกิจ

สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับการ E-Voucher นี้ ขออธิบายให้ฟังว่า วิธีการมันทำอย่างไร แน่นอนว่า หนึ่ง คือเราต้องหาช่องทางในการวางขายก่อน ไม่ว่าจะเป็น เตี่ยนผิง, Ctrip หรือช่องทางของธนาคารจีน หลังจากนั้นทำการเซ็นสัญญากับเขา และให้ส่วนลดกับ end user เพราะฉะนั้นถ้าคนซื้อมาก็จะมีส่วนลด 3% 5% 20% แล้วแต่เลยว่าโปรดักส์ของเราเป็นอะไร หลังจากนั้นก็มีชาแนลตัดให้กับพวกนี้ ก็เหมือนกันมีตั้งแต่ 3-30% แล้วแต่ว่าโปรดักส์เราคืออะไร เขาก็จะวางขายในแอพพลิเคชั่นของเขา เขาก็อาจจะมีคนมาซื้อ จ่ายเงินผ่านทางแอพเขาเลย แปลว่าเงินจะอยู่ทางชาแนลพวกนี้ก่อนหลังจากนั้น user หรือคนที่ซื้อก็จะได้ QR Code ไป เขาจะต้องเดินทางมาที่ไทยหรือตรงไปที่ช้อป แสดง QR Code ทั้งทางช้อปและหน้าร้าน เขาจะมีเครื่องตัวหนึ่งเอาไว้สแกน QR Code เพื่อเป็นการยืนยันว่าตัวนี้ยังไม่มีการใช้ไป สามารถตัดเงินได้หรือว่าให้ของไปได้เลย หลังจากนี้ก็จะมีการเคลียร์บิลกันเกิดขึ้น โดยภายในหนึ่งเดือนหรือว่าเดือนครึ่งก็จะมีการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในบัญชีของเราในเมืองไทย

สำหรับคอร์สคือ มี 2 อันที่เป็น Free Voucher ส่วนใหญ่เขาจะคิดตามจำนวนคูปอง ไม่ว่าจะเป็น 50 บาท 20 บาท อะไรก็แล้วแต่ ต่อ 1 คูปองที่คนกดคลิกไป ใช้ไม่ใช้เราไม่รู้ แต่ถ้าเป็นแคชคูปอง หรือแคชเวาเชอร์ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นคอมมิสชั่นเบส แปลว่า กดคลิกเข้ามาแล้วยังไม่จ่ายเงินยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนคนเดินทางเข้ามาใช้จริง เขาเรียกว่า Redemption หรือการ QR Code มาสแกนหน้าร้านตัดว่าตัวนั้นใช้แล้ว ก็จะมีคอมมิสชั่นกันเกิดขึ้น สำหรับคอมมิสชั่นถ้าเป็นลักซ์ชัวรี่แบรนด์ 3% ก็ถือว่าเยอะแล้ว แต่ถ้าเป็นคอสเมติกอาจจะถึง 3% เลยทีเดียว ก็ต้องดูว่าช่องทางไหนและผลิตภัณฑ์ของเราเป็นอะไร

แน่นอนว่าถ้าเป็นแคชวอชเชอร์ด้วยความที่เขาจ่ายเงินไปก่อนตั้งแต่ต้นเลย ก็จะมี Conversion Rate จำนวนคนที่มารีดีมมากกว่าที่เป็น Free Voucher เพราะว่าคนกดไปอันลิมิตเลย แต่ก็ไม่รู้ว่าเขาจะมาหรือเปล่า เราก็อาจจะเดายาก ก็อาจจะมีแค่ 30% ที่มาใช้ แต่ถ้าเป็น E-Voucher หรือ Cash Voucher คนที่ซื้อไปก็อาจจะมีถึง 70% ที่กลับเข้ามาใช้ของเรา

 

ช่องทางในการทำ E-Voucher

คราวนี้ช่องทางในจีนมีอะไรบ้าง สำหรับ CTrip สามารถวางขายเป็น Cash Voucher หรือ Cash Coupon ของ Shopping Mall ของช้อปต่างๆ ถ้าแบรนด์ของคุณมีหน้าร้าน ก็สามารถทำได้ ส่วนถ้าเป็นร้านอาหารก็สามารถใช้ Ctrip Gourmet ก็ได้ แน่นอนครับแต่ก่อน Ctrip Gourmet จะต้องจ่ายเงินค่า POI เปิดหน้าร้านของเรา แล้วก็ทำการขายของบนนั้น แต่ตอนนี้เขาเปิดกว้าง ช่วงโควิด-19 เขาสามารถเอาดีลดีๆ ไปเสนอเขาได้ และเขาจะเอาขึ้นใน Ctrip Gourmet ให้ เพื่อกระตุ้นยอดขาย หลังจากนั้นเราก็สามารถนำไป Live ใน Ctrip ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ เตี่ยนผิง เป็นแอพพลิเคชั่นคล้ายๆ วงใน สำหรับเสิร์ชหาร้านอาหาร คอมเมต์รีวิวอะไรต่างๆ สามารถขายคูปองของเราได้ ก็มีทั้งฟรีเวาเชอร์และแคชคูปองหรือว่าดีลคูปองสามารถขายในหน้า POI ได้ และมีค่าใช้จ่ายในการเปิด POI นิดหน่อย

สุดท้ายมีอีกเจ้าหนึ่งเข้ามาชื่อว่า E-Buy โดยเป็นเทคโนโลยีคอมพานีที่เชื่อมต่อกับธนาคาร และทางแอร์ไลน์สายการบินต่างๆ ซึ่งก็จะมีพวกแบงก์ของจีนมากมาย เป็นคนที่เขาทำแคมเปญให้ค่อนข้างบ่อย พวกนี้สามารถเอาช่องทางของเราไปวางขายในช่องทางต่างๆ ได้ แต่ธนาคารจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะเอาไปวางขายได้หรือไม่ พวกนี้เรียกว่า Loyalty Program หรือว่าคนใช้บัตรเครดิตของเขาอาจจะมีแต้มอยู่ สามารถใช้แต้มตัดไปเป็นพ้อยท์ได้ หรือว่าจ่ายเงินเพิ่มเติมได้เช่นเดียวกัน ตัวนี้ก็น่าสนใจพอสมควรเลยทีเดียวเพราะว่าเครือข่ายของเขามีเยอะมาก เมมเบอร์ชิพของธนาคารมีประมาณ 100 กว่าล้านคน ก็น่าสนใจมาก

เป็นตอนสั้นๆ ที่มาฝาก เพราะผมเริ่มเห็นเทรนด์กำลังมา ไม่ว่าจะเป็นช่วงโควิด-19 คนก็ซื้อ เพราะว่าดีลดี 30% 50% ก็มี ดีลดีๆ มีเยอะแยะมากมาย ทาง CTrip ก็นำมา Live ด้วย ขายเป็นพันๆ ใบเลยทีเดียว ดังนั้น ใครก็ตามแต่อยากจะทำการตลาดกับฝั่งจีน กำลังเตรียมตัวอยู่ก็สามารถเอาดีลๆ ดีนี้ เสนอเรามาได้เลย ทักเข้ามาได้เลยทุกช่องทางเราพร้อมแนะนำได้

 

สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่

Google Podcasts


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”