สรุป 8 เทรนด์ “ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ 2025” พร้อมโมเดล “สร้างรายได้” และการเติบโตของนักไลฟ์

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  

Creator-Influencer Trends 2025

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วคือ Creator Economy ไปพร้อมกับโลกยุค Media Fragmentation โดยใน session Influencer Trends 2025 ภายในงานสัมมนา CTC2024 โดย คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO & Co-founder of Tellscore Co., Ltd. ได้พาไปเจาะลึก 8 เทรนด์ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ดังนี้

 

1. ปัจจุบันประเทศไทยมีครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์กว่า 9 ล้านคน รวมทุกช่องทางในไทย (รวม Micro Influencers)

ทุกวันนี้ครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์ เป็น Omni-channel Creators บนหลัก 3Cs คือ

– Content ผลิตคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ

– Commerce รายได้ยังมาจากการขายด้วยเช่นกัน

– Community พบว่ามีครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์มีการจัดกิจกรรม Fan Meet, Talk Show หรือคอนเสิร์ต กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้จากการขายบัตร เป็นการยกฐานแฟนคลับออกจากโลกออนไลน์ ไปเจอตัวจริงที่โลก Physical แล้ว ทำให้ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ ไม่ได้มีเฉพาะ Third-party data จากยอดการรับชมบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังได้ First-party data จากการที่แฟนคลับลงทะเบียนสมัครสมาชิก และซื้อบัตรเข้าร่วมกิจกรรมที่ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์จัดขึ้น

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

ปัจจุบันโมเดลการหารายได้ของครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์ (Monetization Model) ประกอบด้วย

รายได้มาจากแบรนด์, เอเจนซี (Pay per content): เช่น ทำคอนเทนต์รีวิว

รายได้มาจาก Commission (Affiliate Marketing): เมื่อ Creator/Influencer Economy พัฒนาไปไกล ทำให้มีโมเดลรายได้รูปแบบ Commission base เช่น โปรโมท หรือรีวิวและติดตะกร้าสินค้า, ไลฟ์ขายของ จะได้เป็นค่า Commission จากยอดขายสินค้าตามข้อตกลงกับแบรนด์ หรือผู้ว่าจ้าง

รายได้มาจากลิขสิทธิ์คอนเทนต์ และการขายคอนเทนต์ให้กับแบรนด์สินค้า, เอเจนซี (Content Rights & Content Pay Out): มีทั้งรูปแบบคอนเทนต์ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ปรากฏในช่องทางอื่น ก็จะได้ค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์นั้นๆ และรูปแบบแบรนด์/เอเจนซี ซื้อขาดคอนเทนต์นั้นไปเลย โดยผู้ซื้อมีสิทธิ์นำคอนเทนต์ไปใช้ในช่องทางต่างๆ

รายได้มาจากการเป็นวิทยากรตามงานต่างๆ (Speaking & Presence Opportunities): ครีเอเตอร์หลายคนเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทำให้มีการเชิญไปเป็นวิทยากรงานต่างๆ

รายได้มาจากผู้ติดตาม (Subscription & Exclusive Content): เช่น บนแพลฟตอร์ม YouTube ทำรูปแบบ Subscription และ Exclusive Content ทำให้ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์สามารถมีรายได้เข้ามาอีกทาง

รายได้มาจากการจัดกิจกรรม Fan Meets, Talk Show: เช่น รายได้จากการขายบัตร

จะเห็นได้ว่าโมเดลรายได้จากผู้ติดตาม และรายได้จากการจัดกิจกรรม ถือเป็น Fanbase Monetization ทำให้ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์เริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็น “ไอดอล”​ หรือ​ “ศิลปิน” ดังนั้นยิ่งครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์คนไหนหรือกลุ่มไหน มีฐานแฟนผู้ติดตามจำนวนมาก จะยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากสองโมเดลนี้มากขึ้น  

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

 

2. Global Mega Trends: เทรนด์ครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์ เชื่อมโยงกับเทรนด์โลก

– หลายประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย

– คนในประเทศมีรายได้ต่ำ ทำให้คนหา Passive income ด้วยการทำครีเอเตอร์-เป็นอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น

– เทคโนโลยีรุดหน้าเร็ว ระบบการศึกษาผลิตคนที่เหมาะกับงานไม่ทัน

– สภาวะเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ, เศรษฐกิจฝืดเคือง

– โลกเปลี่ยนผ่านสู่ AI, EV และสินค้าจีนทะลักทั่วโลก

– คนต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น บางคนยังทำงานประจำ แต่มีรายได้แหล่งที่สองจากการเป็นครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ด้วย

– นายจ้างมีความต้องการจ้างงานแบบสัญญาจ้าง เพื่อลดค่าใช้จ่าย Fixed cost

– คนขาดความรู้ในการออม บริหารค่าใช้จ่าย ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

– สภาพอากาศแปรปรวน กระทบกับภาคการเกษตร, เกิด Food Crisis, เกิดโรคอุบัติใหม่

เทรนด์โลกเหล่านี้ ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ด้วยการผลักดัน หรือขับเคลื่อนช่วยกันแก้ไข อย่างแนวโน้มด้าน Workforce ข้อมูลจาก Statista รายงาน ครีเอเตอร์มีส่วนในการสร้างการเติบโตให้กับ GDP แต่ละประเทศผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างไร เช่น

– YouTube: ในฝรั่งเศส YouTube Creator สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 20,000 ล้านบาท ขณะที่สหรัฐอเมริกา YouTube Creator สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 900,000 ล้านบาท

– TikTok: ในฝรั่งเศส TikTok Creator สร้างรายได้ 50,000 กว่าล้านบาท ซึ่ง GDP ฝรั่งเศสใหญ่กว่าไทยประมาณ 5 เท่า เพราะฉะนั้นเมื่อมาเทียบกับประเทศไทยแล้ว ประมาณการณ์ว่า TikTok สร้างรายได้ครีเอเตอร์ไทยในหนึ่งปี ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท

 

3. Workforce: คนทำงานแบบ On-Demand Jobbers / Gig Workers / Multi-jobbers เพิ่มขึ้น

เป็นคนทำงานที่มีแหล่งรายได้มากกว่า 1 แหล่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์ แต่ก็มีพนักงานประจำด้วยเช่นกัน พบว่าในประเทศไทยมีคนเข้ามาเป็น On-Demand Jobbers / Gig Workers / Multi-jobbers เพิ่มขึ้น 15 – 20% ต่อปี

ปัจจัยที่ทำให้ On-Demand Jobbers / Gig Workers / Multi-jobbers เติบโตคือ 1. คนอยากทำงานอิสระมากขึ้น 2. พนักงานบริษัท ก็ออกไปเป็นคนทำงานอิสระที่มีรายได้จากหลายแหล่ง และ 3. การเพิ่มขึ้นของครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ พบว่าหลายคนทำงานแบบ Digital Nomad ทำงานผ่านดิจิทัลจากที่ไหนก็ได้ของโลก

อีกทั้งยังพบว่าในปี 2024 ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ทั่วโลกกำลังจะทำงานแบบ Full-time มากขึ้น เพราะด้วยรายได้ที่เข้ามา ทำให้ทำงานอิสระได้

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

 

4. Creator Culture & Soft Power / Subculture: วัฒนธรรมย่อยเติบโตจาก Media Fragmentation ทำให้แตกกลุ่มผู้ชม/ผู้ฟัง (Audience) ออกเป็นกลุ่มๆ 

สำหรับ Soft Power ไทยในภาพใหญ่ เช่น มวยไทย, แฟชั่นไทย, ละคร-หนังไทย, หนังผีไทย, อาหารไทย, นวดไทย, สงกรานต์ไทย, ท่องเที่ยวไทย เชื่อมโยงกับครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ เช่น ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว, สายแฟชั่นบิวตี้, สายสยองขวัญไทย, สายสุขภาพ, สายอาหาร จะล้ออยู่กับ Soft Power เหล่านี้

นอกจากนี้ปัจจุบันยังเกิดวัฒนธรรมย่อยในวงการครีเอเตอร์ (Creator Culture & Subculture) ได้แก่

– Introvert ทำให้เกิดการพูดคุย หรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับคน Introvert

– Art Toy

– Pet Lovers

– Self Improvement

– Sustainability

– Wheel Journey

– Silver สูงวัย

– ช่างไฟต้องเท่ ปัจจุบันกลุ่มอาชีพช่างไฟมาเป็นครีเอเตอร์ โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม TikTok ทำให้คนดูได้เรียนรู้จากคอนเทนต์สายอาชีพ

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

 

5. Creator Commerce: คาดการณ์มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ปี 2568 อยู่ที่กว่า 7.5 แสนล้านบาท ปัจจุบันครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์ มาเป็น “Creator Commerce” หรือนักไลฟ์ตัวพ่อตัวแม่มากขึ้น 

ผลวิจัยพบว่า 93 – 95% ของลูกค้าอ่าน/ดูรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า โดยกว่า 80% เป็นคอนเทนต์รีวิวมาจากครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ และอีกประมาณ 15% มาจากรีวิวของผู้บริโภคจริง

สำหรับโมเดลรายได้ของครีเอเตอร์นักไลฟ์ ทุกวันนี้รูปแบบ Affiliate Marketing ที่เป็น Commission base กำลังได้รับความนิยม และมีแบบไฮบริด หรือลูกผสมระหว่าง Affiliate กับรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

– Commission Only

– Pay per post + Commission เช่น จ่ายค่าทำคอนเทนต์เล็กน้อย และผสมกับค่า Commission

– Exclusive or Campaign-based เช่น มีนักไลฟ์ประจำแบรนด์จ้างระยะเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี

– Live Selling

– Affiliate Clip (คลิปติดตะกร้า)

ขณะที่ช่องทางการขายบนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในไทย

– Shopee

– LAZADA

– TikTok

– Facebook

– Instagram

– LINE

หมวดสินค้ายอดนิยม

– แฟชั่นเสื้อผ้า

– เครื่องสำอาง-ความงาม

– อาหารและเครื่องดื่ม

– เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์ Gadget

– สินค้าใช้ภายในบ้าน

เหตุผลในการซื้อของคนไทย เป็น “Shoppertainment” ทำให้เกิด Impulse Buying มาก ทำให้เวลานี้เจอปรากฏการณ์ว่าคนรุ่นใหม่รู้จักแบรนด์ครั้งแรกตอนซื้อสินค้าครั้งนั้น ซึ่งแตกต่างจาก Marketing Funnel ดั้งเดิมที่เริ่มจาก Awareness > Consideration > Conversion > Loyalty > Advocation ขณะที่ปัจจุบันบางครั้งผู้บริโภคเกิด Awareness ที่ Bottom Funnel ตอนซื้อ แล้วค่อยมาศึกษาว่าแบรนด์ที่ซื้อไปนั้นคืออะไร โดยผลสำรวจพบว่า

– 88% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยคอนเทนต์ที่ไม่มีการส่งเสริมการขาย เช่น รีวิว, How to (Shoppertainment)

– กว่า 97% ของผู้บริโภค เผยความต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พิจารณา และตัดสินใจซื้อภายในแพลตฟอร์มเดียว

สำหรับแรงจูงใจในการซื้อของผู้บริโภค ต้องการความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์ (Emotionally Connected) เช่น ต้องการมี Gamification ต้องการความบันเทิง ความสนุก และเรื่องราวของแบรนด์

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

ขณะที่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์คอนเทนต์บน Social Media แต่ละแพลตฟอร์มในปี 2024 – 2025 ได้แก่

– YouTube: 6.00 – 9.00 pm

– Facebook 12.00 – 3.00 pm

– X (Twitter) 12.00 – 3.000 pm

– Instagram 12.00 – 3.00 pm หรือ 6.00 – 9.00 pam

– TikTok 6.00 – 9.00 pm

– LinkedIn 3.00 – 6.00 pm

นอกจากนี้ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ทำคอนเทนต์บนหลายแพลตฟอร์ม และทำคอนเทนต์ทีเดียวให้ทำแบบ Multi-format ทั้งวิดีโอแนวตั้ง – แนวนอน, Podcast, บทความ ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือ AI ช่วยทำคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ รวมทั้ง Social Media กลายเป็น Search Engine ไปแล้ว เพราะฉะนั้นควรติด hashtag และมี Keyword อยู่ในแคปชัน

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

 

6. AI Tools for Content Creator: การพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็ว ทำให้ครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์มีเครื่องมือ AI เป็นตัวช่วยในการทำงาน เช่น

– Content Ideas & Content Strategy: ChatGPT, SEMRUSH

– Writing Tools: AISEO, Jesper

– Storyboarding & Image Generation: Storyboarding Boords, Storyboarding Krock, Midjourney, Adobe Firefly, – Canva

– Video Creations: Get Munch, Vidyo.ai, Sora AI, Descript

– Social media content management & analytics: Flick, Content Studio

– Multi-purpose AI Tools: Vondy, Hootsuite

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

 

7. Performance: การวัดผลทางการตลาดของครีเอเตอร์อินฟลูเอนเซอร์ ประกอบด้วย

– Number of creators or number of content

– Number of followers

– Cost per Impression

– Cost per Reach

– Cost per View

– Cost per Engagement

– Cost per Click

– Cost per Sales

การวัดผล เดิมทีวัด ROAS (Return on Ad Spend) แต่ปัจจุบันต้องวัด ROCAS (Return on Content + Ad Spend) คือ การบวกค่าคอนเทนต์ กับค่าบูสต์โฆษณา

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

 

8. Media Landscape & Trust: การสร้างความน่าเชื่อถือ (Trust) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ มากกว่ายอดวิว และเรตติ้ง

ขณะเดียวกันยังพบความเปลี่ยนแปลงของ Media Landscape คือ บริษัทสื่อดั้งเดิม ทรานส์ฟอร์มเป็นสื่อดิจิทัล กำลังติดอาวุธในแง่ของการเพิ่มขีดความสามารถการทำคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ในขณะที่ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ กำลังพัฒนาการกลายไปเป็นบริษัทสื่อ

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลดีในแง่ของความหลากหลายของคอนเทนต์ การเข้าถึง และความเป็นกลางของภูมิทัศน์สื่อ

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025

CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025
8 เทรนด์ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ 2025 โดย Tellscore
CTC 2024-Creator-Influencer Trends 2025
คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO & Co-founder of Tellscore Co., Ltd.

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ