มายด์แชร์ เผย 6 หัวข้อท้าทายนักการตลาดไทยในปี 2015

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

มายด์แชร์ (Mindshare)  เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารเผยในวันนี้ถึงภาพรวมการสื่อสารการตลาดปัจจุบันถึง พ.ศ. 2558

มายด์แชร์ คาดการณ์ ใน 6 ประเด็น

1. The Fragmentation of Viewing – สัดส่วนการรับชมแยกย่อยในสื่อที่หลากหลายมากขึ้น

การเติบโตของสื่อเคเบิ้ลและแซตเทืลไลท์ทำให้เกิดผลกระทบกับสัดส่วนการรับชมช่องฟรีทีวี โดยภายในปี 2558 เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลทีวีในการออกอากาศอย่างครบวงจร สัดส่วนของการรับชมรายการต่างๆจะแยกย่อยมากขึ้นในสื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น

นักการตลาด จะต้องทำงานร่วมกับเอเยนซี่ของตนในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารที่ครอบคลุมทุกช่องทางอย่างเต็มระบบ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพิ่มค่าการลงทุนในสื่อให้สูงที่สุด ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือนักการตลาดจะต้องระวังไม่ให้การโฆษณาหรือการทำการตลาดสร้างความรำคาญให้กับผู้รับชมและการสร้างรายการของแบรนด์จะยิ่งกลายเป็นสิ่งที่เพิ่มค่าให้กับแบรนด์สินค้ามากขึ้น

 

2.     Digital Becomes Mainstream – ดิจิตอลจะกลายเป็นสื่อที่นักการตลาดขาดไม่ได้

จำนวนการเข้าถึงสื่อดิจิตอลในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะไม่ได้รวมการใช้สื่อดิจิตอลผ่านมือถือ โดยคาดการณ์ว่าสัดส่วนการเข้าถึงจะกลายเป็น 50% ภายในปี 2558 เพิ่มขึ้นจาก 25% ในปัจจุบัน

เมื่อผู้ชมเชื่อมต่อกับสื่อออนไลน์ พฤติกรรมการรับชมสื่อจะเริ่มเปลี่ยนอย่างชัดเจน โดยภายในปี 2558 เวลาที่ใช้ในการรับชมสื่อดิจิตอลจะเพิ่มสูงขึ้นแซงสื่อทีวีโดยเฉพาะกลุ่มผู้ชมในเมือง และกลุ่มผู้ชมทั่วประเทศก็น่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก

นักการตลาดจะต้องเปลี่ยนสัดส่วนการใช้สื่อให้ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ชมอย่างทันท่วงทีโดยต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหารายการของแบรนด์สามารถค้นหาได้ง่ายและสามารถนำไปแชร์ต่อได้

 

3. Social Reaches Saturation – โซเชียลมีเดียจะถึงจุดอิ่มตัว

การเติบโตของเฟสบุ๊กในประเทศไทยนั้นรวดเร็วอย่างมากโดยเมื่อเดือนธันวาคม ปลายปี 2555 นี้มีกลุ่มผู้ใช้งานกว่า 18 ล้านคน โดยขณะนี้กรุงเทพเป็นเมืองที่มีคนใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก

ที่ผ่านมาแบรนด์จะให้น้ำหนักกับการทำให้แฟนเพจของตนเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับเพจของตนซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีเพียง 10% ของแฟนเพจที่จะกลับเข้ามาใช้งานในเพจที่ตนคลิกไลค์ไว้ ซึ่งอันที่จริงแล้วแนรด์ควรเน้นที่การสร้างการรับรู้ผ่าน Newsfeed ให้มากขึ้น

 

4. Mobile Becomes the Primary Platform – มือถือจะกลายเป็นช่องทางหลักของการสื่อสาร

มือถือจะการเป็นช่องทางหลักในการเข้าอินเตอร์เน็ตของคนไทยและผ่านสมารต์โฟนแทนที่จะเป็นผ่านเครื่อง PC  ภายในปี 2559 การ เสริช์หาข้อมูลผ่านมือถือจะมากกว่าการ เสริช์ผ่าน เดสท็อป ถึง 3 เท่า

แบรนด์ควรทำให้คอนเทนต์ของแบรนด์บน มือถือ น่าใช้งานมากขึ้น และควรต้องพัฒนา คอนเทนต์ ผ่านมือถือเป็นช่องทางหลัก

 

5. The Multi-Tasking Multi-Screener – การเติบโตของผู้ชมที่รับชมเนื้อหาจากหลายช่องทางพร้อมกัน

เราจะเห็นว่าผู้บริโภค จะเข้าถึง คอนเทนต์ ผ่านหน้าจอ ที่หลากหลายมากขึ้นในเวลาพร้อมๆกัน

แบรนด์ ต้องพัฒนา แคมเปญ ผ่านทุกช่องทางโดยที่ไม่ยึดติดกับ โทรทัศน์ เป็นช่องทางหลัก และ แบรนด์ ยังต้องใส่ใจ กับความต้องการรับชม และการดึงความสนใจเมื่อความต้องการ การรับชมถูกแย่งไปสู่ ช่องทางอื่น

 

6. The Rise of Big Data – ความต้องการใช้เครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ให้มีประโยชน์ทางการตลาดสูงสุด

บริษัท ไอบีเอ็ม ได้ประเมินไว้ว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ความท้าทายของ แบรนด์ อยู่การบริหารจัดการและวิเคราะห์ ข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาล เปลี่ยนจากตัวเลข ไปเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางการตลาด 

การเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถทราบถึง พฤติกรรมของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญ และ การใช้ข้อมูลที่ชาญฉลาดรวมถึงเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์ ผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากชึ้นกลายเป็นเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ

 

นีลูฟาร์ ฟาวเลอร์ กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ทิศทางการสื่อสารการตลาด ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงที่มีการปรับตัวอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดเป็นความท้าทายต่อ แบรนด์ และผู้โฆษณาในบริบทใหม่ ซึ่งความท้าทายที่มากพอๆกับความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เป็นโอกาสของแบรนด์ ที่จะคว้าโอกาสในการสร้างผลกำไรอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ทั้งนี้การจะร่วมมือกับลูกค้าของเราในการรักษาความเป็นผู้นำ และผลสำเร็จทางธุรกิจต้องการใช้ ความสดใหม่ในการสร้างสรรค์ (Original Thinking) ในทุกๆอย่างและทุกโอกาสที่เราสามารถทำได้ อีกทั้ง Original Thinking ทำให้เราสามารถ ใช้ประโยชน์ จากโอกาสใหม่ๆที่มีเข้ามาได้อย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด และแปลเปลี่ยนโอกาสนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งให้กับลูกค้าอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

  

เกี่ยวกับมายด์แชร์

มายด์แชร์เป็นเอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเครือ WPP Network มีรายได้กว่า 8,000 ล้านบาท บริษัทฯได้รับการจัดอันอับให้เป็นที่ 1 ด้านบิลลิ่งโดย RECMA ต่อเนื่องเป็นเวลา 7  ปี ติดต่อกัน และได้รับการยกย่องเป็น Media Magazine Agency ประจำปีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันซึ่งไม่มีบริษัทใดเคยได้รับ

สินค้าและบริการ: การให้บริการวางแผนการตลาดและซื้อสื่อ บริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดครบวงจร, ให้บริการการจัดกิจกรรมทางการตลาดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และการสปอนเซอร์กิจกรรมการตลาด ร่วมถึงการสร้างรายการสำหรับแบรนด์ ให้บริการครบวงจรด้านการทำการตลาดดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต ให้บริการด้านคำปรึกษาด้านการลงทุนในสื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

บุคลากร : Mindshare มีพนักงานรวม 140 คน และมีหน่วยงานสนับสนุนอีกจำนวน 65 คนจาก GroupM

 

เกี่ยวกับกรุ๊ปเอ็ม

กรุ๊ปเอ็ม เป็นเครือข่ายกลุ่มบริษัททางด้านการปฏิบัติการจัดการด้านการลงทุนด้านสื่อชั้นนำของโลก ซึ่ง กรุ๊ปเอ็ม ถือเป็นบริษัทแม่ของตัวแทนสื่อของกลุ่ม WPP รวมทั้ง แมกซัส (Maxus) มีเดียคอม (Mediacom) มีเดียเอจ : ซีไอเอ (Mediaedge : cia) และมายด์แชร์ (MindShare) โดยเป้าหมายหลักของ กรุ๊ปเอ็ม คือ การมุ่งเน้นให้ตัวแทนทางสื่อและการสื่อสารของกลุ่ม WPP มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะที่เป็นตัวแทนของลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงานของกรุ๊ปเอ็ม และทางบริษัทมีการดำเนินงานโดยปฏิบัติการเสมือนเป็นผู้ดูแล และผู้จัดการร่วม ในการจัดกิจกรรมที่เป็นการเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางการค้า การสร้างข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสาร งานกีฬา เทคโนโลยี การเงิน การพัฒนาแบรนด์สินค้า และกิจกรรมที่มีความสำคัญทางด้านธุรกิจ ตัวแทนของกรุ๊ปเอ็มนั้นล้วนเป็นบุคลที่มีการปฏิบัติงานอยู่ในสายงานที่ได้รับการยอมรับ และอยู่ในตำแหน่งแนวหน้าของตลาดทั้งสิ้น


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ
CLOSE
CLOSE