SCB ชี้ตัวเลขแนวโน้มเศรษฐกิจลดลงแต่ยังพอมีข่าวดีบ้าง งานนี้สงสัยอาจเผาจริง

  • 199
  •  
  •  
  •  
  •  

EIC

ปีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นปีแห่งหายนะของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย เพราะแค่ช่วงต้นปีสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วก็ดูยังไม่ดีขึ้น แถมช่วงกลางปีกลับมีปํญหาระหว่าง 2 มหาอำนาจเกิดขึ้นมาอีก ไหนจะเรื่องตลาดอสังหาฯ ที่ช่วงต้นปีก็มีนักวิเคราะห์ทำนายแล้วว่าจะเกิด Over Supply ของเก่าขายไม่ทันหมด ของใหม่สร้างเสร็จออกมาขายแล้ว

แถมขณะที่กำลังจับตาอัตราดอกเบี้ยช่วงต้นปีและสถานการณ์ Brexit ในยุโรป จู่ๆ ฮ่องกงก็ประท้วง แถมถอดโมเดลรูปแบบการประท้วงคล้ายๆ กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่งไปซะด้วย แล้วค่าเงินบาทก็ดันแข็งค่าฉายเดียวในภูมิภาคซะงั้น กระทบการส่งออกอย่างเลี่ยงไม่ได้ แถมล่าสุดประเทศซาอุดิอาระเบียโดนโจมตีบ่อน้ำมันอีก เป็นผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้น

Trade War

นี่ขนาดยังไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยภายในประเทศอย่างภาวะการเมืองและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก็คงจะพอเห็นเค้าลางเล็กๆ แล้วว่า เมื่อลูกค้าเดิมเงินไม่ค่อยมี แถมลูกค้าใหม่ตังก็ร่อยหรอ คำถามคือแล้วเราจะขายใคร??? ถ้าลดราคาก็อาจมีโอกาสขาดทุน ไม่ลดราคาสินค้าก็แพงกว่าชาวบ้านในยุคที่หลายคนคิดแล้วคิดอีก คิดหน้าคิดหลัง คิดวนไปคิดวนมากว่าเงินจะได้ออกจากกระเป๋าตัง

นั่นจึงทำให้หน่วยงานอย่าง Economic Intelligence Center (EIC) หน่วยงานที่คอยจับตาและวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยผลวิเคราะห์เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยมองว่าปี 2019 การส่งออกโดยรวมมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ส่วนใครที่คิดว่าค่าเงินบาทแข็งจะส่งผลดีต่อการนำเข้า อาจต้องคิดใหม่เมื่อการนำเข้าก็หดตัวเช่นกัน

Export Graph
กราฟแสดงการส่งออกของไทย

สำหรับในช่วง 8 เดือนของปี 2019 มูลค่าการส่งออก (หักมูลค่าการส่งกลับอาวุธในเดือนกุมภาพันธ์) จะหดตัวอยู่ที่ -3.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเมื่อหักการซื้อขายทองคำออกไปมูลค่าการส่งออกจะหดตัวที่ -5.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยรถยนต์-อุปกรณ์และส่วนประกอบหดตัวมากที่สุดถึง -12.6% ตามมาด้วยข้าวที่หดลงถึง -44.7% และเครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบที่หดลง -10.5% โดยทั้งหมดเป็นการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

Product-List
กราฟแสดงประเภทสินค้าส่งออก

ขณะที่โซนอาเซียน กลุ่มประเทศ CLMV และอินเดียเป็นตลาดที่มีการหดตัวลงมากที่สุด อันที่จริงแล้วตลาดหดตัวลงเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น ยุโรป แต่ยังพอใจชื้นขึ้นมาได้ว่าตลาดสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ที่ 5.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

โดย EIC มองว่าปัจจัยส่วนใหญ่เกิดจากสถานการณ์โลก โดยเฉพาะสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่น่าจะยังคงยืดเยื้ออีกยาวนาน มีผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยที่เป็นวัตถุดิบการผลิตสินค้าจีนที่ส่งไปขายยังสหรัฐฯ ขณะที่การประท้วงในฮ่องกงส่งผลต่อการท่องเที่ยวของฮ่องกง และอาจส่งผลกระทบกับการส่งออกสินค้าไทยไปยังฮ่องกง

HK Protest

รวมไปถึงข้อพิพาทระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศมีปัญหาชะลอตัว ซึ่งทั้ง 2 ประเทศต่างก็เป็นคู้ค้าของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ขณะที่ประเทศไทยซาอุดิอาระเบียโดนโจมตีบ่อน้ำมันอาจเป็นผลดีกับไทยเล็กน้อย เนื่องจากซาอุฯ ประกาศลดกำลังการผลิตจนราคาน้ำมันโลกมีการปรับเพิ่มขึ้น ช่วยให้ประเทศกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันมีกำไรเพิ่มขึ้น และมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มนี้ได้

Jap & Kor

จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศพบว่า เงินบาทกำลังประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการส่งออก แต่เป็นโอกาสของการนำเข้าสินค้า ทว่าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาการนำเข้าสินค้ากลับหดตัวมากถึง -14.6% สาเหตุเพราะเมื่อเดือน ส.ค.ในปีที่ผ่านมา การนำเข้าขยายตัวมากถึง 22.2% โดยสินค้ากลุ่มวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการหดตัวมากที่สุด ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวรองลงมา

 

ที่มา: Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์


  • 199
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE