ทำความรู้จัก Defi Lending ระบบการเงิน กู้ยืมคริปโทเคอร์เรนซี

  • 35
  •  
  •  
  •  
  •  

Defi Lending

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำธุรกรรมการเงินที่สมัยก่อน เรามักจะกู้ยืมเงินผ่านธนาคาร เพื่อขอสินเชื่อประเภทต่าง ๆ แต่ในยุคปัจจุบันโลกของคริปโทรเคอร์เรนซี เราสามารถกู้ยืมเงินดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Defi Lending ได้

ความเป็นมาของ Defi Lending

DeFi Lending หรือ การกู้ยืมเงินบนคริปโทเคอร์เรนซีผ่านระบบในรูปแบบ Decentralized Finance หรือที่เรียกว่า เป็นการเงินแบบกระจายศูนย์ ในรูปแบบการให้บริการทางด้านการเงิน สามารถรับเงินได้ทันที ซึ่ง DeFi Lending เป็นการพัฒนาจากแนวคิดระบบการเงินในรูปแบบเดิม ๆ มาผสมผสานกับเทคโนโลยี Blockchain จนเกิดเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลและต้องการสินทรัพย์ดิจิทัลไปใช้ส่วนตัวเพียงชั่วคราว โดยที่ไม่ขายหรือโอนถ่ายกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นอย่างถาวรนั่นเอง

สำหรับการให้บริการ DeFi Lending จะให้ผู้ขอกู้ยืม ยืมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ให้กู้ รับผลกระทบจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ที่กู้ยืมไปที่ขึ้นสูงกว่าสินทรัพย์ที่ค้ำประกันไว้ โดยการใช้งานแพลตฟอร์ม DeFi Lending สามารถชำระหนี้ผ่านการยึดสินทรัพย์ที่นำมาวางค้ำโดยอัตโนมัติ เมื่อมูลค่าของสินทรัพย์หลักประกันลดลงต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำตามที่ได้กำหนด ก็จะถูกยึดสินทรัพย์หลักประกันที่นำมาวางค้ำโดยอัตโนมัติ

DeFi Lending เป็นบริการที่เติบโตอย่างรวดเร็วตามกระแสของอุตสาหกรรม DeFi เมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 โดยถือเป็นผู้ให้บริการ DeFi ที่ทำสถิตินี้ได้เป็นรายแรกถึงหลัก 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการเติบโตของ Compound ผู้ให้บริการ DeFi Lending มีมูลค่าเงินที่ล็อกไว้ในระบบ หรือที่เรียกว่า มูลค่าเงินทุนที่ผู้ใช้ใส่เข้ามาเพื่อใช้บริการ

ส่วนประกอบหลักของ DeFi

โดยหลัก ๆ แล้ว ส่วนประกอบของ DeFi ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ให้ข้อมูลไว้ด้วยกัน 3 ส่วนคือ

• DeFi protocol หรือข้อกำหนดของ DeFi คือข้อตกลงหรือภาษากลางทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการสร้าง บริหารจัดการ ดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูล รวมไปถึงแปลงสินทรัพย์ในโลกจริงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลโดยอัตโนมัติ เพื่อเป็นฐานสำคัญในบริการอื่นๆ ของ DeFi ต่อไป

• DeFi service หรือบริการของ DeFi ที่ดำเนินการอยู่บน DeFi protocol เพื่อสร้างบริการทางการเงินและฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดการเบื้องหลัง (Backend หรือ “หลังบ้าน”) เช่น การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความเสี่ยงของปัจจัยต่างๆ (Risk parameters) และอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น รวมไปถึงบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน (“หน้าบ้าน” หรือ Frontend) โดยตรง เช่นกระเป๋าเงิน (wallet) ที่ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บสินทรัพย์ รวมไปถึงโอนและจัดการสินทรัพย์ระหว่างกันได้ นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและเงื่อนไขทางด้านบริการทางการเงินต่างๆ ของ DeFi ในองค์ประกอบนี้อีกด้วย

• DeFi users หรือผู้ใช้งาน DeFi คือบุคคลที่สามารถเข้าถึง DeFi service เพื่อทำธุรกรรมต่างๆ

Defi Lending

ก.ล.ต.เตือนนักลงทุน

ปัจจุบันเริ่มเห็นกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับโครงการ DeFi มากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีความห่วงใยแก่นักลงทุน เพราะอาจมีกิจกรรมที่ครอบคลุมหลายธุรกรรมการเงิน รวมถึงมีการออกโทเค็นดิจิทัล เช่น LP token, governance token หรือ token ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ที่ทำธุรกรรมในโครงการ DeFi

ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) การออกโทเคนดิจิทัลต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเค็นดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (exchange) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (broker) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (dealer) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (private fund management) และที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (investment advisor) ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจตามประเภทที่ได้รับอนุญาต

ดังนั้น หากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ DeFi ในประเทศไทย มีการออกโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ใช้บริการ อาจเข้าข่ายการเสนอขายโทเค็นดิจิทัลที่ต้องได้รับอนุญาต และหากลักษณะหรือรูปแบบการให้บริการเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งข้างต้น ก็จะต้องได้รับใบอนุญาตและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด

รวมทั้งในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนำโทเค็นดิจิทัลที่ออกเสนอขายไปจดทะเบียนซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกและจดทะเบียน (Listing Rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีจะก้าวไกลไปมากแค่ไหน แต่การลงทุน หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ในรูปแบบ  Digital Asset ก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่ ที่นักลงทุน หรือใครหลาย ๆ คนยังคงต้องระมัดระวัง อาจจะต้องหาข้อมูลให้แน่ชัด เพราะต้องยอมรับว่า ยังมีความเสี่ยงอยู่มากนั่นเอง


  • 35
  •  
  •  
  •  
  •  
sabuysuk
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่ได้กำไร