ปรับตัวกับกฏใหม่ของ Facebook Promotions Guidelines

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

นับว่าเป็นเรื่อง Hot กันทีเดียวกับกฏเกณฑ์ใหม่จาก Facebook กับการทำกิจกรรมบน Fan Page และการคลิก Like   ที่ทุกแบรนด์เพจกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำความเข้าใจกับกฏเกณฑ์ใหม่นี้อย่างระมัดระวัง  วันนี้เลยถือโอกาสนำเรื่อง ‘ปรับตัวกับกฏใหม่ของ Facebook Promotions Guidelines’ จาก @doctorpisek และ @kafaak ซึ่งร่วมช่วยกันคัดกรองทำความเข้าใจ และนำมาเขียนฝากนักการตลาดออนไลน์ เพื่อให้เข้าใจและทำตามกันอย่างถูกต้อง  ตามนี้เลยค่ะ
วันที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา Facebook ได้ออก Promotions Guidelines ที่ปรับปรุงใหม่ ทำเอาเกิดความสะเทือนเลือนลั่นกันในวงการ Facebook Marketing
ทำไมนะหรือครับ  เพราะมันจะไปกระทบกับกิจกรรมทางการตลาดที่หลายๆธุรกิจกำลังทำกันอยู่ ประเภทการแข่งขัน โพสต์รูป แล้วชวนเพื่อนๆมากด Like ที่ทำกันเกร่อจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ จะทำไม่ได้กันอีกต่อไป
แต่ก่อนที่จะวิเคราะห์ในเรื่องการปรับตัว ผมว่าเรามาเข้าใจในกฏเกณฑ์ใหม่แบบละเอียดกันสักหน่อย (ซึ่งส่วนนี้ผมได้รับคำแนะนำจากคุณ @kafaak จากบล็อก นานาสาระกับนายกาฝาก http://kafaak.wordpress.com ขอขอบคุณมานะที่นี้ด้วย)
สำหรับกฏเกณฑ์ใหม่ อยู่ที่หน้านี้ครับ http://www.facebook.com/promotions_guidelines.php อ่านก่อนนะครับ แล้วมาตีความกัน
มาที่ข้อหนึ่งก่อนนะครับ เขาบอกเลยว่า
  • 1. Promotions on Facebook must be administered within Apps on Facebook.com, either on a Canvas Page or an app on a Page Tab.

    หมายความว่า ต่อจากนี้ไป การทำโปรโมชั่นใดๆ บน Facebook ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันหรือการชิงโชคต้องทำบน Application เท่านั้น จะเป็น Canvas Page หรือ Application ที่แบรนด์พัฒนาขึ้นมาไว้บน Tab ก็ได้ แต่ที่แน่ๆ โปรโมชั่น นอก Application หมดสิทธิ์
  • 2. Promotions on Facebook must include the following:
    a. A complete release of Facebook by each entrant or participant.
    b. Acknowledgment that the promotion is in no way sponsored, endorsed or administered by, or associated with, Facebook.
    c. Disclosure that the participant is providing information to [disclose recipient(s) of information] and not to Facebook.

    ใจความโดยสรุปแล้วก็คือ ในการจัดกิจกรรมใดๆ คุณต้องมี
    1) การแสดงความยินยอมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    2) ระบุให้ชัดเจนว่ากิจกรรมพวกนี้ ไม่ได้รับการสนับสนุน อุ้มชู บริหารจัดการ หรือเกี่ยวข้องใดๆ กับ Facebook
    3) ระบุให้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นจะถูกส่งไปยังใคร และแน่นอนว่าต้องไม่ใช่ Facebook
    พูดง่ายๆ ตรงจุดนี้ Facebook ต้องการสร้างความชัดเจนว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นรับทราบดีว่า Facebook จะไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับกิจกรรมนี้หรือแบรนด์นี้ และข้อมูลใดๆ ที่ถูกเก็บเกี่ยวไปนั้น ใครจะเป็นผู้รับ
มาถึงข้อสามที่เป็นตัวปัญหา เพราะเขาบอกว่า
  • 3. You must not use Facebook features or functionality as a promotion’s registration or entry mechanism.  For example, the act of liking a Page or checking in to a Place cannot automatically register or enter a promotion participant.

    อ่านเผินๆ แล้ว จะเหมือนกับว่า ห้ามกด Like กันเลยทีเดียว แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ครับ … Promotion Guideline ข้อที่ 3 นี้ แค่บอกว่า ห้ามใช้คุณสมบัติใดๆ บน Facebook มาเป็นกลไกในการลงทะเบียนร่วมกิจกรรม นั่นคือ จะมาเหมาว่าคนที่กด Like Page ของคุณนั้น คือคนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของคุณไม่ได้
แนะนำว่าต้องอ่านข้อที่สามควบคู่กับข้อที่สี่นี้ด้วยครับ
  • 4. You must not condition registration or entry upon the user taking any action using any Facebook features or functionality other than liking a Page, checking in to a Place, or connecting to your app.  For example, you must not condition registration or entry upon the user liking a Wall post, or commenting or uploading a photo on a Wall.

    ปกติแล้วแบรนด์มักจะตั้งเงื่อนไขในการร่วมกิจกรรม ว่าต้องทำโน่นนี่นั่นก่อน จึงจะมีสิทธิ์ร่วมกิจกรรม … ตรงข้อที่ 4 นี้ Facebook กำหนดไว้ว่า ห้ามไม่ให้มีการตั้งเงื่อนไขในการร่วมกิจกรรมโดยการใช้คุณสมบัติอย่างการกด Like ข้อความที่โพสต์ไว้บน Wall, การใส่คอมเม้นต์ หรือการอัพโหลดรูปขึ้น Wall … แต่ … สามารถใช้การกด Like Page หรือการ Check-in Place ได้
เมื่อรวมเข้าด้วยกัน จะหมายความว่า
  • – จะมาเหมาเอาว่าทุกคนที่กด Like Page ของคุณคือคนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้ แต่
  • – คุณสามารถกำหนดได้ว่า ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมของคุณ ต้องกด Like Page ของคุณก่อน
ดังนั้น สิ่งที่ธุรกิจไทยทำกันเยอะเวลาที่จัดกิจกรรม ก็ยังพอจะสามารถทำได้อยู่ เพียงแต่ต้องให้มีองค์ประกอบครบถ้วน คือ
  • 1) มีการยินยอมรับทราบเงื่อนไขตามข้อที่ 2
  • 2) มีการสร้างหน้าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โดยทำเป็น App บน Facebook
  • 3) จากนั้นคุณสามารถกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อให้การลงทะเบียนได้ เช่น ต้องกด Like ก่อน จึงมีสิทธิ์ร่วมกิจกรรม, ต้อง Check-in สถานที่ใดสถานที่หนึ่งก่อน เป็นต้น
    _
ที่อาจต้องทำให้แบรนด์จำนวนไม่น้อยปรับตัวเลยก็คือข้อที่ห้า
  • 5. You must not use Facebook features or functionality, such as the Like button, as a voting mechanism for a promotion.
    ข้อห้านี่ระบุชัดเจนเลยว่า ห้ามใช้คุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นใดๆ ของ Facebook ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม Like (สังเกตว่าไม่ได้บอกว่าปุ่ม Like แบบไหน ดังนั้นจึงหมายความว่าจะ Like Page, Like Post/Photo บน Wall ก็ไม่ได้)
    ตรงนี้ครับที่ธุรกิจหลายแห่งทำกันเกร่อ คือ ให้เอารูปโพสต์บน Wall จากนั้นให้เพื่อนๆ มากด Like ใครได้รับการกด Like มากที่สุด คนนั้นได้รางวัล แบบนี้ทำไม่ได้แล้ว ถ้าจะทำ คุณต้องสร้าง Application ขึ้นมา แล้วให้ไปอัพโหลดรูปในนั้น และกด Like กดโหวตเอาใน Application แทน
และเมื่อมีผู้ชนะกิจกรรม ข้อที่หกของ Facebook ก็กำหนดเอาไว้ว่า
  • 6. You must not notify winners through Facebook, such as through Facebook messages, chat, or posts on profiles or Pages.
    Facebook ไม่อนุญาตให้คุณทำการประกาศผู้ชนะผ่านทาง Facebook เลย ไม่ว่าจะเป็น Facebook messages, chat หรือการโพสต์ไว้บนหน้า Profile หรือ Page
ปัญหาว่าแล้วจะประกาศผู้ชนะอย่างไร คำตอบคือ เหลืออยู่ 2 ทางเลือกครับ คือ
  • 1) ผ่าน email ซึ่งคุณสามารถขอข้อมูลได้จากตอนที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Connect เข้ามายัง Application ของคุณ หรือตอนลงทะเบียน
  • 2) หากคุณมีเว็บไซต์ หรือ Blog ก็อาจทำลิงก์ไปยังหน้าประกาศรางวัลได้เช่นกัน
ข้อที่เจ็ดก็สำคัญครับ ในการเตรียมแคมเปญกิจกรรมของแบรนด์ต่างๆ เพราะมันระบุเอาไว้แบบนี้
  • 7. You may not use Facebook’s name, trademarks, trade names, copyrights, or any other intellectual property in connection with a promotion or mention Facebook in the rules or materials relating to the promotion, except as needed to fulfill your obligations under Section 2.
    นั่นคือ Facebook ไม่ยอมให้แบรนด์ใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้า ลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาของ Facebook ไปเชื่อมโยงกับกิจกรรมของแบรนด์เลย จะพูดถึง Facebook ในกติกาหรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับกิจกรรมก็ไม่ได้ ยกเว้นเพื่อทำตามเงื่อนไขในข้อที่สองเท่านั้น
จากข้อนี้ เวลาทำโฆษณาโปรโมทกิจกรรม จะมาใส่โลโก้ Facebook หรือชื่อ Facebook แบบพร่ำเพรื่อไม่ได้แล้วนะครับ จะให้เหลือไว้ได้ก็คงแค่เพื่อบอก URL ของหน้าเพจให้เข้าร่วมกิจกรรม แบบว่าปลอดภัยไว้ก่อน
ขอบคุณ @doctorpisek และ @kafaak สำหรับข้อมูลทั้งหมดนี้

  •  
  •  
  •  
  •  
  •